ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ขุททกนิกาย ชาดก ภาค ๒

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑๘. ปัญญาสนิบาต]

๒. อุมมาทันตีชาดก (๕๒๗)

[๑๐๔] เมื่อฝูงโคข้ามน้ำไป ถ้าโคจ่าฝูงไปคดเคี้ยว โคทั้งฝูงก็ไปคดเคี้ยวตามกัน ในเมื่อโคจ่าฝูงไปคดเคี้ยว [๑๐๕] ในหมู่มนุษย์ก็เหมือนกัน ผู้ใดได้รับแต่งตั้งให้เป็นใหญ่ ถ้าผู้นั้นประพฤติไม่เป็นธรรม ประชาชนชาวเมืองนั้น ก็จะประพฤติไม่เป็นธรรมตามไปด้วย หากพระราชาไม่ตั้งอยู่ในธรรม ชาวเมืองนั้นก็อยู่เป็นทุกข์ [๑๐๖] เมื่อฝูงโคข้ามน้ำไป ถ้าโคจ่าฝูงไปตรง โคทั้งฝูงก็ไปตรงตามกัน ในเมื่อโคจ่าฝูงไปตรง [๑๐๗] ในหมู่มนุษย์ก็เหมือนกัน ผู้ใดได้รับแต่งตั้งให้เป็นใหญ่ ถ้าผู้นั้นประพฤติชอบธรรม ประชาชนชาวเมืองนั้น ก็จะประพฤติชอบธรรมตามไปด้วย หากพระราชาตั้งอยู่ในธรรม ชาวเมืองนั้นก็อยู่เป็นสุข๑- [๑๐๘] อภิปารกะ เราไม่ปรารถนาความเป็นเทวดา หรือเพื่อจะชนะแผ่นดินทั้งปวงนี้โดยอธรรมเลย [๑๐๙] แท้จริง รัตนะอย่างใดอย่างหนึ่ง คือ โค ทาส เงิน ผ้า และจันทน์เหลือง ก็มีอยู่ในหมู่มนุษย์ในโลกนี้ @เชิงอรรถ : @ องฺ.จตุกฺก. (แปล) ๒๑/๗๐/๑๑๕-๑๑๖, ขุ.ชา. (แปล) ๒๗/๑๓๓-๑๓๖/๑๘๔ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๘ หน้า : ๒๑}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑๘. ปัญญาสนิบาต]

๒. อุมมาทันตีชาดก (๕๒๗)

[๑๑๐] อนึ่ง แม้ดวงจันทร์และดวงอาทิตย์ ก็รักษา ม้า หญิง และแก้วมณีไว้เพื่อเรา เราไม่พึงประพฤติธรรมไม่สม่ำเสมอเพราะเหตุแห่งรัตนะนั้นเลย เพราะเราเกิดเป็นพระราชาผู้เจริญที่สุดท่ามกลางชาวกรุงสีพี [๑๑๑] เราเป็นผู้นำ เป็นผู้เกื้อกูล มีชื่อเสียง ปกครองแคว้น ประพฤตินอบน้อมธรรมเพื่อชาวกรุงสีพีอยู่ เรานั้นคิดถึงธรรมนั้นอยู่เนืองๆ เพราะเหตุนั้น จึงไม่ตกอยู่ในอำนาจจิตของตน (อภิปารกเสนาบดีกราบทูลว่า) [๑๑๒] ข้าแต่มหาราช พระองค์จักทรงปกครองราชสมบัติมิให้พินาศ ให้ปลอดภัยอยู่เป็นนิตย์ตลอดกาลนานแน่แท้ เพราะพระปรีชาของพระองค์เป็นเช่นนั้น [๑๑๓] พระองค์ไม่ทรงประมาทธรรมใด ข้าพระองค์ขออนุโมทนาธรรมนั้นของพระองค์ กษัตริย์ผู้เป็นใหญ่ ทรงประมาทธรรมแล้ว ย่อมเคลื่อนจากแคว้น [๑๑๔] ข้าแต่มหาราชผู้เป็นกษัตริย์ ขอพระองค์ทรงประพฤติธรรมในพระชนกและพระชนนีเถิด พระองค์ครั้นทรงประพฤติธรรมในโลกนี้แล้ว จักเสด็จไปสู่สวรรค์ พระเจ้าข้า [๑๑๕] ข้าแต่มหาราชผู้เป็นกษัตริย์ ขอพระองค์ทรงประพฤติธรรมในพระโอรสและพระชายาเถิด พระองค์ครั้นทรงประพฤติธรรมในโลกนี้แล้ว จักเสด็จไปสู่สวรรค์ พระเจ้าข้า {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๘ หน้า : ๒๒}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑๘. ปัญญาสนิบาต]

๒. อุมมาทันตีชาดก (๕๒๗)

[๑๑๖] ข้าแต่มหาราชผู้เป็นกษัตริย์ ขอพระองค์ทรงประพฤติธรรมในมิตรและอำมาตย์เถิด พระองค์ครั้นทรงประพฤติธรรมในโลกนี้แล้ว จักเสด็จไปสู่สวรรค์ พระเจ้าข้า [๑๑๗] ข้าแต่มหาราช ขอพระองค์ทรงประพฤติธรรม ในพาหนะและพลนิกายเถิด พระองค์ครั้นทรงประพฤติธรรมในโลกนี้แล้ว จักเสด็จไปสู่สวรรค์ พระเจ้าข้า [๑๑๘] ข้าแต่มหาราช ขอพระองค์ทรงประพฤติธรรม ในชาวบ้านและชาวนิคมเถิด พระองค์ครั้นทรงประพฤติธรรมในโลกนี้แล้ว จักเสด็จไปสู่สวรรค์ พระเจ้าข้า [๑๑๙] ข้าแต่มหาราช ขอพระองค์ทรงประพฤติธรรม ในแคว้นและชนบทเถิด พระองค์ครั้นทรงประพฤติธรรมในโลกนี้แล้ว จักเสด็จไปสู่สวรรค์ พระเจ้าข้า [๑๒๐] ข้าแต่มหาราช ขอพระองค์ทรงประพฤติธรรม ในสมณะและพราหมณ์เถิด พระองค์ครั้นทรงประพฤติธรรมในโลกนี้แล้ว จักเสด็จไปสู่สวรรค์ พระเจ้าข้า [๑๒๑] ข้าแต่มหาราชผู้เป็นกษัตริย์ ขอพระองค์ทรงประพฤติธรรมในหมู่เนื้อและหมู่นกเถิด พระองค์ครั้นทรงประพฤติธรรมในโลกนี้แล้ว จักเสด็จไปสู่สวรรค์ พระเจ้าข้า {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๘ หน้า : ๒๓}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑๘. ปัญญาสนิบาต]

๓. มหาโพธิชาดก (๕๒๘)

[๑๒๒] ข้าแต่มหาราช ขอพระองค์ทรงประพฤติธรรมเถิด ธรรมที่พระองค์ประพฤติแล้วนำสุขมาให้ พระองค์ครั้นทรงประพฤติธรรมในโลกนี้แล้ว จักเสด็จไปสู่สวรรค์ พระเจ้าข้า [๑๒๓] ข้าแต่มหาราช ขอพระองค์ทรงประพฤติธรรมเถิด เทวดาทั้งหลายพร้อมทั้งพระอินทร์และพระพรหม บรรลุถึงโลกทิพย์ด้วยธรรมที่ตนประพฤติดีแล้ว ขอพระองค์อย่าได้ทรงประมาทธรรมเลย พระเจ้าข้า
อุมมาทันตีชาดกที่ ๒ จบ

             เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒๘ หน้าที่ ๒๑-๒๔. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=28&A=595&w= http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=28&siri=2              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2].              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=28&A=141&Z=320&pagebreak=0              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=28&i=20              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลี อักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=28&item=20&items=32              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลี อักษรโรมัน :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=28&item=20&items=32              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu28

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจาก พระไตรปิฎก ฉบับมหาจุฬาฯ. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]