ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๑ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๓ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]

๑. ปุญญาภิสันทวรรค ๒. ทุติยปุญญาภิสันทสูตร

ถูกทาง ปฏิบัติสมควร ได้แก่ อริยบุคคล ๔ คู่ คือ ๘ บุคคล พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคนี้เป็นผู้ควรแก่ของที่เขานำมาถวาย ควรแก่ของต้อนรับ ควรแก่ทักษิณา ควรแก่การทำอัญชลี เป็น นาบุญอันยอดเยี่ยมของโลก” ภิกษุทั้งหลาย ห้วงบุญกุศลประการ ที่ ๓ นี้นำสุขมาให้ เป็นไปเพื่อให้ได้อารมณ์ดี มีสุขเป็นผล ให้เกิดใน สวรรค์ เป็นไปเพื่อเกื้อกูล เพื่อสุขที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ๔. อริยสาวกประกอบด้วยศีลที่พระอริยะชอบใจ๑- ที่ไม่ขาด ไม่ทะลุ ไม่ด่าง ไม่พร้อย เป็นไท ท่านผู้รู้สรรเสริญ ไม่ถูกตัณหาและทิฏฐิครอบงำ เป็นไปเพื่อสมาธิ ภิกษุทั้งหลาย ห้วงบุญกุศลประการที่ ๔ นี้นำสุข มาให้ เป็นไปเพื่อให้ได้อารมณ์ดี มีสุขเป็นผล ให้เกิดในสวรรค์ เป็นไปเพื่อเกื้อกูล เพื่อสุขที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ภิกษุทั้งหลาย ห้วงบุญกุศล ๔ ประการนี้แลนำสุขมาให้ เป็นไปเพื่อให้ได้ อารมณ์ดี มีสุขเป็นผล ให้เกิดในสวรรค์ เป็นไปเพื่อเกื้อกูล เพื่อสุขที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ผู้ใดมีศรัทธาในตถาคตตั้งมั่นไม่หวั่นไหว มีศีลงาม เป็นศีลที่พระอริยะชอบใจ(และ)สรรเสริญ มีความเลื่อมใสในพระสงฆ์ และมีความเห็นตรง๒- บัณฑิตทั้งหลายเรียกผู้นั้นว่า เป็นคนไม่ขัดสน ชีวิตของเขาก็ไม่สูญเปล่า เพราะฉะนั้น ผู้มีปัญญาเมื่อระลึกถึง คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ควรหมั่นประกอบ ศรัทธา ศีล ความเลื่อมใส๓- และการเห็นธรรม๔-
ทุติยปุญญาภิสันทสูตรที่ ๒ จบ
@เชิงอรรถ : @ ศีลที่พระอริยะชอบใจ หมายถึงศีลที่ประกอบด้วยมรรคและผล (องฺ.จตุกฺก.อ. ๒/๕๒/๓๔๙) @ มีความเห็นตรง หมายถึงเห็นว่าพระขีณาสพไม่มีความคดทางกายเป็นต้น (องฺ.จตุกฺก.อ. ๒/๕๒/๓๔๙) @ ความเลื่อมใส หมายถึงเลื่อมใสในพระพุทธเจ้า พระธรรม และพระสงฆ์ (องฺ.จตุกฺก.อ. ๒/๕๒/๓๔๙) @ การเห็นธรรมในที่นี้หมายถึงเห็นสัจธรรม ๔ (คือ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค) (องฺ.จตุกฺก.อ. ๒/๕๒/๓๔๙) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๑ หน้า : ๘๗}

             เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒๑ หน้าที่ ๘๗. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=21&A=2573&w= http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=21&siri=52              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=21&A=1510&Z=1550&pagebreak=0              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=21&i=52              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลี อักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=21&item=52&items=1              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลี อักษรโรมัน :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=21&item=52&items=1              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๑ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu21

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจาก พระไตรปิฎก ฉบับมหาจุฬาฯ. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]