ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ. ปยุตฺโต) พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต) พระธรรมปิฎก (ประยุทธ์ ปยุตฺโต)
            การค้นหาคำว่า “ ูช ”             ผลการค้นหาพบ  15  ตำแหน่ง ดังนี้ :-

แสดงผลการค้น ลำดับที่  1 / 15
บูชนียสถาน สถานที่ควรบูชา

แสดงผลการค้น ลำดับที่  2 / 15
บูชา ให้ด้วยความนับถือ, แสดงความเคารพเทิดทูน
       มี ๒ คือ อามิสบูชา และ ปฏิบัติบูชา

แสดงผลการค้น ลำดับที่  3 / 15
บูชามยบุญราศี กองบุญที่สำเร็จด้วยการบูชา

แสดงผลการค้น ลำดับที่  4 / 15
บูชายัญ การเซ่นสรวงเทพเจ้าของพราหมณ์ ด้วยวิธีฆ่าคนหรือสัตว์เป็นเครื่องบูชา

แสดงผลการค้น ลำดับที่  5 / 15
ปฏิบัติบูชา การบูชาด้วยการปฏิบัติ คือ
       ประพฤติตามธรรมคำสั่งสอนของท่าน,
       บูชาด้วยการประพฤติปฏิบัติกระทำสิ่งที่ดีงาม
       (ข้อ ๒ ในบูชา ๒)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  6 / 15
ปูชนียบุคคล บุคคลที่ควรบูชา

แสดงผลการค้น ลำดับที่  7 / 15
ปูชนียวัตถุ วัตถุที่ควรบูชา

แสดงผลการค้น ลำดับที่  8 / 15
ปูชนียสถาน สถานที่ควรบูชา

แสดงผลการค้น ลำดับที่  9 / 15
พหูชน คนจำนวนมาก

แสดงผลการค้น ลำดับที่  10 / 15
มาฆบูชา การบูชาใหญ่ในวันเพ็ญ เดือน ๓ ในโอกาสคล้ายวันประชุมใหญ่แห่งพระสาวก ซึ่งเรียกว่า จาตุรงคสันนิบาต ณ พระเวฬุวัน หลังจากพระพุทธเจ้าตรัสรู้แล้ว ๙ เดือน ที่พระองค์ทรงแสดง โอวาทปาฏิโมกข์
       (การปลงพระชนมายุสังขาร ก็ตรงในวันนี้)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  11 / 15
โลมชาติชูชัน ขนลุก

แสดงผลการค้น ลำดับที่  12 / 15
วิศาขบูชา การบูชาในวันเพ็ญเดือน ๖ เพื่อรำลึกถึงคุณของพระพุทธเจ้า เนื่องในวันประสูติ ตรัสรู้ และปรินิพพานของพระองค์;
       วิสาขบูชา ก็เขียน

แสดงผลการค้น ลำดับที่  13 / 15
วิสาขบูชา ดู วิศาขบูชา

แสดงผลการค้น ลำดับที่  14 / 15
อามิสบูชา การบูชาด้วยอามิส คือ ด้วยสิ่งของมีดอกไม้ ของหอม อาหาร และวัตถุอื่นๆ
       (ข้อ ๑ ในบูชา ๒)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  15 / 15
อาสาฬหบูชา “การบูชาในเดือน ๘”
       หมายถึง การบูชาในวันเพ็ญเดือน ๘ เพื่อรำลึกถึงคุณพระรัตนตรัยเป็นการพิเศษ เนื่องในวันที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงปฐมเทศนา คือ ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร ทำให้เกิดมีปฐมสาวก คือ พระอัญญาโกณฑัญญะ และเกิดสังฆรัตนะคำรบพระรัตนตรัย


พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์
http://84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=ูช
http://84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=%D9%AA


บันทึก  ๒, ๓๐ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๔๗ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจาก พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ พิมพ์ครั้งที่ ๑๐. พ.ศ. ๒๕๔๖ หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]