ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ. ปยุตฺโต) พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต) พระธรรมปิฎก (ประยุทธ์ ปยุตฺโต)
            การค้นหาคำว่า “ ิณ ”             ผลการค้นหาพบ  41  ตำแหน่ง ดังนี้ :-

แสดงผลการค้น ลำดับที่  1 / 41
กสิณ วัตถุอันจูงใจ คือ จูงใจให้เข้าไปผูกอยู่ เป็นชื่อของกัมมัฏฐานที่ใช้วัตถุสำหรับเพ่งเพื่อจูงจิตให้เป็นสมาธิ
       มี ๑๐ อย่าง คือ
       ภูตกสิณ ๔ :
           ๑. ปฐวี ดิน ๒. อาโป น้ำ ๓. เตโช ไฟ ๔. วาโย ลม
       วรรณกสิณ ๔ :
           ๕. นีลํ สีเขียว ๖. ปีตํ สีเหลือง ๗. โลหิตํ สีแดง ๘. โอทาตํ สีขาว
       และ ๙. อาโลโก แสงสว่าง ๑๐. อากาโส ที่ว่าง

แสดงผลการค้น ลำดับที่  2 / 41
คิหิณี หญิงผู้ครองเรือน, คฤหัสถ์หญิง

แสดงผลการค้น ลำดับที่  3 / 41
ติณชาติ หญ้า

แสดงผลการค้น ลำดับที่  4 / 41
ติณวัตถารกวิธี วิธีแห่ง ติณวัตถารกวินัย

แสดงผลการค้น ลำดับที่  5 / 41
ติณวัตถารกวินัย ระเบียบดังกลบไว้ด้วยหญ้า
       ได้แก่ กิริยาที่ให้ประนีประนอมกันทั้งสองฝ่าย ไม่ต้องชำระสะสางหาความเดิม เป็นวิธีระงับอาปัตตาธิกรณ์ ที่ใช้ในเมื่อจะระงับลหุกาบัติที่เกี่ยวกับภิกษุจำนวนมาก ต่างก็ประพฤติไม่สมควรและซัดทอดกันเป็นเรื่องนุงนังซับซ้อน ชวนให้ทะเลาะวิวาท กล่าวซัดลำเลิกกันไปไม่มีที่สุด จะระงับวิธีอื่นก็จะเป็นเรื่องลุกลามไป เพราะถ้าจะสืบสวนสอบสวนปรับให้กันและกันแสดงอาบัติ ก็มีแต่จะทำให้อธิกรณ์รุนแรงยิ่งขึ้น จึงระงับเสียด้วยติณวัตถารกวิธี คือแบบกลบไว้ด้วยหญ้า ตัดตอนยกเลิกเสีย ไม่สะสางความหลังกันอีก

แสดงผลการค้น ลำดับที่  6 / 41
ทักขิณ, ทักษิณ ขวา, ทิศใต้

แสดงผลการค้น ลำดับที่  7 / 41
ทักขิณทิส “ทิศเบื้องขวา” หมายถึง อาจารย์ (ตามความหมายในทิศ ๖)
       ดู ทิศ ๖

แสดงผลการค้น ลำดับที่  8 / 41
ทักขิณา, ทักษิณา ทานที่ถวายเพื่อผลอันเจริญ, ของทำบุญ

แสดงผลการค้น ลำดับที่  9 / 41
ทักขิณานุปทาน ทำบุญอุทิศผลให้แก่ผู้ตาย

แสดงผลการค้น ลำดับที่  10 / 41
ทักขิณาบถ เมืองแถบใต้, ประเทศฝ่ายทิศใต้

แสดงผลการค้น ลำดับที่  11 / 41
ทักขิณาวัฏฏ์ เวียนขวา, วนไปทางขวา คือ วนเลี้ยวทางขวาอย่างเข็มนาฬิกา
       เขียน ทักขิณาวัฏ หรือ ทักษิณาวรรต ก็มี;
       ตรงข้ามกับ อุตตราวัฏ

แสดงผลการค้น ลำดับที่  12 / 41
ทักษิณนิกาย นิกายพุทธศาสนาฝ่ายใต้ที่พวกอุตรนิกายตั้งชื่อให้ว่า หีนยาน ใช้บาลีมคธ
       บัดนี้ นิยมเรียกว่า เถรวาท

แสดงผลการค้น ลำดับที่  13 / 41
ทักษิณา ทานเพื่อผลอันเจริญ, ของทำบุญ

แสดงผลการค้น ลำดับที่  14 / 41
ทักษิณานุประทาน ทำบุญอุทิศผลให้แก่ผู้ตาย

แสดงผลการค้น ลำดับที่  15 / 41
ทิศทักษิณ ทิศใต้, ทิศเบื้องขวา

แสดงผลการค้น ลำดับที่  16 / 41
นครโศภินี หญิงงามเมือง, หญิงขายตัว
       (พจนานุกรมเขียน นครโสภิณี, นครโสเภณี)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  17 / 41
บิณฑจาริกวัตร วัตรของผู้เที่ยวบิณฑบาต,
       ธรรมเนียมหรือข้อควรปฏิบัติสำหรับภิกษุที่จะไปรับบิณฑบาต เช่น
           นุ่งห่มให้เรียบร้อย
           สำรวมกิริยาอาการ
           ถือบาตรภายในจีวรเอาออกเฉพาะเมื่อจะรับบิณฑบาต
           กำหนดทางเข้าออกแห่งบ้านและอาการของชาวบ้านที่จะให้ภิกขาหรือไม่
           รับบิณฑบาตด้วยอาการสำรวม
           รูปที่กลับมาก่อน จัดที่ฉัน รูปที่มาทีหลัง ฉันแล้วเก็บกวาด

แสดงผลการค้น ลำดับที่  18 / 41
บิณฑบาต อาหารที่ใส่ลงในบาตรพระ, อาหารถวายพระ;
       ในภาษาไทยใช้ในความหมายว่า รับของใส่บาตร เช่นที่ว่า พระไปบิณฑบาต คือ ไปรับอาหารที่เขาจะใส่ลงในบาตร

แสดงผลการค้น ลำดับที่  19 / 41
ปกิณณกทุกข์ ทุกข์เบ็ดเตล็ด, ทุกข์เรี่ยราย,
       ทุกข์จร ได้แก่ โศก ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส

แสดงผลการค้น ลำดับที่  20 / 41
ประทักษิณ เบื้องขวา,
       การเวียนขวา คือ เวียนเลี้ยวไปทางขวาอย่างเข็มนาฬิกา เป็นอาการแสดงความเคารพ

แสดงผลการค้น ลำดับที่  21 / 41
ปริณายก ผู้นำ, ผู้เป็นหัวหน้า

แสดงผลการค้น ลำดับที่  22 / 41
ปัตตปิณฑิกังคะ องค์แห่งผู้ถือฉันเฉพาะในบาตรเป็นวัตร คือ ถือการฉันเฉพาะในบาตร ไม่ใช้ภาชนะอื่น
       (ข้อ ๖ ในธุดงค์ ๑๓)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  23 / 41
ปิณฑปาติกธุดงค์ องค์คุณเครื่องขจัดกิเลสแห่งภิกษุเป็นต้น ผู้ถือการเที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตร
       หมายถึง ปิณฑปาติกังคะ นั่นเอง

ปิณฑปาติกังคะ องค์แห่งผู้ถือเที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตร คือ ไม่รับนิมนต์หรือลาภพิเศษอย่างอื่นใด ฉันเฉพาะอาหารที่บิณฑบาตมาได้
       (ข้อ ๓ ใน ธุดงค์ ๑๓)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  24 / 41
ปิณโฑลภารทวาชะ พระมหาสาวกองค์หนึ่ง
       เป็นบุตรพราหมณ์มหาศาลภารทวาชโคตร ในพระนครราชคฤห์ เรียนจบไตรเพท ออกบวชในพระพุทธศาสนา ได้สำเร็จพระอรหัต
       เป็นผู้บริบูรณ์ด้วยสติ สมาธิ ปัญญา มักเปล่งวาจาว่า
           “ผู้ใดมีความเคลือบแคลงสงสัยในมรรคก็ดี ผลก็ดี ขอผู้นั้นจงมาถามข้าพเจ้าเถิด”
       พระศาสดาทรงยกย่องว่า เป็นเอตทัคคะในทางบันลือสีหนาท

แสดงผลการค้น ลำดับที่  25 / 41
พหุลกรรม กรรมทำมาก หรือกรรมชิน
       ได้แก่ กรรมทั้งที่เป็นกุศลและอกุศลที่ทำบ่อยๆ จนเคยชิน ย่อมให้ผลก่อนกรรมอื่น เว้นครุกรรม
       เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า อาจิณณกรรม (ข้อ ๑๐ ในกรรม ๑๒)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  26 / 41
พิณ เครื่องดนตรีชนิดหนึ่ง มีสายสำหรับดีด

แสดงผลการค้น ลำดับที่  27 / 41
ภูตกสิณ กสิณ คือ ภูตรูป, กสิณคือ ธาตุ ๔ ได้แก่ ปฐวี ดิน, อาโป น้ำ, เตโช ไฟ, วาโย ลม

แสดงผลการค้น ลำดับที่  28 / 41
ยักษ์ มีความหมายหลายอย่าง แต่ที่ใช้บ่อย หมายถึง อมนุษย์พวกหนึ่งเป็นบริวารของท้าวกุเวร หรือเวสสวัณ, ตามที่ถือกันมาว่ามีรูปร่างใหญ่โตน่ากลัวมีเขี้ยวงอกโง้ง ชอบกินมนุษย์กินสัตว์ โดยมากมีฤทธิ์เหาะได้ จำแลงตัวได้

ยักษิณี นางยักษ์

แสดงผลการค้น ลำดับที่  29 / 41
โรหิณี
       1. เจ้าหญิงองค์หนึ่งแห่งศากยวงศ์เป็นพระธิดาของพระเจ้าอมิโตทนะ ซึ่งเป็นพระเจ้าอาของพระพุทธเจ้า เป็นกนิษฐภคินี คือน้องสาวของพระอนุรุทธ ได้บรรลุธรรมเป็นพระโสดาบัน
       2. ชื่อแม่น้ำที่เป็นเส้นแบ่งเขตแดน ระหว่างแคว้นศากยะกับแคว้นโกลิยะ การแย่งกันใช้น้ำในการเกษตรเคยเป็นมูลเหตุให้เกิดกรณีพิพาทระหว่างแคว้นทั้งสอง จนจวนเจียนจะเกิดสงครามระหว่างพระญาติ ๒ ฝ่าย พระพุทธเจ้าเสด็จมาระงับศึก จึงสงบลงได้ สันนิษฐานกันว่า เป็นเหตุการณ์ในพรรษาที่ ๕ (บางท่านว่า ๑๔ หรือ ๑๕) แห่งการบำเพ็ญพุทธกิจ และเป็นที่มาของพระพุทธรูปปางห้ามญาติ;
           ปัจจุบันเรียก Rowai หรือ Rohwaini

แสดงผลการค้น ลำดับที่  30 / 41
วัณณกสิณ ๔ กสิณที่เพ่งวัตถุมีสีต่างๆ ๔ อย่าง
       คือ นีลํ สีเขียว, ปีตํ สีเหลือง, โลหิตํ สีแดง, โอทาตํ สีขาว;
       ดู กสิณ

แสดงผลการค้น ลำดับที่  31 / 41
วิปริณาม ความแปรปรวน, ความผันแปรเปลี่ยนแปลงเรื่อยไป

แสดงผลการค้น ลำดับที่  32 / 41
สปิณฑะ ผู้ร่วมก้อนข้าว,
       พวกพราหมณ์หมายเอาบุรพบิดร ๓ ชั้น คือ บิดา, ปู่, ทวด ซึ่งเป็นผู้ควรที่ลูกหลานเหลนจะเซ่นด้วยก้อนข้าว;
       คู่กับ สมาโนทก

แสดงผลการค้น ลำดับที่  33 / 41
อนาถบิณฑิก อุบาสกคนสำคัญในสมัยพุทธกาล เดิมชื่อ สุทัตต์ เป็นเศรษฐีอยู่ที่เมืองสาวัตถี
       ต่อมาได้นับถือพระพุทธศาสนา บรรลุโสดาปัตติผล เป็นผู้มีศรัทธาแรงกล้า สร้างวัดพระเชตวันถวายแด่พระพุทธเจ้าและภิกษุสงฆ์ที่เมืองสาวัตถี ซึ่งพระพุทธเจ้าได้ประทับจำพรรษารวมทั้งหมดถึง ๑๙ พรรษา
       ท่านอนาถบิณฑิก นอกจากอุปถัมภ์บำรุงพระภิกษุสงฆ์แล้ว ยังได้สงเคราะห์คนยากไร้อนาถาอย่างมากมายเป็นประจำ จึงได้ชื่อว่า อนาถบิณฑิก ซึ่งแปลว่า “ผู้มีก้อนข้าวเพื่อคนอนาถา”
       ท่านได้รับยกย่องเป็นเอตทัคคะในหมู่ทายกฝ่ายอุบาสก

แสดงผลการค้น ลำดับที่  34 / 41
อนามัฏฐบิณฑบาต อาหารที่ภิกษุบิณฑบาตได้มายังไม่ได้ฉัน จะให้แก่ผู้อื่นที่ไม่ใช่ภิกษุด้วยกันไม่ได้ นอกจากมารดาบิดา

แสดงผลการค้น ลำดับที่  35 / 41
อภิณหปัจจเวกขณ์ ข้อที่ควรพิจารณาเนืองๆ,
       เรื่องที่ควรพิจารณาทุกๆ วัน มี ๕ อย่าง คือ
           ๑. ควรพิจารณาทุกวันๆ ว่า เรามีความแก่เป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้นความแก่ไปได้
           ๒. ว่า เรามีความเจ็บไข้เป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้นความเจ็บไข้ไปได้
           ๓. ว่า เรามีความตายเป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้นความตายไปได้
           ๔. ว่า เราจะต้องพลัดพรากจากของรักของชอบใจทั้งสิ้น
           ๕. ว่า เรามีกรรมเป็นของตัว เราทำดีจักได้ดี เราทำชั่วจักได้ชั่ว;
       อีกหมวดหนึ่ง สำหรับบรรพชิต แปลว่า “ธรรมที่บรรพชิตควรพิจารณาเนืองๆ” มี ๑๐ อย่าง
       (ปัพพชิตอภิณหปัจจเวกขณ์) คือ
           ๑. บรรพชิตควรพิจารณาเนืองๆ ว่า บัดนี้ เรามีเพศต่างจากคฤหัสถ์แล้ว
           ๒. ว่า การเลี้ยงชีพของเราเนื่องด้วยผู้อื่น
           ๓. ว่า เรามีอากัปกิริยาอย่างอื่นที่จะพึงทำ
           ๔. ว่า ตัวเราเองยังติเตียนตัวเราเองโดยศีลไม่ได้อยู่หรือไม่
           ๕. ว่า เพื่อนพรหมจรรย์ผู้เป็นวิญญู ใคร่ครวญแล้ว ยังติเตียนเราโดยศีลไม่ได้อยู่หรือไม่
           ๖. ว่า เราจะต้องพลัดพรากจากของรักของชอบใจทั้งสิ้น
           ๗. ว่า เรามีกรรมเป็นของตน เราทำดีจักได้ดี เราทำชั่วจักได้ชั่ว
           ๘. ว่า วันคืนล่วงไปๆ บัดนี้เราทำอะไรอยู่
           ๙. ว่า เรายินดีในที่สงัดอยู่หรือไม่
           ๑๐. ว่า คุณวิเศษที่เราบรรลุแล้วมีอยู่หรือไม่ ที่จะทำให้เราเป็นผู้ไม่เก้อเขิน เมื่อถูกเพื่อนบรรพชิตถามในกาลภายหลัง
       (ข้อ ๑. ท่านเติมท้ายว่า อาการกิริยาใดๆ ของสมณะ เราต้องทำอาการกิริยานั้นๆ ข้อ ๒. เติมว่า เราควรทำตัวให้เขาเลี้ยงง่าย ข้อ ๓. ท่านเขียนว่า อาการกายวาจาอย่างอื่นที่เราจะต้องทำให้ดีขึ้นไปกว่านี้ยังมีอยู่อีก ไม่ใช่เพียงเท่านี้)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  36 / 41
อัญญสมานาเจตสิก เจตสิกที่มีเสมอกันแก่จิตพวกอื่น คือ ประกอบเข้าได้กับจิตต์ทุกฝ่ายทั้งกุศลและอกุศล มิใช่เข้าได้ฝ่ายหนึ่งฝ่ายเดียว มี ๑๓ แยกเป็น
       ก. สัพพจิตตสาธารณเจตสิก (เจตสิกที่เกิดทั่วไปกับจิตทุกดวง) ๗ คือ
           ผัสสะ (ความกระทบอารมณ์)
           เวทนา
           สัญญา
           เจตนา
           เอกัคคตา
           ชีวิตินทรีย์
           มนสิการ (ความกระทำอารมณ์ไว้ในใจ, ใส่ใจ)
       ข. ปกิณณกเจตสิก (เจตสิกที่เรี่ยราย คือเกิดกับจิตได้ทั้งฝ่ายกุศลและอกุศล แต่ไม่แน่นอนเสมอไปทุกดวง) ๖ คือ
           วิตก (ความตรึกอารมณ์)
           วิจาร (ความตรองอารมณ์)
           อธิโมกข์ (ความปักใจในอารมณ์)
           วิริยะ
           ปีติ
           ฉันทะ (ความพอใจในอารมณ์)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  37 / 41
อาจิณ เคยประพฤติมา, เป็นนิสัย, ทำเสมอๆ, ทำจนชิน

แสดงผลการค้น ลำดับที่  38 / 41
อาจิณณจริยา ความประพฤติเนืองๆ, ความประพฤติประจำ, ความประพฤติที่เคยชิน

แสดงผลการค้น ลำดับที่  39 / 41
อาจิณณวัตร การปฏิบัติประจำ, การปฏิบัติเสมอๆ

แสดงผลการค้น ลำดับที่  40 / 41
อาโลกกสิณ กสิณคือแสงสว่าง, การเจริญสมถกรรมฐานตั้งใจเพ่งแสงสว่างเป็นอารมณ์
       (ข้อ ๙ ในกสิณ ๑๐)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  41 / 41
อุตุปริณามชา อาพาธา ความเจ็บไข้เกิดแต่ฤดูแปรปรวน, เจ็บป่วยเพราะดินฟ้าอากาศผันแปร


พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์
http://84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=ิณ
http://84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=%D4%B3


บันทึก  ๒, ๓๐ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๔๗ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจาก พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ พิมพ์ครั้งที่ ๑๐. พ.ศ. ๒๕๔๖ หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]