ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๓ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๕ [ฉบับมหาจุฬาฯ] มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๔. ราชวรรค]

๖. อังคุลิมาลสูตร

ก็แตก ผ้าสังฆาฏิก็ขาด เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ พระผู้มีพระภาคได้ ทอดพระเนตรเห็นท่านพระองคุลิมาลกำลังเดินมาแต่ไกล ได้ตรัสกับท่านพระองคุลิ- มาลว่า “เธอจงอดกลั้นไว้เถิดพราหมณ์ เธอจงอดกลั้นไว้เถิดพราหมณ์ เธอได้เสวย วิบากกรรมซึ่งเป็นเหตุให้เธอหมกไหม้อยู่ในนรกหลายปี หลายร้อยปี หลายพันปี ในปัจจุบันนี้แล้ว๑-”
พระองคุลิมาลเปล่งอุทาน
ครั้งนั้นแล ท่านพระองคุลิมาลอยู่ในที่สงัด หลีกเร้นอยู่ เสวยวิมุตติสุขแล้ว ได้เปล่งอุทานนี้ในเวลานั้นว่า “คนที่ประมาทมาก่อน ต่อมาภายหลัง ไม่ประมาท เขาย่อมทำโลกนี้ให้สว่างไสวได้ ประดุจดวงจันทร์ที่พ้นจากเมฆฉะนั้น คนที่ทำบาปกรรมแล้วปิดไว้ได้ด้วยกุศล๒- ย่อมจะทำโลกนี้ให้สว่างไสวได้ ประดุจดวงจันทร์ที่พ้นจากเมฆฉะนั้น เช่นเดียวกันแล ภิกษุที่ยังหนุ่มแน่น ขวนขวายอยู่ในพระพุทธศาสนา ก็ย่อมทำโลกนี้ให้สว่างไสวได้ ประดุจดวงจันทร์ที่พ้นแล้วจากเมฆฉะนั้น @เชิงอรรถ : @ พระดำรัสนี้พระผู้มีพระภาคตรัสหมายถึงทิฏฐธรรมเวทนียกรรม (กรรมที่ให้ผลในปัจจุบันคือภพนี้) เพราะ @เจตนาในปฐมชวนจิตที่เป็นกุศลหรืออกุศลในจิต ๗ ดวง ชื่อว่า ทิฏฐเวทนียกรรมซึ่งให้ผลในอัตภาพนี้ @(ม.ม.อ. ๒/๓๕๒/๒๔๖) @ กุศล ในที่นี้หมายถึงกุศลในองค์มรรค ทำให้กรรมนั้นหยุดให้ผล (ม.ม.อ. ๒/๓๕๒/๒๔๗) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า : ๔๓๐}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๔. ราชวรรค]

๖. อังคุลิมาลสูตร

ขอศัตรูทั้งหลายของเราพึงฟังธรรมกถาเถิด ขอศัตรูทั้งหลายของเราจงขวนขวายในพระพุทธศาสนาเถิด ขอมนุษย์ทั้งหลายที่เป็นศัตรูของเรา จงคบสัตบุรุษผู้ชวนให้ยึดถือธรรมเถิด ขอศัตรูทั้งหลายของเราจงได้รับความผ่องแผ้วคือขันติ และสรรเสริญความไม่โกรธ๑- เถิด ขอจงฟังธรรมตามกาล๒- และจงปฏิบัติตามธรรมนั้นเถิด ผู้ที่เป็นศัตรูนั้นไม่ควรเบียดเบียนเราหรือใครๆ อื่นเลย ขอให้บรรลุความสงบอย่างยิ่ง๓- แล้วรักษาคุ้มครองผู้มีตัณหาและปราศจากตัณหา คนทดน้ำย่อมชักน้ำไปได้ ช่างศรย่อมดัดศรให้ตรงได้ ช่างถากย่อมถากไม้ได้ ฉันใด บัณฑิตทั้งหลายย่อมฝึกตนได้ ฉันนั้น คนบางพวกย่อมฝึกสัตว์ ด้วยอาชญาบ้าง ด้วยขอบ้าง ด้วยแส้บ้าง เราเป็นผู้ที่พระผู้มีพระภาคผู้คงที่๔- ผู้ไม่มีอาชญา ไม่มีศัสตรา ฝึกแล้ว @เชิงอรรถ : @ ความไม่โกรธ ในที่นี้หมายถึงความมีเมตตา (ม.ม.อ. ๒/๓๕๒/๒๔๘) @ ฟังธรรมตามกาล หมายถึงฟังสาราณียธรรมกล่าวคือสันติและเมตตาอยู่ทุกขณะ (ม.ม.อ. ๒/๓๕๒/๒๔๘) @ ความสงบอย่างยิ่ง ในที่นี้หมายถึงพระนิพพาน (ม.ม.อ. ๒/๓๕๒/๒๔๘) @ ผู้คงที่ในที่นี้หมายถึงความคงที่ ๕ ประการ คือ (๑)ความคงที่ในอิฏฐารมณ์และอนิฏฐารมณ์ (๒) ความคงที่ @เพราะคายอามิสคือกาม (๓) ความคงที่เพราะสละกิเลสมีราคะเป็นต้น (๔) ความคงที่เพราะข้ามพ้นห้วง @น้ำคือกามเป็นต้น (๕) ความคงที่เพราะถูกอ้างถึงตามความจริงด้วยคุณมีศีลเป็นต้น (ม.ม.อ. ๒/๓๕๒/๒๔๘, @ม.ม.ฏีกา ๒/๓๕๒/๑๘๘) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า : ๔๓๑}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๔. ราชวรรค]

๖. อังคุลิมาลสูตร

เมื่อก่อนเรามีชื่อว่าอหิงสกะ แต่ยังเบียดเบียน(ผู้อื่น)อยู่ วันนี้เรามีชื่อตรงความจริง เราไม่เบียดเบียนใครๆ แล้ว เมื่อก่อนเราเป็นโจรปรากฏชื่อองคุลิมาล เรานั้นเมื่อถูกกิเลสดุจห้วงน้ำใหญ่พัดไปมา จึงได้ถึงพระพุทธเจ้าเป็นสรณะ เมื่อก่อนเรามีมือเปื้อนเลือด ปรากฏชื่อว่าองคุลิมาล ท่านจงดูการที่เราถึงพระพุทธเจ้าว่าเป็นสรณะ เราถอนตัณหาอันจะนำไปสู่ภพได้แล้ว หลังจากทำกรรมอันเป็นเหตุให้ถึงทุคติเช่นนั้นไว้มากแล้ว เราผู้ได้รับวิบากกรรม๑- นั้นแล้ว จึงเป็นผู้ไม่มีหนี้บริโภค๒- พวกชนพาลปัญญาทราม มัวแต่ประมาท ส่วนปราชญ์ทั้งหลายรักษาความไม่ประมาท เหมือนรักษาทรัพย์อันประเสริฐฉะนั้น พวกท่านจงอย่าประมาท อย่าคลุกคลีในกาม เพราะว่าผู้ไม่ประมาทเพ่งอยู่เป็นนิจ ย่อมประสบสุขอันไพบูลย์ การที่เรามาสู่พระพุทธศาสนานี้นั้น มาถูกทางแล้ว ไม่ไร้ประโยชน์ คิดไม่ผิดแล้ว @เชิงอรรถ : @ วิบากกรรม ในที่นี้หมายถึงมรรคเจตนา (ม.ม.อ. ๒/๓๕๒/๒๔๘) @ บริโภค หมายถึงการบริโภค ๔ อย่าง คือ (๑) การบริโภคของผู้ทุศีล ชื่อว่าเถยยบริโภค บริโภคอย่างขโมย @(๒) การบริโภคโดยไม่พิจารณาของผู้มีศีล ชื่อว่าอิณบริโภค บริโภคอย่างเป็นหนี้ (๓) การบริโภคของ @พระเสขะ ๗ จำพวก ชื่อว่า ทายัชชบริโภค บริโภคอย่างทายาท (๔) การบริโภคของพระขีณาสพ ชื่อว่า @สามิบริโภค บริโภคอย่างเป็นเจ้าของ (ม.ม.อ. ๒/๓๕๒/๒๔๙) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า : ๔๓๒}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๔. ราชวรรค]

๗. ปิยชาติกสูตร

ในบรรดาธรรมที่พระผู้มีพระภาคทรงจำแนกไว้ดีแล้ว เราได้เข้าถึงธรรมอันประเสริฐสุด๑- แล้ว การที่เราได้เข้าถึงธรรมอันประเสริฐสุดนี้นั้น เข้าถึงอย่างถูกต้อง ไม่ไร้ประโยชน์ คิดไม่ผิดแล้ว วิชชา ๓ ๒- เราก็บรรลุแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้าเราก็ทำตามแล้ว๓-” ดังนี้แล
องคุลิมาลสูตรที่ ๖ จบ
๗. ปิยชาติกสูตร
ว่าด้วยทุกข์เกิดจากสิ่งเป็นที่รัก
ลูกชายคนเดียวของคหบดีตาย
[๓๕๓] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้ สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิก- เศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี สมัยนั้นแล ลูกชายคนเดียวซึ่งเป็นที่รักเป็นที่ชอบใจของ คหบดีคนหนึ่งเสียชีวิตลง เพราะการเสียชีวิตของลูกชายคนเดียวนั้น การงานก็ไม่ เป็นอันทำ อาหารก็ไม่เป็นอันกิน คหบดีนั้นได้ไปยังป่าช้า คร่ำครวญถึงลูกชายว่า “ลูกโทน เจ้าอยู่ที่ไหน ลูกโทน เจ้าอยู่ที่ไหน” จากนั้น คหบดีนั้นได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทพระผู้มี พระภาคแล้วจึงนั่ง ณ ที่สมควร พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกับคหบดีนั้นว่า @เชิงอรรถ : @ ธรรมอันประเสริฐสุด ในที่นี้หมายถึงนิพพาน (ม.ม.อ. ๒/๓๕๒/๒๔๙) @ วิชชา ๓ ในที่นี้หมายถึง (๑) ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ การระลึกชาติก่อนได้หลายชาติ (๒) ทิพพจักขุ @การได้ทิพยจักษุ (๓) อาสวักขยปัญญา การมีปัญญาเครื่องทำลายอาสวะกิเลสให้สิ้นไป @(ม.ม.อ. ๒/๓๕๒/๒๔๙) @ ดูเทียบ ขุ.เถร. (แปล) ๒๖/๘๗๑-๘๘๖/๔๘๓-๔๘๖ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า : ๔๓๓}

             เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๑๓ หน้าที่ ๔๓๐-๔๓๓. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=13&A=12135&w= http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=13&siri=36              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2].              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=13&A=8237&Z=8451&pagebreak=0              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=13&i=521              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลี อักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=13&item=521&items=14              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลี อักษรโรมัน :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=13&item=521&items=14              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๓ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu13

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจาก พระไตรปิฎก ฉบับมหาจุฬาฯ. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]