ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ. ปยุตฺโต) พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต) พระธรรมปิฎก (ประยุทธ์ ปยุตฺโต)
            การค้นหาคำว่า “ ิน ”             ผลการค้นหาพบมากกว่า  80  ตำแหน่ง ดังนี้ :-

แสดงผลการค้น ลำดับที่  1 / 80
กกุธานที แม่น้ำที่พระอานนท์ทูลเชิญเสด็จพระพุทธเจ้าให้ไปเสวยและสรงชำระพระกาย ในระหว่างเดินทางไปเมืองกุสินารา ในวันปรินิพพาน

แสดงผลการค้น ลำดับที่  2 / 80
กฐิน ตามศัพท์แปลว่า ไม้สะดึง คือไม้แบบสำหรับขึงเพื่อตัดเย็บจีวร;
       ในทางพระวินัยใช้เป็นชื่อเรียกสังฆกรรมอย่างหนึ่งที่พระพุทธเจ้าทรงอนุญาตแก่สงฆ์ผู้จำพรรษาแล้ว เพื่อแสดงออกซึ่งความสามัคคีของภิกษุที่ได้จำพรรษาอยู่ร่วมกัน โดยให้พวกเธอพร้อมใจกันยกมอบผ้าผืนหนึ่งที่เกิดขึ้นแก่สงฆ์ ให้แก่ภิกษุรูปใดรูปหนึ่งในหมู่พวกเธอ ที่เป็นผู้มีคุณสมบัติสมควร แล้วภิกษุรูปนั้นนำผ้าที่ได้รับมอบไปทำเป็นจีวร (จะทำเป็นอันตรวาสก หรืออุตตราสงค์ หรือสังฆาฏิก็ได้ และพวกเธอทั้งหมดจะต้องช่วยภิกษุนั้นทำ)
       ครั้นทำเสร็จแล้ว ภิกษุรูปนั้นแจ้งให้ที่ประชุมสงฆ์ซึ่งได้มอบผ้าแก่เธอนั้นทราบเพื่ออนุโมทนา เมื่อสงฆ์คือที่ประชุมแห่งภิกษุเหล่านั้นอนุโมทนาแล้ว ก็ทำให้พวกเธอได้สิทธิพิเศษที่จะขยายเขตทำจีวรให้ยาวออกไป (เขตทำจีวรตามปกติ ถึงกลางเดือน ๑๒ ขยายต่อออกไปถึงกลางเดือน ๔);
       ผ้าที่สงฆ์ยกมอบให้แก่ภิกษุรูปหนึ่งนั้น เรียกว่า ผ้ากฐิน (กฐินทุสสะ);
       สงฆ์ผู้ประกอบกฐินกรรมต้องมีจำนวนภิกษุอย่างน้อย ๕ รูป;
       ระยะเวลาที่พระพุทธเจ้าทรงอนุญาตให้ประกอบกฐินกรรมได้ มีเพียง ๑ เดือน ต่อจากสิ้นสุดการจำพรรษา เรียกว่า เขตกฐิน คือตั้งแต่แรม ๑ ค่ำ เดือน ๑๑ ถึงขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๒
       ภิกษุผู้กรานกฐินแล้ว ย่อมได้อานิสงส์ ๕ ประการ (เหมือนอานิสงส์การจำพรรษา ดู จำพรรษา) ยืดออกไปอีก ๔ เดือน (ตั้งแต่แรม ๑ ค่ำ เดือน ๑๒ ถึงขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๔) และได้โอกาสขยายเขตจีวรกาลออกไปตลอด ๔ เดือนนั้น
       คำถวายผ้ากฐิน
       แบบสั้นว่า : อิมํ, สปริวารํ, กฐินจีวรทุสฺสํ, สงฺฆสฺส, โอโณชยาม. (ว่า ๓ จบ)
       แปลว่า ข้าพเจ้าทั้งหลาย ขอน้อมถวาย ผ้ากฐินจีวรกับทั้งบริวารนี้แก่พระสงฆ์
       แบบยาวว่า : อิมํ, ภนฺเต, สปริวารํ, กฐินจีวรทุสฺสํ, สงฺฆสฺส, โอโณชยาม, สาธุ โน ภนฺเต, สงฺโฆ, อิมํ สปริวารํ, กฐินทุสฺสํ, ปฏิคฺคณฺหาตุ, ปฏิคฺคเหตฺวา จ, อิมินา ทุสฺเสน, กฐินํ, อตฺถรตุ, อมฺหากํ, ทีฆรตฺตํ, หิตาย, สุขาย.
       แปลว่า ข้าแต่พระสงฆ์ผู้เจริญ ข้าพเจ้าทั้งหลาย ขอน้อมถวายผ้ากฐินจีวรกับทั้งบริวารนี้แก่พระสงฆ์ ขอพระสงฆ์จงรับผ้ากฐินกับทั้งบริวารนี้ ของข้าพเจ้าทั้งหลาย ครั้นรับแล้ว จงกรานกฐินด้วยผ้านี้ เพื่อประโยชน์และความสุข แก่ข้าพเจ้าทั้งหลาย สิ้นกาลนานเทอญฯ

กฐินทาน การทอดกฐิน, การถวายผ้ากฐิน คือการที่คฤหัสถ์ผู้ศรัทธาหรือแม้ภิกษุสามเณร นำผ้าไปถวายแก่สงฆ์ผู้จำพรรษาแล้ว ณ วัดใดวัดหนึ่ง เพื่อทำเป็นผ้ากฐิน เรียกสามัญว่า ทอดกฐิน (นอกจากผ้ากฐินแล้วปัจจุบันนิยมมีของถวายอื่นๆ อีกด้วยจำนวนมาก เรียกว่า บริวารกฐิน)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  3 / 80
กฐินัตถารกรรม การกรานกฐิน

แสดงผลการค้น ลำดับที่  4 / 80
กบิลดาบส ดาบสที่อยู่ในดงไม้สักกะ ประเทศหิมพานต์ พระราชบุตรและพระราชบุตรีของพระเจ้าโอกกากราชพากันไปสร้างพระนครใหม่ในที่อยู่ของกบิลดาบส จึงขนานนามพระนครที่สร้างใหม่ว่า กบิลพัสดุ์ แปลว่า ที่หรือที่ดินของกบิลดาบส

แสดงผลการค้น ลำดับที่  5 / 80
กปิสีสะ ไม้ที่ทำเป็นรูปหัวลิง ในวันที่พระพุทธเจ้าจะปรินิพพาน พระอานนทเถระยืนเหนี่ยวไม้นี้ร้องไห้ เสียใจว่าตนยังไม่สำเร็จพระอรหัต พระพุทธเจ้าก็จักปรินิพพานเสียแล้ว

แสดงผลการค้น ลำดับที่  6 / 80
กรมการ เจ้าพนักงานคณะหนึ่งมีหน้าที่บริหารราชการแผ่นดินในระดับหนึ่งๆ เช่น กรมการจังหวัด กรมการอำเภอ เป็นต้น

แสดงผลการค้น ลำดับที่  7 / 80
กรรม การกระทำ หมายถึง การกระทำที่ประกอบด้วยเจตนา คือทำด้วยความจงใจหรือจงใจทำ ดีก็ตาม ชั่วก็ตาม เช่น
       ขุดหลุมพรางดักคนหรือสัตว์ให้ตกลงไปตาย เป็นกรรม
       แต่ขุดบ่อน้ำไว้กินใช้ สัตว์ตกลงไปตายเอง ไม่เป็นกรรม
       (แต่ถ้ารู้อยู่ว่าบ่อน้ำที่ตนขุดไว้อยู่ในที่ซึ่งคนจะพลัดตกได้ง่าย แล้วปล่อยปละละเลย มีคนตกลงไปตาย ก็ไม่พ้นเป็นกรรม)
       การกระทำที่ดีเรียกว่า “กรรมดี” ที่ชั่ว เรียกว่า “กรรมชั่ว”

แสดงผลการค้น ลำดับที่  8 / 80
กรรม ๑๒ กรรมจำแนกตามหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการให้ผล พระอรรถกถาจารย์รวบรวมแสดงไว้ ๑๒ อย่างคือ
       หมวดที่ ๑ ว่าด้วยปากกาล คือ จำแนกตามเวลาที่ให้ผล ได้แก่
           ๑. ทิฏฐธรรมเวทนียกรรม กรรมให้ผลในปัจจุบัน คือในภพนี้
           ๒. อุปปัชชเวทนียกรรม กรรมให้ผลในภพที่จะไปเกิด คือในภพหน้า
           ๓. อปราปริยเวทนียกรรม กรรมให้ผลในภพต่อๆไป
           ๔. อโหสิกรรม กรรมเลิกให้ผล
       หมวดที่ ๒ ว่าโดยกิจ คือจำแนกการให้ผลตามหน้าที่ ได้แก่
           ๕. ชนกกรรม กรรมแต่งให้เกิด หรือกรรมที่เป็นตัวนำไปเกิด
           ๖. อุปัตถัมภกกรรม กรรมสนับสนุน คือเข้าสนับสนุนหรือซ้ำเติมต่อจากชนกกรรม
           ๗. อุปปีฬกกรรม กรรมบีบคั้น คือเข้ามาบีบคั้นผลแห่งชนกกรรมและอุปัตถัมภกกรรมนั้นให้แปรเปลี่ยนทุเลาเบาบางหรือสั้นเข้า
           ๘. อุปฆาตกกรรม กรรมตัดรอน คือกรรมแรงฝ่ายตรงข้ามที่เข้าตัดรอนการให้ผลของกรรม ๒ อย่างนั้นให้ขาดหรือหยุดไปทีเดียว
       หมวดที่ ๓ ว่าโดยปากทานปริยาย คือจำแนกตามลำดับความแรงในการให้ผล ได้แก่
           ๙. ครุกกรรม กรรมหนัก ให้ผลก่อน
           ๑๐. พหุลกรรม หรือ อาจิณณกรรม กรรมทำมากหรือกรรมชิน ให้ผลรองลงมา
           ๑๑. อาสันนกรรม กรรมจวนเจียน หรือกรรมใกล้ตาย ถ้าไม่มี ๒ ข้อก่อนก็จะให้ผลก่อนอื่น
           ๑๒. กตัตตากรรม หรือ กตัตตาวาปนกรรม กรรมสักว่าทำ คือเจตนาอ่อน หรือมิใช่เจตนาอย่างนั้น ให้ผลต่อเมื่อไม่มีกรรมอื่นให้ผล

แสดงผลการค้น ลำดับที่  9 / 80
กรรมกิเลส กรรมเครื่องเศร้าหมอง, การกระทำที่เป็นเหตุให้เศร้าหมอง มี ๔ อย่างคือ
       ๑. ปาณาติบาต การทำชีวิตให้ตกล่วงคือ ฆ่าฟันสังหารกัน
       ๒. อทินนาทาน ถือเอาของที่เจ้าของเขามิได้ให้คือลักขโมย
       ๓. กาเมสุมิจฉาจาร ประพฤติผิดในกาม
       ๔. มุสาวาท พูดเท็จ

แสดงผลการค้น ลำดับที่  10 / 80
กรวดน้ำ ตั้งใจอุทิศบุญกุศลให้แก่ผู้ล่วงลับ พร้อมไปกับหลั่งรินน้ำเป็นเครื่องหมาย และเป็นเครื่องรวมกระแสจิตที่ตั้งใจอุทิศนั้นให้แน่วแน่;
       เริ่มรินน้ำเมื่อพระองค์หัวหน้าเริ่มสวดยถา รินน้ำหมดพร้อมกับพระหัวหน้าสวดยถาจบ และพระทั้งหมดเริ่มสวดพร้อมกัน จากนั้นวางที่กรวดน้ำลงแล้วประนมมือรับพรต่อไป;
       คำกรวดน้ำอย่างสั้นว่า “อิทํ โน ญาตีนํ โหตุ”
           แปลว่า “ขอส่วนบุญนี้จงสำเร็จแก่....(ออกชื่อผู้ล่วงลับ) และญาติทั้งหลายของข้าพเจ้าเถิด”
       จะต่ออีกก็ได้ว่า “สุขิตา โหนฺตุ ญาตโย”
           แปลว่า “ขอญาติทั้งหลายจงเป็นสุขเถิด”

แสดงผลการค้น ลำดับที่  11 / 80
กรานกฐิน ขึงไม้สะดึง คือเอาผ้าที่จะเย็บเป็นจีวรเข้าขึงที่ไม้สะดึง เย็บเสร็จแล้วบอกแก่ภิกษุทั้งหลายผู้ร่วมใจกันยกผ้าให้ในนามของสงฆ์เพื่ออนุโมทนา ภิกษุผู้เย็บจีวรเช่นนั้นเรียกว่า ผู้กราน
       พิธีทำในบัดนี้คือ ภิกษุซึ่งจำพรรษาครบ ๓ เดือนในวัดเดียวกัน (ต้องมีจำนวน ๕ รูปขึ้นไป) ประชุมกันในอุโบสถ พร้อมใจกันยกผ้ากฐินให้แก่ภิกษุรูปหนึ่งในหมู่พวกเธอ ภิกษุรูปนั้นทำกิจตั้งแต่ ซัก กะตัด เย็บ ย้อม ให้เสร็จในวันนั้น ทำพินทุกัปปะอธิษฐานเป็นจีวรครองผืนใดผืนหนึ่งในไตรจีวร แล้วบอกแก่ภิกษุสงฆ์ผู้ยกผ้าให้ เพื่ออนุโมทนา และภิกษุสงฆ์นั้นได้อนุโมทนาแล้ว เรียกว่า กรานกฐิน
       ถ้าผ้ากฐินเป็นจีวรสำเร็จรูป กิจที่จะต้อง ซัก กะ ตัด เย็บย้อม ก็ไม่มี
       (กราน เป็นภาษาเขมร แปลว่า ขึง คือทำให้ตึง กฐิน เป็นภาษาบาลี แปลว่า ไม้สะดึง กรานกฐินก็คือขึงไม้สะดึง คือเอาผ้าที่จะเย็บเป็นจีวรเข้าขึงที่ไม้สะดึง)
       เขียน กราลกฐิน บ้างก็มี

แสดงผลการค้น ลำดับที่  12 / 80
กวฬิงการาหาร อาหารคือคำข้าว ได้แก่ อาหารที่กลืนกินเข้าไปหล่อเลี้ยงร่างกาย, อาหารที่เป็นวัตถุ
       (ข้อ ๑ ในอาหาร ๔)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  13 / 80
กษัตริย์ พระเจ้าแผ่นดิน, เจ้านาย, ชนชั้นปกครอง หรือนักรบ

แสดงผลการค้น ลำดับที่  14 / 80
กสิณ วัตถุอันจูงใจ คือ จูงใจให้เข้าไปผูกอยู่ เป็นชื่อของกัมมัฏฐานที่ใช้วัตถุสำหรับเพ่งเพื่อจูงจิตให้เป็นสมาธิ
       มี ๑๐ อย่าง คือ
       ภูตกสิณ ๔ :
           ๑. ปฐวี ดิน ๒. อาโป น้ำ ๓. เตโช ไฟ ๔. วาโย ลม
       วรรณกสิณ ๔ :
           ๕. นีลํ สีเขียว ๖. ปีตํ สีเหลือง ๗. โลหิตํ สีแดง ๘. โอทาตํ สีขาว
       และ ๙. อาโลโก แสงสว่าง ๑๐. อากาโส ที่ว่าง

แสดงผลการค้น ลำดับที่  15 / 80
กหาปณะ ชื่อมาตราเงินในสมัยโบราณ ๑ กหาปณะ เท่ากับ ๒๐ มาสก หรือ ๔ บาท

แสดงผลการค้น ลำดับที่  16 / 80
กังขาเรวตะ พระมหาสาวกองค์หนึ่ง เดิมเป็นบุตรของตระกูลที่มั่งคั่ง ชาวพระนครสาวัตถี
       ได้ฟังพระธรรมเทศนาที่พระศาสดาทรงแสดง มีความเลื่อมใสขอบวช ต่อมาได้สำเร็จพระอรหัต
       ได้รับยกย่องจากพระศาสดาว่า เป็นเอตทัคคะในทางเป็นผู้ยินดีในฌานสมาบัติ

แสดงผลการค้น ลำดับที่  17 / 80
กัป, กัลป์ กาลกำหนด, ระยะเวลายาวนานเหลือเกิน ที่กำหนดว่าโลกคือสกลจักรวาฬประลัยครั้งหนึ่ง (ศาสนาฮินดูว่าเป็นวันหนึ่งคืนหนึ่งของพระพรหม)
       ท่านให้เข้าใจด้วยอุปมาว่าเปรียบเหมือนมีภูเขาศิลาล้วน กว้าง ยาว สูงด้านละ ๑ โยชน์ ทุก ๑๐๐ ปี มีคนนำผ้าเนื้อละเอียดอย่างดีมาลูบครั้งหนึ่ง จนกว่าภูเขานั้นจะสึกหรอสิ้นไป กัปหนึ่งยาวนานกว่านั้น;
       กำหนดอายุของโลก;
       กำหนดอายุ เรียกเต็มว่า อายุกัป เช่นว่า อายุกัปของคนยุคนี้ ประมาณ ๑๐๐ ปี

แสดงผลการค้น ลำดับที่  18 / 80
กัปปิยภูมิ ที่สำหรับเก็บเสบียงอาหารของวัด, ครัววัด มี ๔ อย่าง คือ
       ๑. อุสสาวนันติกา กัปปิยภูมิที่ทำด้วยการประกาศให้รู้แต่แรกสร้างว่าจะทำเป็นกัปปิยภูมิ คือพอเริ่มยกเสาหรือตั้งฝาก็ประกาศให้ได้ยินว่า “กปฺปิยภูมึ กโรม” แปลว่า “เราทั้งหลายทำกัปปิยกุฎี”
       ๒. โคนิสาทิกา กัปปิยภูมิขนาดเล็ก เคลื่อนที่ได้ ดุจเป็นที่โคจ่อม
       ๓. คหปติกา เรือนของคฤหบดีเขาสร้างถวายเป็นกัปปิยภูมิ
       ๔. สัมมติกา กัปปิยภูมิที่สงฆ์สมมติ ได้แก่ กุฎีที่สงฆ์เลือกจะใช้เป็นกัปปิยกุฎี แล้วสวดประกาศด้วยญัตติทุติยกรรม

แสดงผลการค้น ลำดับที่  19 / 80
กัมมขันธกะ ชื่อหมวดหนึ่งในคัมภีร์จุลลวรรค พระวินัยปิฎก ว่าด้วยนิคคหกรรม ๕ ประเภท

แสดงผลการค้น ลำดับที่  20 / 80
กัมมลักขณะ การอันมีลักษณะเป็น (สังฆ) กรรมนั้นได้,
       กิจการที่มีลักษณะอันจัดเข้าเป็นสังฆกรรมอย่างหนึ่ง ในสังฆกรรมประเภทนั้นได้ แต่ท่านไม่ได้ออกชื่อไว้ และไม่อาจจัดเข้าในชื่ออื่นๆ แห่งสังฆกรรมประเภทเดียวกัน เช่น
       การอปโลกน์แจกอาหารในโรงฉัน เป็นกัมมลักขณะ ในอปโลกนกรรม
       การประกาศเริ่มต้นระงับอธิกรณ์ด้วยติณวัตถารกวินัย เป็นกัมมลักขณะ ในญัตติกรรม
       ญัตติทุติยกรรมที่สวดในลำดับไปในการระงับอธิกรณ์ด้วยติณวัตถารกวินัย เป็นกัมมลักขณะ ในญัตติทุติยกรรม
       อุปสมบทและอัพภาน เป็นกัมมลักขณะในญัตติจตุตถกรรม

แสดงผลการค้น ลำดับที่  21 / 80
กัมมารหะ ผู้ควรแก่กรรม คือบุคคลที่ถูกสงฆ์ทำกรรม
       เช่น ภิกษุที่สงฆ์พิจารณาทำปัพพาชนียกรรม คฤหัสถ์ที่ถูกสงฆ์ดำเนินการคว่ำบาตร เป็นต้น

แสดงผลการค้น ลำดับที่  22 / 80
กายทุจริต ประพฤติชั่วด้วยกาย, ประพฤติชั่วทางกายมี ๓ อย่างคือ
       ๑. ปาณาติบาต ฆ่าสัตว์
       ๒. อทินนาทาน ลักทรัพย์
       ๓. กาเมสุมิจฉาจาร ประพฤติผิดในกาม
           ดู ทุจริต

แสดงผลการค้น ลำดับที่  23 / 80
กายบริหาร การรักษาร่างกายให้เหมาะสมแก่ความเป็นสมณะ
       เช่น ไม่ไว้ยาวเกินไป ไม่ไว้หนวดเครา ไม่ไว้เล็บยาว ไม่ผัดหน้า ไม่แต่งเครื่องประดับกาย ไม่เปลือยกาย เป็นต้น

แสดงผลการค้น ลำดับที่  24 / 80
กายสักขี “ผู้เป็นพยานด้วยนามกาย”, “ผู้ประจักษ์กับตัว”,
       พระอริยบุคคลตั้งแต่โสดาบันขึ้นไปจนถึงผู้ตั้งอยู่ในอรหัตตมรรค ที่เป็นผู้มีสมาธินทรีย์แรงกล้า ได้สัมผัสวิโมกข์ ๘
       (ถ้าบรรลุอรหัตตผล กลายเป็นอุภโตภาควิมุต)
       ดู อริยบุคคล ๗

แสดงผลการค้น ลำดับที่  25 / 80
กายิกสุข สุขทางกาย เช่น ได้ยินเสียงไพเราะ ลิ้มรสอร่อย ถูกต้องสิ่งที่อ่อนนุ่ม เป็นต้น

แสดงผลการค้น ลำดับที่  26 / 80
การก ผู้กระทำกรรมได้ตามพระวินัย มี ๓ คือ สงฆ์ คณะ และ บุคคล เช่น ในการทำอุโบสถ
       ภิกษุตั้งแต่ ๔ รูปขึ้นไปเรียก สงฆ์ สวดปาฏิโมกข์ได้
       ภิกษุ ๒ หรือ ๓ รูป เรียก คณะ ให้บอกความบริสุทธิ์ได้
       ภิกษุรูปเดียวเรียกว่า บุคคล ให้อธิษฐาน

แสดงผลการค้น ลำดับที่  27 / 80
การกสงฆ์ สงฆ์ผู้กระทำ หมายถึงสงฆ์ หมู่หนึ่งผู้ดำเนินการในกิจสำคัญ เช่น การสังคายนา หรือในสังฆกรรมต่างๆ

แสดงผลการค้น ลำดับที่  28 / 80
กาลทาน ทานที่ให้ตามกาล, ทานที่ให้ได้เป็นครั้งคราวภายในระยะเวลาที่กำหนด ไม่ใช่ให้ได้ตลอดเวลา
       เช่น การถวายผ้ากฐิน การถวายผ้าอาบน้ำฝน เป็นต้น
       ซึ่งทายกจะถวายได้ตามกำหนดเวลาที่พระพุทธเจ้าทรงอนุญาตเท่านั้น ก่อนหรือเลยเขตกำหนดไปทำไม่ได้

แสดงผลการค้น ลำดับที่  29 / 80
กาลิก เนื่องด้วยกาล, ขึ้นกับกาล, ของอันจะกลืนกินให้ล่วงลำคอเข้าไปซึ่งพระวินัยบัญญัติให้ภิกษุรับเก็บไว้และฉันได้ภายในเวลาที่กำหนด จำแนกเป็น ๔ อย่าง คือ
       ๑. ยาวกาลิก รับประเคนไว้และฉันได้ชั่วเวลาเช้าถึงเที่ยงของวันนั้น
           เช่น ข้าว ปลา เนื้อ ผัก ผลไม้ ขนมต่างๆ
       ๒. ยามกาลิก รับประเคนไว้และฉันได้ชั่ววันหนึ่งกับคืนหนึ่ง คือก่อนอรุณของวันใหม่
           ได้แก่ ปานะ คือ น้ำคั้นผลไม้ที่ทรงอนุญาต
       ๓. สัตตาหกาลิก รับประเคนไว้แล้วฉันได้ภายในเวลา ๗ วัน
           ได้แก่ เภสัชทั้ง ๕
       ๔. ยาวชีวิก รับประเคนแล้ว ฉันได้ตลอดไปไม่จำกัดเวลา
           ได้แก่ ของที่ใช้ปรุงเป็นยา นอกจากกาลิก ๓ ข้อต้น
           (ความจริงยาวชีวิก ไม่เป็นกาลิก แต่นับเข้าด้วยโดยปริยาย เพราะเป็นของเกี่ยวเนื่องกัน)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  30 / 80
กิจจาธิกรณ์ การงานเป็นอธิกรณ์ คือ เรื่องที่เกิดขึ้นอันสงฆ์ต้องจัดต้องทำ หรือกิจธุระที่สงฆ์จะพึงทำ;
       อรรถกถาพระวินัยว่า หมายถึงกิจอันจะพึงทำด้วยประชุมสงฆ์ ได้แก่ สังฆกรรม ทั้ง ๔ คือ
       อปโลกนกรรม ญัตติกรรม ญัตติทุติยกรรม ญัตติจตุตถกรรม

แสดงผลการค้น ลำดับที่  31 / 80
ินร่วม ในประโยคว่า “ภิกษุใดรู้อยู่กินร่วมก็ดี อยู่ร่วมก็ดี สำเร็จการนอนด้วยก็ดี” คบหากันในทางให้หรือรับอามิส และคบหากันในทางสอนธรรมเรียนธรรม

แสดงผลการค้น ลำดับที่  32 / 80
กิริยากิตกะ (กิริยากิตก์) เป็นชื่อกิริยาศัพท์ประเภทหนึ่งในภาษาบาลี ใช้เป็นกิริยาสำคัญในประโยคบ้าง ใช้เป็นกิริยาในระหว่างของประโยคบ้าง และใช้เป็นคุณบทบ้าง
       เช่น “ปรินิพฺพุโต” (ดับรอบแล้ว) “ปพฺพชิตฺวา” (บวชแล้ว) เป็นต้น

แสดงผลการค้น ลำดับที่  33 / 80
กิริยาอาขยาต เป็นชื่อกิริยาศัพท์ประเภทหนึ่งในภาษาบาลี ใช้เป็นกิริยาสำคัญในประโยค อันแสดงถึงการกระทำของประธาน
       เช่น “คจฺฉติ” (ย่อมไป) “ปรินิพฺพายิ” (ดับรอบแล้ว) เป็นต้น

แสดงผลการค้น ลำดับที่  34 / 80
กิเลสมาร มารคือกิเลส,
       กิเลสเป็นมาร โดยอาการที่เข้าครอบงำจิตใจ ขัดขวางไม่ให้ทำความดี ชักพาให้ทำความชั่ว ล้างผลาญคุณความดี ทำให้บุคคลประสบหายนะและความพินาศ

แสดงผลการค้น ลำดับที่  35 / 80
กุกกุจจะ ความรำคาญใจ,
       ความเดือดร้อนใจ เช่นว่า
           สิ่งดีงามที่ควรทำ ตนมิได้ทำ
           สิ่งผิดพลาดเสียหายไม่ดีไม่งาม ที่ไม่ควรทำ ตนได้ทำแล้ว,
       ความยุ่งใจ กลุ้มใจ กังวลใจ,
       ความรังเกียจหรือกินแหนงในตนเอง,
       ความระแวงสงสัย เช่นว่า
           ตนได้ทำความผิดอย่างนั้นๆ แล้วหรือมิใช่
           สิ่งที่ตนได้ทำไปแล้วอย่างนั้นๆ เป็นความผิดข้อนี้ๆ เสียแล้วกระมัง

แสดงผลการค้น ลำดับที่  36 / 80
กุมมาส ขนมสด คือขนมที่เก็บไว้นานเกินไปจะบูด
       เช่น ขนมด้วง ขนมครก ขนมถ้วย ขนมตาล เป็นต้น
       พระพุทธเจ้า หลังจากเลิกบำเพ็ญทุกรกิริยาก็เสวยข้าวสุกและกุมมาส

แสดงผลการค้น ลำดับที่  37 / 80
กุมารีภูตวรรค ชื่อหมวดในพระวินัยปิฎก หมายถึงตอนอันว่าด้วยกุมารีภูตา คือสามเณรีผู้เตรียมจะอุปสมบทเป็นภิกษุณี มีอยู่ในปาจิตติยกัณฑ์ ในภิกขุนีวิภังค์

แสดงผลการค้น ลำดับที่  38 / 80
กุรุ แคว้นหนึ่งในบรรดา ๑๖ แคว้น แห่งชมพูทวีป นครหลวงชื่อ อินทปัตถ์

แสดงผลการค้น ลำดับที่  39 / 80
กุลทูสก “ผู้ประทุษร้ายตระกูล”
       หมายถึง ภิกษุผู้ประจบคฤหัสถ์ เอาใจเขาต่างๆ ด้วยอาการผิดวินัย มุ่งเพื่อให้เขาชอบตนเป็นส่วนตัว เป็นเหตุให้เขาคลายศรัทธาในพระศาสนาและเสื่อมจากกุศลธรรม
       เช่น ให้ของกำนัลเหมือนอย่างคฤหัสถ์เขาทำกัน ยอมตัวให้เขาใช้ เป็นต้น

แสดงผลการค้น ลำดับที่  40 / 80
กุศลกรรมบถ ทางแห่งกรรมดี, ทางทำดี, ทางแห่งกรรมที่เป็นกุศล,
       กรรมดีอันเป็นทางนำไปสู่สุคติมี ๑๐ อย่าง คือ
       ก. กายกรรม ๓ ได้แก่
           ๑. ปาณาติปาตา เวรมณี เว้นจากทำลายชีวิต
           ๒. อทินนาทานา เวรมณี เว้นจากถือเอาของที่เขามิได้ให้
           ๓. กาเมสุมิจฉาจาร เวรมณี เว้นจากประพฤติผิดในกาม
       ข. วจีกรรม ๔ ได้แก่
           ๔. มุสาวาทา เวรมณี เว้นจากพูดเท็จ
           ๕. ปิสุณาย วาจาย เวรมณี เว้นจากพูดส่อเสียด
           ๖. ผรุสาย วาจาย เวรมณี เว้นจากพูดคำหยาบ
           ๗. สัมผัปปลาปา เวรมณี เว้นจากพูดเพ้อเจ้อ
       ค. มโนกรรม ๓ ได้แก่
           ๘. อนภิชฌา ไม่โลภคอยจ้องอยากได้ของเขา
           ๙. อพยาบาท ไม่คิดร้ายเบียดเบียนเขา
           ๑๐. สัมมาทิฏฐิ เห็นชอบตามคลองธรรม
       เทียบ อกุศลกรรมบถ

แสดงผลการค้น ลำดับที่  41 / 80
กุสาวดี ชื่อเก่าของเมืองกุสินารา นครหลวงของแคว้นมัลละ เมื่อครั้งเป็นราชธานีของพระเจ้ามหาสุทัศน์ จักรพรรดิครั้งโบราณ

แสดงผลการค้น ลำดับที่  42 / 80
กุสินารา เมืองหลวงแห่งหนึ่งของแคว้นมัลละ (อีกแห่งหนึ่งคือ ปาวา)
       สมัยพุทธกาล กุสินารา เป็นเมืองเล็กๆ มีมัลลกษัตริย์เป็นผู้ปกครอง พระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธปรินิพพานที่เมืองนี้

แสดงผลการค้น ลำดับที่  43 / 80
เก็บวัตร โวหารเรียกวินัยกรรมเกี่ยวกับวุฏฐานวิธีอย่างหนึ่ง คือ เมื่อภิกษุต้องครุกาบัติขั้นสังฆาทิเสสกำลังอยู่ปริวาส ยังไม่ครบเวลาที่ปกปิดอาบัติไว้ก็ดี กำลังประพฤติมานัตยังไม่ครบ ๖ ราตรีก็ดี เมื่อมีเหตุอันสมควร ก็ไม่ต้องประพฤติติดต่อกันเป็นรวดเดียว พึงเข้าไปหาภิกษุรูปหนึ่ง ทำผ้าห่มเฉวียงบ่า นั่งกระหย่ง ประณมมือ
       ถ้าเก็บปริวาสพึงกล่าวว่า
           “ปริวาสํ นิกฺขิปามิ” แปลว่า “ข้าพเจ้าเก็บปริวาส”
           หรือว่า “วตฺตํ นิกฺขิปามิ” แปลว่า “ข้าพเจ้าเก็บวัตร”
           ว่าคำใดคำหนึ่ง ก็เป็นอันพักปริวาส ;
       ถ้าเก็บมานัต พึงกล่าวว่า
           “มานตฺตํ นิกฺขิปามิ” แปลว่า “ข้าพเจ้าเก็บมานัต”
           หรือว่า “วตฺตํ นิกฺขิปามิ” แปลว่า “ข้าพเจ้าเก็บวัตร” ดังนี้
           ว่าคำใดคำหนึ่งก็เป็นอันพักมานัต
       ต่อไปเมื่อมีโอกาสก็ให้สมาทานวัตรใหม่ได้อีก

แสดงผลการค้น ลำดับที่  44 / 80
เกินพิกัด เกินกำหนดที่จะต้องเสียภาษีอากร

แสดงผลการค้น ลำดับที่  45 / 80
โกรัพยะ พระเจ้าแผ่นดินแคว้นกุรุ

แสดงผลการค้น ลำดับที่  46 / 80
โกลิยชนบท แคว้นโกลิยะ หรือดินแดนของกษัตริย์โกลิยวงศ์ เป็นแคว้นหนึ่งในชมพูทวีป
       ครั้งพุทธกาลมีนครหลวงชื่อ เทวทหะ และรามคาม
       บัดนี้อยู่ในเขตประเทศเนปาล

แสดงผลการค้น ลำดับที่  47 / 80
โกสัมพิกขันธกะ ชื่อขันธกะที่ ๑๐ (สุดท้าย) แห่งคัมภีร์มหาวรรค วินัยปิฎก ว่าด้วยเรื่องภิกษุชาวเมืองโกสัมพีทะเลาะวิวาทกัน จนเป็นเหตุให้พระพุทธเจ้าเสด็จไปจำพรรษาในป่ารักขิตวัน ตำบลปาริไลยกะ
       ในที่สุด พระภิกษุเหล่านั้นถูกมหาชนบีบคั้นให้ต้องกลับปรองดองกัน บังเกิดสังฆสามัคคีอีกครั้งหนึ่ง

แสดงผลการค้น ลำดับที่  48 / 80
โกสิยเทวราช พระอินทร์, จอมเทพในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์
       เรียกท้าวโกสีย์บ้าง ท้าวสักกเทวราชบ้าง

แสดงผลการค้น ลำดับที่  49 / 80
โกสิยวรรค ตอนที่ว่าด้วยเรื่องขนเจียมเจือด้วยไหมเป็นวรรคที่ ๒ แห่งนิสสัคคิยกัณฑ์ ในพระวินัยปิฎก

แสดงผลการค้น ลำดับที่  50 / 80
ขัตติยธรรม หลักธรรมสำหรับกษัตริย์, ธรรมของพระเจ้าแผ่นดิน

แสดงผลการค้น ลำดับที่  51 / 80
ขันธกะ หมวด, พวก, ตอน
       หมายถึง เรื่องราวเกี่ยวกับพระวินัย และสิกขาบทนอกปาฏิโมกข์ ที่จัดประมวลเข้าเป็นหมวดๆ เรียกว่า ขันธกะ, ขันธกะหนึ่งๆ ว่าด้วยเรื่องหนึ่งๆ เช่น อุโบสถขันธกะ หมวดที่ว่าด้วยการทำอุโบสถ จีวรขันธกะ หมวดที่ว่าด้วยจีวรเป็นต้น รวมทั้งสิ้นมี ๒๒ ขันธกะ (พระวินัยปิฎกเล่ม ๔-๕-๖-๗)
       ดู ไตรปิฎก

แสดงผลการค้น ลำดับที่  52 / 80
ขึ้นวัตร โวหารเรียกวินัยกรรมเกี่ยวกับวุฏฐานวิธีอย่างหนึ่ง คือ
       เมื่อภิกษุต้องครุกาบัติชั้นสังฆาทิเสสแล้วอยู่ปริวาส ยังไม่ครบเวลาที่ปกปิดอาบัติไว้หรือประพฤติมานัตอยู่ยังไม่ครบ ๖ ราตรี พักปริวาสหรือมานัตเสียเนื่องจากมีเหตุอันสมควร
       เมื่อจะสมาทานวัตรใหม่เพื่อประพฤติปริวาสหรือมานัตที่เหลือนั้น เรียกว่าขึ้นวัตรคือการสมาทานวัตรนั่นเอง
       ถ้าขึ้นปริวาส พึงกล่าวคำในสำนักภิกษุรูปหนึ่งว่า
           “ปริวาสํ สมาทิยามิ” แปลว่า “ข้าพเจ้าขึ้นปริวาส”
           “วตฺตํ สมาทิยามิ” แปลว่า “ข้าพเจ้าขึ้นวัตร”
       ถ้าขึ้นมานัต พึงกล่าวว่า
           “มานตฺตํ สมาทิยามิ” แปลว่า “ข้าพเจ้าขึ้นมานัต” หรือ
           “วตฺตํ สมาทิยามิ” แปลว่า “ข้าพเจ้าขึ้นวัตร”

แสดงผลการค้น ลำดับที่  53 / 80
เขต
       1. แดนที่กันไว้เป็นกำหนด เช่น นา ไร่ ที่ดิน แคว้น เป็นต้น
       2. ข้อที่ภิกษุระบุถึงเพื่อลาสิกขา เช่น พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เป็นต้น

แสดงผลการค้น ลำดับที่  54 / 80
คณญัตติกรรม การประกาศให้สงฆ์ทราบแทนคณะคือพวกฝ่ายตน ได้แก่
       การที่ภิกษุรูปหนึ่งในนามแห่งภิกษุฝ่ายหนึ่ง สวดประกาศขออนุมัติเป็นผู้แสดงแทนซึ่งอาบัติของฝ่ายตนและของตนเองด้วยติณวัตถารกวิธี (อีกฝ่ายหนึ่งก็พึงทำเหมือนกันอย่างนั้น) ;
       เป็นขั้นตอนหนึ่งแห่งการระงับอธิกรณ์ ด้วยติณวัตถารกวินัย

แสดงผลการค้น ลำดับที่  55 / 80
คติ
       1. การไป, ทางไป, ความเป็นไป, ทางดำเนิน, วิธี, แนวทาง, แบบอย่าง
       2. ที่ไปเกิดของสัตว์, ภพที่สัตว์ไปเกิด, แบบการดำเนินชีวิต มี ๕ คือ
           ๑. นิรยะ นรก
           ๒. ติรัจฉานโยนิ กำเนิดดิรัจฉาน
           ๓. เปตติวิสัย แดนเปรต
           ๔. มนุษย์ สัตว์มีใจสูงรู้คิดเหตุผล
           ๕. เทพ ชาวสวรรค์ตั้งแต่ชั้นจาตุมหาราชิกา ถึงอกนิฏฐพรหม
       (ท่านว่าในที่นี้ จัดอสูรเข้าในเปตตวิสัยด้วย)
       ๓ คติแรกเป็น ทุคติ (ที่ไปเกิดอันชั่ว หรือแบบดำเนินชีวิตที่ไม่ดี)
       ๒ คติหลังเป็น สุคติ (ที่ไปเกิดอันดี หรือแบบดำเนินชีวิตที่ดี)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  56 / 80
คมิยภัต ภัตเพื่อผู้ไป, อาหารที่เขาถวายเฉพาะภิกษุผู้จะเดินทางไปอยู่ที่อื่น ;
       คมิกภัต ก็ว่า

แสดงผลการค้น ลำดับที่  57 / 80
คยาสีสะ ชื่อตำบล ซึ่งเป็นเนินเขาแห่งหนึ่งในจังหวัดคยา
       พระพุทธเจ้าเทศนาอาทิตตปริยายสูตร โปรดภิกษุสงฆ์ปุราณชฎิลทั้งหมดให้สำเร็จพระอรหัตที่ตำบลนี้

แสดงผลการค้น ลำดับที่  58 / 80
ครุธรรม ธรรมอันหนัก, หลักความประพฤติสำหรับนางภิกษุณีจะพึงถือเป็นเรื่องสำคัญอันต้องปฏิบัติด้วยความเคารพไม่ละเมิดตลอดชีวิต มี ๘ ประการ คือ
       ๑. ภิกษุณีแม้บวชร้อยพรรษาแล้ว ก็ต้องกราบไหว้ภิกษุแม้บวชวันเดียว
       ๒. ภิกษุณีจะอยู่ในวัดที่ไม่มีภิกษุไม่ได้
       ๓. ภิกษุณีต้องไปถามวันอุโบสถและเข้าไปฟังโอวาทจากภิกษุทุกกึ่งเดือน
       ๔. ภิกษุณีอยู่จำพรรษาแล้วต้องปวารณาในสงฆ์ ๒ ฝ่ายโดยสถานทั้ง ๓ คือ โดยได้เห็น โดยได้ยิน โดยรังเกียจ (รังเกียจหมายถึง ระแวงสงสัยหรือประพฤติกรรมอะไรที่น่าเคลือบแคลง)
       ๕. ภิกษุณีต้องอาบัติหนัก ต้องประพฤติมานัตในสงฆ์ ๒ ฝ่าย (คือ ทั้งภิกษุสงฆ์และภิกษุณีสงฆ์) ๑๕ วัน
       ๖. ภิกษุณีต้องแสวงหาอุปสัมปทาในสงฆ์ ๒ ฝ่าย เพื่อนางสิกขมานา
       ๗. ภิกษุณีไม่พึงด่าไม่พึงบริภาษภิกษุไม่ว่าจะโดยปริยายใดๆ
       ๘. ไม่ให้ภิกษุณีว่ากล่าวภิกษุแต่ภิกษุว่ากล่าวภิกษุณีได้

แสดงผลการค้น ลำดับที่  59 / 80
ครุภัณฑ์ ของหนัก เช่น กุฎี ที่ดิน เตียง ตั่ง เป็นต้น;
       คู่กับ ลหุภัณฑ์

แสดงผลการค้น ลำดับที่  60 / 80
ความค้ำ ในประโยคว่า “เราจักไม่ทำความค้ำ ไปในละแวกบ้าน” เดินเอามือค้ำบั้นเอว นั่งเท้าแขน

แสดงผลการค้น ลำดับที่  61 / 80
คัคคภิกษุ ชื่อภิกษุรูปหนึ่งในครั้งพุทธกาล เคยเป็นบ้า และได้ต้องอาบัติหลายอย่างในระหว่างเวลานั้น ภายหลังหายเป็นบ้าแล้ว ได้มีผู้โจทว่า เธอต้องอาบัตินั้นๆ ในคราวที่เป็นบ้าไม่รู้จบ
       พระพุทธองค์จึงได้ทรงมีพุทธานุญาตให้ระงับอธิกรณ์ด้วย อมูฬหวินัย เป็นครั้งแรก

แสดงผลการค้น ลำดับที่  62 / 80
คันธาระ ชื่อแคว้นหนึ่งในบรรดา ๑๖ แคว้นใหญ่แห่งชมพูทวีป ตั้งอยู่แถบลุ่มแม่น้ำสินธูตอนเหนือ ตรงกับแคว้นปัญจาบภาคเหนือในปัจจุบัน นครหลวง ชื่อตักสิลา เป็นนครที่รุ่งเรืองด้วยศิลปวิทยาต่างๆ แคว้นคันธาระอยู่ติดกันกับแคว้นกัษมีระ (เขียนอย่างสันสกฤตเป็นกัศมีระ) หรือแคชเมียร์
       พระราชาผู้ปกครองคันธาระในสมัยพุทธกาล มีพระนามว่าปุกกุสาติ

แสดงผลการค้น ลำดับที่  63 / 80
คืบพระสุคต ชื่อมาตราวัด ตามอรรถกถานัยว่า เท่ากับ ๓ คืบของคนปานกลาง คือ เท่ากับศอกคืบช่างไม้ แต่มตินี้ไม่สมจริง
       ปัจจุบันยุติกันว่าให้ถือตามไม้เมตร คือ เท่ากับ ๒๕ เซนติเมตร ประมาณกันกับคืบช่างไม้ ซึ่งเป็นการสะดวก และถ้าหากจะสั้นกว่าขนาดจริง ก็ไม่เสีย เพราะจะไม่เกินกำหนด ไม่เสียทางวินัย

แสดงผลการค้น ลำดับที่  64 / 80
เครื่องต้น เครื่องทรงสำหรับกษัตริย์, สิ่งของที่พระเจ้าแผ่นดินทรงใช้และเสวย

แสดงผลการค้น ลำดับที่  65 / 80
โคตรภูสงฆ์ พระสงฆ์ที่ไม่เคร่งครัด ปฏิบัติเหินห่างธรรมวินัย แต่ยังมีเครื่องหมายเพศ เช่น ผ้าเหลืองเป็นต้น และถือตนว่า ยังเป็นภิกษุสงฆ์อยู่,
       สงฆ์ในระยะหัวต่อจะสิ้นศาสนา

แสดงผลการค้น ลำดับที่  66 / 80
จงกรม เดินไปมาโดยมีสติกำกับ

แสดงผลการค้น ลำดับที่  67 / 80
จตุรงคินีเสนา กองทัพมีกำลัง ๔ เหล่า คือ เหล่าช้าง เหล่าม้า เหล่ารถ เหล่าราบ

แสดงผลการค้น ลำดับที่  68 / 80
จรณะ เครื่องดำเนิน, ปฏิปทา คือข้อปฏิบัติอันเป็นทางบรรลุวิชา มี ๑๕ คือ
       สีลสัมปทา ความถึงพร้อมด้วยศีล
       อปัณณกปฏิปทา ๓
       สัทธรรม ๗ และ
       ฌาน ๔

แสดงผลการค้น ลำดับที่  69 / 80
จริมกจิต จิตดวงสุดท้าย ซึ่งจะดับไปเมื่อพระอรหันต์ปรินิพพานด้วย อนุปาทิเสสนิพพานธาตุ

แสดงผลการค้น ลำดับที่  70 / 80
จริยธรรม “ธรรมคือความประพฤติ”, “ธรรมคือการดำเนินชีวิต”, หลักความประพฤติ, หลักการดำเนินชีวิต;
       คำ “จริยธรรม” นี้ นักปราชญ์ในประเทศไทยได้บัญญัติให้ใช้สำหรับคำภาษาอังกฤษว่า ethics หมายถึง ธรรมที่เป็นข้อประพฤติปฏิบัติ ศีลธรรม หรือกฎศีลธรรม;
       จริยะ (หรือ จริยธรรม) อันประเสริฐ เรียกว่า พรหมจริยะ (พรหมจริยธรรม หรือพรหมจรรย์) แปลว่า “ความประพฤติอันประเสริฐ” หรือทางดำเนินชีวิตอย่างประเสริฐ หมายถึง มรรคมีองค์ ๘ หรือ ศีล สมาธิ ปัญญา;
       เทียบ ศีลธรรม

แสดงผลการค้น ลำดับที่  71 / 80
จักกวัตติสูตร ชื่อสูตรที่ ๓ แห่งทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค พระสุตตันตปิฎก
       พระพุทธเจ้าตรัสสอนภิกษุทั้งหลายให้พึ่งตน คือพึ่งธรรม ด้วยการเจริญสติปัฏฐาน ๔ ซึ่งจะทำให้ได้ชื่อว่าเป็นผู้ดำเนินอยู่ในแดนของตนเองที่สืบมาแต่บิดา จะมีแต่ความดีงามเจริญขึ้นไม่เปิดช่องให้แก่มาร เช่นเดียวกับพระเจ้าจักรพรรดิที่ทรงประพฤติตามหลักจักรวรรดิวัตร อันสืบกันมาแต่บรรพชนของพระองค์ ย่อมทำให้จักรรัตนะบังเกิดขึ้นมาเอง,
       จักรวรรดิวัตร นั้นมี ๔ ข้อใหญ่ ใจความว่า
           ๑. พระเจ้าจักรพรรดิเป็นธรรมาธิปไตย และจัดการคุ้มครองป้องกันโดยชอบธรรม แก่ชนทุกหมู่เหล่าในแผ่นดิน ตลอดไปถึงสัตว์ที่ควรสงวนพันธุ์ทั้งหลาย
           ๒. มิให้มีการอันอธรรมเกิดขึ้นในแผ่นดิน
           ๓. ปันทรัพย์เฉลี่ยให้แก่ผู้ไร้ทรัพย์
           ๔. ปรึกษาสอบถามการดีชั่ว ข้อควรและไม่ควรประพฤติ กะสมณพราหมณ์ ผู้ประพฤติดี ปฏิบัติชอบ อยู่เสมอ;
       จักรวรรดิวัตร ๔ ข้อนี้ บางทีจัดเป็น ๕ โดยแยกข้อ ๑. เป็น ๒ ข้อ คือ เป็นธรรมาธิปไตย ถือธรรมเป็นใหญ่อย่างหนึ่ง กับจัดการคุ้มครองป้องกันอันชอบธรรม อย่างหนึ่ง, นอกจากนั้น สมัยต่อมา อรรถกถาจัดแบ่งซอยออกไป และเพิ่มเข้ามาอีก รวมเป็น ๑๒ ข้อ เรียกว่า จักรวรรดิวัตร ๑๒ ;
       พระสูตรนี้ถือว่าเป็นคำสอนแสดงหลักวิวัฒนาการของสังคมตามแนวจริยธรรม กล่าวถึงหลักการปกครอง และหลักความสัมพันธ์ระหว่างเศรษฐกิจกับจริยธรรม;
       เรื่อง พระศรีอารยเมตไตรย ก็มีต้นเค้ามาจากพระสูตรนี้;
       ดู จักรวรรดิวัตร ๑๒

แสดงผลการค้น ลำดับที่  72 / 80
จัณฑปัชโชต พระเจ้าแผ่นดินแคว้นอวันตี ครองราชสมบัติอยู่ที่กรุงอุชเชนี

แสดงผลการค้น ลำดับที่  73 / 80
จันทรคติ การนับวันโดยถือเอาการเดินของพระจันทร์เป็นหลัก
       เช่น ๑ ค่ำ ๒ ค่ำ และเดือนอ้าย เดือนยี่ เดือน ๓ เป็นต้น
       คู่กับ สุริยคติ

แสดงผลการค้น ลำดับที่  74 / 80
จัมเปยยขันธกะ ชื่อขันธกะที่ ๙ แห่ง คัมภีร์มหาวรรค วินัยปิฎก
       ว่าด้วยข้อควรทราบบางแง่เกี่ยวกับนิคคหกรรมต่างๆ

แสดงผลการค้น ลำดับที่  75 / 80
จัมมขันธกะ ชื่อขันธกะที่ ๕ แห่งคัมภีร์มหาวรรค วินัยปิฎก
       ว่าด้วยเครื่องหนังต่างๆ มีรองเท้าและเครื่องลาดเป็นต้น

แสดงผลการค้น ลำดับที่  76 / 80
จาริก เที่ยวไป, เดินทางเพื่อศาสนกิจ

แสดงผลการค้น ลำดับที่  77 / 80
จำพรรษา อยู่ประจำวัด ๓ เดือนในฤดูฝน คือ
       ตั้งแต่แรม ๑ ค่ำ เดือน ๘ ถึงขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๑ (อย่างนี้เรียก ปุริมพรรษา แปลว่า “พรรษาต้น”) หรือ
       ตั้งแต่แรม ๑ ค่ำ เดือน ๙ ถึงขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๒ (อย่างนี้เรียก ปัจฉิมพรรษา แปลว่า “พรรษาหลัง”);
       วันเข้าพรรษาต้น คือ แรม ๑ ค่ำ เดือน ๘ เรียกว่า ปุริมิกา วัสสูปนายิกา,
       วันเข้าพรรษาหลัง คือ แรม ๑ ค่ำเดือน ๙ เรียกว่า ปัจฉิมิกา วัสสูปนายิกา ;
       คำอธิษฐานพรรษา ว่า
           “อิมสฺมึ วิหาเร อิมํ เตมาสํ วสฺสํ อุเปมิ;
           ทุติยมฺปี อิมสฺมึ วิหาเร อิมํ เตมาสํ วสฺสํ อุเปมิ;
           ตติยมฺปิ อิมสฺมึ วิหาเร อิมํ เตมาสํ วสฺสํ อุเปมิ”
       แปลว่า “ข้าพเจ้าเข้าอยู่จำพรรษาตลอด ๓ เดือนในวัดนี้” (วิหาเร จะเปลี่ยนเป็น อาวาเส ก็ได้);
       อานิสงส์การจำพรรษามี ๕ อย่าง คือ
           ๑. เที่ยวไปไม่ต้องบอกลา
           ๒. จาริกไปไม่ต้องเอาไตรจีวรไปครบสำรับ
           ๓. ฉันคณโภชน์และปรัมปรโภชน์ได้
           ๔. เก็บอดิเรกจีวรได้ตามปรารถนา
           ๕. จีวรอันเกิดขึ้นในที่นั้น เป็นของได้แก่พวกเธอ
       อานิสงส์ทั้ง ๕ นี้ได้ชั่วเวลาเดือนหนึ่ง นับแต่ออกพรรษาแล้ว คือ ถึงขึ้น ๑๕ ค่ำเดือน ๑๒
       นอกจากนั้นยังได้สิทธิที่จะกรานกฐิน และได้รับอานิสงส์ ๕ นั้น ต่อออกไปอีก ๔ เดือน
       (ภิกษุผู้เข้าพรรษาแล้วหลัง ไม่ได้อานิสงส์หรือสิทธิพิเศษเหล่านี้)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  78 / 80
ินตกวี นักปราชญ์ผู้ชำนาญคิดคำประพันธ์, ผู้สามารถในการแต่งร้อยกรองตามแนวความคิดของตน

แสดงผลการค้น ลำดับที่  79 / 80
จีวรกาล ฤดูกาลจีวร, ฤดูถวายผ้าแก่พระสงฆ์
       ดู จีวรกาลสมัย

จีวรกาลสมัย สมัยหรือคราวที่เป็นฤดูถวายจีวร;
       งวดหนึ่ง สำหรับภิกษุที่มิได้กรานกฐิน ตั้งแต่แรมค่ำหนึ่งเดือน ๑๑ ถึงเพ็ญเดือน ๑๒ (คือเดือนเดียว),
       อีกงวดหนึ่ง สำหรับภิกษุที่ได้กรานกฐินแล้ว ตั้งแต่แรมค่ำหนึ่งเดือน ๑๑ ไปจนหมดฤดูหนาว คือถึงขึ้น ๑๕ ค่ำเดือน ๔ (รวม ๕ เดือน)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  80 / 80
จีวรอธิษฐาน จีวรครอง, ผ้าจำกัดจำนวน ๓ ผืนที่อธิษฐานคือ กำหนดไว้ใช้ประจำตัวตามที่พระวินัยอนุญาตไว้;
       ตรงข้ามกับ อติเรกจีวร


พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์
http://84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=ิน&detail=on
http://84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=%D4%B9&detail=on


บันทึก  ๒, ๓๐ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๔๗ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจาก พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ พิมพ์ครั้งที่ ๑๐. พ.ศ. ๒๕๔๖ หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]