ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ] สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]

๓. ตติยปัณณาสก์ ๔. เทวทหวรรค ๒. ขณสูตร

บุคคลจึงปรารภความเพียร๑- ไม่ย่อหย่อน มีสติตั้งมั่น ไม่หลงลืม มีกายสงบ ไม่กระสับกระส่าย มีจิตแน่วแน่เป็นสมาธิ เราเห็นผลแห่งความไม่ประมาทนี้ จึงกล่าว ว่า ‘ความไม่ประมาทในผัสสายตนะ ๖ ประการ อันภิกษุเหล่านั้นควรทำแท้’ ฯลฯ รสที่พึงรู้แจ้งทางลิ้น น่ารื่นรมย์ใจบ้าง ไม่น่ารื่นรมย์ใจบ้างมีอยู่ รสเหล่านั้น กระทบแล้วๆ ย่อมไม่ครอบงำจิตของบุคคลนั้นอยู่ เพราะไม่ครอบงำจิต บุคคลจึง ปรารภความเพียร ไม่ย่อหย่อน มีสติตั้งมั่น ไม่หลงลืม มีกายสงบ ไม่กระสับ กระส่าย มีจิตแน่วแน่เป็นสมาธิ เราเห็นผลแห่งความไม่ประมาทนี้ จึงกล่าวว่า ‘ความไม่ประมาทในผัสสายตนะ ๖ ประการ อันภิกษุเหล่านั้นควรทำแท้’ ฯลฯ ธรรมารมณ์ที่พึงรู้แจ้งทางใจ น่ารื่นรมย์ใจบ้าง ไม่น่ารื่นรมย์ใจบ้างมีอยู่ ธรรมารมณ์นั้นกระทบแล้วๆ ย่อมไม่ครอบงำจิตของบุคคลนั้นอยู่ เพราะไม่ครอบงำจิต บุคคลจึงปรารภความเพียร ไม่ย่อหย่อน มีสติตั้งมั่น ไม่หลงลืม มีกายสงบ ไม่ กระสับกระส่าย มีจิตแน่วแน่เป็นสมาธิ เราเห็นผลแห่งความไม่ประมาทนี้ จึงกล่าวว่า ‘ความไม่ประมาทในผัสสายตนะ ๖ ประการ อันภิกษุเหล่านั้นควรทำแท้”
เทวทหสูตรที่ ๑ จบ
๒. ขณสูตร
ว่าด้วยขณะ
[๑๓๕] “ภิกษุทั้งหลาย เป็นลาภของเธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายได้ดีแล้ว ที่เธอ ทั้งหลายได้ขณะเพื่อประพฤติพรหมจรรย์ เราเห็นนรก๒- ชื่อว่าผัสสายตนิกะ ๖ ขุม @เชิงอรรถ : @ ปรารภความเพียร หมายถึงมีความเพียรที่บริบูรณ์ และมีความเพียรที่ประคับประคองไว้สม่ำเสมอ @ไม่หย่อนนัก ไม่ตึงนัก ไม่ให้จิตปรุงแต่งในภายใน ไม่ให้ฟุ้งซ่านไปภายนอก @คำว่า “ความเพียร” หมายเอาทั้งความเพียรทางกาย เช่น เพียรพยายามทางกายตลอดคืนและวัน @ดุจในประโยคว่า “ภิกษุในธรรมวินัยนี้ชำระจิตให้บริสุทธิ์จากธรรมที่กั้นจิตไม่ให้บรรลุความดีด้วยการเดิน @จงกรมด้วยการนั่งตลอดวัน (อภิ.วิ. (แปล) ๓๕/๕๑๙/๓๙๑) และความเพียรทางจิต เช่น เพียรพยายาม @ผูกจิตไว้ด้วยการกำหนดสถานที่เป็นต้น ดุจในประโยคว่า “เราจะไม่ออกจากถ้ำนี้จนกว่าจิตของเราจะ @หลุดพ้นจากอาสวะไม่ถือมั่นด้วยอุปาทาน” (องฺ.เอกก.อ. ๑/๑๘/๔๓) @ นรก ในที่นี้หมายถึงอเวจีมหานรก (สํ.สฬา.อ. ๓/๑๓๕/๕๒) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า : ๑๖๙}

             เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๑๘ หน้าที่ ๑๖๙. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=18&A=4761&w= http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=18&siri=114              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=18&A=3223&Z=3252&pagebreak=0              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=18&i=213              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลี อักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=18&item=213&items=1              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลี อักษรโรมัน :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=18&item=213&items=1              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๘ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu18

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจาก พระไตรปิฎก ฉบับมหาจุฬาฯ. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]