ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ. ปยุตฺโต) พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต) พระธรรมปิฎก (ประยุทธ์ ปยุตฺโต)
            การค้นหาคำว่า “ ุปาท ”             ผลการค้นหาพบ  14  ตำแหน่ง ดังนี้ :-

แสดงผลการค้น ลำดับที่  1 / 14
กามุปาทาน ความยึดติดถือมั่นในกาม ยึดถือว่าเป็นของเราหรือจะต้องเป็นของเรา จนเป็นเหตุให้เกิดริษยาหรือหวงแหน ลุ่มหลง เข้าใจผิด ทำผิด

แสดงผลการค้น ลำดับที่  2 / 14
ทิฏฐุปาทาน ความถือมั่นในทิฏฐิ, ความยึดติดฝังใจในลัทธิ ทฤษฎี และหลักความเชื่อต่างๆ
       (ข้อ ๒ ในอุปาทาน ๔)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  3 / 14
สอุปาทิเสสนิพพาน นิพพานยังมีอุปาทิเหลือ,
       ดับกิเลสแต่ยังมีเบญจขันธ์เหลือ คือ นิพพานของพระอรหันต์ผู้ยังมีชีวิตอยู่,
       นิพพานในแง่ที่เป็นภาวะดับกิเลส คือ โลภะ โทสะ โมหะ;
       เทียบ อนุปาทิเสสนิพพาน

แสดงผลการค้น ลำดับที่  4 / 14
สอุปาทิเสสบุคคล บุคคลผู้ยังมีเชื้อกิเลสเหลืออยู่,
       ผู้ยังไม่สิ้นอุปาทาน ได้แก่ พระเสขะ คือ พระอริยบุคคลทั้งหมด ยกเว้นพระอรหันต์;
       เทียบ อนุปาทิเสสบุคคล

แสดงผลการค้น ลำดับที่  5 / 14
สีลัพพตุปาทาน ความยึดมั่นศีลและวัตรด้วยอำนาจกิเลส,
       ความถือมั่นศีลพรต คือธรรมเนียมที่ประพฤติกันมาจนชิน โดยเชื่อว่าขลังเป็นเหตุให้งมงาย,
       คัมภีร์ธัมมสังคณีแสดงความหมายอย่างเดียวกับสีลัพพตปรามาส
       (ข้อ ๓ ในอุปาทาน ๔)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  6 / 14
อนุปาทินนกสังขาร สังขารที่กรรมไม่ยึดครอง
       แปลกันง่ายๆ ว่า “สังขารที่ไม่มีใจครอง” เช่น ต้นไม้ ภูเขา เป็นต้น
       (ข้อ ๒ ในสังขาร ๒)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  7 / 14
อนุปาทิเสสนิพพาน นิพพานไม่มีอุปาทิเหลือ,
       ดับกิเลสไม่มีเบญจขันธ์เหลือ คือ สิ้นทั้งกิเลสและชีวิต หมายถึง พระอรหันต์สิ้นชีวิต,
       นิพพานในแง่ที่เป็นภาวะดับภพ;
       เทียบ สอุปาทิเสสนิพพาน

แสดงผลการค้น ลำดับที่  8 / 14
อนุปาทิเสสบุคคล บุคคลผู้ไม่มีเชื้อกิเลสเหลือ,
       ผู้หมดอุปาทานสิ้นเชิง ได้แก่ พระอเสขะ คือ พระอรหันต์;
       เทียบ สอุปาทิเสสบุคคล

แสดงผลการค้น ลำดับที่  9 / 14
อัตตวาทุปาทาน การถือมั่นวาทะว่าตน
       คือ ความยึดถือสำคัญมั่นหมายว่า นั่นนี่เป็นตัวตน
       เช่น มองเห็นเบญจขันธ์เป็นอัตตา,
       อย่างหยาบขึ้นมา เช่น ยึดถือมั่นหมายว่า นี่เรา นั่นของเรา จนเป็นเหตุแบ่งแยกเป็นพวกเรา พวกเขา และเกิดความถือพวก
       (ข้อ ๔ ในอุปาทาน ๔)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  10 / 14
อุปาทาน ความยึดมั่น, ความถือมั่นด้วยอำนาจกิเลส มี ๔ คือ
       ๑. กามุปาทาน ความถือมั่นในกาม
       ๒. ทิฏฐุปาทาน ความถือมั่นในทิฏฐิ
       ๓. สีลัพพตุปาทาน ความถือมั่นในศีลและพรต
       ๔. อัตตวาทุปาทาน ความถือมั่นวาทะว่าตน

แสดงผลการค้น ลำดับที่  11 / 14
อุปาทานขันธ์ ขันธ์อันเป็นที่ตั้งแห่งอุปาทาน, ขันธ์ที่ประกอบด้วยอุปาทาน ได้แก่ เบญจขันธ์ คือ รูป, เวทนา, สัญญา, สังขาร, วิญญาณที่ประกอบด้วยอาสวะ

แสดงผลการค้น ลำดับที่  12 / 14
อุปาทายรูป รูปอาศัย, รูปที่เกิดสืบเนื่องจากมหาภูตรูป,
       อาการของมหาภูตรูป ตามหลักฝ่ายอภิธรรมว่า มี ๒๔ คือ
       ก. ประสาท หรือ ปสาทรูป ๕ ได้แก่
           จักขุ ตา, โสต หู, ฆานะ จมูก, ชิวหา ลิ้น, กาย
       ข. โคจรรูป หรือ วิสัยรูป (รูปที่เป็นอารมณ์) ๕ ได้แก่
           รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ
           (โผฏฐัพพะ ไม่นับเข้าจำนวน เพราะตรงกับปฐวี เตโช วาโย ซึ่งเป็นมหาภูตรูป)
       ค. ภาวรูป ๒ ได้แก่
           อิตถีภาวะ ความเป็นหญิง และ
           ปุริสภาวะ ความเป็นชาย
       ง. หทัยรูป ๑ คือ หทัยวัตถุ หัวใจ
       จ. ชีวิตรูป ๑ คือ ชีวิตินทรีย์ ภาวะที่รักษารูปให้เป็นอยู่
       ฉ. อาหารรูป ๑ คือ กวฬิงการาหาร อาหารที่กินเกิดเป็นโอชา
       ช. ปริจเฉทรูป ๑ คือ อากาศธาตุ ช่องว่าง
       ญ. วิญญัติรูป ๒ คือ
           กายวิญญัติ ไหวกายให้รู้ความ
           วจีวิญญัติ ไหววาจาให้รู้ความ คือพูดได้
       ฎ. วิการรูป ๕ อาการดัดแปลงต่างๆ ได้แก่
           ลหุตา ความเบา,
           มุทุตา ความอ่อน,
           กัมมัญญตา ความควรแก่งาน,
           (อีก ๒ คือ วิญญัติรูป ๒ นั่นเอง ไม่นับอีก)
       ฏ. ลักขณรูป ๔ ได้แก่
           อุปจยะ ความเติบขึ้นได้,
           สันตติ สืบต่อได้,
           ชรตา ทรุดโทรมได้,
           อนิจจตา ความสลายไม่ยั่งยืน
       (นับโคจรรูปเพียง ๔ วิการรูป เพียง ๓ จึงได้ ๒๔);
       ดู มหาภูต ด้วย

แสดงผลการค้น ลำดับที่  13 / 14
อุปาทิ
       1. สภาพที่ถูกกรรมกิเลสถือครอง, สภาพที่ถูกอุปาทานยึดไว้มั่น, เบญจขันธ์
       2. กิเลสเป็นเหตุถือมั่น, ความยึดมั่นถือมั่น, อุปาทาน

แสดงผลการค้น ลำดับที่  14 / 14
อุปาทินนกสังขาร สังขารที่กรรมครอบครอง
       พูดเข้าใจกันอย่างง่ายๆ ว่า สังขารที่มีใจครอง เช่น คน สัตว์ เทวดา
       (ข้อ ๑ ในสังขาร ๒)


พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์
http://84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=ุปาท
http://84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=%D8%BB%D2%B7


บันทึก  ๒, ๓๐ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๔๗ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจาก พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ พิมพ์ครั้งที่ ๑๐. พ.ศ. ๒๕๔๖ หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]