ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ. ปยุตฺโต) พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต) พระธรรมปิฎก (ประยุทธ์ ปยุตฺโต)
            การค้นหาคำว่า “ ยต ”             ผลการค้นหาพบ  18  ตำแหน่ง ดังนี้ :-

แสดงผลการค้น ลำดับที่  1 / 18
กัตตุกัมยตาฉันทะ ความพอใจคือความเป็นผู้ใคร่เพื่อจะทำ, ความต้องการที่จะทำ
       ได้แก่ ฉันทะที่เป็นกลางๆ ดีก็ได้ ชั่วก็ได้
       ต่างจากกามฉันทะที่เป็นแต่ฝ่ายชั่ว

แสดงผลการค้น ลำดับที่  2 / 18
เนวสัญญานาสัญญายตนะ ภาวะที่มีสัญญาก็ไม่ใช่ ไม่มีสัญญาก็ไม่ใช่
       เป็นชื่ออรูปฌาน หรืออรูปภพที่ ๔

แสดงผลการค้น ลำดับที่  3 / 18
ภยตูปัฏฐานญาณ ปรีชาหยั่งเห็นสังขารปรากฏโดยอาการเป็นของน่ากลัว เพราะสังขารทั้งปวงนั้นล้วนแต่จะต้องแตกสลายไป ไม่ปลอดภัยทั้งสิ้น
       (ข้อ ๓ ในวิปัสสนาญาณ ๙)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  4 / 18
มุจจิตุกัมยตาญาณ ดู มุญจิตุกัมยตาญาณ

แสดงผลการค้น ลำดับที่  5 / 18
มุญจิตุกัมยตาญาณ ญาณอันคำนึงด้วยใคร่จะพ้นไปเสีย,
       ความหยั่งรู้ที่ทำให้ต้องการจะพ้นไปเสีย คือ ต้องการจะพ้นไปเสียจากสังขารที่เบื่อหน่ายแล้ว ด้วยนิพพิทานุปัสสนาญาณ
       (ข้อ ๖ ในวิปัสสนาญาณ ๙)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  6 / 18
ยติ ผู้สำรวมอินทรีย์, นักพรต, พระภิกษุ

แสดงผลการค้น ลำดับที่  7 / 18
ร้อยตรึง คือเอาดอกไม้ เช่น ดอกมะลิ เป็นต้น เสียบเข้าในระหว่างใบตองที่เจียนไว้ แล้วตรึงให้ติดกันโดยรอบ แล้วร้อยประสมเข้ากับอย่างอื่นเป็นพวง เช่น พวงภู่ชั้น เป็นตัวอย่าง

แสดงผลการค้น ลำดับที่  8 / 18
ราชายตนะ ไม้เกต อยู่ทางทิศใต้แห่งต้นพระศรีมหาโพธิ์
       ณ ที่นี้ พระพุทธเจ้าประทับนั่งเสวยวิมุตติสุข ๗ วัน พ่อค้า ๒ คน คือ ตปุสสะกับภัลลิกะ ซึ่งมาจากอุกกลชนบท ได้พบพระพุทธเจ้าที่นี่;
       ดู วิมุตติสุข

แสดงผลการค้น ลำดับที่  9 / 18
วิญญาณัญจายตนะ ฌานอันกำหนดวิญญาณหาที่สุดมิได้เป็นอารมณ์หรือภพของผู้เข้าถึงฌานนี้
       (ข้อ ๒ ในอรูป ๔)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  10 / 18
ศากยตระกูล ตระกูลศากยะ, วงศ์ศากยะ

แสดงผลการค้น ลำดับที่  11 / 18
อนิยต ไม่แน่, ไม่แน่นอน เป็นชื่ออาบัติที่ยังไม่แน่ ระหว่างปาราชิก สังฆาทิเสส หรือปาจิตตีย์ ซึ่งพระวินัยธรจะต้องวินิจฉัย

แสดงผลการค้น ลำดับที่  12 / 18
อนิยตสิกขาบท สิกขาบทที่วางอาบัติไว้ไม่แน่ คือ ยังไม่ระบุชัดลงไปว่าเป็นปาราชิก หรือสังฆาทิเสส หรือปาจิตตีย์,
       มี ๒ สิกขาบท

แสดงผลการค้น ลำดับที่  13 / 18
อากาสานัญจายตนะ ฌานกำหนดอากาศ คือช่องว่างหาที่สุดมิได้เป็นอารมณ์,
       ภพของผู้เข้าถึงอากาสานัญจายตนฌาน
       (ข้อ ๑ ในอรูป ๔)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  14 / 18
อากิญจัญญายตนะ ฌานกำหนดภาวะที่ไม่มีอะไรเลยเป็นอารมณ์,
       ภพของผู้เข้าถึงอากิญจัญญายตนฌาน
       (ข้อ ๓ ในอรูป ๔)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  15 / 18
อายตนะ ที่ติดต่อ, เครื่องติดต่อ, แดนต่อความรู้, เครื่องรู้และสิ่งที่รู้
       เช่น ตา เป็นเครื่องรู้ รูปเป็นสิ่งที่รู้, หูเป็นเครื่องรู้ เสียงเป็นสิ่งที่รู้ เป็นต้น,
       จัดเป็น ๒ ประเภท คือ อายตนะภายใน ๖ อายตนะภายนอก ๖

แสดงผลการค้น ลำดับที่  16 / 18
อายตนะภายนอก เครื่องต่อภายนอก, สิ่งที่ถูกรู้มี ๖ คือ
       ๑. รูป รูป
       ๒. สัททะ เสียง
       ๓. คันธะ กลิ่น
       ๔. รส รส
       ๕. โผฏฐัพพะ สิ่งต้องกาย
       ๖. ธัมมะ ธรรมารมณ์ คือ อารมณ์ที่เกิดกับใจ หรือสิ่งที่ใจรู้;
       อารมณ์ ๖ ก็เรียก

แสดงผลการค้น ลำดับที่  17 / 18
อายตนะภายใน เครื่องต่อภายใน, เครื่องรับรู้มี ๖ คือ
       ๑. จักขุ ตา
       ๒. โสต หู
       ๓. ฆาน จมูก
       ๔. ชิวหา ลิ้น
       ๕. กาย กาย
       ๖. มโน ใจ;
       อินทรีย์ ๖ ก็เรียก

แสดงผลการค้น ลำดับที่  18 / 18
อิทัปปัจจยตา “ภาวะที่มีอันนี้ๆ เป็นปัจจัย”,
       ความเป็นไปตามความสัมพันธ์แห่งเหตุปัจจัย, กระบวนธรรมแห่งเหตุปัจจัย,
       กฎที่ว่า
           “เมื่อสิ่งนี้มี สิ่งนี้จึงมี, เพราะสิ่งนี้เกิดขึ้น สิ่งนี้จึงเกิดขึ้น;
           เมื่อสิ่งนี้ไม่มี สิ่งนี้ก็ไม่มี, เพราะสิ่งนี้ดับ สิ่งนี้ก็ดับ”,
       เป็นอีกชื่อหนึ่งของหลัก ปฏิจจสมุปบาท หรือ ปัจจยาการ


พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์
http://84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=ยต
http://84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=%C2%B5


บันทึก  ๒, ๓๐ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๔๗ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจาก พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ พิมพ์ครั้งที่ ๑๐. พ.ศ. ๒๕๔๖ หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]