ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ. ปยุตฺโต) พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต) พระธรรมปิฎก (ประยุทธ์ ปยุตฺโต)
            การค้นหาคำว่า “ าธ ”             ผลการค้นหาพบ  74  ตำแหน่ง ดังนี้ :-

แสดงผลการค้น ลำดับที่  1 / 74
กัมมวิปากชา อาพาธา ความเจ็บไข้ เกิดแต่วิบากของกรรม

แสดงผลการค้น ลำดับที่  2 / 74
กิจจาธิกรณ์ การงานเป็นอธิกรณ์ คือ เรื่องที่เกิดขึ้นอันสงฆ์ต้องจัดต้องทำ หรือกิจธุระที่สงฆ์จะพึงทำ;
       อรรถกถาพระวินัยว่า หมายถึงกิจอันจะพึงทำด้วยประชุมสงฆ์ ได้แก่ สังฆกรรม ทั้ง ๔ คือ
       อปโลกนกรรม ญัตติกรรม ญัตติทุติยกรรม ญัตติจตุตถกรรม

แสดงผลการค้น ลำดับที่  3 / 74
ขณิกสมาธิ สมาธิชั่วขณะ, สมาธิขั้นต้นพอสำหรับใช้ในการเล่าเรียนทำการงานให้ได้ผลดี ให้จิตใจสงบสบายได้ พักชั่วคราว และใช้เริ่มปฏิบัติวิปัสสนาได้
       (ขั้นต่อไป คือ อุปจารสมาธิ)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  4 / 74
ขราพาธ อาพาธหนัก, ป่วยหนัก

แสดงผลการค้น ลำดับที่  5 / 74
จิตกาธาน เชิงตะกอน, ที่เผาศพ

แสดงผลการค้น ลำดับที่  6 / 74
ชราธรรม มีความแก่เป็นธรรมดา, มีความแก่เป็นของแน่นอน, ธรรมคือความแก่

แสดงผลการค้น ลำดับที่  7 / 74
เทวาธิบาย ความประสงค์ของเทวดา

แสดงผลการค้น ลำดับที่  8 / 74
ธรรมาธิปไตย ถือธรรมเป็นใหญ่,
       ถือหลักการ ความจริง ความถูกต้อง ความดีงานและเหตุผลเป็นใหญ่ ทำการด้วยปัญญา โดยเคารพหลักการ กฎ ระเบียบ กติกา มุ่งเพื่อความดีงาม ความจริง ความชอบธรรมเป็นประมาณ;
       ดู อธิปไตย

แสดงผลการค้น ลำดับที่  9 / 74
ธรรมาธิษฐาน มีธรรมเป็นที่ตั้ง คือ เทศนายกธรรมขึ้นแสดง เช่นว่า ศรัทธา ศีล คืออย่างนี้ ธรรมที่ประพฤติดีแล้ว ย่อมนำสุขมาให้ ดังนี้เป็นต้น;
       คู่กับ บุคคลาธิษฐาน

แสดงผลการค้น ลำดับที่  10 / 74
ธรรมิศราธิบดี ผู้เป็นอธิบดีโดยฐานเป็นใหญ่ในธรรม หมายถึงพระพุทธเจ้า (คำกวี)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  11 / 74
ธัมมาธิปเตยยะ ถือธรรมเป็นใหญ่ คือ นึกถึงความจริง ความถูกต้องสมควรก่อนแล้วจึงทำ
       บัดนี้นิยมเขียน ธรรมาธิปไตย;
       ดู อธิปเตยยะ

แสดงผลการค้น ลำดับที่  12 / 74
นวกัมมาธิฏฐายี ผู้อำนวยการก่อสร้าง เช่น ที่พระโมคคัลลานะได้รับมอบหมายจากพระบรมศาสดาให้เป็นผู้อำนวยการสร้างบุพพารามที่นางวิสาขาบริจาคทุนสร้างที่กรุงสาวัตถี

แสดงผลการค้น ลำดับที่  13 / 74
นานาธาตุญาณ ปรีชาหยั่งรู้ธาตุต่างๆ คือรู้จักแยกสมมติออกเป็นขันธ์ อายตนะ ธาตุต่างๆ
       (ข้อ ๔ ในทศพลญาณ)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  14 / 74
นานาธิมุตติกญาณ ปรีชาหยั่งรู้อัธยาศัยของสัตว์ ที่โน้มเอียง เชื่อถือ สนใจ พอใจต่างๆ กัน
       (ข้อ ๕ ในทศพลญาณ)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  15 / 74
บุคคลาธิษฐาน มีบุคคลเป็นที่ตั้ง, เทศนายกบุคคลขึ้นตั้ง คือ วิธีแสดงธรรมโดยยกบุคคลขึ้นอ้าง;
       คู่กับ ธรรมาธิษฐาน

แสดงผลการค้น ลำดับที่  16 / 74
ประธานาธิบดี หัวหน้าผู้ปกครองบ้านเมืองแบบสาธารณรัฐ

แสดงผลการค้น ลำดับที่  17 / 74
ประสาธน์ ทำให้สำเร็จ, เครื่องประดับ

แสดงผลการค้น ลำดับที่  18 / 74
ปักขันทิกาพาธ โรคท้องร่วง พระสารีบุตรนิพพานด้วยโรคนี้

แสดงผลการค้น ลำดับที่  19 / 74
ปิตฺตสมุฏฺฐานา อาพาธา ความเจ็บไข้มีดีเป็นสมุฏฐาน

แสดงผลการค้น ลำดับที่  20 / 74
พยาธิ ความเจ็บไข้

แสดงผลการค้น ลำดับที่  21 / 74
พรรษาธิษฐาน อธิษฐานพรรษา, กำหนดใจว่าจะจำพรรษา;
       ดู จำพรรษา

แสดงผลการค้น ลำดับที่  22 / 74
พร้อมหน้าธรรมวินัย (ระงับอธิกรณ์) โดยนำเอาธรรมวินัย และสัตถุศาสน์ที่เป็นหลักสำหรับระงับอธิกรณ์นั้นมาใช้โดยครบถ้วน คือวินิจฉัยถูกต้องโดยธรรมและถูกต้องโดยวินัย
       (ธัมมสัมมุขตา วินยสัมมุขตา)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  23 / 74
พิทยาธร ดู วิทยาธร

แสดงผลการค้น ลำดับที่  24 / 74
พุทธาธิบาย พระประสงค์ของพระพุทธเจ้า, พระดำรัสชี้แจงของพระพุทธเจ้า

แสดงผลการค้น ลำดับที่  25 / 74
มิจฉาสมาธิ ตั้งใจผิด ได้แก่ จดจ่อ ปักใจ แน่วในกามราคะ ในพยาบาท เป็นต้น
       (ข้อ ๘ ในมิจฉัตตะ ๑๐)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  26 / 74
ราชาธิราช พระราชาผู้เป็นใหญ่กว่าพระราชาอื่นๆ

แสดงผลการค้น ลำดับที่  27 / 74
ราธะ พระมหาสาวกองค์หนึ่ง เดิมเป็นพราหมณ์ในเมืองราชคฤห์
       เมื่อชราลงถูกบุตรทอดทิ้ง อยากจะบวชก็ไม่มีภิกษุรับบวชให้ เพราะเห็นว่าเป็นคนแก่เฒ่า ราธะเสียใจ ร่างกายซูบซีด พระศาสดาทรงทราบจึงตรัสถามว่า มีใครระลึกถึงอุปการะของราธะได้บ้าง
       พระสารีบุตรระลึกถึงภิกษาทัพพีหนึ่งที่ราธะถวาย จึงรับเป็นอุปัชฌาย์ และราธะได้เป็นบุคคลแรกที่อุปสมบทด้วยญัตติจตุตถกรรมวาจา ท่านบวชแล้วไม่นานก็ได้บรรลุพระอรหัต
       พระราธะเป็นผู้ว่าง่าย ตั้งใจรับฟังคำสั่งสอน มีความสุภาพอ่อนโยน เป็นตัวอย่างของภิกษุผู้บวชเมื่อแก่ ทั้งพระพุทธเจ้าและพระสารีบุตรก็ชมท่าน ท่านเคยได้ใกล้ชิดพระพุทธเจ้า เคยทำหน้าที่เป็นพุทธอุปฐาก
       ได้รับยกย่องเป็นเอตทัคคะในทางก่อให้เกิดปฏิภาณ

แสดงผลการค้น ลำดับที่  28 / 74
โลกาธิปเตยยะ ดู โลกาธิปไตย

โลกาธิปไตย ความถือโลกเป็นใหญ่
       คือ ถือความนิยมหรือเสียงกล่าวว่า ของชาวโลกเป็นสำคัญ หวั่นไหวไปตามเสียงนินทาและสรรเสริญ จะทำอะไรก็มุ่งจะเอาใจหมู่ชน หาความนิยม ทำตามที่เขานิยมกัน หรือคอยแต่หวั่นกลัวเสียงกล่าวว่า,
       พึงใช้แต่ในทางดีหรือในขอบเขตที่เป็นความดี คือ เคารพเสียงหมู่ชน
       (ข้อ ๒ ในอธิปไตย ๓)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  29 / 74
วาตสมุฏฺฐานา อาพาธา ความเจ็บไข้ที่มีลมเป็นสมุฏฐาน

แสดงผลการค้น ลำดับที่  30 / 74
วิชชาธร, วิชาธร ดู วิทยาธร

แสดงผลการค้น ลำดับที่  31 / 74
วิทยาธร “ผู้ทรงวิทยา”, ผู้มีวิชากายสิทธิ์, ผู้มีฤทธิ์ที่สำเร็จด้วยวิทยาอาคมหรือของวิเศษ, พ่อมด

แสดงผลการค้น ลำดับที่  32 / 74
วิปัสสนาธุระ ธุระฝ่ายวิปัสสนา, ธุระด้านการเจริญวิปัสสนา, กิจพระศาสนาในด้านการบำเพ็ญกรรมฐาน;
       เทียบ คันถธุระ

แสดงผลการค้น ลำดับที่  33 / 74
วิวาทาธิกรณ์ วิวาทที่จัดเป็นอธิกรณ์,
       การวิวาทซึ่งเป็นเรื่องที่สงฆ์จะต้องเอาธุระดำเนินการพิจารณาระงับ ได้แก่การเถียงกันปรารภพระธรรมวินัย เช่นเถียงกันว่า สิ่งนี้เป็นธรรม เป็นวินัย สิ่งนี้ไม่ใช่ธรรมไม่ใช่วินัย ข้อนี้ พระพุทธเจ้าตรัสไว้ ข้อนี้ไม่ได้ตรัสไว้ ดังนี้เป็นต้น

แสดงผลการค้น ลำดับที่  34 / 74
วิสมปริหารชา อาพาธา ความเจ็บไข้ที่เกิดจากบริหารร่างกายไม่สม่ำเสมอ คือ ผลัดเปลี่ยนอิริยาบถไม่พอดี

แสดงผลการค้น ลำดับที่  35 / 74
สมาธิ ความมีใจตั้งมั่น, ความตั้งมั่นแห่งจิต, การทำให้ใจสงบแน่วแน่ ไม่ฟุ้งซ่าน, การมีจิตกำหนดแน่วแน่อยู่ในสิ่งใดสิ่งหนึ่งโดยเฉพาะ
       มักใช้เป็นคำเรียกง่ายๆ สำหรับอธิจิตตสิกขา;
       ดู เอกัคคตา, อธิจิตตสิกขา
       (ข้อ ๒ ในไตรสิกขา, ข้อ ๔ ในพละ ๕, ข้อ ๖ ในโพชฌงค์ ๗)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  36 / 74
สมาธิ ๒ คือ
       ๑. อุปจารสมาธิ สมาธิจวนเจียน หรือสมาธิเฉียดๆ
       ๒. อัปปนาสมาธิ สมาธิแน่วแน่

แสดงผลการค้น ลำดับที่  37 / 74
สมาธิ ๓ คือ
           ๑. สุญญตสมาธิ
           ๒. อนิมิตตสมาธิ
           ๓. อัปปณิหิตสมาธิ;
       อีกหมวดหนึ่ง ได้แก่
           ๑. ขณิกสมาธิ
           ๒. อุปจารสมาธิ
           ๓. อัปปนาสมาธิ

แสดงผลการค้น ลำดับที่  38 / 74
สมาธิกถา ถ้อยคำที่ชักชวนให้ทำใจให้สงบตั้งมั่น
       (ข้อ ๗ ในกถาวัตถุ ๑๐)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  39 / 74
สมาธิขันธ์ หมวดธรรมจำพวกสมาธิ เช่น ฉันทะ วิริยะ จิตตะ ชาคริยานุโยค กายคตาสติ เป็นต้น

แสดงผลการค้น ลำดับที่  40 / 74
สวาธยาย ดู สาธยาย

แสดงผลการค้น ลำดับที่  41 / 74
สัตยาธิษฐาน การตั้งความจริงเป็นหลักอ้าง, ความตั้งใจแน่วแน่มุ่งต่อผลอย่างใดอย่างหนึ่งด้วยการอ้างความจริงเป็นหลักประกัน

แสดงผลการค้น ลำดับที่  42 / 74
สนฺนิปาติกา อาพาธา ความเจ็บไข้เกิดจากสันนิบาต (คือประชุมกันแห่งสมุฏฐานทั้งสาม),
       ไข้สันนิบาต คือความเจ็บไข้ที่เกิดขึ้นแต่ดี เสมหะ และลม ทั้งสามเจือกัน

แสดงผลการค้น ลำดับที่  43 / 74
สัมมาสมาธิ ตั้งจิตมั่นชอบ, จิตมั่นชอบ คือสมาธิที่เจริญตามแนวของ ฌาน ๔
       (ข้อ ๘ ในมรรค)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  44 / 74
สาธก อ้างตัวอย่างให้เห็นสม, ยกตัวอย่างมาอ้างให้เห็น

แสดงผลการค้น ลำดับที่  45 / 74
สาธยาย การท่อง, การสวด

แสดงผลการค้น ลำดับที่  46 / 74
สาธารณ์ ทั่วไป, ทั่วไปแก่หมู่, ของส่วนรวม ไม่ใช่ของใครโดยเฉพาะ

แสดงผลการค้น ลำดับที่  47 / 74
สาธารณสถาน สถานที่สำหรับคนทั่วไป

แสดงผลการค้น ลำดับที่  48 / 74
สาธารณสิกขาบท สิกขาบทที่ทั่วไป, สิกขาบทที่ใช้บังคับทั่วกันหรือเสมอเหมือนกัน
       หมายถึง สิกขาบทสำหรับภิกษุณี ที่เหมือนกันกับสิกขาบทของภิกษุ
       เช่น ปาราชิก ๔ ข้อต้นในจำนวน ๘ ข้อของภิกษุณีเหมือนกันกับสิกขาบทของภิกษุ;
       เทียบ อสาธารณสิกขาบท

แสดงผลการค้น ลำดับที่  49 / 74
สาธุการ การเปล่งวาจาว่า สาธุ (แปลว่า “ดีแล้ว” “ชอบแล้ว”) เพื่อแสดงความเห็นชอบด้วย ชื่นชม หรือยกย่องสรรเสริญ

แสดงผลการค้น ลำดับที่  50 / 74
สาธุชน คนดี, คนมีศีลธรรม, คนมีสัมมาทิฏฐิ

แสดงผลการค้น ลำดับที่  51 / 74
สุญญตสมาธิ สมาธิอันพิจารณาเห็นความว่าง
       ได้แก่ วิปัสสนาที่ให้ถึงความหลุดพ้นด้วยกำหนดอนัตตลักษณะ
       (ข้อ ๑ ในสมาธิ ๓)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  52 / 74
เสมฺหสมุฏฺฐานา อาพาธา ความเจ็บไข้ มีเสมหะเป็นสมุฏฐาน

แสดงผลการค้น ลำดับที่  53 / 74
อนิมิตตสมาธิ สมาธิอันพิจารณาธรรมไม่มีนิมิต
       คือ วิปัสสนาที่ให้ถึงความหลุดพ้นด้วยกำหนดอนิจจลักษณะ
       (ข้อ ๒ ในสมาธิ ๓)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  54 / 74
อนุราธ ชื่อเมืองหลวงของลังกาสมัยโบราณ;
       เรียกกันว่า อนุราธปุระ บ้าง อนุราธบุรี บ้าง

แสดงผลการค้น ลำดับที่  55 / 74
อนุรุทธะ พระมหาสาวกองค์หนึ่ง เป็นเจ้าชายในศากยวงศ์ เป็นพระโอรสของพระเจ้าอมิโตทนะ และเป็นอนุชาของเจ้ามหานามะ
       ภายหลังออกบวชพร้อมกับเจ้าชายอานนท์ เป็นต้น
       เรียนกรรมฐานในสำนักของพระสารีบุตร ได้บรรลุพระอรหัตที่ป่าปาจีนวังสทายวัน ในแคว้นเจตี
       พระศาสดาทรงยกย่องว่า เป็นเอตทัคคะในทางทิพยจักษุ

แสดงผลการค้น ลำดับที่  56 / 74
อนุวาทาธิกรณ์ การโจทที่จัดเป็นอธิกรณ์ คือ การโจทกันด้วยอาบัติ, เรื่องการกล่าวหากัน;
       ดู อธิกรณ์

แสดงผลการค้น ลำดับที่  57 / 74
อสาธารณสิกขาบท สิกขาบทที่ไม่ทั่วไป
       หมายถึง สิกขาบทเฉพาะของภิกษุณี ที่แผกออกไปจากสิกขาบทของภิกษุ;
       เทียบ สาธารณสิกขาบท

แสดงผลการค้น ลำดับที่  58 / 74
อัญญสมานาเจตสิก เจตสิกที่มีเสมอกันแก่จิตพวกอื่น คือ ประกอบเข้าได้กับจิตต์ทุกฝ่ายทั้งกุศลและอกุศล มิใช่เข้าได้ฝ่ายหนึ่งฝ่ายเดียว มี ๑๓ แยกเป็น
       ก. สัพพจิตตสาธารณเจตสิก (เจตสิกที่เกิดทั่วไปกับจิตทุกดวง) ๗ คือ
           ผัสสะ (ความกระทบอารมณ์)
           เวทนา
           สัญญา
           เจตนา
           เอกัคคตา
           ชีวิตินทรีย์
           มนสิการ (ความกระทำอารมณ์ไว้ในใจ, ใส่ใจ)
       ข. ปกิณณกเจตสิก (เจตสิกที่เรี่ยราย คือเกิดกับจิตได้ทั้งฝ่ายกุศลและอกุศล แต่ไม่แน่นอนเสมอไปทุกดวง) ๖ คือ
           วิตก (ความตรึกอารมณ์)
           วิจาร (ความตรองอารมณ์)
           อธิโมกข์ (ความปักใจในอารมณ์)
           วิริยะ
           ปีติ
           ฉันทะ (ความพอใจในอารมณ์)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  59 / 74
อัตตาธิปเตยยะ ดู อัตตาธิปไตย

อัตตาธิปไตย ความถือตนเป็นใหญ่ จะทำอะไรก็นึกถึงตน คำนึงถึงฐานะเกียรติศักดิ์ศรี หรือผลประโยชน์ของตนเป็นสำคัญ,
       พึงใช้แต่ในขอบเขตที่เป็นความดี คือ เว้นชั่วทำดีด้วยเคารพตน
       (ข้อ ๑ ในอธิปไตย ๓)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  60 / 74
อัตถสาธกะ ยังอรรถให้สำเร็จ, ทำเนื้อความให้สำเร็จ

แสดงผลการค้น ลำดับที่  61 / 74
อัปปณิหิตสมาธิ การเจริญสมาธิที่ทำให้ถึงความหลุดพ้นด้วยกำหนดทุกขลักษณะ
       (ข้อ ๓ ในสมาธิ ๓)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  62 / 74
อัปปนาสมาธิ สมาธิแน่วแน่, จิตตั้งมั่นสนิท เป็นสมาธิในฌาน
       (ข้อ ๒ ในสมาธิ ๒, ข้อ ๓ ในสมาธิ ๓)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  63 / 74
อาธรรม์, อาธรรม ดู อธรรม

แสดงผลการค้น ลำดับที่  64 / 74
อาปัตตาธิกรณ์ อธิกรณ์คืออาบัติ หมายความว่า การต้องอาบัติและการถูกปรับอาบัติ เป็นอธิกรณ์โดยฐานเป็นเรื่องที่จะต้องจัดทำ คือระงับด้วยการแก้ไขปลดเปลื้องออกจากอาบัตินั้นเสีย มีการปลงอาบัติ หรือการอยู่กรรมเป็นต้น ตามวิธีที่ท่านบัญญัติไว้

แสดงผลการค้น ลำดับที่  65 / 74
อาพาธ ความเจ็บป่วย, โรค (ใช้เฉพาะพระภิกษุสามเณร)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  66 / 74
อาราธนา การเชื้อเชิญ, นิมนต์, ขอร้อง, อ้อนวอน
       (มักใช้สำหรับพระสงฆ์และสิ่งศักดิ์สิทธิ์)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  67 / 74
อาราธนาธรรม กล่าวคำเชิญหรือขอร้องพระให้แสดงธรรม (ให้เทศน์) ว่าดังนี้:
       “พฺรหฺมา จ โลกาธิปตี สหมฺปติ
       กตฺอญฺชลี อนฺธิวรํ อยาจถ
       สนฺตีธ สตฺตาปฺปรชกฺขชาติกา
       เทเสตุ ธมฺมํ อนุกมฺปิมํ ปชํ ฯ”

แสดงผลการค้น ลำดับที่  68 / 74
อาราธนาพระปริตร กล่าวคำเชิญหรือขอร้องให้พระสวดพระปริตร ว่าดังนี้:
           “วิปตฺติปฏิพาหาย
           สพฺพสมฺปตฺติสิทฺธิยา
           สพฺพทุกฺขวินาสาย
           ปริตฺตํ พฺรูถ มงฺคลํ”
       (ว่า ๓ ครั้ง แต่ครั้งที่ ๒ เปลี่ยน ทุกฺข เป็น ภย; ครั้งที่ ๓ เปลี่ยนเป็น โรค)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  69 / 74
อาราธนาศีล กล่าวคำเชิญหรือขอร้องพระให้ให้ศีล, สำหรับศีล ๕ ว่าดังนี้:
       “มยํ ภนฺเต, (วิสุงฺ วิสุงฺ รกฺขณตฺถาย), ติสรเณน สห, ปญฺจ สีลานิ ยาจาม;
       ทุติยมฺปิ มยํ ภนฺเต, (วิสุงฺ วิสุงฺ รกฺขณตฺถาย), ติสรเณน สห, ปญฺจ สีลานิ ยาจาม;
       ตติยมฺปิ มยํ ภนฺเต, (วิสุงฺ วิสุงฺ รกฺขณตฺถาย), ติสรเณน สห, ปญฺจ สีลานิ ยาจาม”
       (คำในวงเล็บ จะไม่ใช้ก็ได้)
       คำอาราธนาศีล ๘ ก็เหมือนกัน เปลี่ยนแต่ ปญฺจ เป็น อฏฺฐ

แสดงผลการค้น ลำดับที่  70 / 74
อาราธนาศีลอุโบสถ กล่าวคำเชิญพระให้ให้อุโบสถศีล ว่าพร้อมกันทุกคน ดังนี้;
       “มยํ ภนฺเต, ติสรเณน สห, อฏฺฐงฺคสมนฺนาคตํ, อุโปสถํ ยาจาม” (ว่า ๓ จบ)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  71 / 74
อิสราธิบดี ผู้เป็นเจ้าใหญ่เหนือกว่าผู้เป็นใหญ่ทั่วไป, ราชา, พระเจ้าแผ่นดิน

แสดงผลการค้น ลำดับที่  72 / 74
อุตุปริณามชา อาพาธา ความเจ็บไข้เกิดแต่ฤดูแปรปรวน, เจ็บป่วยเพราะดินฟ้าอากาศผันแปร

แสดงผลการค้น ลำดับที่  73 / 74
อุปจารสมาธิ สมาธิจวนจะแน่วแน่, สมาธิที่ยังไม่ดิ่งถึงที่สุด เป็นขั้นทำให้กิเลสมีนิวรณ์เป็นต้นระงับ ก่อนจะเป็นอัปปนา คือถึงฌาน
       (ข้อ ๑ ในสมาธิ ๒, ข้อ ๒ ในสมาธิ ๓)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  74 / 74
โอปกฺกมิกา อาพาธา ความเจ็บไข้เกิดจากความพยายามหรือจากคนทำให้, เจ็บป่วยเพราะการกระทำของคน คือ ตนเองเพียงเกินกำลัง หรือถูกเขากระทำ เช่น ถูกจองจำ ใส่ขื่อคา เป็นต้น


พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์
http://84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=าธ
http://84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=%D2%B8


บันทึก  ๒, ๓๐ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๔๗ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจาก พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ พิมพ์ครั้งที่ ๑๐. พ.ศ. ๒๕๔๖ หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]