ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๓ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๕ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต ๑. ธนวรรค ๓. สังขิตตพลสูตร

๓. สังขิตตพลสูตร
ว่าด้วยพละโดยย่อ
[๓] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้ สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิก- เศรษฐี ฯลฯ๑- ภิกษุทั้งหลาย พละ (กำลัง) ๗ ประการนี้ พละ ๗ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. สัทธาพละ (กำลังคือศรัทธา) ๒. วิริยพละ (กำลังคือวิริยะ) ๓. หิริพละ (กำลังคือหิริ) ๔. โอตตัปปพละ (กำลังคือโอตตัปปะ) ๕. สติพละ (กำลังคือสติ) ๖. สมาธิพละ (กำลังคือสมาธิ) ๗. ปัญญาพละ (กำลังคือปัญญา) ภิกษุทั้งหลาย พละ ๗ ประการนี้แล ภิกษุผู้เป็นบัณฑิตมีพละ ๗ ประการนี้ คือ สัทธาพละ วิริยพละ หิริพละ โอตตัปปพละ สติพละ สมาธิพละ และปัญญาพละ ย่อมอยู่อย่างเป็นสุข @เชิงอรรถ : @ ดูความเต็มในข้อ ๑ (ปฐมปิยสูตร) หน้า ๑ ในเล่มนี้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า : ๔}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต ๑. ธนวรรค ๔. วิตถตพลสูตร

เลือกเฟ้นธรรมโดยแยบคาย เห็นแจ้งอรรถด้วยปัญญา๑- ความหลุดพ้นแห่งใจย่อมมีได้ เหมือนความดับไปแห่งประทีป ฉะนั้น
สังขิตตพลสูตรที่ ๓ จบ
๔. วิตถตพลสูตร๒-
ว่าด้วยพละโดยพิสดาร
[๔] ภิกษุทั้งหลาย พละ ๗ ประการนี้ พละ ๗ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. สัทธาพละ ๒. วิริยพละ ๓. หิริพละ ๔. โอตตัปปพละ ๕. สติพละ ๖. สมาธิพละ ๗. ปัญญาพละ สัทธาพละ เป็นอย่างไร คือ อริยสาวกในธรรมวินัยนี้เป็นผู้มีศรัทธา เชื่อปัญญาเครื่องตรัสรู้ของตถาคตว่า ‘แม้เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้ด้วยพระองค์เอง @เชิงอรรถ : @ เลือกเฟ้นธรรมโดยแยบคาย หมายถึงพิจารณาเห็นธรรมคืออริยสัจ ๔ @เห็นแจ้งอรรถด้วยปัญญา หมายถึงเห็นแจ้งสัจธรรมด้วยปัญญาในอริยมรรค (องฺ.สตฺตก.อ. ๓/๑-๕/๑๕๙) @ ดูเทียบ ที.ปา. ๑๑/๓๓๑/๒๒๒, ขุ.ม. (แปล) ๒๙/๕/๑๖, องฺ.ปญฺจก. (แปล) ๒๒/๒/๒-๕, ๑๔/๑๗ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า : ๕}

             เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒๓ หน้าที่ ๔-๕. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=23&A=69&w= http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=23&siri=3              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=23&A=43&Z=53&pagebreak=0              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=23&i=3              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลี อักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=23&item=3&items=1              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลี อักษรโรมัน :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=23&item=3&items=1              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๓ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu23

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจาก พระไตรปิฎก ฉบับมหาจุฬาฯ. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]