ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ] สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค
๒. อัฏฐสตสูตร
ว่าด้วยเวทนา ๑๐๘ ประการ
[๒๗๐] “ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมบรรยายซึ่งมีบรรยายถึง ๑๐๘ ประการแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง ภิกษุทั้งหลาย ธรรมบรรยายซึ่งมีบรรยายถึง ๑๐๘ ประการ เป็นอย่างไร คือ เรากล่าวเวทนา ๒ ประการไว้โดยบรรยายก็มี กล่าวเวทนา ๓ ประการ ไว้โดยบรรยายก็มี กล่าวเวทนา ๕ ประการไว้โดยบรรยายก็มี กล่าวเวทนา ๖ ประการไว้โดยบรรยายก็มี กล่าวเวทนา ๑๘ ประการไว้โดยบรรยายก็มี กล่าว เวทนา ๓๖ ประการไว้โดยบรรยายก็มี กล่าวเวทนา ๑๐๘ ประการไว้โดยบรรยาย ก็มี เวทนา ๒ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. เวทนาทางกาย ๒. เวทนาทางใจ เหล่านี้เราเรียกว่า เวทนา ๒ ประการ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า : ๓๐๒}

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๒. เวทนาสังยุต]

๓. อัฏฐสตปริยายวรรค ๒. อัฏฐสตสูตร

เวทนา ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. สุขเวทนา ๒. ทุกขเวทนา ๓. อทุกขมสุขเวทนา เหล่านี้เราเรียกว่า เวทนา ๓ ประการ เวทนา ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. สุขินทรีย์ (อินทรีย์คือสุขเวทนา) ๒. ทุกขินทรีย์ (อินทรีย์คือทุกขเวทนา) ๓. โสมนัสสินทรีย์ (อินทรีย์คือโสมนัสสเวทนา) ๔. โทมนัสสินทรีย์ (อินทรีย์คือโทมนัสสเวทนา) ๕. อุเปกขินทรีย์ (อินทรีย์คืออุเบกขาเวทนา) เหล่านี้เราเรียกว่า เวทนา ๕ ประการ เวทนา ๖ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. เวทนาที่เกิดจากจักขุสัมผัส ฯลฯ ๖. เวทนาที่เกิดจากมโนสัมผัส เหล่านี้เราเรียกว่า เวทนา ๖ ประการ เวทนา ๑๘ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. เวทนาที่เกิดร่วมกับโสมนัส ๖ ประการ ๒. เวทนาที่เกิดร่วมกับโทมนัส ๖ ประการ ๓. เวทนาที่เกิดร่วมกับอุเบกขา ๖ ประการ เหล่านี้เราเรียกว่า เวทนา ๑๘ ประการ เวทนา ๓๖ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. เคหสิตโสมนัส (โสมนัสอิงเรือน) ๖ ประการ ๒. เนกขัมมสิตโสมนัส (โสมนัสอิงเนกขัมมะ) ๖ ประการ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า : ๓๐๓}

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๒. เวทนาสังยุต]

๓. อัฏฐสตปริยายวรรค ๓. อัญญตรภิกขุสูตร

๓. เคหสิตโทมนัส (โทมนัสอิงเรือน) ๖ ประการ ๔. เนกขัมมสิตโทมนัส (โทมนัสอิงเนกขัมมะ) ๖ ประการ ๕. เคหสิตอุเบกขา (อุเบกขาอิงเรือน) ๖ ประการ ๖. เนกขัมมสิตอุเบกขา (อุเบกขาอิงเนกขัมมะ) ๖ ประการ เหล่านี้เราเรียกว่า เวทนา ๓๖ ประการ เวทนา ๑๐๘ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. เวทนาที่เป็นอดีต ๓๖ ประการ ๒. เวทนาที่เป็นอนาคต ๓๖ ประการ ๓. เวทนาที่เป็นปัจจุบัน ๓๖ ประการ เหล่านี้เราเรียกว่า เวทนา ๑๐๘ ประการ ภิกษุทั้งหลาย ธรรมบรรยายซึ่งมีบรรยายถึง ๑๐๘ ประการ เป็นอย่างนี้แล”
อัฏฐสตสูตรที่ ๒ จบ

             เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๑๘ หน้าที่ ๓๐๒-๓๐๔. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_line.php?B=18&A=8490 https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=18&siri=216              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับฉบับหลวง https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=18&A=6132&Z=6158&pagebreak=0              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=18&i=430              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๘ https://84000.org/tipitaka/read/?index_18 https://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu18 https://84000.org/tipitaka/english/?index_18


บันทึก ๑๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎก ฉบับมหาจุฬาฯ. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]