ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๕ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๗ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ-ธรรมบท-อุทาน-อิติวุตตกะ-สุตตนิบาต

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ธรรมบท ๑๐. ทัณธวรรค ๙. สันตติมหามัตตวัตถุ

[๑๓๙] (๖) ต้องราชภัย๑- (๗) ถูกกล่าวหาอย่างร้ายแรง (๘) เสื่อมญาติ (๙) ทรัพย์สมบัติพินาศย่อยยับ [๑๔๐] (๑๐) บ้านเรือนถูกไฟไหม้ เขาผู้มีปัญญาทราม เมื่อตายไปย่อมตกนรก
๘. พหุภัณฑิกภิกขุวัตถุ
เรื่องภิกษุผู้มีเครื่องใช้สอยมาก
(พระผู้มีพระภาคตรัสพระคาถานี้แก่ภิกษุผู้มีเครื่องใช้สอยมาก ดังนี้) [๑๔๑] การเป็นคนเปลือย การเกล้าชฎา การเอาโคลนทาตัว การอดอาหาร การนอนบนพื้นดิน การมีกายหมักหมมด้วยธุลี หรือการทำความเพียรด้วยการนั่งกระโหย่ง วัตรทั้งหมดเหล่านี้หาชำระคนผู้ยังไม่ล่วงพ้นความสงสัยให้หมดจดได้ไม่
๙. สันตติมหามัตตวัตถุ
เรื่องสันตติมหาอำมาตย์
(พระผู้มีพระภาคตรัสพระคาถานี้แก่ภิกษุทั้งหลาย ดังนี้) [๑๔๒] แม้บุคคลจะแต่งตัวแบบใดก็ตาม ถ้าเขาเป็นผู้สงบ ฝึกตนได้ เป็นผู้แน่นอน๒- ประพฤติพรหมจรรย์ ละเว้นการเบียดเบียนสรรพสัตว์ ประพฤติสม่ำเสมอ ควรเรียกบุคคลเช่นนั้นว่า พราหมณ์ สมณะ หรือภิกษุ๓- ก็ได้ @เชิงอรรถ : @ ต้องราชภัย หมายถึงการถูกถอดยศ ปลดจากตำแหน่ง เป็นต้น (ขุ.ธ.อ. ๕/๖๔) @ สงบ หมายถึงสงบจากกิเลสมีราคะเป็นต้น @ฝึกตนได้ หมายถึงควบคุมอินทรีย์ทั้ง ๖ ได้ @เป็นผู้แน่นอน หมายถึงเป็นผู้แน่นอนในโลกุตตรมรรคทั้ง ๔ (ขุ.ธ.อ. ๕/๗๕) @ คำว่า “พราหมณ์ สมณะ ภิกษุ” ตามหลักการพุทธศาสนามีความหมายดังนี้ พราหมณ์ หมายถึง @ผู้ลอยบาปได้ สมณะ หมายถึงผู้สงบระงับบาปได้ ภิกษุ หมายถึงผู้ทำลายกิเลสได้ (ขุ.ธ.อ. ๕/๗๕) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๕ หน้า : ๗๕}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ธรรมบท ๑๐. ทัณฑวรรค ๑๑. สุขสามเณรวัตถุ

๑๐. ปิโลติกติสสเถรวัตถุ
เรื่องพระปิโลติกติสสเถระ
(พระผู้มีพระภาคตรัสพระคาถานี้แก่ภิกษุทั้งหลาย ดังนี้) [๑๔๓] บุคคลผู้กีดกันอกุศลวิตกได้ด้วยหิริ มีอยู่น้อยคนในโลก ภิกษุใดหลบหลีกนินทาได้ ตื่นตัวอยู่ เหมือนม้าชั้นดีหลบแส้ได้ ภิกษุเช่นนั้นมีอยู่น้อยรูป๑- [๑๔๔] เธอทั้งหลายจงมีความเพียรและมีสังเวคธรรม๒- เหมือนม้าดีที่ถูกลงแส้ เธอทั้งหลายมีศรัทธา ศีล วิริยะ สมาธิ และธัมมวินิจฉัย๓- สมบูรณ์ด้วยวิชชาและจรณะ มีสติมั่นคง จักละทุกข์๔- มีประมาณไม่น้อยนี้ได้
๑๑. สุขสามเณรวัตถุ
เรื่องสุขสามเณร
(พระผู้มีพระภาคตรัสพระคาถานี้แก่ภิกษุทั้งหลาย ดังนี้) [๑๔๕] คนไขน้ำ ย่อมไขน้ำ ช่างศร ย่อมดัดลูกศร ช่างไม้ ย่อมถากไม้ ผู้มีวัตรดี๕- ย่อมฝึกตน๖-
ทัณฑวรรคที่ ๑๐ จบ
@เชิงอรรถ : @ ดู สํ.ส. (แปล) ๑๕/๑๘/๑๖ @ มีสังเวคธรรม แปลจากคำว่า “สํเวคิโน” หมายถึงมีสโหตตัปปญาณ คือ ญาณที่มีโอตตัปปะ ได้แก่ ญาณ @ที่มีความกลัวต่อภัยคือชาติ ชรา มรณะ เป็นต้น (ขุ.อิติ.อ. ๓๗/๑๓๑) @ ธัมมวินิจฉัย หมายถึงความรู้เหตุที่ควรและไม่ควร (ขุ.ธ.อ. ๕/๗๘) @ ทุกข์ ในที่นี้หมายถึงวัฏฏทุกข์ (ขุ.ธ.อ. ๕/๗๘) @ ผู้มีวัตรดี ในที่นี้หมายถึงคนที่ว่าง่าย สอนง่าย (ขุ.ธ.อ. ๕/๙๐) @ ขุ.เถร. (แปล) ๒๖/๑๙/๓๑๐ และดูเทียบธรรมบทข้อ ๘๐ หน้า ๕๓ ในเล่มนี้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๕ หน้า : ๗๖}

             เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒๕ หน้าที่ ๗๕-๗๖. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=25&A=1902&w= http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=25&siri=19              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=25&A=618&Z=661&pagebreak=0              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=25&i=20              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลี อักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=25&item=20&items=1              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลี อักษรโรมัน :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=25&item=20&items=1              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๕ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu25

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจาก พระไตรปิฎก ฉบับมหาจุฬาฯ. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]