ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ. ปยุตฺโต) พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต) พระธรรมปิฎก (ประยุทธ์ ปยุตฺโต)
            การค้นหาคำว่า “ ัพ ”             ผลการค้นหาพบ  41  ตำแหน่ง ดังนี้ :-

แสดงผลการค้น ลำดับที่  1 / 41
กิตติศัพท์ เสียงสรรเสริญ, เสียงเล่าลือความดี

แสดงผลการค้น ลำดับที่  2 / 41
โกรัพยะ พระเจ้าแผ่นดินแคว้นกุรุ

แสดงผลการค้น ลำดับที่  3 / 41
คัพภเสยยกสัตว์ สัตว์ที่อยู่ในครรภ์ คือสัตว์ที่เกิดเป็นตัวตั้งแต่อยู่ในครรภ์

แสดงผลการค้น ลำดับที่  4 / 41
ฉัพพรรณรังสี รัศมี ๖ ประการ ซึ่งเปล่งออกจากพระวรกายของพระพุทธเจ้า คือ
       ๑. นีล เขียวเหมือนดอกอัญชัน
       ๒. ปีต เหลืองเหมือนหรดาลทอง
       ๓. โลหิต แดงเหมือนตะวันอ่อน
       ๔. โอทาต ขาวเหมือนแผ่นเงิน
       ๕. มัญเชฐ สีหงสบาท เหมือนดอกเซ่งหรือหงอนไก่
       ๖. ประภัสสร เลื่อมพรายเหมือนแก้วผลึก

แสดงผลการค้น ลำดับที่  5 / 41
ทัพพมัลลบุตร พระเถระมหาสาวกองค์หนึ่งในอสีติมหาสาวก เป็นพระราชโอรสของพระเจ้ามัลลราช
       เมื่อพระชนม์ ๗ พรรษา มีความเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา ได้บรรพชาเป็นสามเณร
       เวลาปลงผม พอมีดโกนตัดกลุ่มผม
           ครั้งที่ ๑ ได้บรรลุโสดาปัตติผล
           ครั้งที่ ๒ ได้บรรลุสกทาคามิผล
           ครั้งที่ ๓ ได้บรรลุอนาคามิผล
           พอปลงผมเสร็จก็ได้บรรลุพระอรหัต
       ท่านรับภาระเป็นเจ้าหน้าที่ทำการสงฆ์ในตำแหน่งเสนาสนปัญญาปกะ (ผู้ดูแลจัดสถานที่พักอาศัยของพระ) และภัตตุเทศก์
       ได้รับยกย่องว่า เป็นเอตทัคคะในบรรดา เสนาสนปัญญาปกะ

แสดงผลการค้น ลำดับที่  6 / 41
ทัพสัมภาระ เครื่องเคราและส่วนประกอบทั้งหลาย, สิ่งและเครื่องอันเป็นส่วนประกอบที่จะคุมกันเข้าเป็นเรือน เรือ รถหรือเกวียนเป็นต้น;
       เขียนเต็มว่า ทัพพสัมภาระ

แสดงผลการค้น ลำดับที่  7 / 41
ทิศพายัพ ทิศตะวันตกเฉียงเหนือ

แสดงผลการค้น ลำดับที่  8 / 41
ปัพพชาจารย์ อาจารย์ผู้ให้บรรพชา;
       เขียนเต็มรูปเป็น ปัพพัชชาจารย์ จะเขียน บรรพชาจารย์ ก็ได้

แสดงผลการค้น ลำดับที่  9 / 41
ปัพพชาเปกขะ กุลบุตรผู้เพ่งบรรพชา, ผู้ตั้งใจจะบวชเป็นสามเณร, ผู้ขอบวชเป็นสามเณร;
       เขียนเต็มรูปเป็น ปัพพัชชาเปกขะ

แสดงผลการค้น ลำดับที่  10 / 41
ปัพพัชชา การถือบวช,
       บรรพชาเป็นอุบายฝึกอบรมตนในทางสงบ เว้นจากความชั่วมีการเบียดเบียนกันและกัน เป็นต้น
       (ข้อ ๒ ในสัปปุริสบัญญัติ ๓)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  11 / 41
ปัพพาชนียกรรม กรรมอันสงฆ์พึงทำแก่ภิกษุอันพึงจะไล่เสีย, การขับออกจากหมู่, การไล่ออกจากวัด,
       กรรมนี้สงฆ์ทำแก่
           ภิกษุผู้ประทุษร้ายสกุลและประพฤติเลวทรามเป็นข่าวเซ็งแซ่ หรือแก่
           ภิกษุผู้เล่นคะนอง ๑ อนาจาร ๑ ลบล้างพระบัญญัติ ๑ มิจฉาชีพ ๑
       (ข้อ ๓ ในนิคหกรรม ๖)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  12 / 41
ปุนัพพสุกะ ชื่อภิกษุรูปหนึ่งอยู่ในภิกษุเหลวไหล ๖ รูป ที่เรียกว่าพระฉัพพัคคีย์
       คู่กับพระอัสสชิ

แสดงผลการค้น ลำดับที่  13 / 41
ปุริสสัพพนาม คำทางไวยากรณ์ หมายถึงคำแทนชื่อเพื่อกันความซ้ำซาก
       ในภาษาบาลีหมายถึง ต, ตุมฺห, อมฺห,
       ศัพท์ในภาษาไทย เช่น ฉัน, ผม, ท่าน, เธอ, เขา, มัน เป็นต้น

แสดงผลการค้น ลำดับที่  14 / 41
โผฏฐัพพะ อารมณ์ที่จะพึงถูกต้องด้วยกาย,
       สิ่งที่ถูกต้องด้วยกาย เช่น เย็น ร้อน อ่อน แข็ง เป็นต้น
       (ข้อ ๕ ในอายตนะภายนอก ๖ และในกามคุณ ๕)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  15 / 41
ภัพพบุคคล คนที่ควรบรรลุธรรมพิเศษได้;
       เทียบ อภัพบุคคล

แสดงผลการค้น ลำดับที่  16 / 41
ศัพท์ เสียง, คำ, คำยากที่ต้องแปล, คำยากที่ต้องอธิบาย

แสดงผลการค้น ลำดับที่  17 / 41
สังหาริมทรัพย์ ทรัพย์เคลื่อนที่ได้ เช่น สัตว์เลี้ยง เตียง ตั่ง ถ้วย ชาม เป็นต้น;
       คู่กับ อสังหาริมทรัพย์

แสดงผลการค้น ลำดับที่  18 / 41
สัตตัพภันตรสีมา อพัทธสีมาชนิดที่กำหนดเขตแห่งสามัคคีขึ้นในป่า อันหาคนตั้งบ้านเรือนมิได้ โดยวัดจากที่สุดแนวแห่งสงฆ์ออกไปด้านละ ๗ อัพภันดรโดยรอบ

แสดงผลการค้น ลำดับที่  19 / 41
สัพพกามี ชื่อพระเถระองค์หนึ่งในการกสงฆ์ ผู้ทำสังคายนาครั้งที่ ๒ เป็นผู้มีพรรษาสูงสุด และทำหน้าที่ วิสัชนา

แสดงผลการค้น ลำดับที่  20 / 41
สัพพโลเกอนภิรตสัญญา กำหนดหมายถึงความไม่น่าเพลิดเพลินในโลกทั้งปวง
       (ข้อ ๘ ในสัญญา ๑๐)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  21 / 41
สัพพสังขาเรสุอนิฏฐสัญญา กำหนดหมายถึงความไม่น่าปรารถนาในสังขารทั้งปวง
       (ข้อ ๙ ในสัญญา ๑๐)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  22 / 41
สัพพัญญุตญาณ ญาณคือความเป็นพระสัพพัญญู,
       พระปรีชาญาณหยั่งรู้สิ่งทั้งปวง ทั้งที่เป็นอดีต ปัจจุบัน และอนาคต

แสดงผลการค้น ลำดับที่  23 / 41
สัพพัญญู ผู้รู้หมด, ผู้รู้ทุกสิ่งทุกอย่าง, พระนามของพระพุทธเจ้า

แสดงผลการค้น ลำดับที่  24 / 41
สัพพัตถคามินีปฏิปทาญาณ ปรีชาหยั่งรู้ทางที่จะนำไปสู่คติทั้งปวง คือ ทั้งสุคติ ทุคติ และทางแห่งนิพพาน
       (ข้อ ๓ ในทศพลญาณ)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  25 / 41
สีลัพพตปรามาส ความยึดมั่นถือว่า บุคคลจะบริสุทธิ์หลุดพ้นได้ด้วยศีลและวัตร
       (คือถือว่าเพียงประพฤติศีลและวัตรให้เคร่งครัดก็พอที่จะบริสุทธิ์หลุดพ้นได้ ไม่ต้องอาศัยสมาธิและปัญญาก็ตาม ถือศีลและวัตรที่งมงายหรืออย่างงมงายก็ตาม),
       ความถือศีลพรต โดยสักว่า ทำตามๆ กันไปอย่างงมงาย หรือโดยนิยมว่าขลังว่าศักดิ์สิทธิ์ ไม่เข้าใจความหมายและความมุ่งหมายที่แท้จริง,
       ความเชื่อถือศักดิ์สิทธิ์ด้วยเข้าใจว่า จะมีได้ด้วยศีลหรือพรตอย่างนั้นอย่างนี้ล่วงธรรมดาวิสัย
       (ข้อ ๓ ในสังโยชน์ ๑๐, ข้อ ๖ ในสังโยชน์ ๑๐ ตามนัยพระอภิธรรม)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  26 / 41
สีลัพพตุปาทาน ความยึดมั่นศีลและวัตรด้วยอำนาจกิเลส,
       ความถือมั่นศีลพรต คือธรรมเนียมที่ประพฤติกันมาจนชิน โดยเชื่อว่าขลังเป็นเหตุให้งมงาย,
       คัมภีร์ธัมมสังคณีแสดงความหมายอย่างเดียวกับสีลัพพตปรามาส
       (ข้อ ๓ ในอุปาทาน ๔)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  27 / 41
อถัพพนเพท ชื่อคัมภีร์พระเวทลำดับที่ ๔ ว่าด้วยคาถาอาคมทางไสยศาสตร์ การปลุกเสกต่างๆ เป็นส่วนเพิ่มเข้ามาต่อจาก ไตรเพท;
       อาถัพพนเวท, อถรรพเวท, อาถรรพณเวท ก็เขียน

แสดงผลการค้น ลำดับที่  28 / 41
อภัพ ไม่ควร, ไม่อาจ, ไม่สามารถ, เป็นไปไม่ได้

แสดงผลการค้น ลำดับที่  29 / 41
อภัพบุคคล บุคคลผู้ไม่สมควร, มีความหมายตามข้อความแวดล้อม
       เช่น คนที่ไม่อาจบรรลุโลกุตตรธรรมได้ คนที่ขาดคุณสมบัติ ไม่อาจให้อุปสมบทได้ เป็นต้น

แสดงผลการค้น ลำดับที่  30 / 41
อภิณหปัจจเวกขณ์ ข้อที่ควรพิจารณาเนืองๆ,
       เรื่องที่ควรพิจารณาทุกๆ วัน มี ๕ อย่าง คือ
           ๑. ควรพิจารณาทุกวันๆ ว่า เรามีความแก่เป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้นความแก่ไปได้
           ๒. ว่า เรามีความเจ็บไข้เป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้นความเจ็บไข้ไปได้
           ๓. ว่า เรามีความตายเป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้นความตายไปได้
           ๔. ว่า เราจะต้องพลัดพรากจากของรักของชอบใจทั้งสิ้น
           ๕. ว่า เรามีกรรมเป็นของตัว เราทำดีจักได้ดี เราทำชั่วจักได้ชั่ว;
       อีกหมวดหนึ่ง สำหรับบรรพชิต แปลว่า “ธรรมที่บรรพชิตควรพิจารณาเนืองๆ” มี ๑๐ อย่าง
       (ปัพพชิตอภิณหปัจจเวกขณ์) คือ
           ๑. บรรพชิตควรพิจารณาเนืองๆ ว่า บัดนี้ เรามีเพศต่างจากคฤหัสถ์แล้ว
           ๒. ว่า การเลี้ยงชีพของเราเนื่องด้วยผู้อื่น
           ๓. ว่า เรามีอากัปกิริยาอย่างอื่นที่จะพึงทำ
           ๔. ว่า ตัวเราเองยังติเตียนตัวเราเองโดยศีลไม่ได้อยู่หรือไม่
           ๕. ว่า เพื่อนพรหมจรรย์ผู้เป็นวิญญู ใคร่ครวญแล้ว ยังติเตียนเราโดยศีลไม่ได้อยู่หรือไม่
           ๖. ว่า เราจะต้องพลัดพรากจากของรักของชอบใจทั้งสิ้น
           ๗. ว่า เรามีกรรมเป็นของตน เราทำดีจักได้ดี เราทำชั่วจักได้ชั่ว
           ๘. ว่า วันคืนล่วงไปๆ บัดนี้เราทำอะไรอยู่
           ๙. ว่า เรายินดีในที่สงัดอยู่หรือไม่
           ๑๐. ว่า คุณวิเศษที่เราบรรลุแล้วมีอยู่หรือไม่ ที่จะทำให้เราเป็นผู้ไม่เก้อเขิน เมื่อถูกเพื่อนบรรพชิตถามในกาลภายหลัง
       (ข้อ ๑. ท่านเติมท้ายว่า อาการกิริยาใดๆ ของสมณะ เราต้องทำอาการกิริยานั้นๆ ข้อ ๒. เติมว่า เราควรทำตัวให้เขาเลี้ยงง่าย ข้อ ๓. ท่านเขียนว่า อาการกายวาจาอย่างอื่นที่เราจะต้องทำให้ดีขึ้นไปกว่านี้ยังมีอยู่อีก ไม่ใช่เพียงเท่านี้)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  31 / 41
อริยทรัพย์ ทรัพย์อันประเสริฐเป็นของติดตัว อยู่ภายในจิตใจ ดีกว่าทรัพย์ภายนอก เช่น เงินทอง เป็นต้น เพราะโจรหรือใครๆ แย่งชิงไม่ได้ และทำให้เป็นคนประเสริฐอย่างแท้จริง
       มี ๗ คือ ๑. สัทธา ๒. สีล ๓. หิริ ๔. โอตตัปปะ ๕. พาหุสัจจะ ๖. จาคะ ๗. ปัญญา

แสดงผลการค้น ลำดับที่  32 / 41
อสังหาริมทรัพย์ ทรัพย์เคลื่อนที่ไม่ได้ ได้แก่ ที่ดินและทรัพย์ซึ่งติดอยู่กับที่
       เช่น ตึก โรงรถ เป็นต้น,
       คู่กับ สังหาริมทรัพย์

แสดงผลการค้น ลำดับที่  33 / 41
อัญญสมานาเจตสิก เจตสิกที่มีเสมอกันแก่จิตพวกอื่น คือ ประกอบเข้าได้กับจิตต์ทุกฝ่ายทั้งกุศลและอกุศล มิใช่เข้าได้ฝ่ายหนึ่งฝ่ายเดียว มี ๑๓ แยกเป็น
       ก. สัพพจิตตสาธารณเจตสิก (เจตสิกที่เกิดทั่วไปกับจิตทุกดวง) ๗ คือ
           ผัสสะ (ความกระทบอารมณ์)
           เวทนา
           สัญญา
           เจตนา
           เอกัคคตา
           ชีวิตินทรีย์
           มนสิการ (ความกระทำอารมณ์ไว้ในใจ, ใส่ใจ)
       ข. ปกิณณกเจตสิก (เจตสิกที่เรี่ยราย คือเกิดกับจิตได้ทั้งฝ่ายกุศลและอกุศล แต่ไม่แน่นอนเสมอไปทุกดวง) ๖ คือ
           วิตก (ความตรึกอารมณ์)
           วิจาร (ความตรองอารมณ์)
           อธิโมกข์ (ความปักใจในอารมณ์)
           วิริยะ
           ปีติ
           ฉันทะ (ความพอใจในอารมณ์)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  34 / 41
อัพโพหาริก กล่าวไม่ได้ว่ามี, มีแต่ไม่ปรากฏ จึงไม่ได้โวหารว่ามี, มีเหมือนไม่มี
       เช่น สุราที่เขาใส่ในอาหารบางอย่างเพื่อฆ่าคาวหรือชูรส และเจตนาที่มีในเวลาหลับ เป็นต้น

แสดงผลการค้น ลำดับที่  35 / 41
อัพภันดร มาตราวัดในภาษามคธ เทียบไทยได้ ๒๘ ศอก หรือ ๗ วา

แสดงผลการค้น ลำดับที่  36 / 41
อัพภาน “การเรียกเข้า” การรับกลับเข้าหมู่,
       เป็นขั้นตอนสุดท้ายแห่งวุฏฐานวิธี คือ ระเบียบปฏิบัติในการออกจากครุกาบัติขั้นสังฆาทิเสส
       ได้แก่ การที่สงฆ์สวดระงับอาบัติ รับภิกษุผู้ต้องอาบัติสังฆาทิเสส และได้ทำโทษตนเองตามวิธีที่กำหนดเสร็จแล้ว ให้กลับคืนเป็นผู้บริสุทธิ์
       วิธีปฏิบัติ คือ ถ้าต้องอาบัติสังฆาทิเสสแล้วไม่ได้ปิดไว้ พึงประพฤติมานัตสิ้น ๖ ราตรีแล้ว ขออัพภานกะสงฆ์วีสติวรรค สงฆ์สวดอัพภานแล้ว ชื่อว่าเป็นผู้บริสุทธิ์จากอาบัติ,
       แต่ถ้าภิกษุผู้ต้องปกปิดอาบัติไว้ล่วงวันเท่าใด ต้องประพฤติวัตรเรียกว่า อยู่ปริวาส ชดใช้ครบจำนวนวันเท่านั้นก่อน จึงประพฤติมานัตเพิ่มอีก ๖ ราตรี แล้วจึงขออัพภานกะสงฆ์วีสติวรรค เมื่อสงฆ์อัพภานแล้ว อาบัติสังฆาทิเสสที่ต้อง ชื่อว่า เป็นอันระงับ

แสดงผลการค้น ลำดับที่  37 / 41
อัพภานารหะ ภิกษุผู้ควรแก่อัพภาน
       ได้แก่ ภิกษุผู้ประพฤติมานัตสิ้น ๖ ราตรี ครบกำหนดแล้ว เป็นผู้ควรแก่อัพภาน
       คือ ควรที่สงฆ์วีสติวรรคจะสวดอัพภาน (เรียกเข้าหมู่) ได้ต่อไป

อัพภานารหภิกษุ ดู อัพภานารหะ

แสดงผลการค้น ลำดับที่  38 / 41
อัพโภกาสิกังคะ องค์แห่งผู้ถืออยู่ในที่แจ้งเป็นวัตร
       คือ อยู่เฉพาะกลางแจ้ง ไม่อยู่ในที่มุงบัง หรือแม้แต่โคนไม้
       (ห้ามถือในฤดูฝน)
       (ข้อ ๑๐ ในธุดงค์ ๑๓)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  39 / 41
อัพยากตะ, อัพยากฤต “ซึ่งท่านไม่พยากรณ์”,
       บอกไม่ได้ว่าเป็นกุศลหรืออกุศล คือ เป็นกลางๆ ไม่ดีไม่ชั่ว ไม่ใช่กุศลไม่ใช่อกุศล

แสดงผลการค้น ลำดับที่  40 / 41
อาภัพ ไม่สมควร, ไม่สามารถ, เป็นไปไม่ได้
       (จากคำบาลีว่า อภพฺพ เช่น ผู้กระทำมาตุฆาต ไม่สามารถบรรลุมรรผล, พระโสดาบันไม่สามารถทำมาตุฆาต เป็นต้น);
       ไทยใช้เฉพาะในความว่า ไม่ควรจะได้จะถึงสิ่งนั้นๆ, ไม่มีทางจะได้สิ่งที่มุ่งหมาย, วาสนาน้อยตกอับ;
       ดู อภัพบุคคล

แสดงผลการค้น ลำดับที่  41 / 41
อุทยัพพยญาณ ปรีชาหยั่งรู้ความเกิดและความดับแห่งสังขาร;
       ดู อุทยัพพยานุปัสสนาญาณ

อุทยัพพยานุปัสสนาญาณ ปรีชาคำนึงเห็นความเกิดและความดับแห่งสังขาร,
       ญาณที่มองเห็นนามรูปเกิดดับ
       (ข้อ ๑ ในวิปัสสนาญาณ ๙)


พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์
http://84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=ัพ
http://84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=%D1%BE


บันทึก  ๒, ๓๐ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๔๗ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจาก พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ พิมพ์ครั้งที่ ๑๐. พ.ศ. ๒๕๔๖ หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]