ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๖ พระอภิธรรมปิฎกเล่มที่ ๓ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ธาตุกถา-ปุคคลบัญญัติปกรณ์
๖. ปุคคลบัญญัติ
[๗] การบัญญัติเหล่าบุคคลว่าเป็นบุคคล มีเท่าไร บุคคล ๑ จำพวก คือ ๑. บุคคลผู้เป็นสมยวิมุตตะ (๑) ๒. บุคคลผู้เป็นอสมยวิมุตตะ (๒) ๓. บุคคลผู้เป็นกุปปธรรม (๓) ๔. บุคคลผู้เป็นอกุปปธรรม (๔) ๕. บุคคลผู้เป็นปริหานธรรม (๕) ๖. บุคคลผู้เป็นอปริหานธรรม (๖) ๗. บุคคลผู้เป็นเจตนาภัพพะ (๗) ๘. บุคคลผู้เป็นอนุรักขนาภัพพะ (๘) ๙. บุคคลผู้เป็นปุถุชน (๙) ๑๐. บุคคลผู้เป็นโคตรภู (๑๐) ๑๑. บุคคลผู้เป็นภยูปรตะ(๑๑) ๑๒. บุคคลผู้เป็นอภยูปรตะ (๑๑) ๑๓. บุคคลผู้เป็นภัพพาคมนะ (๑๓) ๑๔. บุคคลผู้เป็นอภัพพาคมนะ (๑๒) ๑๕. บุคคลผู้เป็นนิยตะ (๑๔) ๑๖. บุคคลผู้เป็นอนิยตะ (๑๔) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๖ หน้า : ๑๓๗}

พระอภิธรรมปิฎก ปุคคลบัญญัติ ๑. เอกกอุทเทส

๑๗. บุคคลผู้เป็นปฏิปันนกะ (๑๕) ๑๘. บุคคลผู้เป็นผเลฐิตะ (๑๕) ๑๙. บุคคลผู้เป็นสมสีสี (๑๖) ๒๐. บุคคลผู้เป็นฐิตกัปปี (๑๗) ๒๑. บุคคลผู้เป็นอริยะ (๑๘) ๒๒. บุคคลผู้เป็นอนริยะ (๑๘) ๒๓. บุคคลผู้เป็นเสขะ (๑๙) ๒๔. บุคคลผู้เป็นอเสขะ (๑๙) ๒๕. บุคคลผู้เป็นเนวเสขานาเสขะ (๑๙) ๒๖. บุคคลผู้เป็นเตวิชชะ (๒๐) ๒๗. บุคคลผู้เป็นฉฬภิญญะ (๒๑) ๒๘. บุคคลผู้เป็นสัมมาสัมพุทธะ (๒๒) ๒๙. บุคคลผู้เป็นปัจเจกพุทธะ (๒๓) ๓๐. บุคคลผู้เป็นอุภโตภาควิมุตตะ (๒๔) ๓๑. บุคคลผู้เป็นปัญญาวิมุตตะ (๒๕) ๓๒. บุคคลผู้เป็นกายสักขี (๒๖) ๓๓. บุคคลผู้เป็นทิฏฐิปัตตะ (๒๗) ๓๔. บุคคลผู้เป็นสัทธาวิมุตตะ (๒๘) ๓๕. บุคคลผู้เป็นธัมมานุสารี (๒๙) ๓๖. บุคคลผู้เป็นสัทธานุสารี (๓๐) ๓๗. บุคคลผู้เป็นสัตตักขัตตุปรมะ (๓๑) ๓๘. บุคคลผู้เป็นโกลังโกละ (๓๒) ๓๙. บุคคลผู้เป็นเอกพีชี (๓๓) ๔๐. บุคคลผู้เป็นสกทาคามี (๓๔) ๔๑. บุคคลผู้เป็นอนาคามี (๓๕) ๔๒. บุคคลผู้เป็นอันตราปรินิพพายี (๓๖) ๔๓. บุคคลผู้เป็นอุปหัจจปรินิพพายี (๓๗) ๔๔. บุคคลผู้เป็นอสังขารปรินิพพายี (๓๘) ๔๕. บุคคลผู้เป็นสสังขารปรินิพพายี (๓๙) ๔๖. บุคคลผู้เป็นอุทธังโสโตอกนิฏฐคามี (๔๐) ๔๗. บุคคลผู้เป็นโสดาบัน (๔๑) ๔๘. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งโสดาปัตติผล (๔๑) ๔๙. บุคคลผู้เป็นสกทาคามี (๔๒) ๕๐. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งสกทาคามิผล (๔๒) ๕๑. บุคคลผู้เป็นอนาคามี (๔๓) ๕๒. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งอนาคามิผล (๔๓) ๕๓. บุคคลผู้เป็นอรหันต์ (๔๔) ๕๔. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งอรหัตตผล (๔๔)
เอกกอุทเทส จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๖ หน้า : ๑๓๘}

             เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๓๖ หน้าที่ ๑๓๗-๑๓๘. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_line.php?B=36&A=3696 https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=36&siri=17              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับฉบับหลวง https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=36&A=2359&Z=2417&pagebreak=0              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=36&i=522              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๖ https://84000.org/tipitaka/read/?index_36 https://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu36 https://84000.org/tipitaka/english/?index_36


บันทึก ๑๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎก ฉบับมหาจุฬาฯ. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]