ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๒ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๔ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]

๓. ปัญจังคิกวรรค ๑. ปฐมอคารวสูตร

๓. ปัญจังคิกวรรค
หมวดว่าด้วยการเจริญสัมมาสมาธิที่ประกอบด้วยองค์ ๕
๑. ปฐมอคารวสูตร
ว่าด้วยความไม่เคารพ สูตรที่ ๑
[๒๑] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย ๑. เป็นไปไม่ได้เลยที่ภิกษุไม่มีความเคารพ ไม่มีความยำเกรง ไม่มี ความประพฤติเสมอภาคในเพื่อนพรหมจารีทั้งหลาย จักบำเพ็ญ อภิสมาจาริกธรรม๑- ให้บริบูรณ์ได้ ๒. เป็นไปไม่ได้เลยที่ภิกษุไม่บำเพ็ญอภิสมาจาริกธรรมให้บริบูรณ์แล้ว จักบำเพ็ญเสขธรรม๒- ให้บริบูรณ์ได้ ๓. เป็นไปไม่ได้เลยที่ภิกษุไม่บำเพ็ญเสขธรรมให้บริบูรณ์แล้ว จักบำเพ็ญ ศีลทั้งหลาย๓- ให้บริบูรณ์ได้ ๔. เป็นไปไม่ได้เลยที่ภิกษุไม่บำเพ็ญศีลทั้งหลายให้บริบูรณ์แล้ว จักบำเพ็ญสัมมาทิฏฐิ๔- ให้บริบูรณ์ได้ @เชิงอรรถ : @ อภิสมาจาริกธรรม หมายถึงอภิสมาจาริกศีล คือ ศีลที่บัญญัติว่าด้วยเรื่องวัตรอันเป็นระเบียบปฏิบัติ @ขนบธรรมเนียมชั้นสูง ได้แก่ ขันธกวัตร ๘๒ มหาวัตร ๑๔ เช่น เจติยังคณวัตร (ระเบียบปฏิบัติที่ลาน @พระเจดีย์) โพธิยังคณวัตร (ระเบียบปฏิบัติที่ลานต้นโพธิ์) อุปัชฌายวัตร (ระเบียบปฏิบัติที่สัทธิวิหาริก @พึงปฏิบัติต่อพระอุปัชฌาย์) อาจริยวัตร (ระเบียบปฏิบัติที่อันเตวาสิกพึงปฏิบัติต่ออาจารย์) ชันตาฆรวัตร @(ระเบียบปฏิบัติที่เรือนไฟ) อุโปสถาคารวัตร (ระเบียบปฏิบัติที่โรงอุโบสถ) (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๒๑/๖, @วิ.อ. ๑/๑๖๕/๔๕๓) และดู วิ.จู. ๖/๕๑/๖๓, ๗๕-๘๒/๑๐๐-๑๐๕, วิ.จู. ๗/๓๕๖-๓๘๒/๑๕๓-๑๙๓ @ตามนัย สารตฺถ.ฏีกา ๒/๑๖๕/๒๔๑-๒๔๒ @ เสขธรรม ในที่นี้หมายถึงเสขปัณณัตติศีลกล่าวคือศีลบัญญัติที่ว่าด้วยเสขิยวัตร(ระเบียบปฏิบัติที่พึงศึกษา) @(องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๒๑/๖, องฺ.ฉกฺก.อ. ๓/๖๕-๖๗/๑๕๑, องฺ.ฉกฺก.ฏีกา ๓/๖๕-๖๗/๑๗๔) @ ศีลทั้งหลาย ในที่นี้หมายถึงมหาศีล ๔ ได้แก่ ปาราชิก ๔ (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๒๑/๖) และดู @องฺ.ติก. (แปล) ๒๐/๘๗/๓๑๓, องฺ.ติก.อ. ๒/๘๗/๒๔๑, องฺ.ติก.ฏีกา ๒/๘๗/๒๓๔ ประกอบ @ สัมมาทิฏฐิ ในที่นี้หมายถึงวิปัสสนาสัมมาทิฏฐิ (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๒๑/๖) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า : ๒๔}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]

๓. ปัญจังคิกวรรค ๒. ทุติยอคารวสูตร

๕. เป็นไปไม่ได้เลยที่ภิกษุไม่บำเพ็ญสัมมาทิฏฐิให้บริบูรณ์แล้ว จักบำเพ็ญ สัมมาสมาธิ๑- ให้บริบูรณ์ได้ ภิกษุทั้งหลาย ๑. เป็นไปได้ที่ภิกษุมีความเคารพ มีความยำเกรง มีความประพฤติ เสมอภาคในเพื่อนพรหมจารีทั้งหลาย จักบำเพ็ญอภิสมาจาริกธรรม ให้บริบูรณ์ได้ ๒. เป็นไปได้ที่ภิกษุบำเพ็ญอภิสมาจาริกธรรมให้บริบูรณ์แล้ว จัก บำเพ็ญเสขธรรมให้บริบูรณ์ได้ ๓. เป็นไปได้ที่ภิกษุบำเพ็ญเสขธรรมให้บริบูรณ์แล้ว จักบำเพ็ญศีล ทั้งหลาย ให้บริบูรณ์ได้ ๔. เป็นไปได้ที่ภิกษุบำเพ็ญศีลทั้งหลายให้บริบูรณ์แล้ว จักบำเพ็ญ สัมมาทิฏฐิให้บริบูรณ์ได้ ๕. เป็นไปได้ที่ภิกษุบำเพ็ญสัมมาทิฏฐิให้บริบูรณ์แล้ว จักบำเพ็ญ สัมมาสมาธิ ให้บริบูรณ์ได้
ปฐมอคารวสูตรที่ ๑ จบ
๒. ทุติยอคารวสูตร
ว่าด้วยความไม่เคารพ สูตรที่ ๒
[๒๒] ภิกษุทั้งหลาย ๑. เป็นไปไม่ได้เลยที่ภิกษุผู้ไม่มีความเคารพ ไม่มีความยำเกรง ไม่มีความประพฤติเสมอภาคในเพื่อนพรหมจารีทั้งหลาย จักบำเพ็ญ อภิสมาจาริกธรรมให้บริบูรณ์ได้ @เชิงอรรถ : @ สัมมาสมาธิ ในที่นี้หมายถึงมัคคสมาธิ สมาธิที่ช่วยให้ตรัสรู้ หรือสมาธิที่เป็นองค์แห่งมรรค มีชื่อเรียก @พิเศษว่า อนันตริกสมาธิ แปลว่า สมาธิที่ให้ผลต่อเนื่องไปทันที (ขุ.ขุ. ๒๕/๕/๖, ขุ.สุ. ๒๕/๒๒๘/๓๗๗) @และหมายถึงผลสมาธิ หรือ อรหัตตผลสมาธิ ได้แก่ เจโตวิมุตติ ความหลุดพ้นด้วยกำลังจิตที่ประกอบด้วย @สมาธิ ซึ่งกำราบราคะลงได้ ทำให้หลุดพ้นจากกิเลสเครื่องผูกมัดทั้งหลายได้ (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๒๑/๖) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า : ๒๕}

             เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒๒ หน้าที่ ๒๔-๒๕. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_line.php?B=22&A=651 https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=22&siri=21              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับฉบับหลวง https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=22&A=309&Z=327&pagebreak=0              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=22&i=21              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๒ https://84000.org/tipitaka/read/?index_22 https://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu22 https://84000.org/tipitaka/english/?index_22


บันทึก ๑๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎก ฉบับมหาจุฬาฯ. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]