ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๔ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๖ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต
๘. ปัพพชิตอภิณหสูตร
ว่าด้วยธรรมที่บรรพชิตควรพิจารณาเนืองๆ
[๔๘] ภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๑๐ ประการนี้ บรรพชิตควรพิจารณาเนืองๆ ธรรม ๑๐ ประการ อะไรบ้าง คือ บรรพชิตควรพิจารณาเนืองๆ ว่า ๑. เราถึงความมีเพศต่างจากคฤหัสถ์ ๒. การเลี้ยงชีพของเราเนื่องด้วยผู้อื่น ๓. เรามีอากัปกิริยาอย่างอื่นที่จะพึงทำ ๔. เราติเตียนตนเองโดยศีลได้หรือไม่ ๕. เพื่อนพรหมจารีผู้รู้ทั้งหลายพิจารณาแล้วติเตียนเราโดยศีลได้หรือไม่ ๖. เราจักต้องมีความพลัดพรากจากของรักของชอบใจทั้งสิ้น ๗. เรามีกรรมเป็นของตน เป็นผู้รับผลของกรรม มีกรรมเป็นกำเนิด มีกรรม เป็นเผ่าพันธุ์ มีกรรมเป็นที่พึ่งอาศัย เราทำกรรมใดไว้ จะเป็นกรรมดี หรือกรรมชั่วก็ตาม ย่อมเป็นผู้รับผลของกรรมนั้น ๘. วันคืนล่วงไปๆ บัดนี้เราทำอะไรอยู่ ๙. เรายินดียิ่งในเรือนว่าง๑- อยู่หรือไม่ @เชิงอรรถ : @ ยินดียิ่งในเรือนว่าง ในที่นี้หมายถึงยินดีอยู่ผู้เดียวบำเพ็ญกายวิเวกให้บริบูรณ์ทุกอิริยาบถในที่สงัด @(องฺ.ทสก.อ. ๓/๔๘/๓๔๙) หรืออีกนัยหนึ่ง หมายถึงความยินดีในเรือนว่างด้วยปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยฌาน @และจตุตถฌาน ดูวินัยปิฎกแปล เล่มที่ ๑ ข้อ ๑๙๙ หน้า ๑๘๖ ประกอบ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า : ๑๐๔}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]

๕. อักโกสวรรค ๙. สรีรัฏฐธัมมสูตร

๑๐. ญาณทัสสนะที่ประเสริฐอันสามารถ๑- อันวิเศษยิ่งกว่าธรรมของมนุษย์๒- ที่เราบรรลุแล้วซึ่งจักเป็นเหตุให้เราไม่เก้อเขินเมื่อเพื่อนพรหมจารีถามใน ภายหลัง มีอยู่หรือไม่ ภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๑๐ ประการนี้แล บรรพชิตควรพิจารณาเนืองๆ
ปัพพชิตอภิณหสูตรที่ ๘ จบ
๙. สรีรัฏฐธัมมสูตร
ว่าด้วยธรรมประจำสรีระ
[๔๙] ภิกษุทั้งหลาย ธรรมประจำสรีระ ๑๐ ประการนี้ บรรพชิตควรพิจารณาเนืองๆ ธรรมประจำสรีระ ๑๐ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. ความหนาว ๒. ความร้อน ๓. ความหิว ๔. ความกระหาย ๕. ความปวดอุจจาระ ๖. ความปวดปัสสาวะ ๗. ความสำรวมกาย ๘. ความสำรวมวาจา ๙. ความสำรวมอาชีพ ๑๐. ธรรมเป็นเครื่องปรุงแต่งภพ๓- เป็นเหตุให้เกิดในภพใหม่ ภิกษุทั้งหลาย ธรรมประจำสรีระ ๑๐ ประการนี้แล บรรพชิตควรพิจารณาเนืองๆ
สรีรัฏฐธัมมสูตรที่ ๙ จบ
@เชิงอรรถ : @ ญาณทัสสนะที่ประเสริฐอันสามารถ หมายถึงมหัคคตโลกุตตรปัญญาอันประเสริฐ บริสุทธิ์ สูงสุด @สามารถกำจัดกิเลสได้ (องฺ.ทสก.อ. ๓/๔๘/๓๕๐) @ ธรรมของมนุษย์ ในที่นี้หมายถึงกุศลกรรมบถ ๑๐ ประการ (องฺ.ทสก.อ. ๓/๔๘/๓๕๐) @ ธรรมเป็นเครื่องปรุงแต่งภพ หมายถึงกรรมที่เป็นเครื่องปรุงแต่งภพ คือกรรมดีแต่งให้เกิดภพใหม่ที่ดี @กรรมชั่วแต่งให้เกิดภพใหม่ที่ไม่ดี (องฺ.ทสก.อ. ๓/๔๙-๕๐/๓๕๐) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า : ๑๐๕}

             เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒๔ หน้าที่ ๑๐๔-๑๐๕. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=24&A=2981&w= http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=24&siri=46              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=24&A=2110&Z=2128&pagebreak=0              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=24&i=48              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลี อักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=24&item=48&items=1              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลี อักษรโรมัน :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=24&item=48&items=1              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๔ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu24

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจาก พระไตรปิฎก ฉบับมหาจุฬาฯ. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]