ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ. ปยุตฺโต) พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต) พระธรรมปิฎก (ประยุทธ์ ปยุตฺโต)
            การค้นหาคำว่า “ าต ”             ผลการค้นหาพบมากกว่า  80  ตำแหน่ง ดังนี้ :-

แสดงผลการค้น ลำดับที่  1 / 80
กิริยาอาขยาต เป็นชื่อกิริยาศัพท์ประเภทหนึ่งในภาษาบาลี ใช้เป็นกิริยาสำคัญในประโยค อันแสดงถึงการกระทำของประธาน
       เช่น “คจฺฉติ” (ย่อมไป) “ปรินิพฺพายิ” (ดับรอบแล้ว) เป็นต้น

แสดงผลการค้น ลำดับที่  2 / 80
คว่ำบาตร การที่สงฆ์ลงโทษอุบาสก ผู้ปรารถนาร้ายต่อพระรัตนตรัย โดยประกาศให้ภิกษุทั้งหลายไม่คบด้วย
       คือไม่รับบิณฑบาต ไม่รับนิมนต์ ไม่รับไทยธรรม
       คู่กับ หงายบาตร

แสดงผลการค้น ลำดับที่  3 / 80
จตุธาตุววัตถาน การกำหนดธาตุ ๔
       คือ พิจารณาร่างกายนี้ แยกแยะออกไปมองเห็นแต่ส่วนประกอบต่างๆ ที่จัดเข้าไปในธาตุ ๔ คือ ปฐวี อาโป เตโช วาโย ทำให้รู้ภาวะความเป็นจริงของร่างกาย ว่าเป็นแต่เพียงธาตุ ๔ ประชุมกันเข้าเท่านั้น ไม่เป็นตัวสัตว์บุคคลที่แท้จริง

แสดงผลการค้น ลำดับที่  4 / 80
จาตุมหาราช ท้าวมหาราช ๔, เทวดาผู้รักษาโลกใน ๔ ทิศ, ท้าวโลกบาลทั้ง ๔ คือ
       ๑. ท้าวธตรฐ จอมภูต หรือจอมคนธรรพ์ ครองทิศตะวันออก
       ๒. ท้าววิรุฬหก จอมกุมภัณฑ์ ครองทิศใต้
       ๓. ท้าววิรูปักษ์ จอมนาค ครองทิศตะวันตก
       ๔. ท้าวกุเวร หรือ เวสสวัณ จอมยักษ์ ครองทิศเหนือ

แสดงผลการค้น ลำดับที่  5 / 80
จาตุมหาราชิกา สวรรค์ชั้นที่ ๑ มีมหาราช ๔ องค์ เป็นประธาน ปกครองประจำทิศทั้ง ๔
       ดู จาตุมหาราช

แสดงผลการค้น ลำดับที่  6 / 80
จาตุรงคสันนิบาต การประชุมพร้อมด้วยองค์ ๔ คือ
       ๑. วันนั้นดวงจันทร์เสวยมาฆฤกษ์ (เพ็ญเดือน ๓)
       ๒. พระสงฆ์ ๑,๒๕๐ รูปมาประชุมกัน โดยมิได้นัดหมาย
       ๓. พระสงฆ์เหล่านั้นทั้งหมดล้วนเป็นพระอรหันต์ผู้ได้อภิญญา ๖
       ๔. พระสงฆ์เหล่านั้นทั้งหมดล้วนเป็นเอหิภิกขุ
           ดู มาฆบูชา

แสดงผลการค้น ลำดับที่  7 / 80
จุตูปปาตญาณ ปรีชารู้จุติและอุบัติของสัตว์ทั้งหลาย,
       มีจักษุทิพย์มองเห็นสัตว์กำลังจุติบ้าง กำลังเกิดบ้าง มีอาการดีบ้าง เลวบ้างเป็นต้น ตามกรรมของตน
       เรียกอีกอย่างว่า ทิพพจักขุ
       (ข้อ ๒ ในญาณ ๓ หรือวิชชา ๓, ข้อ ๗ ในวิชชา ๘, ข้อ ๕ ในอภิญญา ๖)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  8 / 80
ชาตปฐพี ดินเกิดเอง, ปฐพีแท้ คือมีดินร่วนล้วน มีดินเหนียวล้วน หรือมีของอื่น เช่นหินกรวด กระเบื้อง แร่ และทรายน้อย มีดินร่วน ดินเหนียวมาก
       ดินนี้ประสงค์เอาที่ยังไม่ได้เผาไฟ กองดินร่วนก็ดี กองดินเหนียวก็ดี มีฝนตกรดเกิน ๔ เดือนมาแล้วนับเข้าในปฐพีแท้

แสดงผลการค้น ลำดับที่  9 / 80
ชาตสระ สระเกิดเอง, ที่น้ำขังอันเป็นเอง เช่น บึง, หนอง, ทะเลสาบ ฯลฯ

แสดงผลการค้น ลำดับที่  10 / 80
ชาติ การเกิด, ชนิด, พวก, เหล่า, ปวงชนแห่งประเทศเดียวกัน

แสดงผลการค้น ลำดับที่  11 / 80
ชาติปุกกุสะ พวกปุกกุสะ เป็นคนชั้นต่ำพวกหนึ่งในระบบวรรณะของศาสนาพราหมณ์ มีอาชีพคอยเก็บกวาดขยะดอกไม้ตามสถานที่บูชา

แสดงผลการค้น ลำดับที่  12 / 80
ชาติสงสาร ความท่องเที่ยวไปด้วย ความเกิด, การเวียนตายเวียนเกิด

แสดงผลการค้น ลำดับที่  13 / 80
ชาติสุททะ พวกสุททะ, คนพวกวรรณะศูทร เป็นคนชั้นต่ำในชมพูทวีป;
       ดู ศูทร

แสดงผลการค้น ลำดับที่  14 / 80
ญาตปริญญา กำหนดรู้ขั้นรู้จัก คือ กำหนดรู้สิ่งนั้นๆ ตามลักษณะที่เป็นสภาวะของมันเอง พอให้แยกออกมาจากสิ่งอื่นๆ ได้ เช่น รู้ว่า นี้คือเวทนา เวทนามีลักษณะเสวยอารมณ์ ดังนี้เป็นต้น
       (ข้อ ๑ ในปริญญา ๓)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  15 / 80
ญาตัตถจริยา พระพุทธจริยาเพื่อประโยชน์แก่พระญาติ, ทรงประพฤติประโยชน์แก่พระประยูรญาติ
       เช่น ทรงอนุญาตให้พระญาติที่เป็นเดียรถีย์เข้ามาอุปสมบทในพระพุทธศาสนา ไม่ต้องอยู่ติตถิยปริวาส ๔ เดือนก่อน เหมือนเดียรถีย์อื่น และเสด็จไปห้ามพระญาติที่วิวาทกันด้วยเรื่องน้ำ เป็นต้น
       ดู พุทธจริยา

แสดงผลการค้น ลำดับที่  16 / 80
ญาติ พี่น้องที่ยังนับรู้กันได้, ผู้ร่วมสายโลหิตกันทางบิดาหรือมารดา,
       ในฎีกาวินัย ท่านนับ ๗ ชั้น ทั้งข้างบนและข้างล่าง แต่ตามปกติจะไม่พบมากหลายชั้นอย่างนั้น ปัจจุบันท่านให้นับญาติ ๗ ชั้น หรือ ๗ ชั่วคน คือ นับทางมารดาก็ดี ทางบิดาก็ดี ชั้นตนเองเป็น ๑ ข้างบน ๓ (ถึงทวด) ข้างล่าง ๓ (ถึงเหลน),
       เขยและสะใภ้ ไม่นับเป็นญาติ

แสดงผลการค้น ลำดับที่  17 / 80
ญาติพลี สงเคราะห์ญาติ, ช่วยเหลือเกื้อกูลญาติ (ข้อ ๑ ในพลี ๕ อย่างแห่งโภคอาทิยะ ๕)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  18 / 80
ญาติสาโลหิต พี่น้องร่วมสายโลหิต
       (ญาติ = พี่น้องที่ยังนับรู้กันได้, สาโลหิต = ผู้ร่วมสายเลือดคือญาติที่สืบสกุลมาโดยตรง)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  19 / 80
ตักบาตรเทโว ดู เทโวโรหณะ

แสดงผลการค้น ลำดับที่  20 / 80
ติณชาติ หญ้า

แสดงผลการค้น ลำดับที่  21 / 80
เตโชธาตุ ธาตุไฟ, ธาตุที่มีลักษณะร้อน, ความร้อน;
       ในร่างกาย ได้แก่ ไฟที่ยังกายให้อบอุ่น ไฟที่ยังกายให้ทรุดโทรม ไฟที่ยังกายให้กระวนกระวายและไฟที่เผาอาหารให้ย่อย

แสดงผลการค้น ลำดับที่  22 / 80
ทาฐธาตุ, ทาฒธาตุ พระธาตุคือเขี้ยว,
       พระเขี้ยวแก้วของพระพุทธเจ้ามีทั้งหมด ๔ องค์ ตำนานว่า
           พระเขี้ยวแก้วบนขวาประดิษฐานอยู่ในพระจุฬามณีเจดีย์ในดาวดึงส์เทวโลก,
           องค์ล่างขวาไปอยู่ ณ แคว้นกาลิงคะ แล้วต่อไปยังลังกาทวีป,
           องค์บนซ้ายไปอยู่ ณ แคว้นคันธาระ,
           องค์ล่างซ้ายไปอยู่ในนาคพิภพ

แสดงผลการค้น ลำดับที่  23 / 80
ธรรมชาติ ของที่เกิดเองตามวิสัยของโลก เช่น คน สัตว์ ต้นไม้ เป็นต้น

แสดงผลการค้น ลำดับที่  24 / 80
ธัญชาติ ข้าวชนิดต่างๆ, พืชจำพวกข้าว

แสดงผลการค้น ลำดับที่  25 / 80
ธาตุ ๑- สิ่งที่ทรงสภาวะของมันอยู่เองตามธรรมดาของเหตุปัจจัย,
       ธาตุ ๔ คือ
           ๑. ปฐวีธาตุ สภาวะที่แผ่ไปหรือกินเนื้อที่ เรียกสามัญว่า ธาตุแข้นแข็งหรือธาตุดิน
           ๒. อาโปธาตุ สภาวะที่เอิบอาบดูดซึม เรียกสามัญว่า ธาตุเหลวหรือธาตุน้ำ
           ๓. เตโชธาตุ สภาวะที่ทำให้ร้อน เรียกสามัญว่า ธาตุไฟ
           ๔. วาโยธาตุ สภาวะที่ทำให้เคลื่อนไหว เรียกสามัญว่า ธาตุลม ;
       ธาตุ ๖ คือ เพิ่ม
           ๕. อากาสธาตุ สภาวะที่ว่าง
           ๖. วิญญาณธาตุ สภาวะที่รู้แจ้งอารมณ์ หรือ ธาตุรู้

แสดงผลการค้น ลำดับที่  26 / 80
ธาตุ ๒- กระดูกของพระพุทธเจ้าและพระอรหันต์ทั้งหลาย เรียกรวมๆ ว่า พระธาตุ
       (ถ้ากล่าวถึงกระดูกของพระพุทธเจ้าโดยเฉพาะเรียกว่า พระบรมธาตุ พระบรมสารีริกธาตุ พระสารีริกธาตุ หรือระบุชื่อกระดูกส่วนนั้นๆ เช่น พระทาฐธาตุ)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  27 / 80
ธาตุกถา ชื่อคัมภีร์ที่ ๓ แห่งพระอภิธรรมปิฎก
       ว่าด้วยการสงเคราะห์ธรรมทั้งหลายเข้ากับ ขันธ์ อายตนะ และธาตุ
       (พระไตรปิฎกเล่ม ๓๖)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  28 / 80
ธาตุกัมมัฏฐาน กรรมฐานที่พิจารณาธาตุเป็นอารมณ์,
       กำหนดพิจารณาร่างกายแยกเป็นส่วนๆ ให้เห็นว่าเป็นแต่เพียงธาตุ ๔ คือ ดิน น้ำ ไฟ ลม ประชุมกันอยู่ ไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา ไม่ใช่ตัวตนของเรา

แสดงผลการค้น ลำดับที่  29 / 80
ธาตุเจดีย์ เจดีย์บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ (ข้อ ๑ ในเจดีย์ ๔)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  30 / 80
นานาธาตุญาณ ปรีชาหยั่งรู้ธาตุต่างๆ คือรู้จักแยกสมมติออกเป็นขันธ์ อายตนะ ธาตุต่างๆ
       (ข้อ ๔ ในทศพลญาณ)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  31 / 80
นิบาต ศัพท์ภาษาบาลีที่วางไว้ระหว่างข้อความในประโยคเพื่อเชื่อมข้อความ หรือเสริมความ เป็นอัพยยศัพท์อย่างหนึ่ง

แสดงผลการค้น ลำดับที่  32 / 80
นิพพาน การดับกิเลสและกองทุกข์ เป็นโลกุตตรธรรม และเป็นจุดมุ่งหมายสูงสุดในพระพุทธศาสนา;
       ดู นิพพานธาตุ

นิพพานธาตุ ภาวะแห่งนิพพาน;
       นิพพาน หรือ นิพพานธาตุ ๒ คือ
           ๑. สอุปาทิเสสนิพพาน ดับกิเลสมีเบญจขันธ์เหลือ
           ๒. อนุปาทิเสสนิพพาน ดับกิเลสไม่มีเบญจขันธ์เหลือ

แสดงผลการค้น ลำดับที่  33 / 80
บรมธาตุ กระดูกพระพุทธเจ้า

แสดงผลการค้น ลำดับที่  34 / 80
บัณฑิตชาติ เผ่าพันธุ์บัณฑิต, เหล่านักปราชญ์, เชื้อนักปราชญ์

แสดงผลการค้น ลำดับที่  35 / 80
บาตร ภาชนะของนักบวชสำหรับรับอาหาร เป็นอย่างหนึ่งในบริขาร ๘ ของภิกษุ

แสดงผลการค้น ลำดับที่  36 / 80
บาตรอธิษฐาน บาตรที่พระพุทธเจ้าอนุญาตให้ภิกษุมีไว้ใช้ประจำตัวหนึ่งใบ

แสดงผลการค้น ลำดับที่  37 / 80
บิณฑบาต อาหารที่ใส่ลงในบาตรพระ, อาหารถวายพระ;
       ในภาษาไทยใช้ในความหมายว่า รับของใส่บาตร เช่นที่ว่า พระไปบิณฑบาต คือ ไปรับอาหารที่เขาจะใส่ลงในบาตร

แสดงผลการค้น ลำดับที่  38 / 80
ปฏิญญาตกรณะ “ทำตามรับ” ได้แก่ ปรับอาบัติตามปฏิญญาของจำเลยผู้รับเป็นสัตย์
       การแสดงอาบัติก็จัดเข้าในข้อนี้

แสดงผลการค้น ลำดับที่  39 / 80
ปฐวีธาตุ ธาตุดิน คือธาตุที่มีลักษณะแข้นแข็ง ในร่างกายที่ใช้เป็นอารมณ์กรรมฐาน
       ได้แก่ ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก เยื่อในกระดูก ม้าม หัวใจ ตับ พังผืด ไต ปอด ไส้ใหญ่ ไส้น้อย อาหารใหม่ อาหารเก่า;
       อย่างนี้เป็นการกล่าวถึงปฐวีธาตุในลักษณะที่คนสามัญทุกคนจะเข้าใจได้ และที่จะให้สำเร็จประโยชน์ในการเจริญกรรมฐาน
       แต่ในทางพระอภิธรรม ปฐวีธาตุเป็นสภาวะพื้นฐานที่มีอยู่ในรูปธรรมทุกอย่าง แม้แต่ในน้ำและในลมที่เรียกกันสามัญ ซึ่งรู้สึกถูกต้องได้ด้วยกายสัมผัส

แสดงผลการค้น ลำดับที่  40 / 80
ปรมาตมัน อาตมันสูงสุด หรออัตตาสูงสุด (บรมอาตมัน หรือ บรมอัตตา) เป็นสภาวะแท้จริง และเป็นจุดหมายสูงสุดตามหลักความเชื่อของศาสนาฮินดู (เดิมคือศาสนาพราหมณ์) ซึ่งถือว่า ในบุคคลแต่ละคนนี้ มีอาตมัน คือ อัตตาหรือตัวตน สิงสู่อยู่ครอง เป็นสภาวะเที่ยงแท้ถาวรเป็นผู้คิดผู้นึก ผู้เสวยเวทนา เป็นต้น ซึ่งเป็นส่วนย่อยที่แบ่งภาคออกมาจากปรมาตมันนั้นเอง เมื่อคนตาย อาตมันนี้ออกจากร่างไป สิงอยู่ในร่างอื่นต่อไป เหมือนถอดเสื้อผ้าเก่าสวมเสื้อผ้าใหม่ หรือออกจากเรือนเก่าไปอยู่ในเรือนใหม่ ได้เสวยสุขหรือทุกข์ เป็นต้น สุดแต่กรรมที่ได้ทำไว้ เวียนว่ายตายเกิดเรื่อยไป จนกว่าจะตระหนักรู้ว่าตนเองเป็นอันหนึ่งอันเดียวกับปรมาตมัน และเข้าถึงความบริสุทธิ์จากบาปโดยสิ้นเชิง จึงจะได้กลับเข้ารวมกับปรมาตมันดังเดิม ไม่เวียนตายเวียนเกิดอีกต่อไป;
       ปรมาตมันนี้ ก็คือ พรหม หรือ พรหมัน นั่นเอง

แสดงผลการค้น ลำดับที่  41 / 80
ปัจฉิมชาติ ชาติหลัง คือ ชาติสุดท้ายไม่มีชาติใหม่หลังจากนี้อีกเพราะดับกิเลสได้สิ้นเชิงแล้ว

แสดงผลการค้น ลำดับที่  42 / 80
ปาฏิโมกข์ ชื่อคัมภีร์ที่ประมวลพุทธบัญญัติอันทรงตั้งขึ้นเป็นพุทธอาณา ได้แก่ อาทิพรหมจริยกาสิกขา มีพระพุทธานุญาตให้สวดในที่ประชุมสงฆ์ทุกกึ่งเดือน เรียกกันว่า พระสงฆ์ทำอุโบสถ,
       คัมภีร์ที่รวมวินัยของสงฆ์ ๒๒๗ ข้อ
       (พจนานุกรมเขียน ปาติโมกข์)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  43 / 80
ปาณาติบาต ทำชีวิตสัตว์ให้ตกล่วงไป, ฆ่าสัตว์

แสดงผลการค้น ลำดับที่  44 / 80
ปาณาติปาตา เวรมณี เว้นจากการทำชีวิตสัตว์ให้ตกล่วง, เว้นจากการฆ่าสัตว์
       (ข้อ ๑ ในศีล ๕ ฯลฯ)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  45 / 80
ปาตลีบุตร ชื่อเมืองหลวงของพระเจ้าอโศกมหาราช;
       เขียน ปาฏลีบุตร ก็มี

แสดงผลการค้น ลำดับที่  46 / 80
ปาตาละ นรก, บาดาล (เป็นคำที่พวกพราหมณ์ใช้เรียกนรก)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  47 / 80
ปาริฉัตตก์ “ต้นทองหลาง”,
       ชื่อต้นไม้ประจำสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ อยู่ในสวนนันทวันของพระอินทร์ ;
       ปาริฉัตร หรือ ปาริชาต ก็เขียน

แสดงผลการค้น ลำดับที่  48 / 80
ปิณฑปาติกธุดงค์ องค์คุณเครื่องขจัดกิเลสแห่งภิกษุเป็นต้น ผู้ถือการเที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตร
       หมายถึง ปิณฑปาติกังคะ นั่นเอง

ปิณฑปาติกังคะ องค์แห่งผู้ถือเที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตร คือ ไม่รับนิมนต์หรือลาภพิเศษอย่างอื่นใด ฉันเฉพาะอาหารที่บิณฑบาตมาได้
       (ข้อ ๓ ใน ธุดงค์ ๑๓)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  49 / 80
ปิตุฆาต ฆ่าบิดา (ข้อ ๒ ในอนันตริยกรรม ๕)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  50 / 80
ปิยรูป สาตรูป สภาวะที่น่ารักน่าชื่นใจ มุ่งเอาส่วนที่เป็นอิฏฐารมณ์ซึ่งเป็นบ่อเกิดแห่งตัณหามี ๑๐ หมวดๆ ละ ๖ อย่าง คือ
       อายตนะภายใน ๖
       อายตนภายนอก ๖
       วิญญาณ ๖
       สัมผัส ๖
       เวทนา ๖
       สัญญา ๖
       สัญเจตนา ๖ มีรูปสัญเจตนา เป็นต้น
       ตัณหา ๖ มีรูปตัณหา เป็นต้น
       วิตก ๖ มีรูปวิตกเป็นต้น
       วิจาร ๖ มีรูปวิจาร เป็นต้น

แสดงผลการค้น ลำดับที่  51 / 80
ผาติกรรม การทำให้เจริญ
       หมายถึง การจำหน่ายครุภัณฑ์ เพื่อประโยชน์สงฆ์อย่างใดอย่างหนึ่ง โดยเอาของเลวแลกเปลี่ยนเอาของดีกว่าให้แก่สงฆ์ หรือเอาของตนถวายสงฆ์เป็นการทดแทนที่ตนทำของสงฆ์ชำรุดไป,
       รื้อของที่ไม่ดีออกทำให้ใหม่ดีกว่าของเก่า เช่น เอาที่วัดไปทำอย่างอื่นแล้วสร้างวัดถวายให้ใหม่;
       การชดใช้, การทดแทน

แสดงผลการค้น ลำดับที่  52 / 80
ผู้มีราตรีเดียวเจริญ ผู้มีความเพียรไม่เกียจคร้านทั้งกลางวันกลางคืน อยู่ด้วยความไม่ประมาท

แสดงผลการค้น ลำดับที่  53 / 80
พุทธานุญาต ข้อที่พระพุทธเจ้าทรงอนุญาต

แสดงผลการค้น ลำดับที่  54 / 80
มนุษยชาติ เหล่าคน, มวลมนุษย์

แสดงผลการค้น ลำดับที่  55 / 80
มาตรา กิริยากำหนดประมาณ, เครื่องวัดต่างๆ เช่นวัดขนาด จำนวน เวลา ระยะทางเป็นต้น,
       มาตราที่ควรรู้ ดังนี้
มาตราเวลา
๑๕ หรือ ๑๔ วัน เป็น ๑ ปักษ์
๒ ปักษ์ เป็น ๑ เดือน
๔ เดือน เป็น ๑ ฤดู
๓ ฤดู เป็น ๑ ปี
       (๑๔ วัน คือ ข้างแรมเดือนขาด, ๑๒ เดือนตั้งแต่เดือนอ้ายมีชื่อดังนี้;
           มาคสิรมาส, ปุสสมาส, มาฆมาส, ผัคคุณมาส, จิตตมาส, เวสาขมาส, เชฏฐมาส, อาสาฬหมาส, สาวนมาส, ภัททปทมาส หรือโปฏฐปทมาส, อัสสยุชมาส หรือปฐมกัตติกมาส, กัตติกามาส;
       ฤดู ๓ คือ
           เหมันต์ ฤดูหนาว เริ่มเดือนมาคสิระ ของเราเป็นแรม ๑ ค่ำ เดือน ๑๒,
           คิมหะ ฤดูร้อน เริ่มเดือนจิตตะ ของเราเป็นแรม ๑ ค่ำ เดือน ๔,
           วัสสานะ ฤดูฝน เริ่มเดือนสาวนะ ของเราเป็นแรม ๑ ค่ำ เดือน ๘)
มาตราวัด
๗ เมล็ดข้าว เป็น ๑ นิ้ว
๑๒ นิ้ว เป็น ๑ คืบ
๒ คืบ เป็น ๑ ศอก
๔ ศอก เป็น ๑ วา
๒๕ วา เป็น ๑ อุสภะ
๘๐ อุสภะ เป็น ๑ คาวุต
๔ คาวุต เป็น ๑ โยชน์
หรือ
๔ ศอก เป็น ๑ ธนู
๕๐๐ ธนู เป็น ๑ โกสะ
๔ โกสะ เป็น ๑ คาวุต
๔ คาวุต เป็น ๑ โยชน์
มาตราตวง
๔ มุฏฐิ (กำมือ) เป็น ๑ กุฑวะ (ฟายมือ)
๒ กุฑวะ เป็น ๑ ปัตถะ (กอบ)
๒ ปัตถะ เป็น ๑ นาฬี (ทะนาน)
๔ นาฬี เป็น ๑ อาฬหก
มาตรารูปิยะ
๕ มาสก เป็น ๑ บาท
๔ บาท เป็น ๑ กหาปณะ

แสดงผลการค้น ลำดับที่  56 / 80
มาตาปิตุอุปัฏฐาน การบำรุงมารดาบิดาให้มีความสุข
       (ข้อ ๓ ในสัปปุริสบัญญัติ ๓, ข้อ ๑๑ ในมงคล ๓๘)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  57 / 80
มาติกา
       1. หัวข้อ เช่น หัวข้อแห่งการเดาะกฐิน
       2. แม่บท เช่นตัวสิกขาบท เรียกว่าเป็นมาติกา เพราะจะต้องขยายความต่อไป

แสดงผลการค้น ลำดับที่  58 / 80
มาตุคาม ผู้หญิง

แสดงผลการค้น ลำดับที่  59 / 80
มาตุฆาต ฆ่ามารดา (ข้อ ๑ ในอนันตริยกรรม ๕)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  60 / 80
มาตุจฉา พระน้านาง, น้าผู้หญิง

แสดงผลการค้น ลำดับที่  61 / 80
เมณฑกานุญาต ข้ออนุญาตที่ปรารภเมณฑกเศรษฐี คืออนุญาตให้ภิกษุยินดีของที่กัปปิยการก จัดซื้อมาด้วยเงินที่ผู้ศรัทธาได้มอบให้ไว้ ตามแบบอย่างที่เมณฑกเศรษฐีเคยทำ

แสดงผลการค้น ลำดับที่  62 / 80
ยาตรา เดิน, เดินเป็นกระบวน

แสดงผลการค้น ลำดับที่  63 / 80
ราตรี กลางคืน, เวลามืดค่ำ

แสดงผลการค้น ลำดับที่  64 / 80
รุกข์, รุกขชาติ ต้นไม้

แสดงผลการค้น ลำดับที่  65 / 80
เลฑฑุบาต [เลด-ดุ-บาด] ระยะโยนหรือขว้างก้อนดินตก

แสดงผลการค้น ลำดับที่  66 / 80
โลกธาตุ แผ่นดิน; จักรวาลหนึ่งๆ

แสดงผลการค้น ลำดับที่  67 / 80
โลมชาติชูชัน ขนลุก

แสดงผลการค้น ลำดับที่  68 / 80
วาตสมุฏฺฐานา อาพาธา ความเจ็บไข้ที่มีลมเป็นสมุฏฐาน

แสดงผลการค้น ลำดับที่  69 / 80
วาโยธาตุ ธาตุลม คือธาตุที่มีลักษณะพัดไปมา, ภาวะสั่นไหว เคร่งตึง ค้ำจุน;
       ในร่างกายนี้ ส่วนที่ใช้กำหนดเป็นอารมณ์กรรมฐาน ได้แก่ลมพัดขึ้นเบื้องบน ลมพัดลงเบื้องต่ำ ลมในท้อง ลมในไส้ ลมพัดไปตามตัว ลมหายใจ
       (ตามสภาวะ วาโยธาตุ คือ สภาพสั่นไหว หรือค้ำจุน);
       ดู ธาตุ

แสดงผลการค้น ลำดับที่  70 / 80
วิญญาณธาตุ ธาตุรู้, ความรู้แจ้ง, ความรู้อะไรได้
       (ข้อ ๖ ในธาตุ ๖)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  71 / 80
วินิบาต โลกหรือวิสัยเป็นที่ตกไปแห่งสัตว์อย่างไร้อำนาจ, แดนเป็นที่ตกลงไปพินาศย่อยยับ;
       อรรถกถาแห่งอิติวุตตกะอธิบาย นัยหนึ่งว่า เป็นไวพจน์ของคำว่านรกนั่นเอง อีกนัยหนึ่งว่า หมายถึงกำเนิดอสุรกาย

แสดงผลการค้น ลำดับที่  72 / 80
วินิปาติกะ ท่านว่าได้แก่พวกเวมานิกเปรต คือ พวกเปรตมีวิมานอยู่ได้เสวยสุขและต้องทุกข์ทรมานเป็นช่วงๆ สลับกันไป มีสุขบ้างทุกข์บ้างคละระคน

แสดงผลการค้น ลำดับที่  73 / 80
ศิวาราตรี พิธีลอยบาปของพราหมณ์ ทำในวันเพ็ญเดือน ๓ เป็นประจำปี วิธีทำคือ ลงอาบน้ำในแม่น้ำ สระเกล้า ชำระร่างกายให้สะอาดหมดจด เท่านี้ถือว่าได้ลอยบาปไปตามกระแสน้ำแล้ว เป็นอันสิ้นบาปกันคราวหนึ่ง ถึงปีก็ทำใหม่
       (คำสันสกฤตเดิมเป็น ศิวราตริ แปลว่า “ราตรีของพระศิวะ” พจนานุกรมสันสกฤตว่า ตรงกับแรม ๑๔ ค่ำ เดือน ๓)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  74 / 80
สวากขาตธรรม พระธรรมอันพระผู้มีพระภาคตรัสดีแล้ว คือ ตรัสได้จริง ไม่วิปริต ไพเราะในเบื้องต้น ท่ามกลางและที่สุด

แสดงผลการค้น ลำดับที่  75 / 80
สวากขาตนิยยานิกธรรม ธรรมที่พระพุทธเจ้ากล่าวดีแล้ว นำผู้ประพฤติตามให้ออกไปจากทุกข์

แสดงผลการค้น ลำดับที่  76 / 80
สหชาต, สหชาติ “ผู้เกิดร่วมด้วย” หมายถึง บุคคล (ตลอดจนสัตว์และสิ่งของ) ที่เกิดร่วมวันเดือนปีเดียวกัน อย่างเพลา หมายถึง ผู้เกิดร่วมปีกัน;
       ตำนานกล่าวว่า เมื่อเจ้าชายสิทธัตถะประสูตินั้น มีสหชาต ๗
       คือ พระมารดาของเจ้าชายราหุล (เจ้าหญิงยโสธราหรือพิมพา) พระอานนท์ นายฉันนะ อำมาตย์กาฬุทายี ม้ากัณฐกะ ต้นมหาโพธิ์ และขุมทรัพย์ทั้ง ๔ (นิธิกุมภี)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  77 / 80
สหชาตธรรม ธรรมที่เกิดพร้อมกัน

แสดงผลการค้น ลำดับที่  78 / 80
สันนิบาต การประชุม, ที่ประชุม

แสดงผลการค้น ลำดับที่  79 / 80
สนฺนิปาติกา อาพาธา ความเจ็บไข้เกิดจากสันนิบาต (คือประชุมกันแห่งสมุฏฐานทั้งสาม),
       ไข้สันนิบาต คือความเจ็บไข้ที่เกิดขึ้นแต่ดี เสมหะ และลม ทั้งสามเจือกัน

แสดงผลการค้น ลำดับที่  80 / 80
สาตรูป รูปเป็นที่ชื่นใจ; ดู ปิยรูป


พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์
http://84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=าต
http://84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=%D2%B5


บันทึก  ๒, ๓๐ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๔๗ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจาก พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ พิมพ์ครั้งที่ ๑๐. พ.ศ. ๒๕๔๖ หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]