![]() |
|
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ | |
|
|
![]() |
![]() |
๑๐. ปุคคลัปปสาทสูตร ว่าด้วยความเลื่อมใสเฉพาะบุคคล [๒๕๐] ภิกษุทั้งหลาย ความเลื่อมใสที่เกิดขึ้นเฉพาะบุคคล มีโทษ ๕ ประการนี้ โทษ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. บุคคลผู้เลื่อมใสในบุคคลที่ต้องอาบัติเป็นเหตุให้สงฆ์ยกวัตร มีความ คิดอย่างนี้ว่า บุคคลผู้เป็นที่รัก เป็นที่พอใจของเรานี้ถูกสงฆ์ยกวัตร เสียแล้ว จึงไม่เลื่อมใสในภิกษุทั้งหลาย เมื่อไม่เลื่อมใสในภิกษุ ทั้งหลาย จึงไม่คบภิกษุเหล่าอื่น เมื่อไม่คบภิกษุเหล่าอื่น จึงไม่ฟัง สัทธรรม เมื่อไม่ฟังสัทธรรม จึงเสื่อมจากสัทธรรม นี้เป็นโทษของ ความเลื่อมใสที่เกิดขึ้นเฉพาะบุคคลประการที่ ๑ ๒. บุคคลผู้เลื่อมใสในบุคคลที่ต้องอาบัติเป็นเหตุให้สงฆ์สั่งให้เขานั่งท้าย๑- มีความคิดอย่างนี้ว่า บุคคลผู้เป็นที่รัก เป็นที่พอใจของเรานี้ถูกสงฆ์ สั่งให้นั่งท้ายเสียแล้วจึงไม่เลื่อมใสในภิกษุทั้งหลาย เมื่อไม่เลื่อมใส ในภิกษุทั้งหลาย จึงไม่คบภิกษุเหล่าอื่น เมื่อไม่คบภิกษุเหล่าอื่น จึงไม่ฟังสัทธรรม เมื่อไม่ฟังสัทธรรม จึงเสื่อมจากสัทธรรม นี้เป็น โทษของความเลื่อมใสที่เกิดขึ้นเฉพาะบุคคลประการที่ ๒ @เชิงอรรถ : @๑ ท้าย หมายถึงอาสนะสุดท้ายของสงฆ์ (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๒๕๐/๙๓) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า : ๓๙๐}
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๕. ปัญจมปัณณาสก์]
๕. ทุจจริตวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค
๓. บุคคลผู้เลื่อมใสในบุคคลที่หลีกไปสู่ทิศ มีความคิดอย่างนี้ว่า บุคคล ผู้เป็นที่รัก เป็นที่พอใจของเรานี้หลีกไปสู่ทิศเสียแล้ว จึงไม่คบภิกษุ เหล่าอื่น เมื่อไม่คบภิกษุเหล่าอื่น จึงไม่ฟังสัทธรรม เมื่อไม่ฟัง สัทธรรม จึงเสื่อมจากสัทธรรม นี้เป็นโทษของความเลื่อมใสที่เกิด ขึ้นเฉพาะบุคคลประการที่ ๓ ๔. บุคคลผู้เลื่อมใสในบุคคลที่ลาสิกขา มีความคิดอย่างนี้ว่า บุคคลผู้ เป็นที่รัก เป็นที่พอใจของเรานี้ได้ลาสิกขาไปแล้ว จึงไม่คบภิกษุ เหล่าอื่น เมื่อไม่คบภิกษุเหล่าอื่น จึงไม่ฟังสัทธรรม เมื่อไม่ฟัง สัทธรรม จึงเสื่อมจากสัทธรรม นี้เป็นโทษของความเลื่อมใสที่เกิด ขึ้นเฉพาะบุคคลประการที่ ๔ ๕. บุคคลผู้เลื่อมใสในบุคคลที่ตายแล้ว มีความคิดอย่างนี้ว่า บุคคลผู้ เป็นที่รัก เป็นที่พอใจของเรานี้ได้ตายเสียแล้ว จึงไม่คบภิกษุเหล่าอื่น เมื่อไม่คบภิกษุเหล่าอื่น จึงไม่ฟังสัทธรรม เมื่อไม่ฟังสัทธรรม จึงเสื่อมจากสัทธรรม นี้เป็นโทษของความเลื่อมใสที่เกิดขึ้นเฉพาะ บุคคลประการที่ ๕ ภิกษุทั้งหลาย ความเลื่อมใสที่เกิดขึ้นเฉพาะบุคคล มีโทษ ๕ ประการนี้แลปุคคลัปปสาทสูตรที่ ๑๐ จบ ทุจจริตวรรคที่ ๕ จบ รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ ๑. ปฐมทุจจริตสูตร ๒. ปฐมกายทุจจริตสูตร ๓. ปฐมวจีทุจจริตสูตร ๔. ปฐมมโนทุจจริตสูตร ๕. ทุติยทุจจริตสูตร ๖. ทุติยกายทุจจริตสูตร ๗. ทุติยวจีทุจจริตสูตร ๘. ทุติยมโนทุจจริตสูตร ๙. สีวถิกสูตร ๑๐. ปุคคลัปปสาทสูตรปัญจมปัณณาสก์ จบ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า : ๓๙๑}
เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒๒ หน้าที่ ๓๙๐-๓๙๑. http://84000.org/tipitaka/pitaka2/m_siri.php?B=22&siri=250 ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง] อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=22&A=6368&Z=6403 ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=22&i=250 พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=22&item=250&items=1 อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=16&A=2080 The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=22&item=250&items=1 The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=16&A=2080 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๒ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu22 อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/22i241-e.php#sutta10 http://www.buddha-vacana.org/sutta/anguttara/05/an05-250.html https://suttacentral.net/an5.250/en/sujato
![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() |
![]() |
บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]