ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ. ปยุตฺโต) พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต) พระธรรมปิฎก (ประยุทธ์ ปยุตฺโต)
            การค้นหาคำว่า “ ุณ ”             ผลการค้นหาพบ  43  ตำแหน่ง ดังนี้ :-

แสดงผลการค้น ลำดับที่  1 / 43
กรุณา ความสงสารคิดจะช่วยให้พ้นทุกข์, ความหวั่นใจ เมื่อเห็นผู้อื่นมีทุกข์ คิดหาทางช่วยเหลือปลดเปลื้องทุกข์ของเขา
       ดู พรหมวิหาร

แสดงผลการค้น ลำดับที่  2 / 43
กัลยาณคุณ คุณอันบัณฑิตพึงนับ, คุณธรรมที่ดีงาม, คุณงามความดี

แสดงผลการค้น ลำดับที่  3 / 43
กามคุณ ส่วนที่น่าปรารถนาน่าใคร่ มี ๕ อย่าง
       คือ รูป เสียง กลิ่น รส และโผฏฐัพพะ (สัมผัสทางกาย) ที่น่าใคร่ น่าพอใจ

แสดงผลการค้น ลำดับที่  4 / 43
กุณฑธานะ พระเถระผู้เป็นมหาสาวกองค์หนึ่ง เป็นบุตรพราหมณ์ในพระนครสาวัตถี เรียนจบไตรเพทตามลัทธิพราหมณ์
       ต่อมา เมื่อสูงอายุแล้ว ได้ฟังพระธรรมเทศนาของพระพุทธเจ้า เกิดความเลื่อมใสจึงบวชในพระพุทธศาสนา
       ตั้งแต่นั้นมา ก็มีรูปหญิงคนหนึ่งติดตามตัวตลอดเวลา จนกระทั่งได้บรรลุพระอรหัต รูปนั้นจึงหายไป
       ท่านได้รับยกย่องจากพระศาสดาว่า เป็นเอตทัคคะในการถือเอาสลากเป็นปฐม

แสดงผลการค้น ลำดับที่  5 / 43
กุณฑลเกสี ดู ภัททากุณฑลเกสา

แสดงผลการค้น ลำดับที่  6 / 43
คุณของพระรัตนตรัย คุณของรัตนะ ๓ คือ
       ๑. พระพุทธเจ้า รู้ดีรู้ชอบด้วยพระองค์เองก่อนแล้วทรงสอนผู้อื่นให้รู้ตามด้วย
       ๒. พระธรรม เป็นหลักแห่งความจริงและความดีงาม ย่อมรักษาผู้ปฏิบัติตามไม่ให้ตกไปในที่ชั่ว
       ๓. พระสงฆ์ ปฏิบัติชอบตามคำสอนของพระพุทธเจ้าแล้ว สอนผู้อื่นให้กระทำตามด้วย

แสดงผลการค้น ลำดับที่  7 / 43
คุณธรรม ธรรมที่เป็นคุณ, ความดีงาม, สภาพที่เกื้อกูล

แสดงผลการค้น ลำดับที่  8 / 43
คุณบท บทที่แสดงคุณ, บทที่กล่าวถึงคุณงามความดี, คำแสดงคุณสมบัติ

แสดงผลการค้น ลำดับที่  9 / 43
จุณณ์ ละเอียด

แสดงผลการค้น ลำดับที่  10 / 43
จุณณิยบท คำร้อยแก้ว, บางแห่งว่าบทบาลีเล็กน้อย ที่ยกขึ้นแสดงก่อนเนื้อความ
       (พจนานุกรมเขียน จุณณียบท)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  11 / 43
ฉิบหายเสียจากคุณอันใหญ่ ไม่ได้บรรลุโลกุตตรธรรม, หมดโอกาสที่จะบรรลุโลกุตตรธรรม

แสดงผลการค้น ลำดับที่  12 / 43
ชุณหปักษ์ “ฝ่ายขาว, ฝ่ายสว่าง” หมายถึง ข้างขึ้น;
       ศุกลปักษ์ ก็เรียก;
       ตรงข้ามกับ กัณหปักษ์ หรือ กาฬปักษ์

แสดงผลการค้น ลำดับที่  13 / 43
ทารุณ หยาบช้า, ร้ายกาจ, รุนแรง, ดุร้าย, โหดร้าย

แสดงผลการค้น ลำดับที่  14 / 43
ทารุณกรรม การทำโดยความโหดร้าย

แสดงผลการค้น ลำดับที่  15 / 43
ธรรมคุณ คุณของพระธรรม มี ๖ อย่าง คือ
       ๑. สฺวากฺขาโต ภควตา ธมฺโม พระธรรมอันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสดีแล้ว
       ๒. สนฺทิฏฺฐิโก อันผู้ปฏิบัติจะพึงเห็นชัดด้วยตนเอง
       ๓. อกาลิโก ไม่ประกอบด้วยกาล
       ๔. เอหิปสฺสิโก ควรเรียกให้มาดู
       ๕. โอปนยิโก ควรน้อมเข้ามา
       ๖. ปจฺจตฺตํ เวทิตพฺโพ วิญฺญูหิ อันวิญญูชนพึงรู้เฉพาะตน

แสดงผลการค้น ลำดับที่  16 / 43
นวรหคุณ คุณของพระอรหันต์ ๙ หมายถึง คุณของพระพุทธเจ้าผู้เป็นพระอรหันต์ ๙ ประการ ได้แก่ พุทธคุณ ๙ นั่นเอง
       เขียน นวารคุณ ก็ได้ แต่เพี้ยนไปเป็น นวหรคุณ ก็มี

แสดงผลการค้น ลำดับที่  17 / 43
บุณฑริก บัวขาว

แสดงผลการค้น ลำดับที่  18 / 43
เบญจกามคุณ สิ่งที่น่าปรารถนาน่าใคร่ ๕ อย่าง คือ
       รูป เสียง กลิ่น รส และโผฏฐัพพะ (สัมผัสทางกาย)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  19 / 43
ปัญจพิธกามคุณ กามคุณ ๕ อย่าง คือ รูป, เสียง, กลิ่น, รส, โผฏฐัพพะ ที่น่ารักใคร่น่าชอบใจ

แสดงผลการค้น ลำดับที่  20 / 43
ปิสุณาย วาจาย เวรมณี เว้นจากการพูดส่อเสียด, เว้นจากพูดยุยงให้เขาแตกร้าวกัน
       (ข้อ ๕ ในกุศลกรรมบถ ๑๐)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  21 / 43
ปิสุณาวาจา วาจาส่อเสียด, พูดส่อเสียด, พูดยุยงให้เขาแตกร้าวกัน
       (ข้อ ๕ ใน อกุศลกรรมบถ ๑๐)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  22 / 43
ปุณณกมาณพ ศิษย์คนหนึ่งในจำนวน ๑๖ คน ของพราหมณ์พาวรี ที่ไปทูลถามปัญหากะพระศาสดา ที่ปาสาณเจดีย์

แสดงผลการค้น ลำดับที่  23 / 43
ปุณณชิ บุตรเศรษฐีเมืองพาราณสี เป็นสหายของยสกุลบุตร
       ได้ทราบข่าวยสกุลบุตรออกบวช จึงได้บวชตาม พร้อมด้วยสหายอีก ๓ คน คือวิมละ สุพาหุ และควัมปติ ได้เป็นองค์หนึ่งในอสีติมหาสาวก

แสดงผลการค้น ลำดับที่  24 / 43
ปุณณมันตานีบุตร พระมหาสาวกองค์หนึ่ง ได้ชื่ออย่างนี้ เพราะเดิมชื่อปุณณะ เป็นบุตรของนางมันตานี
       ท่านเกิดในตระกูลพราหมณ์มหาศาลในหมู่บ้านพราหมณ์ชื่อโทณวัตถุ ไม่ไกลจากเมืองกบิลพัสดุ์ เป็นหลานของพระอัญญาโกณฑัญญะ ได้บรรพชาเมื่อพระเถระผู้เป็นลุงเดินทางมายังเมืองกบิลพัสดุ์
       บวชแล้วไม่นานก็บรรลุอรหัตตผล เป็นผู้ปฏิบัติตนตามหลักกถาวัตถุ ๑๐ และสอนศิษย์ของตนให้ปฏิบัติเช่นนั้นด้วย
       ท่านได้รับยกย่องเป็นเอตทัคคะ ในบรรดาพระธรรมกถึก
       หลักธรรมเรื่องวิสุทธิ ๗ ก็เป็นภาษิตของท่าน

แสดงผลการค้น ลำดับที่  25 / 43
ปุณณมาณพ คือพระปุณณมันตานีบุตรเมื่อก่อนบวช

แสดงผลการค้น ลำดับที่  26 / 43
ปุณณสุนาปรันตะ, -ตกะ พระมหาสาวกองค์หนึ่ง ในจำนวนอสีติมหาสาวก ชื่อเดิมว่า ปุณณะ เกิดที่เมืองท่าชื่อ สุปปารกะ ในแคว้นสุนาปรันตะ เมื่อเติบโตขึ้น ได้ประกอบการค้าขายร่วมกับน้องชาย ผลัดกันนำกองเกวียน ๕๐๐ เล่ม เที่ยวค้าขายตามหัวเมืองต่างๆ
       คราวหนึ่ง น้องชายอยู่เฝ้าบ้าน ปุณณะนำกองเกวียนออกค้าขายผ่านเมืองต่างๆ มาจนถึงกรุงสาวัตถี พักกองเกวียนอยู่ใกล้พระเชตวัน รับประทานอาหารเช้าแล้วก็นั่งพักผ่อนกันตามสบาย
       ขณะนั้นเอง ปุณณะมองเห็นชาวพระนครสาวัตถีแต่งตัวสะอาด เรียบร้อย พากันเกิดไปยังพระเชตวันเพื่อฟังธรรม ไต่ถามทราบความก็ดีใจ จึงพาบริวารเดินตามเขาเข้าไปสู่พระวิหาร ยืนอยู่ท้ายสุดที่ประชุม ได้ฟังพระธรรมเทศนาของพระพุทธเจ้าแล้วเลื่อมใสอยากจะบวช
       วันรุ่งขึ้นถวายมหาทานแด่พระสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุขแล้ว มอบหมายธุระแก่เจ้าหน้าที่คุมของให้นำสมบัติไปมอบให้แก่น้องชาย แล้วออกบวชในสำนักพระศาสดา ตั้งใจทำกรรมฐาน แต่ก็ไม่สำเร็จ คิดจะไปบำเพ็ญภาวนาที่ถิ่นเดิมของท่านเอง จึงเข้าไปเฝ้าพระพุทธเจ้า กราบทูลขอพระโอวาท ดังปรากฏเนื้อความใน ปุณโณวาทสูตร
       พระผู้มีพระภาคเจ้าประทานพระโอวาทแสดงวิธีปฏิบัติต่อรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ และธรรมารมณ์ โดยอาการที่จะมิให้ทุกข์เกิดขึ้น แล้วตรัสถามท่านว่า จะไปอยู่ในถิ่นใด
       ท่านทูลตอบว่า จะไปอยู่ในแคว้นสุนาปรันตะ
       ตรัสถามว่า ชาวสุนาปรันตะเป็นคนดุร้าย ถ้าเขาด่าว่า ท่านจะวางใจต่อคนเหล่านั้นอย่างไร
       ทูลตอบว่า จะคิดว่ายังดีนักหนาที่เขาไม่ตบตี
       ตรัสถามว่า ถ้าเขาตบตีจะวางใจอย่างไร
       ทูลตอบว่า จะคิดว่ายังดีนักหนาที่เขาไม่ขว้างปาด้วยก้อนดิน
       ตรัสถามว่า ถ้าเขาขว้างด้วยก้อนดิน จะวางใจอย่างไร
       ทูลตอบว่า จะคิดว่ายังดีนักหนาที่เขาไม่ทุบตีด้วยท่อนไม้
       ตรัสถามว่า ถ้าเขาทุบตีด้วยท่อนไม้ จะวางใจอย่างไร
       ทูลตอบว่า จะคิดว่ายังดีนักหนาที่เขาไม่ฟันแทงด้วยศัสตรา
       ตรัสถามว่า ถ้าเขาฟันแทงด้วยศัสตรา จะวางใจอย่างไร
       ทูลตอบว่า จะคิดว่ายังดีนักหนาที่เขาไม่เอาศัสตราอันคมฆ่าเสีย
       ตรัสถามว่า ถ้าเขาเอาศัสตราอันคมปลิดชีพเสีย จะวางใจอย่างไร
       ทูลตอบว่า จะคิดว่า มีสาวกบางท่านเบื่อหน่ายร่างกายและชีวิตต้องเที่ยวหาศัสตรามาสังหารตนเอง แต่เราไม่ต้องเที่ยวหาเลย ก็ได้ศัสตราแล้ว
       พระผู้มีพระภาคประทานสาธุการ และตรัสว่า ท่านมีทมะและอุปสมะอย่างนี้ สามารถไปอยู่ในแคว้นสุนาปรันตะได้
       พระโอวาทและแนวคิดของพระปุณณะนี้ เป็นคติอันมีค่ายิ่งสำหรับพระภิกษุผู้จะจาริกไปประกาศพระศาสนาในถิ่นไกล
       พระปุณณะกลับสู่แคว้นสุนาปรันตะแล้ว ได้ย้ายหาที่เหมาะสำหรับการทำกรรมฐานหลายแห่ง จนในที่สุดแห่งที่ ๔ ได้เข้าจำพรรษาแรกที่วัดมกุฬการาม ในพรรษานั้น น้องชายของท่านกับพ่อค้ารวม ๕๐๐ คน เอาสินค้าลงเรือจะไปยังทะเลอื่น ในวันลงเรือ น้องชายมาลาและขอความคุ้มครองจากท่าน ระหว่างทางเรือไปถึงเกาะแห่งหนึ่ง พากันแวะบนเกาะพบป่าจันทร์แดงอันมีค่าสูง จึงล้มเลิกความคิดที่จะเดินทางต่อ ช่วยกันตัดไม้จันทร์บรรทุกเรือจนเต็มแล้วออกเดินทางกลับถิ่นเดิม แต่พอออกเรือมาได้ไม่นาน พวกอมนุษย์ที่สิงในป่าจันทร์ซึ่งโกรธแค้น ได้ทำให้เกิดลมพายุอย่างแรงและหลอกหลอนต่างๆ น้องชายของพระปุณณะระลึกถึงพระพี่ชาย พระปุณณะทราบ จึงเหาะมายืนอยู่ที่หน้าเรือ พวกอมนุษย์ก็พากันหนีไป ลมพายุก็สงบ
       พวกพ่อค้าทั้ง ๕๐๐ คน กลับถึงถิ่นเดิมโดยสวัสดีแล้ว ได้พร้อมทั้งภรรยาพากันประกาศนับถือพระปุณณะและถึงพระรัตนตรัยเป็นสรณะ แล้วแบ่งไม้จันทร์แดงส่วนหนึ่งมาถวายท่าน พระปุณณะตอบว่า ท่านไม่มีกิจที่จะต้องใช้ไม้เหล่านั้น และแนะให้สร้างศาลาถวายพระพุทธเจ้า ศาลานั้นเรียกว่า จันทนศาลา เมื่อศาลาเสร็จแล้ว พระปุณณะได้ไปทูลอาราธนาพระพุทธเจ้าเสด็จมายังแคว้นสุนาปรันตะ พร้อมด้วยพระสาวกจำนวนมาก ระหว่างทางพระผู้มีพระภาคทรงแวะหยุดประทับโปรดสัจจพันธดาบส ที่ภูเขาสัจจพันธ์ก่อนแล้ว นำพระสัจจพันธ์ ซึ่งบรรลุอรหัตตผลแล้วมายังสุนาปรันตะ และประทับที่จันทนศาลา ในมกุฬการาม ๒-๓ วัน เสด็จเที่ยวบิณฑบาตในหมู่บ้าน แล้วทรงเดินทางกลับ ระหว่างทางเสด็จถึงฝั่งแม่น้ำนัมมทา ได้แสดงธรรมโปรดนัมมทานาคราช นาคราชขอของที่ระลึกไว้บูชา จึงทรงประทับรอยพระบาทไว้ที่ริมฝั่งแม่น้ำนัมมทานั้น จากนั้นเสด็จต่อไปถึงภูเขาสัจจพันธ์ ตรัสสั่งพระสัจจพันธ์ให้อยู่สั่งสอนประชาชน ณ ที่นั้น พระสัจจพันธ์ทูลขอสิ่งที่ระลึกไว้บูชา จึงทรงประทับรอยพระบาทไว้ที่ภูเขานั้นด้วย อันนับว่าเป็นประวัติการเกิดขึ้นของรอยพระพุทธบาท
       เหตุการณ์ที่เล่านี้เกิดขึ้นในพรรษาแรกที่พระปุณณะกลับมาอยู่ในแคว้นสุนาปรันตะ และท่านเองก็ได้บรรลุอรหัตตผลในพรรษาแรกนั้น เช่นกัน ท่านพระปุณณเถระบำเพ็ญจริยาเพื่อประโยชน์สุขแก่ประชาชนสืบมาจนถึงปรินิพพาน ณ แคว้นสุนาปรันตะนั้น ก่อนพุทธปรินิพพาน

แสดงผลการค้น ลำดับที่  27 / 43
ผัคคุณมาส เดือน ๔

แสดงผลการค้น ลำดับที่  28 / 43
พุทธคุณ คุณของพระพุทธเจ้า มี ๙ คือ
           ๑. อรหํ เป็นพระอรหันต์
           ๒. สมฺมาสมฺพุทฺโธ ตรัสรู้เองโดยชอบ
           ๓. วิชฺชาจรณสมฺปนฺโน ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ
           ๔. สุคโต เสด็จไปดีแล้ว
           ๕. โลกวิทู เป็นผู้รู้แจ้งโลก
           ๖. อนุตฺตโร ปุริสทมฺมสารถิ เป็นสารถีฝึกคนที่ฝึกได้ไม่มีใครยิ่งกว่า
           ๗. สตฺถาเทวมนุสฺสานํ เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย
           ๘. พุทฺโธ เป็นผู้ตื่นและเบิกบานแล้ว
           ๙. ภควา เป็นผู้มีโชค
       พุทธคุณทั้งหมดนั้น โดยย่อ มี ๒ คือ
           ๑. พระปัญญาคุณ พระคุณคือพระปัญญา
           ๒. พระกรุณาคุณ พระคุณคือพระมหากรุณา
       หรือตามที่นิยมกล่าวกันในประเทศไทย ย่อเป็น ๓ คือ
           ๑. พระปัญญาคุณ พระคุณคือพระปัญญา
           ๒. พระวิสุทธิคุณ พระคุณคือความบริสุทธิ์
           ๓. พระกรุณาคุณ พระคุณคือพระมหากรุณา

แสดงผลการค้น ลำดับที่  29 / 43
ภัททากุณฑลเกสา พระมหาสาวิกาองค์หนึ่ง เป็นธิดาของเศรษฐีในพระนครราชคฤห์
       เคยเป็นภรรยาโจรผู้เป็นนักโทษประหารชีวิต โจรคิดจะฆ่านางเพื่อเอาทรัพย์สมบัติ แต่นางใช้ปัญญาคิดแก้ไขกำจัดโจรได้ แล้วบวชในสำนักนิครนถ์
       ต่อมาได้พบกับพระสารีบุตร ได้ถามปัญหากันและกัน จนนางมีความเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา ต่อมาได้ฟังพระธรรมเทศนาที่พระศาสดาทรงแสดงได้สำเร็จพระอรหัต แล้วบวชในสำนักนางภิกษุณี
       ได้รับยกย่องว่า เป็นเอตทัคคะในทางขิปปาภิญญา คือ ตรัสรู้ฉับพลัน

แสดงผลการค้น ลำดับที่  30 / 43
ภิกษุณี หญิงที่ได้อุปสมบทแล้ว, พระผู้หญิงในพระพุทธศาสนา;
       เทียบ ภิกษุ

แสดงผลการค้น ลำดับที่  31 / 43
ภิกษุณีสงฆ์ หมู่แห่งภิกษุณี, ประดาภิกษุณีทั้งหมดกล่าวโดยส่วนรวมหรือโดยฐานเป็นชุมนุมหนึ่ง, ภิกษุณีตั้งแต่ ๔ รูปขึ้นไป ประชุมกันเนื่องในกิจพิธี ;
       ภิกษุณีสงฆ์เกิดขึ้นในพรรษาที่ ๕ แห่งการบำเพ็ญพุทธกิจ โดยมีพระมหาปชาบดีโคตมี พระมาตุจฉาซึ่งเป็นพระมารดาเลี้ยงของเจ้าชายสิทธัตถะ เป็นพระภิกษุณีรูปแรก ดังเรื่องปรากฏในภิกษุณีขันธกะและในอรรถกถา สรุปได้ความว่า
       หลังจากพระเจ้าสุทโธทนะปรินิพพานแล้ว วันหนึ่งขณะที่พระพุทธเจ้าประทับอยู่ที่นิโครธารามในเมืองกบิลพัสดุ์ พระนางมหาปชาบดีโคตมีเสด็จเข้าไปเฝ้าและทูลขออนุญาตให้เสด็จสละเรือนออกบวชในพระธรรมวินัย แต่การณ์นั้นมิใช่ง่าย พระพุทธเจ้าตรัสห้ามเสียถึง ๓ ครั้ง
       ต่อมาพระพุทธเจ้าเสด็จไปยังเมืองเวสาลี ประทับที่กูฏาคารศาลาในป่ามหาวัน พระนางมหาปชาบดีโคตมีไม่ละความพยายาม ถึงกับปลงผมนุ่งห่มผ้ากาสาวะเอง ออกเดินทางพร้อมด้วยเจ้าหญิงศากยะจำนวนมาก (อรรถกถาว่า ๕๐๐ นาง) ไปยังเมืองเวสาลี และได้มายืนกันแสงอยู่ที่ซุ้มประตูนอกกูฏาคารศาลา พระบาทบวม พระวรกายเปรอะเปื้อนธุลี พระอานนท์มาพบเข้า สอบถามทราบความแล้วรีบช่วยไปกราบทูลขออนุญาตให้ แต่เมื่อพระอานนท์กราบทูลต่อพระพุทธเจ้าก็ถูกพระองค์ตรัสห้ามเสียถึง ๓ ครั้ง
       ในที่สุดพระอานนท์เปลี่ยนวิธีใหม่ โดยกราบทูลถามว่าสตรีออกบวชในพระธรรมวินัยแล้ว จะสามารถบรรลุโสดาปัตติผลจนถึงอรหัตตผลได้หรือไม่
       พระพุทธเจ้าตรัสตอบว่าได้
       พระอานนท์จึงอ้างเหตุผลนั้น พร้อมทั้งการที่พระนางมหาปชาบดีเป็นพระมาตุจฉาและเป็นพระมารดาเลี้ยง มีอุปการะมากต่อพระองค์ แล้วขอให้ทรงอนุญาตให้สตรีออกบวช
       พระพุทธเจ้าทรงอนุญาตโดยมีเงื่อนไขว่า พระนางจะต้องรับปฏิบัติตามครุธรรม ๘ ประการ พระนางยอมรับตามพุทธานุญาตที่ให้ถือว่า การรับครุธรรมนั้นเป็นการอุปสมบทของพระนาง ส่วนเจ้าหญิงศากยะที่ตามมาทั้งหมด พระพุทธเจ้าตรัสอนุญาตให้ภิกษุสงฆ์อุปสมบทให้
       ในคราวนั้นพระพุทธเจ้าได้ตรัสแก่พระอานนท์ว่า การให้สตรีบวชจะเป็นเหตุให้พรหมจรรย์ คือพระศาสนาหรือสัทธรรมตั้งอยู่ไม่ได้ยั่งยืน จะมีอายุสั้นเข้า เปรียบเหมือนตระกูลที่มีบุรุษน้อยมีสตรีมาก ถูกผู้ร้ายทำลายได้ง่าย หรือเหมือนนาข้าวที่มีหนอนขยอกลง หรือเหมือนไร่อ้อยที่มีเพลี้ยลง ย่อมอยู่ได้ไม่ยืนนาน พระองค์ทรงบัญญัติครุธรรม ๘ ประการกำกับไว้ก็เพื่อเป็นหลักคุ้มกันพระศาสนา เหมือนสร้างคันกั้นสระใหญ่ไว้ก่อนเพื่อกันไม่ให้น้ำไหลท้นออกไป (พระศาสนาจักอยู่ได้ยั่งยืนเช่นเดิม) และได้ทรงแสดงเหตุผลที่ไม่ให้ภิกษุไหว้ภิกษุณี ให้ภิกษุณีไหว้ภิกษุได้ฝ่ายเดียว เพราะนักบวชในลัทธิศาสนาอื่นทั้งหลาย ไม่มีใครไหว้สตรีกันเลย
       กล่าวโดยสรุปว่า หากถือเหตุผลทางด้านสภาพสังคม-ศาสนาแล้ว จะไม่ทรงอนุญาตให้สตรีบวชเลย แต่ด้วยเหตุผลในด้านความสามารถโดยธรรมชาติจึงทรงยอมให้สตรีบวชได้ เมื่อภิกษุณีสงฆ์เกิดขึ้นแล้ว สตรีที่จะบวชต่อมาต้องเป็น สิกขมานา รักษาสิกขาบท ๖ (คือ ๖ ข้อแรกในศีล ๑๐) ไม่ให้ขาดเลยตลอด ๒ ปีก่อน จึงขออุปสมบทได้ และต้องรับการอุปสมบทโดยสงฆ์สองฝ่าย คือ บวชโดยภิกษุณีสงฆ์แล้ว ต้องบวชโดยภิกษุสงฆ์อีกชั้นหนึ่ง เมื่อเป็นภิกษุณีแล้ว ต้องรักษาสิกขาบท ๓๑๑ ข้อ (ศีล ๓๑๑) ภิกษุณีสงฆ์เจริญแพร่หลายในชมพูทวีปอยู่ช้านาน เป็นแหล่งให้การศึกษาแหล่งใหญ่แก่สตรีทั้งหลาย
       ภิกษุณีสงฆ์ประดิษฐานในลังกาทวีปในรัชกาลของพระเจ้าเทวานัมปิยติสสะ โดยพระสังฆมิตตาเถรี พระราชธิดาของพระเจ้าอโศกมหาราช เดินทางจากชมพูทวีปมาประกอบอุปสมบทกรรมแก่พระนางอนุฬาเทวี ชายาของเจ้ามหานาค อนุชาของพระเจ้าเทวานัมปิยติสสะ พร้อมด้วยสตรีอื่นอีก ๑ พันคน
       ภิกษุณีสงฆ์เจริญรุ่งเรืองในลังกาทวีปยาวนานไม่น้อยกว่า ๑,๐๐๐ ปี แต่ในที่สุดได้สูญสิ้นไป ด้วยเหตุใดและกาลใดไม่ปรากฏชัด
       ส่วนในประเทศไทยไม่ปรากฏหลักฐานว่าได้เคยมีการประดิษฐานภิกษุณีสงฆ์

แสดงผลการค้น ลำดับที่  32 / 43
มหากรุณา ความกรุณายิ่งใหญ่, กรุณามาก

แสดงผลการค้น ลำดับที่  33 / 43
เมตตากรุณา เมตตา และกรุณา ความรักความปรารถนาดีและความสงสาร ความอยากช่วยเหลือปลดเปลื้องทุกข์
       (ข้อแรกในเบญจธรรม)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  34 / 43
เมตติยาภิกษุณี ภิกษุณีผู้เป็นตัวการรับมอบหมายจากพระเมตติยะและพระภุมมชกะมาเป็นผู้โจทพระทัพพมัลลบุตรด้วยข้อหาปฐมปาราชิก

แสดงผลการค้น ลำดับที่  35 / 43
ลกุณฏกภัททิยะ พระมหาสาวกองค์หนึ่ง เป็นบุตรในตระกูลมั่งคั่ง ชาวพระนครสาวัตถี ได้ฟังพระธรรมเทศนาของพระศาสดาที่พระเชตวัน มีความเลื่อมใสจึงบวชในพระพุทธศาสนา
       ท่านมีรูปร่างเตี้ยค่อมจนบางคนเห็นท่านแล้วหัวเราะจนเห็นฟัน ท่านกำหนดฟันนั้นเป็นอารมณ์กรรมฐาน ได้สำเร็จอนาคามิผล
       ต่อมาท่านได้บรรลุพระอรหัตในสำนักพระสารีบุตร แต่เพราะความที่มีรูปร่างเล็กเตี้ยค่อม ท่านมักถูกเข้าใจผิดเป็นสามเณรบ้าง ถูกพระหนุ่มเณรน้อยล้อเลียนบ้าง ถูกเพื่อนพระดูแคลนบ้าง
       แต่พระพุทธเจ้ากลับตรัสยกย่องว่า ถึงท่านจะร่างเล็ก แต่มีคุณธรรมฤทธานุภาพมาก
       ท่านได้รับยกย่องเป็นเอตทัคคะในทางมีเสียงไพเราะ

แสดงผลการค้น ลำดับที่  36 / 43
ลบหลู่คุณท่าน ดู มักขะ

แสดงผลการค้น ลำดับที่  37 / 43
สมณคุณ คุณธรรมของสมณะ, ความดีที่สมณะควรมี

แสดงผลการค้น ลำดับที่  38 / 43
สังฆคุณ คุณของพระสงฆ์ (หมายถึงสาวกสงฆ์ หรือ อริยสงฆ์) มี ๙ คือ
       ๑. สุปฏิปนฺโน ภควโต สาวกสงฺโฆ พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า เป็นผู้ปฏิบัติดี
       ๒. อุชุปฏิปนฺโน เป็นผู้ปฏิบัติตรง
       ๓. ญายปฏิปนฺโน เป็นผู้ปฏิบัติถูกทาง
       ๔. สามีจิปฏิปนฺโน เป็นผู้ปฏิบัติสมควร
           (ยทิทํ จตฺตาริ ปุริสยุคานิ อฏฺฐปุริสปุคฺคลา ได้แก่ คู่บุรุษ ๔ ตัวบุคคล ๘
           เอส ภควโต สาวกสงฺโฆ พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคนี้)
       ๕. อาหุเนยฺโย เป็นผู้ควรแก่ของคำนับ คือควรรับของที่เขานำมาถวาย
       ๖. ปาหุเนยฺโย เป็นผู้ควรแก่การต้อนรับ
       ๗. ทกฺขิเณยฺโย เป็นผู้ควรแก่ทักษิณา คือควรแก่ของทำบุญ
       ๘. อญฺชลีกรณีโย เป็นผู้ควรแก่การทำอัญชลี คือควรแก่การกราบไหว้
       ๙. อนุตฺตรํ ปุญฺญกฺเขตฺตํ โลกสฺส เป็นนาบุญอันยอดเยี่ยมของโลก คือเป็นแหล่งเพาะปลูกและเผยแพร่ความดีที่ยอดเยี่ยมของโลก

แสดงผลการค้น ลำดับที่  39 / 43
อรุณ เวลาใกล้อาทิตย์จะขึ้น มีสองระยะ คือมีแสงขาวเรื่อๆ(แสงเงิน) แสงแดง(แสงทอง), เวลาย่ำรุ่ง

แสดงผลการค้น ลำดับที่  40 / 43
อันตคุณ ไส้น้อย, ไส้ทบ

แสดงผลการค้น ลำดับที่  41 / 43
อุณหะ ร้อน, อุ่น

แสดงผลการค้น ลำดับที่  42 / 43
อุณหิส กรอบหน้า, มงกุฎ

แสดงผลการค้น ลำดับที่  43 / 43
อุปัสสยะของภิกษุณี ส่วนที่อยู่ของภิกษุณีตั้งอยู่ในอาวาสที่มีภิกษุอยู่ด้วย แต่อยู่โดยเอกเทศ ไม่ปะปนกับภิกษุ;
       เรียกตามศัพท์ว่า ภิกขุนูปัสสยะ


พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์
http://84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=ุณ
http://84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=%D8%B3


บันทึก  ๒, ๓๐ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๔๗ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจาก พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ พิมพ์ครั้งที่ ๑๐. พ.ศ. ๒๕๔๖ หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]