ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ. ปยุตฺโต) พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต) พระธรรมปิฎก (ประยุทธ์ ปยุตฺโต)
            การค้นหาคำว่า “ ิข ”             ผลการค้นหาพบ  12  ตำแหน่ง ดังนี้ :-

แสดงผลการค้น ลำดับที่  1 / 12
กัปปิยบริขาร เครื่องใช้สอยที่สมควรแก่สมณะ, ของใช้ที่สมควรแก่ภิกษุ

แสดงผลการค้น ลำดับที่  2 / 12
บริขาร เครื่องใช้สอยของนักพรต,
       เครื่องใช้สอยของพระในพระพุทธศาสนา มี ๘ อย่าง คือ
           สบง จีวร สังฆาฏิ บาตร มีดโกนหรือมีดตัดเล็บ เข็ม ประคดเอว กระบอกกรองน้ำ
       นิยมเรียกรวมว่า อัฐบริขาร (บริขาร ๘)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  3 / 12
บริขารโจล ท่อนผ้าใช้เป็นบริขาร เช่น ผ้ากรองน้ำ ถุงบาตร ย่าม ผ้าห่อของ

แสดงผลการค้น ลำดับที่  4 / 12
ปลงบริขาร มอบบริขารให้แก่ผู้อื่นในเวลาใกล้จะตาย เป็นการให้อย่างขาดกรรมสิทธิ์ไปทีเดียวตั้งแต่เวลานั้น
       (ใช้สำหรับภิกษุผู้จะถึงมรณภาพเพื่อให้ถูกต้องตามพระวินัย)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  5 / 12
วิขัมภนปหาน การละกิเลสได้ด้วยข่มไว้ด้วยฌาน;
       มักเขียน วิกขัมภนปหาน

แสดงผลการค้น ลำดับที่  6 / 12
วิขัมภนวิมุตติ ดู วิกขัมภนวิมุตติ

แสดงผลการค้น ลำดับที่  7 / 12
วิบัติ ความเสีย, ความผิดพลาด, ความบกพร่อง, ความเสียหายใช้การไม่ได้
       1. วิบัติความเสียของภิกษุ มี ๔ อย่าง คือ
           ๑. ศีลวิบัติ ความเสียแห่งศีล
           ๒. อาจารวิบัติ ความเสียมรรยาท
           ๓. ทิฏฐิวิบัติ ความเห็นผิดธรรมผิดวินัย
           ๔. อาชีววิบัติ ความเสียหายแห่งการเลี้ยงชีพ
       2. วิบัติคือความเสียหายใช้ไม่ได้ของสังฆกรรม มี ๔ คือ
           ๑. วัตถุวิบัติ เสียโดยวัตถุ เช่น อุปสมบทคนอายุต่ำกว่า ๒๐ ปี
           ๒. สีมาวิบัติ เสียโดยสีมา เช่น สีมาไม่มีนิมิต
           ๓. ปริสวิบัติ เสียโดยบริษัทคือที่ประชุม เช่น ภิกษุเข้าประชุมไม่ครบองค์สงฆ์
           ๔. กรรมวาจาวิบัติ เสียโดยกรรมวาจา เช่น สวดผิดพลาดตกหล่น สวดแต่อนุสาวนาไม่ได้ตั้งญัตติ เป็นต้น
           (ข้อกรรมวาจาวิบัติบางกรณีแยกเป็นญัตติวิบัติและอนุสาวนาวิบัติ กลายเป็นวิบัติ ๕ ก็มี);
       เทียบ สมบัติ

แสดงผลการค้น ลำดับที่  8 / 12
วิมุตติขันธ์ กองวิมุตติ,
       หมวดธรรมว่าด้วยวิมุตติ คือการทำจิตให้พ้นจากอาสวะ
       เช่น ปหานะ การละ, สัจฉิกิริยา การทำให้แจ้ง
       (ข้อ ๔ ในธรรมขันธ์ ๕)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  9 / 12
สมบัติ ความถึงพร้อม, ความครบถ้วน, ความสมบูรณ์
       1. สิ่งที่ได้ที่ถึงด้วยดี, เงินทองของมีค่า, สิ่งที่มีอยู่ในสิทธิอำนาจของตน, ความพรั่งพร้อมสมบูรณ์, สมบัติ ๓ ได้แก่
               มนุษยสมบัติ สมบัติในขั้นมนุษย์
               สวรรคสมบัติ สมบัติในสวรรค์ (เทวสมบัติ หรือทิพยสมบัติ ก็เรียก) และ
               นิพพานสมบัติ สมบัติ คือนิพพาน
       2. ความครบถ้วนของสังฆกรรม เช่น อุปสมบท เป็นต้น ที่จะทำให้สังฆกรรมนั้นถูกต้อง ใช้ได้ มีผลสมบูรณ์ มี ๔ คือ
           ๑. วัตถุสมบัติ วัตถุถึงพร้อม เช่น ผู้อุปสมบทเป็นชายอายุครบ ๒๐ ปี
           ๒. ปริสสมบัติ บริษัทคือที่ประชุมถึงพร้อม สงฆ์ครบองค์กำหนด
           ๓. สีมาสมบัติ เขตชุมนุมถึงพร้อม
               เช่น สีมามีนิมิตถูกต้องตามพระวินัย และประชุมทำในเขตสีมา
           ๔. กรรมวาจาสมบัติ กรรมวาจาถึงพร้อม สวดประกาศถูกต้องครบถ้วน
               (ข้อ ๔ อาจแยกเป็น ๒ ข้อ คือเป็น
               ๔. ญัตติสมบัติ ญัตติถึงพร้อม คือคำเผดียงสงฆ์ถูกต้อง
               ๕. อนุสาวนาสมบัติ อนุสาวนาถึงพร้อมคำหารือตกลงถูกต้อง รวมเป็นสมบัติ ๕);
       เทียบ วิบัติ

แสดงผลการค้น ลำดับที่  10 / 12
สมบัติของอุบาสก ๕ คือ
       ๑. มีศรัทธา
       ๒. มีศีลบริสุทธิ์
       ๓. ไม่ถือมงคลตื่นข่าว เชื่อกรรม ไม่เชื่อมงคล
       ๔. ไม่แสวงหาเขตบุญนอกหลักพระพุทธศาสนา
       ๕. ขวนขวายในการอุปถัมภ์บำรุงพระพุทธศาสนา
       (ข้อ ๕ ตามแบบเรียนว่า บำเพ็ญบุญแต่ในพุทธศาสนา)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  11 / 12
สมาธิขันธ์ หมวดธรรมจำพวกสมาธิ เช่น ฉันทะ วิริยะ จิตตะ ชาคริยานุโยค กายคตาสติ เป็นต้น

แสดงผลการค้น ลำดับที่  12 / 12
สิขี พระนามของพระพุทธเจ้าพระองค์หนึ่งในอดีต;
       ดู พระพุทธเจ้า ๗


พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์
http://84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=ิข
http://84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=%D4%A2


บันทึก  ๒, ๓๐ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๔๗ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจาก พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ พิมพ์ครั้งที่ ๑๐. พ.ศ. ๒๕๔๖ หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]