ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๕ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๗ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ-ธรรมบท-อุทาน-อิติวุตตกะ-สุตตนิบาต

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต [๓. มหาวรรค]

๑๑. นาลกสูตร

[๗๒๐] ปฏิปทา๑- ที่พระสมณะประกาศแล้ว มีทั้งสูงและต่ำ๒- มุนีผู้ปฏิบัติจะไปถึงฝั่งถึง ๒ ครั้งหามิได้๓- ฝั่งนี้ ผู้ปฏิบัติรู้ได้ครั้งเดียว ก็หามิได้๔- [๗๒๑] อนึ่ง มุนีเป็นภิกษุซึ่งตัดกระแสขาดแล้ว ไม่มีตัณหาซ่านไป ละกิจน้อยใหญ่ได้แล้ว ย่อมไม่มีความเร่าร้อน๕- [๗๒๒] เราจะพยากรณ์ปฏิปทาของมุนีให้เธอทราบต่อไปคือ ภิกษุผู้ปฏิบัติควรเป็นผู้มีคมมีดโกนเป็นเครื่องเปรียบ กดเพดานไว้ด้วยลิ้น สำรวมท้อง [๗๒๓] ควรเป็นผู้มีจิตไม่ท้อแท้ และไม่ควรครุ่นคิดกังวลมาก เป็นผู้หมดกลิ่นสาบ๖- ไม่มีตัณหาและทิฏฐิอาศัย มีพรหมจรรย์เป็นจุดหมาย @เชิงอรรถ : @ ปฏิปทา หมายถึงประเภทของการปฏิบัติ มี ๔ อย่าง คือ (๑) ทุกขาปฏิปทา ทันธาภิญญา (ปฏิบัติลำบาก @และรู้ได้ช้า) (๒) ทุกขาปฏิปทา ขิปปาภิญญา(ปฏิบัติลำบาก แต่รู้ได้เร็ว) (๓) สุขาปฏิปทา ทันธาภิญญา @(ปฏิบัติสะดวก แต่รู้ได้ช้า) (๔) สุขาปฏิปทา ขิปปาภิญญา(ปฏิบัติสะดวก และรู้ได้เร็ว) @(องฺ.จตุกฺก. (แปล) ๒๑/๑๖๑-๑๖๓/๒๒๖-๒๓๐) @ มีทั้งสูงและต่ำ หมายถึงปฏิปทาสูง คือ ทุกขาปฏิปทา ขิปปาภิญญา และสุขาปฏิปทา ขิปปาภิญญา @ส่วนปฏิปทาต่ำ คือ ทุกขาปฏิปทา ทันธาภิญญา และสุขาปฏิปทา ทันธาภิญญา (ขุ.สุ.อ. ๒/๗๒๐/๓๓๐) @ หมายถึงมุนีไม่สามารถบรรลุนิพพานถึง ๒ ครั้งได้ ข้อความนี้แสดงถึงภาวะที่ไม่มีความเสื่อม กล่าวคือ @กิเลสเหล่าใดที่ละได้แล้ว ก็ไม่ต้องกลับไปละกิเลสเหล่านั้นซ้ำอีก (ขุ.สุ.อ. ๒/๗๒๐/๓๓๐) @ ข้อความนี้แสดงภาวะที่ละกิเลสด้วยมรรคนั้นๆ ตามลำดับถึงอรหัตตมรรค มิใช่ละกิเลสทั้งหมดด้วยมรรค @ใดมรรคหนึ่ง (ขุ.สุ.อ. ๒/๗๒๐/๓๓๐) และดู อภิ.ก. ๓๗/๒๖๕/๔๗๔ @ ดูเทียบ ขุ.จู. (แปล) ๓๐/๗๔/๒๗๐ @ กลิ่นสาบ หมายถึงความโกรธ (องฺ.ฉกฺก.อ. ๓/๕๔/๑๓๔) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๕ หน้า : ๖๗๐}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต [๓. มหาวรรค]

๑๑. นาลกสูตร

[๗๒๔] พึงฝึกฝนเพื่อการนั่งสงบผู้เดียว และเพื่อบำเพ็ญจิตภาวนาของสมณะ ความเป็นมุนีที่เราบอกไว้แล้วโดยส่วนเดียว หากเธอจักยินดีอยู่ผู้เดียว เธอก็จักปรากฏเกียรติคุณไปทั่ว ๑๐ ทิศ [๗๒๕] เธอได้ฟังเสียงสรรเสริญของนักปราชญ์ทั้งหลาย ผู้เพ่งพินิจอยู่ ตัดขาดจากกามแล้ว ต่อจากนั้น ควรทำหิริและศรัทธาให้ยิ่งขึ้น จึงนับว่าเป็นสาวกของเราได้ [๗๒๖] เธอจะเข้าใจคำที่เรากล่าวแล้วนั้นได้แจ่มแจ้ง ด้วยการเปรียบเทียบแม่น้ำกับลำคลอง และหนองบึง คือ แม่น้ำน้อยไหลดังสนั่น แม่น้ำสายใหญ่ๆ ไหลเงียบสงบ [๗๒๗] สิ่งใดพร่อง สิ่งนั้นดัง สิ่งใดเต็ม สิ่งนั้นเงียบ คนพาลเปรียบได้กับหม้อน้ำที่มีน้ำเพียงครึ่งเดียว บัณฑิตเปรียบได้กับห้วงน้ำที่เต็มเปี่ยม [๗๒๘] พระสมณพุทธเจ้าทรงรู้จักถ้อยคำที่จะตรัสให้มากว่า มีสาระประกอบด้วยประโยชน์ จึงทรงแสดงธรรม พระองค์ทรงรู้อยู่จึงตรัสได้มาก {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๕ หน้า : ๖๗๑}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต [๓. มหาวรรค]

๑๒. ทวยตานุปัสสนาสูตร

[๗๒๙] อนึ่ง สมณะใดรู้แจ้งธรรม สำรวมจิตของตนได้ ไม่กล่าวมากทั้งที่รู้ สมณะนั้นชื่อว่าเป็นมุนี ย่อมควรแก่ปฏิปทาของมุนี สมณะนั้นเป็นมุนีได้บรรลุปฏิปทาของมุนี๑- แล้ว
นาลกสูตรที่ ๑๑ จบ
๑๒. ทวยตานุปัสสนาสูตร
ว่าด้วยการพิจารณาเห็นธรรมเป็นคู่
ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้ สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ บุพพาราม ปราสาทของนางวิสาขา- มิคารมาตา เขตกรุงสาวัตถี สมัยนั้นเป็นคืนวันเพ็ญ เป็นวันอุโบสถขึ้น ๑๕ ค่ำ พระผู้มีพระภาคประทับนั่งกลางแจ้งมีภิกษุสงฆ์แวดล้อม ทอดพระเนตรเห็นภิกษุ- สงฆ์สงบนิ่งจึงตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย หากมีผู้ถามว่า ‘การฟังกุศลธรรมที่เป็นของ พระอริยะ เป็นเครื่องนำออกจากโลก เป็นเหตุให้ดำเนินไปสู่ความตรัสรู้ จะมี ประโยชน์อะไรแก่ท่านทั้งหลาย’ เธอทั้งหลายควรตอบเขาอย่างนี้ว่า ‘มีประโยชน์ให้ รู้จักธรรมแยกออกเป็น ๒ คู่ตามความเป็นจริง’ เธอทั้งหลายควรตอบเขาถึงธรรมแยกออกเป็น ๒ คู่ คือ (๑) การพิจารณาเห็นเนืองๆ ว่า ‘นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย’ นี้เป็นคู่ที่ ๑ การพิจารณาเห็นเนืองๆ ว่า ‘นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา’ นี้เป็นคู่ ที่ ๒ ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้พิจารณาเห็นธรรมแยกออกเป็น ๒ คู่โดยชอบเนืองๆ @เชิงอรรถ : @ บรรลุปฏิปทาของมุนี หมายถึงบรรลุอรหัตตมัคคญาณ (ขุ.สุ.อ. ๒/๗๒๗-๗๒๙/๓๓๒-๓๓๓) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๕ หน้า : ๖๗๒}

             เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒๕ หน้าที่ ๖๗๐-๖๗๒. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=25&A=18042&w= http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=25&siri=264              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=25&A=9556&Z=9695&pagebreak=0              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=25&i=388              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลี อักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=25&item=388&items=2              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลี อักษรโรมัน :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=25&item=388&items=2              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๕ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu25

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจาก พระไตรปิฎก ฉบับมหาจุฬาฯ. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]