ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๒ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๔ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]

๓. ปัญจังคิกวรรค ๘. ปัญจังคิกสูตร

“ได้ พระพุทธเจ้าข้า” “ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน เมื่อสัมมาสมาธิอันประกอบด้วยองค์ ๕ อันเป็น อริยะที่ภิกษุเจริญทำให้มากแล้วอย่างนี้ เธอน้อมจิตไปเพื่อทำให้แจ้งด้วยปัญญาอัน ยิ่งซึ่งธรรมใดๆ ที่ควรทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่ง เมื่อมีเหตุ เธอย่อมบรรลุ ความเป็นผู้เหมาะสมที่จะประจักษ์ชัดในธรรมนั้นๆ เปรียบเหมือนสระน้ำมีลักษณะ สี่เหลี่ยมในพื้นที่ราบ กั้นด้วยทำนบ เต็มด้วยน้ำเสมอขอบปากพอที่กาจะดื่มได้ บุรุษผู้มีกำลังพึงเปิดทำนบสระน้ำทุกๆ ด้าน น้ำจะไหลออกมาได้ไหม” “ได้ พระพุทธเจ้าข้า” “ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน เมื่อสัมมาสมาธิอันประกอบด้วยองค์ ๕ อันเป็น อริยะที่ภิกษุเจริญ ทำให้มากแล้วอย่างนี้ เธอน้อมจิตไปเพื่อทำให้แจ้งด้วยปัญญา อันยิ่งซึ่งธรรมใดๆ ที่ควรทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่ง เมื่อมีเหตุ เธอย่อมบรรลุความ เป็นผู้เหมาะสมที่จะประจักษ์ชัดในธรรมนั้นๆ เปรียบเหมือนรถม้าที่เทียมแล้วจอดอยู่ที่ทางใหญ่สี่แพร่ง มีพื้นราบเรียบมีปฏัก วางไว้ข้างบน คนฝึกม้าผู้ขยันชำนาญในการฝึกขึ้นรถนั้นแล้ว ถือเชือกด้วยมือซ้าย ถือปฏักด้วยมือขวา พึงขับรถให้เดินหน้าบ้าง ให้ถอยหลังบ้างได้ตามต้องการ ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน เมื่อสัมมาสมาธิอันประกอบด้วยองค์ ๕ อันเป็นอริยะที่ ภิกษุเจริญทำให้มากแล้วอย่างนี้ เธอน้อมจิตไปเพื่อทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งซึ่ง ธรรมใดที่ควรทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่ง เมื่อมีเหตุ เธอย่อมบรรลุความเป็นผู้เหมาะสม ที่จะประจักษ์ชัดในธรรมนั้นๆ ถ้าภิกษุนั้นหวังว่า ‘เราพึงแสดงฤทธิ์ได้หลายอย่าง คือ คนเดียวแสดงเป็น หลายคนก็ได้ ฯลฯ๑- ใช้อำนาจทางกายไปจนถึงพรหมโลกก็ได้’ เมื่อมีเหตุ เธอย่อม บรรลุความเป็นผู้เหมาะสมที่จะประจักษ์ชัดในธรรมนั้นๆ ถ้าภิกษุนั้นหวังว่า ‘เราพึงได้ยินเสียง ๒ ชนิด คือเสียงทิพย์และเสียงมนุษย์ ทั้งที่อยู่ไกลและอยู่ใกล้ ด้วยหูทิพย์อันบริสุทธิ์เหนือมนุษย์’ เมื่อมีเหตุ เธอย่อม บรรลุความเป็นผู้เหมาะสมที่จะประจักษ์ชัดในธรรมนั้นๆ @เชิงอรรถ : @ เครื่องหมาย “ฯลฯ” ที่ปรากฏในสูตรนี้ ดูความเต็มในข้อ ๒๓ (อุปกิเลสสูตร) หน้า ๒๘ ในเล่มนี้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า : ๓๙}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]

๓. ปัญจังคิกวรรค ๘. ปัญจังคิกสูตร

ถ้าภิกษุนั้นหวังว่า ‘เราพึงกำหนดรู้จิตของสัตว์และบุคคลอื่นได้ด้วยจิตของตน คือ จิตมีราคะก็รู้ว่ามีราคะ หรือปราศจากราคะก็รู้ว่าปราศจากราคะ จิตมีโทสะก็รู้ว่า มีโทสะ หรือปราศจากโทสะก็รู้ว่าปราศจากโทสะ จิตมีโมหะก็รู้ว่ามีโมหะ หรือปราศ จากโมหะก็รู้ว่าปราศจากโมหะ จิตหดหู่ก็รู้ว่าหดหู่ หรือฟุ้งซ่านก็รู้ว่าฟุ้งซ่าน จิตเป็น มหัคคตะก็รู้ว่าเป็นมหัคคตะ หรือไม่เป็นมหัคคตะก็รู้ว่าไม่เป็นมหัคคตะ จิตมีจิตอื่น ยิ่งกว่าก็รู้ว่ามีจิตอื่นยิ่งกว่า หรือไม่มีจิตอื่นยิ่งกว่าก็รู้ว่าไม่มีจิตอื่นยิ่งกว่า จิตเป็น สมาธิก็รู้ว่าเป็นสมาธิ หรือไม่เป็นสมาธิก็รู้ว่าไม่เป็นสมาธิ จิตหลุดพ้นก็รู้ว่าหลุดพ้น หรือไม่หลุดพ้นก็รู้ว่าไม่หลุดพ้น’ เมื่อมีเหตุ เธอย่อมบรรลุความเป็นผู้เหมาะสมที่จะ ประจักษ์ชัดในธรรมนั้นๆ ถ้าภิกษุนั้นหวังว่า ‘เราพึงระลึกชาติก่อนได้หลายชาติ คือ ๑ ชาติบ้าง ๒ ชาติบ้าง ฯลฯ เราพึงระลึกถึงชาติก่อนได้หลายชาติ พร้อมทั้งลักษณะทั่วไปและ ชีวประวัติอย่างนี้’ เมื่อมีเหตุ เธอย่อมบรรลุความเป็นผู้เหมาะสมที่จะประจักษ์ชัดใน ธรรมนั้นๆ ถ้าภิกษุนั้นหวังว่า ‘เราพึงเห็นหมู่สัตว์ผู้กำลังจุติ กำลังเกิด ทั้งชั้นต่ำและชั้นสูง งามและไม่งาม เกิดดีและเกิดไม่ดีด้วยตาทิพย์อันบริสุทธิ์เหนือมนุษย์ พึงรู้ชัดถึงหมู่ สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรมว่า ฯลฯ’ เมื่อมีเหตุ เธอย่อมบรรลุความเป็นผู้เหมาะสมที่จะ ประจักษ์ชัดในธรรมนั้นๆ ถ้าภิกษุนั้นหวังว่า ‘เราพึงทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติอันไม่มีอาสวะ เพราะอาสวะสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง เข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน’ เมื่อมีเหตุ เธอย่อม บรรลุความเป็นผู้เหมาะสมที่จะประจักษ์ชัดในธรรมนั้นๆ’
ปัญจังคิกสูตรที่ ๘ จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า : ๔๐}

             เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒๒ หน้าที่ ๓๙-๔๐. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=22&A=1119&w= http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=22&siri=28              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=22&A=528&Z=628&pagebreak=0              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=22&i=28              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลี อักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=22&item=28&items=1              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลี อักษรโรมัน :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=22&item=28&items=1              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๒ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu22

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจาก พระไตรปิฎก ฉบับมหาจุฬาฯ. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]