ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ. ปยุตฺโต) พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต) พระธรรมปิฎก (ประยุทธ์ ปยุตฺโต)
            การค้นหาคำว่า “ ูข ”             ผลการค้นหาพบ  8  ตำแหน่ง ดังนี้ :-

แสดงผลการค้น ลำดับที่  1 / 8
กาลามสูตร สูตรหนึ่งในคัมภีร์ติกนิบาต อังคุตตรนิกาย พระพุทธเจ้าตรัสสอนชนชาวกาลามะแห่งเกสปุตตนิคมใน แคว้นโกศล ไม่ให้เชื่อถืองมงายไร้เหตุผล ตามหลัก ๑๐ ข้อ คือ
       อย่าปลงใจเชื่อ ด้วยการฟังตามกันมา,
           ด้วยการถือสืบๆ กันมา,
           ด้วยการเล่าลือ,
           ด้วยการอ้างตำราหรือคัมภีร์,
           ด้วยตรรก,
           ด้วยการอนุมาน,
           ด้วยการคิดตรองตามแนวเหตุผล,
           เพราะเข้ากันได้กับทฤษฎีของตน,
           เพราะมองเห็นรูปลักษณะน่าเชื่อ,
           เพราะนับถือว่าท่านสมณะนี้ เป็นครูของเรา;
       ต่อเมื่อใด พิจารณาเห็นด้วยปัญญาว่า ธรรมเหล่านั้นเป็นอกุศล เป็นกุศล มีโทษ ไม่มีโทษ เป็นต้นแล้ว จึงควรละหรือถือปฏิบัติตามนั้น
       เรียกอีกอย่างว่า เกสปุตติยสูตร หรือเกสปุตตสูตร.

แสดงผลการค้น ลำดับที่  2 / 8
บุคคล ๔ 2- บุคคล ๔ จำพวกที่แบ่งตามประมาณ ได้แก่
       ๑. รูปัปปมาณิกา
       ๒. โฆสัปปมาณิกา
       ๓. ลูขัปปมาณิกา และ
       ๔. ธัมมัปปมาณิกา;
       ดู ประมาณ

แสดงผลการค้น ลำดับที่  3 / 8
ประมาณ การวัด, การกะ, เครื่องวัด, เกณฑ์, การถือเกณฑ์;
       บุคคลในโลกแบ่งตามประมาณ คือหลักเกณฑ์ในใจที่ใช้วัดในการที่จะเกิดความเชื่อถือ หรือความนิยมเลื่อมใส
       ท่านแสดงไว้ ๔ จำพวก คือ
           ๑. รูปประมาณ หรือ รูปัปปมาณิกา ผู้ถือรูปร่าง เป็นประมาณ
           ๒. โฆษประมาณ หรือ โฆสัปปมาณิกา ผู้ถือเสียงหรือชื่อเสียง เป็นประมาณ
           ๓. ลูขประมาณ หรือ ูขัปปมาณิกา ผู้ถือความคร่ำหรือปอนๆ เป็นประมาณ
           ๔. ธรรมประมาณ หรือ ธัมมัปปมาณิกา ผู้ถือธรรม คือเอาเนื้อหาสาระเหตุผลหลักการและความถูกต้อง เป็นประมาณ

แสดงผลการค้น ลำดับที่  4 / 8
พละ กำลัง
       1. พละ ๕ คือธรรมอันเป็นกำลัง ซึ่งเป็นเครื่องเกื้อหนุนแก่อริยมรรค จัดอยู่ในจำพวกโพธิปักขิยธรรม มี ๕ คือ สัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา; ดู อินทรีย์ ๕, โพธิปักขิยธรรม
       2. พละ ๔ คือธรรมอันเป็นพลังทำให้ดำเนินชีวิตด้วยความมั่นใจ ไม่ต้องหวาดหวั่นกลัวภัยต่างๆ ได้แก่
           ๑. ปัญญาพละ กำลังปัญญา
           ๒. วิริยพละ กำลังความเพียร
           ๓. อนวัชชพละ กำลังคือการกระทำที่ไม่มีโทษ (กำลังความสุจริตและการกระทำแต่กิจกรรมที่ดีงาม)
           ๔. สังคหพละ กำลังการสงเคราะห์ คือช่วยเหลือเกื้อกูลอยู่ร่วมกับผู้อื่นด้วยดี ทำตนให้เป็นประโยชน์แก่สังคม
       3. พละ ๕ หรือ ขัตติยพละ ๕ ได้แก่กำลังของพระมหากษัตริย์ หรือกำลังที่ทำให้มีความพร้อมสำหรับความเป็นกษัตริย์ ๕ ประการ ดังแสดงในคัมภีร์ชาดกคือ
           ๑. พาหาพละ หรือ กายพละ กำลังแขนหรือกำลังกาย คือแข็งแรงสุขภาพดี สามารถในการใช้แขนใช้มือใช้อาวุธ มีอุปกรณ์พรั่งพร้อม
           ๒. โภคพละ กำลังโภคสมบัติ
           ๓. อมัจจพละ กำลังข้าราชการที่ปรึกษาและผู้บริหารที่สามารถ
           ๔. อภิชัจจพละ กำลังความมีชาติสูง ต้องด้วยความนิยมเชิดชูของมหาชนและได้รับการศึกษาอบรมมาดี
           ๕. ปัญญาพละ กำลังปัญญา ซึ่งเป็นข้อสำคัญที่สุด

แสดงผลการค้น ลำดับที่  5 / 8
ูขปฏิบัติ ประพฤติปอน,
       ปฏิบัติเศร้าหมอง คือใช้ของเศร้าหมอง ไม่ต้องการความสวยงาม
       (หมายถึงของเก่าๆ เรียบๆ สีปอนๆ แต่สะอาด)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  6 / 8
ูขัปปมาณิกา ผู้ถือความเศร้าหมองเป็นประมาณ ชอบผู้ที่ประพฤติปอน ครองผ้าเก่า อยู่เรียบๆ ง่ายๆ

แสดงผลการค้น ลำดับที่  7 / 8
สตฺถา เทวมนุสฺสานํ ทรงเป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย,
       ทรงเป็นครูของบุคคลทั้งชั้นสูงและชั้นต่ำ,
       ทรงประกอบด้วยคุณสมบัติของครู และทรงทำหน้าที่ของครูเป็นอย่างดี คือทรงพร่ำสอนด้วยมหากรุณาหวังให้ผู้อื่นได้ความรู้อย่างแท้จริง,
       ทรงสอนมุ่งความจริงและประโยชน์เป็นที่ตั้ง ทรงแนะนำเวไนยสัตว์ด้วยประโยชน์ทั้งทิฏฐธัมมิกัตถะ สัมปรายิกัตถะ และปรมัตถะ,
       ทรงรู้จริงและปฏิบัติด้วยพระองค์เองแล้ว จึงทรงสอนผู้อื่นให้รู้และปฏิบัติตาม ทรงทำกับตรัสเหมือนกัน ไม่ใช่ตรัสสอนอย่างหนึ่งทำอย่างหนึ่ง,
       ทรงฉลาดในวิธีสอน,
       และทรงเป็นผู้นำหมู่ดุจนายกองเกวียน
       (ข้อ ๗ ในพุทธคุณ ๙)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  8 / 8
อนุพยัญชนะ ลักษณะน้อยๆ,
       พระลักษณะข้อปลีกย่อยของพระมหาบุรุษ (นอกเหนือจากมหาบุรุษลักษณะ ๓๒)
       อีก ๘๐ ประการ คือ
           ๑. มีนิ้วพระหัตถ์และนิ้วพระบาทอันเหลืองงาม
           ๒. นิ้วพระหัตถ์และนิ้วพระบาทเรียวออกไป โดยลำดับแต่ต้นจนปลาย
           ๓. นิ้วพระหัตถ์ แลนิ้วพระบาทกลมดุจนายช่างกลึงเป็นอันดี
           ๔. พระนขาทั้ง ๒๐ มีสีอันแดง
           ๕. พระนขาทั้ง ๒๐ นั้นงอนงามช้อนขึ้นเบื้องบนมิได้ค้อมลงเบื้องต่ำ ดุจเล็บแห่งสามัญชนทั้งปวง
           ๖. พระนขานั้นมีพรรณอันเกลี้ยงกลม สนิทมิได้เป็นริ้วรอย
           ๗. ข้อพระหัตถ์และข้อพระบาทซ่อนอยู่ในพระมังสะ มิได้สูงขึ้นปรากฏออกมาภายนอก
           ๘. พระบาททั้งสองเสมอกัน มิได้ย่อมใหญ่กว่ากัน มาตรว่าเท่าเมล็ดงา
           ๙. พระดำเนินงามดุจอาการเดินแห่งกุญชรชาติ
           ๑๐. พระดำเนินงามดุจสีหราช
           ๑๑. พระดำเนินงามดุจดำเนินแห่งหงส์
           ๑๒. พระดำเนินงามดุจอุสภราชดำเนิน
           ๑๓. ขณะเมื่อยืนจะย่างดำเนินนั้น ยกพระบาทเบื้องขวาย่างไปก่อน พระกายเยื้องไปข้างเบื้องขวาก่อน
           ๑๔. พระชานุมณฑลเกลี้ยงกลมงามบริบูรณ์ บ่มิได้เห็นอัฏฐิสะบ้าปรากฏออกมาภายนอก
           ๑๕. มีบุรุษพยัญชนะบริบูรณ์ คือมิได้มีกิริยามารยาทคล้ายสตรี
           ๑๖. พระนาภีมิได้บกพร่อง กลมงามมิได้วิกลในที่ใดที่หนึ่ง
           ๑๗. พระอุทรมีสัณฐานอันลึก
           ๑๘. ภายในพระอุทรมีรอยเวียนเป็นทักขิณาวัฏฏ
           ๑๙. ลำพระเพลาทั้งสองกลมงามดุจลำสุวรรณกัททลี
           ๒๐. ลำพระกรทั้งสองงามดุจงวงแห่งเอราวัณเทพยหัตถี
           ๒๑. พระอังคาพยพใหญ่น้อยทั้งปวงจำแนกเป็นอันดี คือ งามพร้อมทุกสิ่งหาที่ตำหนิบ่มิได้
           ๒๒. พระมังสะที่ควรจะหนาก็หนา ที่ควรจะบางก็บางตามที่ทั่วทั้งประสรีรกาย
           ๒๓. พระมังสะมิได้หดหู่ในที่ใดที่หนึ่ง
           ๒๔. พระสรีรกายทั้งปวงปราศจากต่อมและไฝปาน มูลแมลงวันมิได้มีในที่ใดที่หนึ่ง
           ๒๕. พระกายงามบริสุทธิ์พร้อมสมกันโดยตามลำดับทั้งเบื้องบนแลเบื้องล่าง
           ๒๖. พระกายงามบริสุทธิ์พร้อมสิ้นปราศจากมลทินทั้งปวง
           ๒๗. ทรงพระกำลังมาก เสมอด้วยกำลังแห่งกุญชรชาติ ประมาณถึงพันโกฏิช้าง ถ้าจะประมาณด้วยกำลังบุรุษก็ได้ถึงแสนโกฏิบุรุษ
           ๒๘. มีพระนาสิกอันสูง
           ๒๙. สัณฐานนาสิกงามแฉล้ม
           ๓๐. มีพระโอษฐ์เบื้องบนเบื้องต่ำมิได้เข้าออกกว่ากัน เสมอเป็นอันดี มีพรรณแดงงามดุจสีผลตำลึงสุก
           ๓๑. พระทนต์บริสุทธิ์ปราศจากมูลมลทิน
           ๓๒. พระทนต์ขาวดุจดังสีสังข์
           ๓๓. พระทนต์เกลี้ยงสนิทมิได้เป็นริ้วรอย
           ๓๔. พระอินทรีย์ทั้ง ๕ มีจักขุนทรีย์เป็นอาทิงามบริสุทธิ์ทั้งสิ้น
           ๓๕. พระเขี้ยวทั้ง ๔ กลมบริบูรณ์
           ๓๖. ดวงพระพักตร์มีสัณฐานยาวสวย
           ๓๗. พระปรางค์ทั้งสองดูเปล่งงามเสมอกัน
           ๓๘. ลายพระหัตถ์มีรอยอันลึก
           ๓๙. ลายพระหัตถ์มีรอยอันยาว
           ๔๐. ลายพระหัตถ์มีรอยอันตรง บ่มิได้ค้อมคด
           ๔๑. ลายพระหัตถ์มีรอยอันแดงรุ่งเรือง
           ๔๒. รัศมีพระกายโอภาสเป็นปริมณฑลโดยรอบ
           ๔๓. กระพุ้งพระปรางค์ทั้งสองเคร่งครัดบริบูรณ์
           ๔๔. กระบอกพระเนตรกว้างแลยาวงามพอสมกัน
           ๔๕. ดวงพระเนตรกอปรด้วยประสาททั้ง ๕ มีขาวเป็นอาทิผ่องใสบริสุทธิ์ทั้งสิ้น
           ๔๖. ปลายเส้นพระโลมาทั้งหลายมิได้งอมิได้คด
           ๔๗. พระชิวหามีสัณฐานอันงาม
           ๔๘. พระชิวหาอ่อนบ่มิได้กระด้างมีพรรณอันแดงเข้ม
           ๔๙. พระกรรณทั้งสองมีสัณฐานอันยาวดุจกลีบปทุมชาติ
           ๕๐. ช่องพระกรรณมีสัณฐานอันกลมงาม
           ๕๑. ระเบียบพระเส้นทั้งปวงนั้นสละสลวยบ่มิได้หดหู่ในที่อันใดอันหนึ่ง
           ๕๒. แถวพระเส้นทั้งหลายซ่อนอยู่ในพระมังสะทั้งสิ้น บ่มิได้เป็นคลื่นฟูขึ้นเหมือนสามัญชนทั้งปวง
           ๕๓. พระเศียรมีสัณฐานงามเหมือนฉัตรแก้ว
           ๕๔. ปริมณฑลพระนลาฏโดยกว้างยาวพอสมกัน
           ๕๕. พระนลาฏมีสัณฐานอันงาม
           ๕๖. พระโขนงมีสัณฐานอันงามดุจคันธนูอันก่งไว้
           ๕๗. พระโลมาที่พระโขนงมีเส้นอันละเอียด
           ๕๘. เส้นพระโลมาที่พระโขนงงอกขึ้นแล้วล้มราบไปโดยลำดับ
           ๕๙. พระโขนงนั้นใหญ่
           ๖๐. พระโขนงนั้นยาวสุดหางพระเนตร
           ๖๑. ผิวพระมังสะละเอียดทั่วทั้งพระกาย
           ๖๒. พระสรีรกายรุ่งเรืองไปด้วยสิริ
           ๖๓. พระสรีรกายมิได้มัวหมอง ผ่องใสอยู่เป็นนิตย์
           ๖๔. พระสรีรกายสดชื่นดุจดวงดอกปทุมชาติ
           ๖๕. พระสรีรสัมผัสอ่อนนุ่มสนิท บ่มิได้กระด้างทั่วทั้งพระกาย
           ๖๖. กลิ่นพระกายหอมฟุ้งดุจกลิ่นสุคนธกฤษณา
           ๖๗. พระโลมามีเส้นเสมอกันทั้งสิ้น
           ๖๘. พระโลมามีเส้นละเอียดทั่วทั้งพระกาย
           ๖๙. ลมอัสสาสะและปัสสาสะลมหายพระทัยเข้าออกก็เดินละเอียด
           ๗๐. พระโอษฐมีสัณฐานอันงามดุจแย้ม
           ๗๑. กลิ่นพระโอษฐหอมดุจกลิ่นอุบล
           ๗๒. พระเกสาดำเป็นแสง
           ๗๓. กลิ่นพระเกสาหอมฟุ้งขจรตลบ
           ๗๔. พระเกสาหอมดุจกลิ่นโกมลบุบผชาติ
           ๗๕. พระเกสามีสัณฐานเส้นกลมสลวยทุกเส้น
           ๗๖. พระเกสาดำสนิททั้งสิ้น
           ๗๗. พระเกสากอปรด้วยเส้นอันละเอียด
           ๗๘. เส้นพระเกสามิได้ยุ่งเหยิง
           ๗๙. เส้นพระเกสาเวียนเป็นทักขิณาวัฏฏทุกๆ เส้น
           ๘๐. วิจิตรไปด้วยระเบียบพระเกตุมาลา กล่าวคือถ่องแถวแห่งพระรัศมีอันโชตนาการขึ้น ณ เบื้องบนพระอุตมังคสิโรตม์ฯ
       นิยมเรียกว่า อสีตยานุพยัญชนะ;
       ดู มหาบุรุษลักษณะ


พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์
http://84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=ูข&detail=on
http://84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=%D9%A2&detail=on


บันทึก  ๒, ๓๐ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๔๗ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจาก พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ พิมพ์ครั้งที่ ๑๐. พ.ศ. ๒๕๔๖ หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]