ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๙ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๑ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ขุททกนิกาย มหานิทเทส

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค]

๑๐. ปุราเภทสุตตนิทเทส

ปัญญินทรีย์ ที่บุคคลเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมหยั่งลงสู่อมตธรรม มีอมตธรรม เป็นที่ไปในเบื้องหน้า มีอมตธรรมเป็นที่สุด ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้อนี้ ชนเหล่าใด รู้ เห็น เข้าใจ ทำให้แจ้ง สัมผัสด้วยปัญญาแล้ว ชนเหล่านั้น ย่อมไม่มีความ สงสัย ไม่มีความแคลงใจในข้อนั้นเลยว่า สัทธินทรีย์ ... วิริยินทรีย์ ... สตินทรีย์ ... สมาธินทรีย์ ... ปัญญินทรีย์ ที่บุคคลเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมหยั่งลงสู่ อมตธรรม มีอมตธรรมเป็นที่ไปในเบื้องหน้า มีอมตธรรมเป็นที่สุด” “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้อนี้ข้าพระองค์รู้ เห็น เข้าใจ ทำให้แจ้ง สัมผัส ด้วยปัญญาแล้ว ข้าพระองค์ไม่มีความสงสัย ไม่มีความแคลงใจในข้อนั้นเลยว่า สัทธินทรีย์ ... วิริยินทรีย์ ... สตินทรีย์ ... สมาธินทรีย์ ... ปัญญินทรีย์ที่บุคคล เจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมหยั่งลงสู่อมตธรรม มีอมตธรรมเป็นที่ไปในเบื้องหน้า มีอมตธรรมเป็นที่สุด” พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ดีละ ดีละ สารีบุตร ข้อนี้ ชนเหล่าใด ไม่รู้ ไม่เห็น ไม่เข้าใจ มิได้ทำให้แจ้ง มิได้สัมผัสด้วยปัญญาแล้ว ชนเหล่านั้น พึงต้องดำเนินไป ด้วยความเชื่อต่อผู้อื่นในข้อนั้นว่า สัทธินทรีย์ ... ปัญญินทรีย์ ที่บุคคลเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมหยั่งลงสู่อมตธรรม มีอมตธรรมเป็นที่ไปในเบื้องหน้า มีอมตธรรม เป็นที่สุด”๑- (พระผู้มีพระภาคผู้สุคตศาสดา ครั้นตรัสเวยยากรณ์ภาษิตนี้แล้ว จึงได้ตรัส คาถาประพันธ์ต่อไปว่า) นรชนใดผู้ไม่ต้องเชื่อใคร รู้จักนิพพานที่ปัจจัยอะไรปรุงแต่งไม่ได้ ตัดรอยต่อแห่งการเกิดใหม่ ทำลายโอกาสแห่งการท่องเที่ยวไปในสงสาร คลายความหวังแล้ว นรชนนั้นแล เป็นบุรุษสูงสุด๒- @เชิงอรรถ : @ สํ.ม. ๑๙/๕๒๗/๒๐๔ @ ขุ.ธ. ๒๕/๙๗/๓๔ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า : ๒๗๕}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค]

๑๐. ปุราเภทสุตตนิทเทส

ว่าด้วยผู้ไม่คลายกำหนัด
คำว่า ไม่ต้องเชื่อใคร และไม่ต้องคลายกำหนัด อธิบายว่า พาลปุถุชน ทั้งหมดย่อมกำหนัด พระเสขะ ๗ จำพวก รวมทั้งกัลยาณปุถุชน ย่อมคลายกำหนัด พระอรหันต์ย่อมไม่กำหนัด จึงไม่ต้องคลายกำหนัด พระอรหันต์ชื่อว่าผู้งดเว้น เพราะหมดสิ้นราคะแล้ว เพราะหมดสิ้นโทสะแล้ว เพราะหมดสิ้นโมหะแล้ว ท่านอยู่ ใน(อริยวาสธรรม)แล้ว ประพฤติจรณธรรมแล้ว ... พระอรหันต์ไม่มีการเวียนเกิด เวียนตาย และภพใหม่ก็ไม่มีอีก รวมความว่า ไม่ต้องเชื่อใคร และไม่ต้องคลาย กำหนัด ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า บุคคลผู้ไม่ยินดีในสิ่งน่ายินดี ไม่ประกอบในความดูหมิ่น ละเอียดอ่อน มีปฏิภาณ ไม่ต้องเชื่อใคร และไม่ต้องคลายกำหนัด [๘๙] (พระผู้มีพระภาคตรัสว่า) บุคคลไม่ศึกษาเพราะอยากได้ลาภ ไม่โกรธเพราะไม่ได้ลาภ ไม่เดือดดาล และไม่ยินดีในรสเพราะตัณหา
ว่าด้วยศึกษาเพราะอยากได้ลาภ
คำว่า บุคคลไม่ศึกษาเพราะอยากได้ลาภ ไม่โกรธเพราะไม่ได้ลาภ อธิบายว่า บุคคลศึกษาเพราะอยากได้ลาภ เป็นอย่างไร คือ ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เห็นภิกษุได้จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร เธอคิดอย่างนี้ว่า “เพราะเหตุไรหนอ ท่านผู้มีอายุนี้ จึงได้จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร” เธอคิดต่อไปว่า “ท่านผู้มีอายุนี้เป็นผู้ทรงจำพระสูตร เพราะเหตุนั้น ท่านจึงได้จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร” เธอหวังลาภ จึงเล่าเรียนพระสูตร เพราะ ลาภเป็นเหตุ เพราะลาภเป็นปัจจัย เพราะลาภเป็นต้นเหตุ เพราะมุ่งหวังการเกิดลาภ โดยเฉพาะ บุคคลชื่อว่าศึกษาเพราะอยากได้ลาภ เป็นอย่างนี้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า : ๒๗๖}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค]

๑๐. ปุราเภทสุตตนิทเทส

อีกนัยหนึ่ง ภิกษุเห็นภิกษุได้จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัย- เภสัชบริขาร เธอคิดอย่างนี้ว่า “เพราะเหตุไรหนอ ท่านผู้มีอายุนี้ จึงได้จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร” เธอมีความคิดต่อไปว่า “ท่านผู้มีอายุนี้ เป็นผู้ทรงจำพระวินัย ... ผู้ทรงจำพระอภิธรรม เพราะเหตุนั้น ท่านจึงได้จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร” เธอมุ่งหวังลาภ จึงเล่าเรียน ... พระอภิธรรม เพราะลาภเป็นเหตุ เพราะลาภเป็นปัจจัย เพราะลาภเป็นต้นเหตุ เพราะมุ่งหวังการ เกิดลาภโดยเฉพาะ บุคคลชื่อว่าศึกษาเพราะอยากได้ลาภ เป็นอย่างนี้ อีกนัยหนึ่ง ภิกษุเห็นภิกษุได้จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัย- เภสัชบริขาร เธอมีความคิดอย่างนี้ว่า “เพราะเหตุไรหนอ ท่านผู้มีอายุนี้จึงได้จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร” เธอมีความคิดต่อไปว่า “ท่าน ผู้มีอายุนี้ เป็นผู้ถือการอยู่ป่าเป็นวัตร ... เป็นผู้เที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตร ... เป็นผู้ นุ่งห่มผ้าบังสุกุลเป็นวัตร ... เป็นผู้ทรงไตรจีวรเป็นวัตร ... เป็นผู้เที่ยวบิณฑบาตตาม ลำดับตรอกเป็นวัตร ... เป็นผู้งดฉันอาหารมื้อหลังเป็นวัตร ... เป็นผู้ถือการนั่งเป็นวัตร ... เป็นผู้ถือการอยู่ในเสนาสนะตามที่เขาจัดให้เป็นวัตร เพราะเหตุนั้น ท่านจึงได้จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร” เธอมุ่งหวังลาภ จึงเป็น ผู้ถือการอยู่ป่าเป็นวัตร ... เป็นผู้ถือการอยู่ในเสนาสนะตามที่เขาจัดให้เป็นวัตร เพราะ ลาภเป็นเหตุ เพราะลาภเป็นปัจจัย เพราะลาภเป็นต้นเหตุ เพราะมุ่งหวังการเกิดลาภ โดยเฉพาะ บุคคลชื่อว่าศึกษาเพราะอยากได้ลาภ เป็นอย่างนี้ บุคคลไม่ศึกษาเพราะอยากได้ลาภ เป็นอย่างไร คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ มิได้มุ่งหวังลาภ เล่าเรียนพระสูตร เล่าเรียนพระวินัย เล่าเรียนพระอภิธรรม เพื่อประโยชน์ในการฝึกตน เพื่อประโยชน์แก่ความสงบของตน เพื่อประโยชน์ในการทำตนให้ดับเย็น (ปรินิพพาน) มิใช่เพราะลาภเป็นเหตุ มิใช่ เพราะลาภเป็นปัจจัย มิใช่เพราะลาภเป็นต้นเหตุ มิใช่เพราะมุ่งหวังการเกิดลาภโดย เฉพาะ บุคคลชื่อว่าไม่ศึกษาเพราะอยากได้ลาภ เป็นอย่างนี้ อีกนัยหนึ่ง ภิกษุไม่มุ่งหวังลาภ เพียงอาศัยความปรารถนาน้อย ความสันโดษ ความขัดเกลากิเลส ความสงัด ความเป็นผู้ต้องการกุศลนี้อย่างเดียวเท่านั้น จึงเป็น ผู้ถือการอยู่ป่าเป็นวัตร ... เป็นผู้เที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตร ... เป็นผู้นุ่งห่มผ้าบังสุกุล {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า : ๒๗๗}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค]

๑๐. ปุราเภทสุตตนิทเทส

เป็นวัตร ... เป็นผู้ทรงไตรจีวรเป็นวัตร ... เป็นผู้เที่ยวบิณฑบาตตามลำดับตรอกเป็น วัตร ... เป็นผู้งดอาหารมื้อหลังเป็นวัตร ... เป็นผู้ถือการนั่งเป็นวัตร ... เป็นผู้ถือการ อยู่ในเสนาสนะตามที่เขาจัดให้เป็นวัตร มิใช่เพราะลาภเป็นเหตุ มิใช่เพราะลาภเป็น ปัจจัย มิใช่เพราะลาภเป็นต้นเหตุ มิใช่เพราะมุ่งหวังการเกิดลาภโดยเฉพาะ บุคคล ชื่อว่าไม่ศึกษาเพราะอยากได้ลาภ เป็นอย่างนี้ รวมความว่า บุคคลไม่ศึกษาเพราะ อยากได้ลาภ
ว่าด้วยโกรธเพราะการไม่ได้
คำว่า ไม่โกรธเพราะไม่ได้ลาภ อธิบายว่า ภิกษุโกรธเพราะไม่ได้ลาภ เป็นอย่างไร คือ ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ ยังโกรธ คือ แค้น เคือง ทำความโกรธ ความขัดเคือง และความไม่พอใจให้ปรากฏว่า “เราไม่ได้ตระกูล หมู่คณะ อาวาส ลาภ ยศ สรรเสริญ สุข จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ คิลานปัจจัยเภสัชบริขาร หรือ ผู้พยาบาลยามอาพาธ เราไม่มีชื่อเสียงที่คนรู้จัก” บุคคลชื่อว่าโกรธเพราะไม่ได้ลาภ เป็นอย่างนี้ ภิกษุไม่โกรธเพราะไม่ได้ลาภ เป็นอย่างไร คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ไม่โกรธ คือ ไม่แค้น ไม่เคือง ไม่ทำความโกรธ ความขัดเคือง และความไม่พอใจให้ปรากฏว่า “เราไม่ได้ตระกูล หมู่คณะ อาวาส ลาภ ยศ สรรเสริญ สุข จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ คิลานปัจจัยเภสัชบริขาร หรือ ผู้พยาบาลยามอาพาธ เราไม่มีชื่อเสียงที่คนรู้จัก” บุคคลชื่อว่าไม่โกรธเพราะไม่ได้ลาภ เป็นอย่างนี้ รวมความว่า บุคคลไม่ศึกษาเพราะอยากได้ลาภ ไม่โกรธเพราะไม่ได้ลาภ คำว่า เดือดดาล ในคำว่า ไม่เดือดดาล และไม่ยินดีในรสเพราะตัณหา ได้แก่ ใจปองร้าย มุ่งร้าย ขัดเคือง ขุ่นเคือง แค้นเคือง เคือง เคืองมาก เคืองตลอด ชัง ชิงชัง เกลียดชัง ใจพยาบาท ใจแค้นเคือง ความโกรธ กิริยาที่โกรธ ภาวะ ที่โกรธ ความคิดประทุษร้าย กิริยาที่คิดประทุษร้าย ภาวะที่คิดประทุษร้าย ความ คิดปองร้าย กิริยาที่คิดปองร้าย ภาวะที่คิดปองร้าย ความโกรธ ความแค้น ความ ดุร้าย ความเกรี้ยวกราด ความไม่แช่มชื่นแห่งจิตเห็นปานนี้ นี้เรียกว่า ความ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า : ๒๗๘}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค]

๑๐. ปุราเภทสุตตนิทเทส

เดือดดาล ความเดือดดาลนั้น ผู้ใดละได้แล้ว ตัดขาดได้แล้ว ทำให้สงบได้แล้ว ระงับได้แล้ว ทำให้เกิดขึ้นไม่ได้อีก เผาด้วยไฟคือญาณแล้ว ผู้นั้น ตรัสเรียกว่า ผู้ไม่ เดือดดาล คำว่า ตัณหา ได้แก่ รูปตัณหา สัททตัณหา คันธตัณหา รสตัณหา โผฏฐัพพตัณหา ธัมมตัณหา คำว่า รส ได้แก่ รสจากราก รสจากลำต้น รสจากเปลือก รสจากใบ รส จากดอก รสจากผล รสเปรี้ยว รสหวาน รสขม รสเผ็ด รสเค็ม รสปร่า รสเฝื่อน รสฝาด รสอร่อย รสไม่อร่อย รสเย็น รสร้อน สมณพราหมณ์บางพวก ยินดีในรส สมณพราหมณ์เหล่านั้นเที่ยวแสวงหารสเลิศด้วยปลายลิ้น ได้รสเปรี้ยวแล้วก็แสวง หารสไม่เปรี้ยว ได้รสไม่เปรี้ยวแล้วก็แสวงหารสเปรี้ยว ได้รสหวานแล้วก็แสวงหารส ไม่หวาน ได้รสไม่หวานแล้วก็แสวงหารสหวาน ได้รสขมแล้วก็แสวงหารสไม่ขม ได้ รสไม่ขมแล้วก็แสวงหารสขม ได้รสเผ็ดแล้วก็แสวงหารสไม่เผ็ด ได้รสไม่เผ็ดแล้วก็ แสวงหารสเผ็ด ได้รสเค็มแล้วก็แสวงหารสไม่เค็ม ได้รสไม่เค็มแล้วก็แสวงหารสเค็ม ได้รสปร่าแล้วก็แสวงหารสไม่ปร่า ได้รสไม่ปร่าแล้วก็แสวงหารสปร่า ได้รสเปรี้ยว แล้วก็แสวงหารสฝาด ได้รสฝาดแล้วก็แสวงหารสเปรี้ยว ได้รสอร่อยแล้วก็แสวงหา รสไม่อร่อย ได้รสไม่อร่อยแล้วก็แสวงหารสอร่อย ได้ของเย็นแล้วก็แสวงหาของร้อน ได้ของร้อนแล้วก็แสวงหาของเย็น สมณพราหมณ์เหล่านั้นได้รสใดๆ แล้วก็ไม่ยินดี ด้วยรสนั้นๆ ยังแสวงหารสอื่นๆ ต่อไปอีก เป็นผู้กำหนัด ยินดี ติดใจ สยบ หมกมุ่น เกาะติด เกี่ยวพัน พัวพันในรสที่ชอบใจ ตัณหาในรสนี้ภิกษุใดละได้แล้ว ตัดขาดได้แล้ว ทำให้สงบได้แล้ว ระงับได้แล้ว ทำให้เกิดขึ้นไม่ได้อีก เผาด้วยไฟคือญาณแล้ว ภิกษุ นั้นพิจารณาแล้วโดยแยบคาย จึงฉันอาหาร มิใช่เพื่อเล่น มิใช่เพื่อมัวเมา มิใช่เพื่อ ตบแต่ง มิใช่เพื่อประดับ แต่ฉันเพียงเพื่อให้ร่างกายนี้ดำรงอยู่ เพื่อให้ร่างกายนี้ ดำเนินไปได้ เพื่อระงับความลำบาก เพื่ออนุเคราะห์พรหมจรรย์อย่างเดียวเท่านั้น ด้วยมนสิการว่า เราจักบำบัดเวทนาเก่า ไม่ให้เวทนาใหม่เกิดขึ้น การดำเนินชีวิต ของเรา ความไม่มีโทษและอยู่สบายได้ด้วยวิธีการอย่างนี้ คนทาแผลเพียงเพื่อปลูกเนื้อเยื่อ หยอดเพลาเพียงเพื่อจะขนภาระไป หรือกิน อาหารที่ปรุงจากเนื้อบุตรเพียงเพื่อจะเดินทางออกจากทางกันดารให้พ้นเท่านั้น ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน พิจารณาโดยแยบคายแล้ว ฉันอาหาร มิใช่เพื่อเล่น {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า : ๒๗๙}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค]

๑๐. ปุราเภทสุตตนิทเทส

มิใช่เพื่อมัวเมา มิใช่เพื่อตบแต่ง มิใช่เพื่อประดับ แต่ฉันเพียงเพื่อจะให้ร่างกายนี้ ดำรงอยู่ เพื่อให้ร่างกายนี้ดำเนินไปได้ เพื่อระงับความลำบาก เพื่ออนุเคราะห์ พรหมจรรย์เท่านั้น ด้วยมนสิการว่า เราจักบำบัดเวทนาเก่า ไม่ให้เวทนาใหม่เกิดขึ้น การดำเนินชีวิตของเรา ความไม่มีโทษและอยู่สบายได้ด้วยวิธีการอย่างนี้ ย่อมละ บรรเทา ทำให้หมดสิ้นไป ให้ถึงความไม่มีอีกซึ่งตัณหาในรส เป็นผู้งดแล้ว งดเว้นแล้ว เว้นขาดแล้ว ออกแล้ว สลัดออกแล้ว หลุดพ้นแล้ว ไม่เกี่ยวข้องกับตัณหาในรสแล้ว มีใจเป็นอิสระ(จากกิเลส)อยู่ รวมความว่า ไม่เดือดดาล และไม่ยินดีในรสเพราะ ตัณหา ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า บุคคลไม่ศึกษาเพราะอยากได้ลาภ ไม่โกรธเพราะไม่ได้ลาภ ไม่เดือดดาล และไม่ยินดีในรสเพราะตัณหา [๙๐] (พระผู้มีพระภาคตรัสว่า) บุคคลเป็นผู้วางเฉย มีสติทุกเมื่อ ไม่สำคัญว่าเสมอเขา ไม่สำคัญว่าเลิศกว่าเขา ไม่สำคัญว่าด้อยกว่าเขา ในโลก กิเลสหนาย่อมไม่มีแก่บุคคลนั้น
ว่าด้วยอุเบกขามีองค์ ๖
คำว่า บุคคลเป็นผู้วางเฉย ในคำว่า บุคคลเป็นผู้วางเฉย มีสติทุกเมื่อ อธิบายว่า บุคคลเป็นผู้ประกอบด้วยอุเบกขามีองค์ ๖ เห็นรูปทางตาแล้ว ก็ไม่ดีใจ ไม่เสียใจ เป็นผู้วางเฉย มีสติสัมปชัญญะอยู่ ฟังเสียงทางหู ... ดมกลิ่นทางจมูก ... ลิ้มรสทางลิ้น ... ถูกต้องโผฏฐัพพะทางกาย ... รู้ธรรมารมณ์ทางใจแล้ว ก็ไม่ดีใจ ไม่เสียใจ เป็นผู้วางเฉย มีสติสัมปชัญญะอยู่ เห็นรูปทางตาแล้ว ไม่ติดใจ ไม่ยินดีรูป ที่น่าพอใจ ไม่ให้เกิดความกำหนัด กายของเขาตั้งมั่น จิตก็ตั้งมั่น ดำรงดีอยู่ภายใน หลุดพ้นดีแล้ว ทั้งเห็นรูปที่ไม่ชอบใจทางตาแล้วก็ไม่เสียใจ ไม่โกรธ ไม่หดหู่ ไม่ พยาบาท กายของเขาตั้งมั่น จิตก็ตั้งมั่น ดำรงดีอยู่ภายใน หลุดพ้นดีแล้ว ได้ยินเสียง ทางหูแล้ว ... ดมกลิ่นทางจมูก ... ลิ้มรสทางลิ้น ... ถูกต้องโผฏฐัพพะทางกาย ... รู้ธรรมารมณ์ทางใจแล้ว ก็ไม่ติดใจ ไม่ยินดีอารมณ์ที่น่าพอใจ ไม่ให้เกิดความ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า : ๒๘๐}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค]

๑๐. ปุราเภทสุตตนิทเทส

กำหนัดขึ้น กายของเขาตั้งมั่น จิตก็ตั้งมั่น ดำรงดีอยู่ภายใน หลุดพ้นดีแล้ว ทั้งรู้ ธรรมารมณ์ที่ไม่น่าชอบใจทางใจแล้ว ก็ไม่เสียใจ ไม่โกรธ ไม่หดหู่ ไม่พยาบาท กายของเขาตั้งมั่น จิตก็ตั้งมั่น ดำรงดีอยู่ภายใน หลุดพ้นดีแล้ว เห็นรูปทางตาแล้ว กายของเขาก็ตั้งมั่นในรูปที่ชอบใจและไม่ชอบใจ จิตก็ตั้งมั่น ดำรงดีอยู่ภายใน หลุดพ้นดีแล้ว ฟังเสียงทางหูแล้ว ... ดมกลิ่นทางจมูก ... ลิ้มรส ทางลิ้น ... ถูกต้องโผฏฐัพพะทางกาย ... รู้ธรรมารมณ์ทางใจแล้ว ก็มีกายตั้งมั่นใน ธรรมารมณ์ทั้งที่ชอบใจและไม่ชอบใจ จิตก็ตั้งมั่น ดำรงดีอยู่ภายใน หลุดพ้นดีแล้ว เห็นรูปทางตาแล้ว ก็ไม่กำหนัดในรูปที่ชวนให้กำหนัด ไม่ขัดเคืองในรูปที่ชวน ให้ขัดเคือง ไม่หลงในรูปที่ชวนให้หลง ไม่โกรธในรูปที่ชวนให้โกรธ ไม่เศร้าหมองใน รูปที่ชวนให้เศร้าหมอง ไม่มัวเมาในรูปที่ชวนให้มัวเมา ได้ยินเสียงทางหู ... ดมกลิ่น ทางจมูก ... ลิ้มรสทางลิ้น ... ถูกต้องโผฏฐัพพะทางกาย ... รู้ธรรมารมณ์ทางใจแล้ว ก็ไม่กำหนัดในธรรมารมณ์ที่ชวนให้กำหนัด ไม่ขัดเคืองในธรรมารมณ์ที่ชวนให้ ขัดเคือง ไม่หลงในธรรมารมณ์ที่ชวนให้หลง ไม่โกรธในธรรมารมณ์ที่ชวนให้โกรธ ไม่เศร้าหมองในธรรมารมณ์ที่ชวนให้เศร้าหมอง ไม่มัวเมาในธรรมารมณ์ที่ชวนให้ มัวเมา เมื่อเห็น ก็เป็นเพียงเห็น เมื่อได้ยิน ก็เป็นเพียงได้ยิน เมื่อรับรู้ กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ก็เป็นเพียงรับรู้ เมื่อรู้แจ้งธรรมารมณ์ ก็เป็นเพียงรู้แจ้ง ไม่ติดในรูป ที่เห็น ไม่ติดในเสียงที่ได้ยิน ไม่ติดในกลิ่น ไม่ติดในรส ไม่ติดในสัมผัสที่รับรู้ ไม่ติด ในธรรมารมณ์ที่รู้แจ้งแล้ว ไม่มีตัณหา ไม่มีใจประทุษร้าย ตัณหาและทิฏฐิไม่อาศัย ไม่พัวพัน พ้นขาด ไม่เกี่ยวข้องในรูปที่เห็น เสียงที่ได้ยิน กลิ่น รส โผฏฐัพพะที่รับรู้ และธรรมารมณ์ที่รู้แจ้ง มีใจเป็นอิสระ(จากกิเลส)อยู่ พระอรหันต์ก็มีตา เห็นรูปทางตา แต่พระอรหันต์ไม่มีความกำหนัดเพราะพอใจ พระอรหันต์จึงมีจิตหลุดพ้นดีแล้ว พระอรหันต์ก็มีหู ได้ยินเสียงทางหู แต่พระอรหันต์ ไม่มีความกำหนัดเพราะพอใจ พระอรหันต์จึงมีจิตหลุดพ้นดีแล้ว พระอรหันต์ก็มีจมูก ได้กลิ่นทางจมูก แต่พระอรหันต์ไม่มีความกำหนัดเพราะพอใจ พระอรหันต์จึงมีจิต หลุดพ้นดีแล้ว พระอรหันต์ก็มีลิ้น ลิ้มรสทางลิ้น แต่พระอรหันต์ไม่มีความกำหนัด เพราะพอใจ พระอรหันต์จึงมีจิตหลุดพ้นดีแล้ว พระอรหันต์ก็มีกายถูกต้องโผฏฐัพพะ ทางกาย แต่พระอรหันต์ไม่มีความกำหนัดเพราะพอใจ พระอรหันต์จึงมีจิตหลุดพ้นดี แล้ว พระอรหันต์ก็มีใจ รู้ธรรมารมณ์ทางใจ แต่พระอรหันต์ไม่มีความกำหนัด เพราะพอใจ พระอรหันต์จึงมีจิตหลุดพ้นดีแล้ว {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า : ๒๘๑}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค]

๑๐. ปุราเภทสุตตนิทเทส

ตาชอบรูป ยินดีในรูป ชื่นชมในรูป พระอรหันต์ฝึก คุ้มครอง รักษา สำรวมตา และแสดงธรรมเพื่อสำรวมตานั้น หูชอบเสียง ... จมูกชอบกลิ่น ... ลิ้นชอบรส ... กายชอบโผฏฐัพพะ ... ใจชอบธรรมารมณ์ ยินดีในธรรมารมณ์ ชื่นชมในธรรมารมณ์ พระอรหันต์ฝึก คุ้มครอง รักษา สำรวมใจ และแสดงธรรม เพื่อสำรวมใจนั้น (สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า) คนทั้งหลายนำสัตว์พาหนะที่ฝึกแล้วไปสู่ที่ประชุม พระราชาย่อมทรงราชพาหนะที่ฝึกแล้ว ในหมู่มนุษย์ คนที่ฝึกแล้ว ซึ่งอดกลั้นต่อคำล่วงเกินได้ ประเสริฐสุด ม้าอัสดร ม้าอาชาไนย ม้าสินธพ ช้างใหญ่ ที่ได้รับการฝึกหัดแล้ว ประเสริฐ แต่คนที่ฝึกหัดแล้ว ประเสริฐกว่าสัตว์พาหนะเหล่านั้น เพราะใครก็ไปถึงนิพพานอันเป็นทิศที่ไม่เคยไป ด้วยยานพาหนะเหล่านั้นไม่ได้ เหมือนบุคคลผู้ฝึกแล้ว มีตนฝึกหัดแล้วอย่างดี ไปถึงได้๑- พระอรหันต์ทั้งหลาย หลุดพ้นจากภพใหม่แล้ว บรรลุถึงภูมิที่ฝึกแล้ว ย่อมไม่หวั่นไหวในมานะทั้งหลาย ท่านเป็นผู้ชนะแล้วในโลก๒- ผู้ใดอบรมอินทรีย์แล้วในโลกทั้งปวง ทั้งภายในและภายนอก ผู้นั้นเป็นผู้อบรมแล้ว ฝึกดีแล้ว รู้ชัดทั้งโลกนี้และปรโลก รอคอยอยู่แต่เวลาเท่านั้น๓- @เชิงอรรถ : @ ขุ.ธ. ๒๕/๓๒๑-๓๒๓/๗๒ @ สํ.ข. ๑๗/๗๖/๖๘ @ ขุ.สุ. ๒๕/๕๒๒/๔๓๕ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า : ๒๘๒}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค]

๑๐. ปุราเภทสุตตนิทเทส

คำว่า บุคคลเป็นผู้วางเฉย ... ทุกเมื่อ อธิบายว่า ทุกเมื่อ คือ ในกาลทั้งปวง ตลอดกาลทั้งปวง ตลอดกาลเป็นนิจ ตลอดกาลยั่งยืน ... ปัจฉิมวัย คำว่า มีสติ อธิบายว่า มีสติด้วยเหตุ ๔ อย่าง คือ ๑. ชื่อว่ามีสติ เมื่อเจริญสติปัฏฐานพิจารณากายในกาย ๒. ชื่อว่ามีสติ เมื่อเจริญสติปัฏฐานพิจารณาเวทนาในเวทนาทั้งหลาย ๓. ชื่อว่ามีสติ เมื่อเจริญสติปัฏฐานพิจารณาจิตในจิต ๔. ชื่อว่ามีสติ เมื่อเจริญสติปัฏฐานพิจารณาธรรมในธรรมทั้งหลาย ผู้นั้นพระผู้มีพระภาคตรัสเรียกว่า มีสติ รวมความว่า บุคคลเป็นผู้วางเฉย มีสติทุกเมื่อ คำว่า ไม่สำคัญว่าเสมอเขา ... ในโลก อธิบายว่า ไม่ให้เกิดความถือตัวเพราะ ชาติ เพราะโคตร ... หรือเพราะสิ่งอื่นนอกจากที่กล่าวแล้วว่า “เราเป็นผู้เสมอเขา” รวมความว่า ไม่สำคัญว่าเสมอเขา ... ในโลก คำว่า ไม่สำคัญว่าเลิศกว่าเขา ไม่สำคัญว่าด้อยกว่าเขา อธิบายว่า ไม่ให้เกิด ความดูหมิ่น เพราะชาติ เพราะโคตร ... หรือเพราะสิ่งอื่นนอกจากที่กล่าวแล้วว่า “เราเลิศกว่าเขา” ไม่ให้เกิดความถือตัว เพราะชาติ เพราะโคตร ... หรือเพราะสิ่งอื่น นอกจากที่กล่าวแล้วว่า “เราด้อยกว่าเขา” รวมความว่า ไม่สำคัญว่าเลิศกว่าเขา ไม่สำคัญว่าด้อยกว่าเขา
ว่าด้วยกิเลสหนา ๗ อย่าง
คำว่า บุคคลนั้น ในคำว่า กิเลสหนาย่อมไม่มีแก่บุคคลนั้น ได้แก่ พระอรหันตขีณาสพ คำว่า กิเลสหนา ได้แก่ กิเลสหนา ๗ อย่าง คือ ๑. กิเลสหนาคือราคะ ๒. กิเลสหนาคือโทสะ ๓. กิเลสหนาคือโมหะ ๔. กิเลสหนาคือมานะ ๕. กิเลสหนาคือทิฏฐิ ๖. กิเลสหนาคือกิเลส ๗. กิเลสหนาคือกรรม {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า : ๒๘๓}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค]

๑๐. ปุราเภทสุตตนิทเทส

กิเลสหนาเหล่านั้นไม่มี ไม่มีอยู่ คือ ไม่ปรากฏ หาไม่ได้แก่พระอรหันต์นั้น คือ กิเลสหนาเหล่านั้นพระอรหันต์ละได้แล้ว ตัดขาดได้แล้ว ทำให้สงบได้แล้ว ระงับ ได้แล้ว ทำให้เกิดขึ้นไม่ได้อีก เผาด้วยไฟคือญาณแล้ว รวมความว่า กิเลสหนาย่อม ไม่มีแก่บุคคลนั้น ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า บุคคลเป็นผู้วางเฉย มีสติทุกเมื่อ ไม่สำคัญว่าเสมอเขา ไม่สำคัญว่าเลิศกว่าเขา ไม่สำคัญว่าด้อยกว่าเขา ในโลก กิเลสหนาย่อมไม่มีแก่บุคคลนั้น [๙๑] (พระผู้มีพระภาคตรัสว่า) บุคคลใดไม่มีที่อาศัย ไม่มีตัณหาในภพหรือในวิภพ บุคคลนั้นรู้ธรรมแล้วไม่อาศัย
ว่าด้วยที่อาศัย
คำว่า บุคคลใด ในคำว่า บุคคลใดไม่มีที่อาศัย ได้แก่ พระอรหันตขีณาสพ คำว่า ที่อาศัย ได้แก่ ความอาศัย ๒ อย่าง คือ (๑) ความอาศัยด้วยอำนาจ ตัณหา (๒) ความอาศัยด้วยอำนาจทิฏฐิ ... นี้ชื่อว่าความอาศัยด้วยอำนาจตัณหา ... นี้ชื่อว่าความอาศัยด้วยอำนาจทิฏฐิ บุคคลนั้นละความอาศัยด้วยอำนาจตัณหาได้แล้ว สลัดทิ้งความอาศัยด้วย อำนาจทิฏฐิได้แล้ว เพราะเป็นผู้ละความอาศัยด้วยอำนาจตัณหา สลัดทิ้งความอาศัย ด้วยอำนาจทิฏฐิได้แล้ว บุคคลใด ไม่มี คือ ไม่มีอยู่ ไม่ปรากฏ หาไม่ได้ซึ่งที่อาศัย คือ ที่อาศัยนั้น บุคคลนั้นละได้แล้ว ตัดขาดได้แล้ว ทำให้สงบได้แล้ว ระงับได้แล้ว ทำให้เกิดขึ้นไม่ได้อีก เผาด้วยไฟคือญาณแล้ว รวมความว่า บุคคลใดไม่มีที่อาศัย คำว่า รู้แล้ว ในคำว่า รู้ธรรมแล้วไม่อาศัย อธิบายว่า รู้แล้ว คือ ทราบแล้ว เทียบเคียงแล้ว พิจารณาแล้ว ทำให้กระจ่างแล้ว ทำให้แจ่มแจ้งแล้วว่า “สังขาร {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า : ๒๘๔}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค]

๑๐. ปุราเภทสุตตนิทเทส

ทั้งปวงไม่เที่ยง ... สังขารทั้งปวงเป็นทุกข์ ... ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา” ... รู้แล้ว คือ ทราบแล้ว เทียบเคียงแล้ว พิจารณาแล้ว ทำให้กระจ่างแล้ว ทำให้แจ่มแจ้ง แล้วว่า “สิ่งใดสิ่งหนึ่ง มีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งหมดล้วนมีความดับไป เป็นธรรมดา” คำว่า ไม่อาศัย ได้แก่ ความอาศัย ๒ อย่าง คือ (๑) ความอาศัยด้วยอำนาจ ตัณหา (๒) ความอาศัยด้วยอำนาจทิฏฐิ ... นี้ชื่อว่าความอาศัยด้วยอำนาจตัณหา ... นี้ชื่อว่าความอาศัยด้วยอำนาจทิฏฐิ บุคคลนั้นละความอาศัยด้วยอำนาจตัณหาได้แล้ว สลัดทิ้งความอาศัยด้วย อำนาจทิฏฐิได้แล้ว ไม่อาศัยตา ... ไม่อาศัยหู ... ไม่อาศัยจมูก ... ไม่อาศัยลิ้น ... ไม่ อาศัยกาย ... ไม่อาศัยใจ ... คือ ไม่ติดแล้ว ไม่ติดแน่นแล้ว ไม่ติดพันแล้ว ไม่ติดใจแล้ว ออกแล้ว สลัดออกแล้ว หลุดพ้นแล้ว ไม่เกี่ยวข้องกับรูป ... เสียง ... กลิ่น ... รส ... โผฏฐัพพะ ... ธรรมารมณ์ ... ตระกูล ... หมู่คณะ ... อาวาส ... รูปที่เห็น เสียงที่ได้ยิน กลิ่น รส โผฏฐัพพะที่รับรู้ และธรรมารมณ์ที่พึงรู้แจ้ง มีใจเป็นอิสระ(จากกิเลส)อยู่ รวมความว่า รู้ธรรมแล้วไม่อาศัย
ว่าด้วยตัณหา
คำว่า ตัณหา ในคำว่า ไม่มีตัณหาในภพหรือในวิภพ ได้แก่ รูปตัณหา สัททตัณหา คันธตัณหา รสตัณหา โผฏฐัพพตัณหา ธัมมตัณหา คำว่า บุคคลใด ได้แก่ พระอรหันตขีณาสพ คำว่า ในภพ ได้แก่ ในภวทิฏฐิ คำว่า ในวิภพ ได้แก่ ในวิภวทิฏฐิ คำว่า ในภพ ได้แก่ ในสัสสตทิฏฐิ คำว่า ในวิภพ ได้แก่ ในอุจเฉททิฏฐิ คำว่า ในภพ อธิบายว่า ในภพต่อไป ในคติต่อไป ในการถือกำเนิดต่อไป ในปฏิสนธิต่อไป ในความบังเกิดของอัตภาพต่อไป {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า : ๒๘๕}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค]

๑๐. ปุราเภทสุตตนิทเทส

ตัณหาไม่มี คือ ไม่มีอยู่ ไม่ปรากฏ หาไม่ได้แก่บุคคลใด คือ ตัณหานั้น บุคคล นั้นละได้แล้ว ตัดขาดได้แล้ว ทำให้สงบได้แล้ว ระงับได้แล้ว ทำให้เกิดขึ้นไม่ได้อีก เผาด้วยไฟคือญาณแล้ว รวมความว่า ไม่มีตัณหาในภพหรือในวิภพ ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า บุคคลใดไม่มีที่อาศัย ไม่มีตัณหาในภพหรือในวิภพ บุคคลนั้นรู้ธรรมแล้วไม่อาศัย [๙๒] (พระผู้มีพระภาคตรัสว่า) เราเรียกบุคคลนั้น ผู้ไม่มุ่งหวังในกามทั้งหลายว่า เป็นผู้เข้าไปสงบ บุคคลนั้นไม่มีกิเลสเครื่องร้อยรัด ข้ามตัณหาที่ชื่อว่าวิสัตติกาได้แล้ว คำว่า เราเรียกบุคคลนั้น... เป็นผู้เข้าไปสงบ อธิบายว่า เราเรียกบุคคลนั้น คือ พูด บอก แสดง ชี้แจง บุคคลนั้นว่า เป็นผู้สงบ เข้าไปสงบ สงบเย็น คือ ดับแล้ว ระงับแล้ว รวมความว่า เราเรียกบุคคลนั้น... เป็นผู้เข้าไปสงบ คำว่า ผู้ไม่มุ่งหวังในกามทั้งหลาย อธิบายว่า คำว่า กาม ได้แก่ กาม ๒ อย่าง แบ่งตามหมวด คือ (๑) วัตถุกาม (๒) กิเลสกาม ... เหล่านี้ เรียกว่าวัตถุกาม ... เหล่านี้ เรียกว่ากิเลสกาม๑- บุคคลกำหนดรู้วัตถุกามแล้ว ละ คือ ละเว้น บรรเทา ทำให้หมดสิ้นไป ให้ถึงความไม่มีอีกซึ่งกิเลสกาม ชื่อว่าไม่มุ่งหวังในกามทั้งหลาย ได้แก่ เป็นผู้ คลายกามแล้ว สละกามแล้ว คายกามแล้ว ปล่อยกามแล้ว ละกามแล้ว สลัดทิ้งกาม แล้ว คือ เป็นผู้คลายความกำหนัดแล้ว สละราคะแล้ว คายราคะแล้ว ปล่อยราคะแล้ว ละราคะแล้ว สลัดทิ้งราคะแล้ว ในกามทั้งหลาย เป็นผู้หมดความอยากแล้ว เป็นผู้ ดับแล้ว เป็นผู้เย็นแล้ว มีตนอันประเสริฐเสวยสุขอยู่ รวมความว่า ผู้ไม่มุ่งหวัง ในกามทั้งหลาย @เชิงอรรถ : @ ดูรายละเอียดข้อ ๑/๑-๒ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า : ๒๘๖}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค]

๑๐. ปุราเภทสุตตนิทเทส

ว่าด้วยกิเลสเครื่องร้อยรัด ๔ อย่าง
คำว่า กิเลสเครื่องร้อยรัด ในคำว่า บุคคลนั้นไม่มีกิเลสเครื่องร้อยรัด อธิบายว่า กิเลสเครื่องร้อยรัด ๔ อย่าง คือ ๑. กิเลสเครื่องร้อยรัดกายคืออภิชฌา ๒. กิเลสเครื่องร้อยรัดกายคือพยาบาท ๓. กิเลสเครื่องร้อยรัดกายคือสีลัพพตปรามาส ๔. กิเลสเครื่องร้อยรัดกายคือความถือมั่นว่านี้เท่านั้นจริง ความกำหนัดในทิฏฐิของตน ชื่อว่ากิเลสเครื่องร้อยรัดกายคืออภิชฌา ความอาฆาต ความไม่พอใจในวาทะของผู้อื่น ชื่อว่ากิเลสเครื่องร้อยรัดกายคือ พยาบาท ความยึดมั่นศีล วัตร หรือศีลวัตรของตน ชื่อว่ากิเลสเครื่องร้อยรัดกายคือ สีลัพพตปรามาส ทิฏฐิของตน ชื่อว่ากิเลสเครื่องร้อยรัดกายคืออิทังสัจจาภินิเวส คำว่า บุคคลนั้น ได้แก่ พระอรหันตขีณาสพ คำว่า บุคคลนั้นไม่มีกิเลสเครื่องร้อยรัด อธิบายว่า บุคคลนั้นไม่มี ไม่มีอยู่ ไม่ปรากฏ หาไม่ได้ซึ่งกิเลสเครื่องร้อยรัด คือ กิเลสเครื่องร้อยรัดบุคคลนั้นละ ได้แล้ว ตัดขาดได้แล้ว ทำให้สงบได้แล้ว ระงับได้แล้ว ทำให้เกิดขึ้นไม่ได้อีก เผาด้วย ไฟคือญาณแล้ว รวมความว่า บุคคลนั้นไม่มีกิเลสเครื่องร้อยรัด
ว่าด้วยตัณหามีชื่อต่างๆ
คำว่า บุคคลนั้น... ข้ามตัณหาที่ชื่อว่าวิสัตติกาได้แล้ว อธิบายว่า ตัณหา ตรัสเรียกว่า วิสัตติกา คือ ความกำหนัด ความกำหนัดนัก ... อภิชฌา อกุศลมูล คือโลภะ๑- @เชิงอรรถ : @ ดูรายละเอียดข้อ ๓/๑๐-๑๑ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า : ๒๘๗}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค]

๑๐. ปุราเภทสุตตนิทเทส

คำว่า วิสัตติกา อธิบายว่า ตัณหาชื่อว่าวิสัตติกา เพราะมีความหมายอย่างไร ตัณหาชื่อว่าวิสัตติกา เพราะซ่านไป ชื่อว่าวิสัตติกา เพราะแผ่ไป ชื่อว่าวิสัตติกา เพราะกระจายไป ชื่อว่าวิสัตติกา เพราะไม่สม่ำเสมอ ชื่อว่าวิสัตติกา เพราะครอบงำ ชื่อว่าวิสัตติกา เพราะสะท้อนไป ชื่อว่าวิสัตติกา เพราะเป็นตัวการให้พูดผิด ชื่อว่า วิสัตติกา เพราะมีรากเป็นพิษ ชื่อว่าวิสัตติกา เพราะมีผลเป็นพิษ ชื่อว่าวิสัตติกา เพราะเป็นตัวการให้บริโภคสิ่งมีพิษ อีกนัยหนึ่ง ตัณหานั้นซ่านไป แผ่ไป ขยายไปในรูป ... เสียง ... กลิ่น ... รส ... โผฏฐัพพะ ... ตระกูล ... หมู่คณะ ... อาวาส ... ซ่านไป แผ่ไป ขยายไปในรูปที่เห็น เสียงที่ได้ยิน กลิ่น รส โผฏฐัพพะที่รับรู้ และธรรมารมณ์ที่พึงรู้แจ้ง รวมความว่า ตัณหาที่ชื่อว่าวิสัตติกา คำว่า บุคคลนั้นข้ามตัณหาที่ชื่อว่าวิสัตติกาได้แล้ว อธิบายว่า บุคคลนั้น ข้ามได้แล้ว คือ ข้ามไปได้แล้ว ข้ามพ้นแล้ว ก้าวล่วงแล้ว ล่วงเลยแล้วซึ่งตัณหา ที่ชื่อว่าวิสัตติกานี้ รวมความว่า บุคคลนั้นข้ามตัณหาที่ชื่อว่าวิสัตติกาได้แล้ว ด้วย เหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า เราเรียกบุคคลนั้น ผู้ไม่มุ่งหวังในกามทั้งหลายว่า เป็นผู้เข้าไปสงบ บุคคลนั้นไม่มีกิเลสเครื่องร้อยรัด ข้ามตัณหาที่ชื่อว่าวิสัตติกาได้แล้ว [๙๓] (พระผู้มีพระภาคตรัสว่า) บุคคลนั้นไม่มีบุตร สัตว์เลี้ยง นาไร่และที่ดิน ทิฏฐิว่ามีอัตตา หรือทิฏฐิว่าไม่มีอัตตา หาไม่ได้ในบุคคลนั้น
ว่าด้วยบุตรเป็นต้น
คำว่า ไม่ ในคำว่า บุคคลนั้น ไม่มีบุตร สัตว์เลี้ยง นาไร่และที่ดิน เป็นคำ ปฏิเสธ คำว่า บุคคลนั้น ได้แก่ พระอรหันตขีณาสพ คำว่า บุตร ได้แก่ บุตร ๔ จำพวก คือ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า : ๒๘๘}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค]

๑๐. ปุราเภทสุตตนิทเทส

๑. บุตรเกิดจากตน ๒. บุตรเกิดในเขต ๓. บุตรที่เขาให้ ๔. บุตรที่อยู่ในสำนัก คำว่า สัตว์เลี้ยง ได้แก่ แพะ แกะ ไก่ สุกร ช้าง โค ม้า และลา คำว่า นาไร่ ได้แก่ นาข้าวสาลี นาข้าวเจ้า ไร่ถั่วเขียว ไร่ถั่วราชมาศ นาข้าวเหนียว นาข้าวละมาน ไร่งา คำว่า ที่ดิน ได้แก่ ที่ปลูกเรือน ที่สร้างยุ้งฉาง ที่หน้าเรือน ที่หลังเรือน ที่สวน ที่อยู่ คำว่า บุคคลนั้น ไม่มีบุตร สัตว์เลี้ยง นาไร่และที่ดิน อธิบายว่า บุคคลนั้น ไม่มี คือ ไม่มีอยู่ ไม่ปรากฏ หาไม่ได้ซึ่งความยึดถือว่ามีบุตร ความยึดถือว่า มีสัตว์เลี้ยง ความยึดถือว่ามีนาไร่ ความยึดถือว่ามีที่ดิน คือ ความยึดถือว่า มีบุตรเป็นต้น เขาละได้แล้ว ตัดขาดได้แล้ว ทำให้สงบได้แล้ว ระงับได้แล้ว ทำให้เกิดขึ้นไม่ได้อีก เผาด้วยไฟคือญาณแล้ว รวมความว่า บุคคลนั้น ไม่มีบุตร สัตว์เลี้ยง นาไร่และที่ดิน
ว่าด้วยทิฏฐิ
คำว่า ทิฏฐิว่ามีอัตตา ในคำว่า ทิฏฐิว่ามีอัตตา หรือทิฏฐิว่าไม่มีอัตตา หาไม่ได้ในบุคคลนั้น ได้แก่ ไม่มีสัสสตทิฏฐิ คำว่า ทิฏฐิว่าไม่มีอัตตา ได้แก่ ไม่มีอุจเฉททิฏฐิ คำว่า ทิฏฐิว่ามีอัตตา ได้แก่ ไม่มีสิ่งที่ยึดถือ คำว่า ทิฏฐิว่าไม่มีอัตตา ได้แก่ ไม่มีสิ่งที่พึงปล่อยวาง อธิบายว่า สิ่งที่ยึดถือ ไม่มีแก่บุคคลใด สิ่งที่พึงปล่อยวางก็ไม่มีแก่บุคคลนั้น สิ่งที่พึงปล่อยวางไม่มีแก่ บุคคลใด สิ่งที่ยึดถือก็ไม่มีแก่บุคคลนั้น บุคคลนั้นผู้เป็นพระอรหันต์ ก้าวพ้นการ ยึดถือ และการปล่อยวางแล้ว ล่วงพ้นความเจริญและความเสื่อมแล้ว บุคคลนั้น อยู่ใน(อริยวาสธรรม)แล้ว ประพฤติจรณธรรมแล้ว ... บุคคลนั้น ไม่มีการเวียนเกิด เวียนตาย และภพใหม่ก็ไม่มีอีก รวมความว่า ทิฏฐิว่ามีอัตตา หรือทิฏฐิว่าไม่มีอัตตา หาไม่ได้ในบุคคลนั้น ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า บุคคลนั้น ไม่มีบุตร สัตว์เลี้ยง นาไร่และที่ดิน ทิฏฐิว่ามีอัตตา หรือทิฏฐิว่าไม่มีอัตตา หาไม่ได้ในบุคคลนั้น {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า : ๒๘๙}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค]

๑๐. ปุราเภทสุตตนิทเทส

[๙๔] (พระผู้มีพระภาคตรัสว่า) เหล่าปุถุชนหรือสมณพราหมณ์ พึงกล่าวหาบุคคลนั้นด้วยโทษใด โทษนั้นไม่เชิดชูบุคคลนั้นเลย เพราะฉะนั้น บุคคลนั้นจึงไม่หวั่นไหวในเพราะวาทะทั้งหลาย คำว่า เหล่าปุถุชน ในคำว่า เหล่าปุถุชนหรือสมณพราหมณ์พึงกล่าวหา บุคคลนั้นด้วยโทษใด อธิบายว่า ชื่อว่าปุถุชน เพราะมีความหมายว่าอย่างไร ชื่อว่าปุถุชน เพราะให้กิเลสหยาบเกิดขึ้น ชื่อว่าปุถุชน เพราะมีสักกายทิฏฐิ อันหนาแน่นยังละไม่ได้ ชื่อว่าปุถุชน เพราะปฏิญญาต่อหน้าศาสดาหลายองค์ ชื่อว่าปุถุชน เพราะถูกคติทุกอย่างร้อยรัดไว้มาก ชื่อว่าปุถุชน เพราะปรุงแต่ง อภิสังขารต่างๆ เป็นอันมาก ชื่อว่าปุถุชน เพราะถูกโอฆะกิเลสต่างๆ เป็นอันมาก พัดพาไป ชื่อว่าปุถุชน เพราะเดือดร้อนด้วยความเดือดร้อนต่างๆ เป็นอันมาก ชื่อว่าปุถุชน เพราะถูกความเร่าร้อนต่างๆ เป็นอันมากแผดเผา ชื่อว่าปุถุชน เพราะ กำหนัด ยินดี ติดใจ สยบ หมกมุ่น เกาะติด เกี่ยวพัน พัวพันในกามคุณ ๕ เป็น อันมาก ชื่อว่าปุถุชน เพราะถูกนิวรณ์ ๕ เป็นอันมาก หุ้มห่อ โอบล้อม ห้อมล้อม ครอบคลุม ปกคลุม บดบัง คำว่า สมณะ ได้แก่ คนพวกหนึ่ง เป็นผู้เข้าถึง สมบูรณ์ด้วยการบวชภายนอก ศาสนานี้ คำว่า พราหมณ์ ได้แก่ คนพวกหนึ่ง ผู้อ้างตัวว่าเป็นผู้เจริญ คำว่า เหล่าปุถุชน หรือสมณพราหมณ์พึงกล่าวหาบุคคลนั้นด้วยโทษใด อธิบายว่า เหล่าปุถุชน พึงกล่าวหาบุคคลนั้นด้วยราคะ โทสะ โมหะ มานะ ทิฏฐิ อุทธัจจะ วิจิกิจฉา อนุสัย ใดๆ ว่า “เป็นผู้กำหนัด เป็นผู้ขัดเคือง เป็นผู้หลง เป็นผู้ ยึดติด เป็นผู้ยึดมั่น เป็นผู้ฟุ้งซ่าน เป็นผู้ลังเล หรือเป็นผู้ตกอยู่ในพลังกิเลส” บุคคลนั้นละอภิสังขารเหล่านั้นได้แล้ว เพราะละอภิสังขารได้แล้ว เหล่าปุถุชน พึงกล่าวหาบุคคลนั้นโดยคติใดว่า “เป็นผู้เกิดในนรก เป็นผู้เกิดในกำเนิดเดรัจฉาน เป็นผู้เกิดในเปตวิสัย เป็นมนุษย์ เป็นเทพ เป็นผู้มีรูป เป็นผู้ไม่มีรูป เป็นผู้มีสัญญา {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า : ๒๙๐}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค]

๑๐. ปุราเภทสุตตนิทเทส

เป็นผู้ไม่มีสัญญา หรือเป็นผู้มีสัญญาก็มิใช่ ไม่มีสัญญาก็มิใช่” บุคคลนั้นไม่มีเหตุ ไม่มีปัจจัย ไม่มีการณ์ ที่จะให้ปุถุชนเป็นต้นกล่าวหา พูดถึง เอ่ยถึง แสดงถึง ชี้แจง ถึงได้เลย รวมความว่า เหล่าปุถุชนหรือสมณพราหมณ์พึงกล่าวหาบุคคลนั้นด้วย โทษใด
ว่าด้วยการเชิดชู ๒ อย่าง
คำว่า บุคคลนั้น ในคำว่า โทษนั้นไม่เชิดชูบุคคลนั้นเลย ได้แก่ พระอรหันตขีณาสพ คำว่า เชิดชู อธิบายว่า การเชิดชู ๒ อย่าง คือ ๑. การเชิดชูด้วยอำนาจตัณหา ๒. การเชิดชูด้วยอำนาจทิฏฐิ ... นี้ชื่อว่าการเชิดชูด้วยอำนาจตัณหา ... นี้ชื่อว่าการเชิดชูด้วยอำนาจทิฏฐิ๑- บุคคลนั้นละการเชิดชูด้วยอำนาจตัณหาได้แล้ว สลัดทิ้งการเชิดชูด้วยอำนาจ ทิฏฐิได้แล้ว เพราะเป็นผู้ละการเชิดชูด้วยอำนาจตัณหา สลัดทิ้งการเชิดชูด้วยอำนาจ ทิฏฐิได้แล้ว บุคคลนั้นจึงไม่เที่ยวเชิดชูตัณหาหรือทิฏฐิไว้ คือ ไม่มีตัณหาเป็นธงชัย ไม่มีตัณหาเป็นยอดธง ไม่มีตัณหาเป็นใหญ่ ไม่มีทิฏฐิเป็นธงชัย ไม่มีทิฏฐิเป็นยอดธง ไม่มีทิฏฐิเป็นใหญ่ ไม่ได้ถูกตัณหาหรือทิฏฐิครอบงำเที่ยวไป รวมความว่า โทษนั้น ไม่เชิดชูบุคคลนั้นเลย คำว่า เพราะฉะนั้น ในคำว่า เพราะฉะนั้น บุคคลจึงไม่หวั่นไหวในเพราะ วาทะทั้งหลาย อธิบายว่า เพราะฉะนั้น คือ เพราะการณ์นั้น เพราะเหตุนั้น เพราะปัจจัยนั้น เพราะต้นเหตุนั้น บุคคลนั้นย่อมไม่หวั่นไหว คือ ไม่โยก ไม่โคลง ไม่กระเพื่อม ไม่สั่น ไม่สะท้าน ไม่สะเทือน ในเพราะวาทะ คือ ในเพราะการว่าร้าย นินทา ติเตียน ไม่สรรเสริญ ไม่ยกย่องความดี รวมความว่า เพราะฉะนั้น บุคคลนั้น จึงไม่หวั่นไหวในเพราะวาทะทั้งหลาย ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า เหล่าปุถุชนหรือสมณพราหมณ์ พึงกล่าวหาบุคคลนั้นด้วยโทษใด โทษนั้นไม่เชิดชูบุคคลนั้นเลย เพราะฉะนั้น บุคคลนั้นจึงไม่หวั่นไหวในเพราะวาทะทั้งหลาย @เชิงอรรถ : @ เทียบกับความในข้อ ๑๒/๕๘-๕๙ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า : ๒๙๑}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค]

๑๐. ปุราเภทสุตตนิทเทส

[๙๕] (พระผู้มีพระภาคตรัสว่า) บุคคลผู้เป็นมุนี เป็นผู้คลายความยินดี ไม่ตระหนี่ ย่อมไม่กล่าวในเรื่องเลิศกว่าเขา ไม่กล่าวในเรื่องเสมอเขา ไม่กล่าวในเรื่องด้อยกว่าเขา เป็นผู้ไม่มีความกำหนด ย่อมไม่ถึงความกำหนด คำว่า เป็นผู้คลายความยินดี ไม่ตระหนี่ อธิบายว่า ตัณหา ตรัสเรียกว่า ความยินดี คือ ความกำหนัด ความกำหนัดนัก ... อภิชฌา อกุศลมูลคือโลภะ ความยินดีนั้น บุคคลใดละได้แล้ว ตัดขาดได้แล้ว ทำให้สงบได้แล้ว ระงับได้แล้ว ทำให้เกิดขึ้นไม่ได้อีก เผาด้วยไฟคือญาณแล้ว บุคคลนั้นตรัสเรียกว่า ผู้คลายความ ยินดี คือ ผู้นั้นไม่ยินดี ไม่ติดใจ ไม่สยบ ไม่หมกมุ่นในรูป ... ในรูปที่เห็น เสียงที่ ได้ยิน กลิ่น รส โผฏฐัพพะที่รับรู้ และธรรมารมณ์ที่พึงรู้แจ้ง ได้แก่ เป็นผู้คลาย ความยินดีแล้ว คือ ปราศจากความยินดีแล้ว สละความยินดีแล้ว คายความ ยินดีแล้ว ปล่อยความยินดี ละความยินดีแล้ว สลัดทิ้งความยินดีแล้ว เป็นผู้หมด ความอยากแล้ว เป็นผู้ดับแล้ว เป็นผู้เย็นแล้ว มีตนอันประเสริฐเสวยสุขอยู่ รวม ความว่า เป็นผู้คลายความยินดี คำว่า ไม่ตระหนี่ อธิบายว่า คำว่า ความตระหนี่ ได้แก่ มัจฉริยะ ๕ อย่าง คือ ๑. อาวาสมัจฉริยะ ๒. กุลมัจฉริยะ ๓. ลาภมัจฉริยะ ๔. วัณณมัจฉริยะ ๕. ธัมมมัจฉริยะ ความตระหนี่ ... ความมุ่งแต่จะได้เห็นปานนี้ นี้ตรัสเรียกว่า ความตระหนี่ ความตระหนี่นั้นบุคคลใดละได้แล้ว ตัดขาดได้แล้ว ทำให้สงบได้แล้ว ระงับได้แล้ว ทำให้เกิดขึ้นไม่ได้อีก เผาด้วยไฟคือญาณแล้ว บุคคลนั้นตรัสเรียกว่า ผู้ไม่ตระหนี่ รวมความว่า เป็นผู้คลายความยินดี ไม่ตระหนี่ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า : ๒๙๒}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค]

๑๐. ปุราเภทสุตตนิทเทส

คำว่า มุนี ในคำว่า บุคคลผู้เป็นมุนี ... ย่อมไม่กล่าวในเรื่องเลิศกว่าเขา ไม่กล่าวในเรื่องเสมอเขา ไม่กล่าวในเรื่องด้อยกว่าเขา อธิบายว่า ญาณ ท่าน เรียกว่า โมนะ ... ผู้ก้าวล่วงกิเลสเป็นเครื่องข้องและตัณหาดุจตาข่ายได้แล้ว ชื่อว่ามุนี๑- บุคคลผู้เป็นมุนีย่อมไม่กล่าว คือ ไม่พูด ไม่บอก ไม่แสดง ไม่ชี้แจงว่า “เราเลิศ กว่าเขา เราเสมอเขา หรือเราด้อยกว่าเขา” รวมความว่า บุคคลผู้เป็นมุนี ... ย่อมไม่ กล่าวในเรื่องเลิศกว่าเขา ไม่กล่าวในเรื่องเสมอเขา ไม่กล่าวในเรื่องด้อยกว่าเขา
ว่าด้วยการกำหนด ๒ อย่าง
คำว่า เป็นผู้ไม่มีความกำหนด ย่อมไม่ถึงความกำหนด อธิบายว่า คำว่า ความกำหนด ได้แก่ ความกำหนด ๒ อย่าง คือ ๑. ความกำหนดด้วยอำนาจตัณหา ๒. ความกำหนดด้วยอำนาจทิฏฐิ ... นี้ชื่อว่าความกำหนดด้วยอำนาจตัณหา ... นี้ชื่อว่าความกำหนดด้วยอำนาจทิฏฐิ๒- บุคคลนั้นละความกำหนดด้วยอำนาจตัณหาได้แล้ว สลัดทิ้งความกำหนัดด้วย อำนาจทิฏฐิได้แล้ว เพราะเป็นผู้ละความกำหนดด้วยอำนาจตัณหา สลัดทิ้งความ กำหนัดด้วยอำนาจทิฏฐิได้แล้ว จึงไม่ถึง คือ ไม่เข้าถึง ไม่เข้าไปถึง ไม่ถือ ไม่ยึดมั่น ไม่ถือมั่นความกำหนดด้วยอำนาจตัณหา หรือความกำหนดด้วยอำนาจทิฏฐิ รวม ความว่า ย่อมไม่ถึงความกำหนด คำว่า เป็นผู้ไม่มีความกำหนด อธิบายว่า คำว่า ความกำหนด ได้แก่ ความกำหนด ๒ อย่าง คือ ๑. ความกำหนดด้วยอำนาจตัณหา ๒. ความกำหนดด้วยอำนาจทิฏฐิ ... นี้ชื่อว่าความกำหนดด้วยอำนาจตัณหา ... นี้ชื่อว่าความกำหนดด้วยอำนาจทิฏฐิ๓- @เชิงอรรถ : @ ดูรายละเอียดข้อ ๑๔/๖๘-๗๑ @ เทียบกับความในข้อ ๑๒/๕๘-๕๙ @ เทียบกับความในข้อ ๑๒/๕๘-๕๙ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า : ๒๙๓}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค]

๑๐. ปุราเภทสุตตนิทเทส

บุคคลนั้นละความกำหนดด้วยอำนาจตัณหาได้แล้ว สลัดทิ้งความกำหนดด้วย อำนาจทิฏฐิได้แล้ว เพราะเป็นผู้ละความกำหนดด้วยอำนาจตัณหา สลัดทิ้งความ กำหนดด้วยอำนาจทิฏฐิได้แล้ว จึงไม่กำหนด คือ ไม่ให้เกิด ไม่ให้เกิดขึ้น ไม่ให้ บังเกิด ไม่ให้บังเกิดขึ้นซึ่งความกำหนดด้วยอำนาจตัณหาหรือความกำหนดด้วย อำนาจทิฏฐิ รวมความว่า เป็นผู้ไม่มีความกำหนด ย่อมไม่ถึงความกำหนด ด้วย เหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า บุคคลผู้เป็นมุนี เป็นผู้คลายความยินดี ไม่ตระหนี่ ย่อมไม่กล่าวในเรื่องเลิศกว่าเขา ไม่กล่าวในเรื่องเสมอเขา ไม่กล่าวในเรื่องด้อยกว่าเขา เป็นผู้ไม่มีความกำหนด ย่อมไม่ถึงความกำหนด [๙๖] (พระผู้มีพระภาคตรัสว่า) บุคคลใดไม่มีความถือว่าเป็นของตนในโลก เมื่อไม่มีความถือว่าเป็นของตน ย่อมไม่เศร้าโศก ไม่ถึงความลำเอียงในธรรมทั้งหลาย บุคคลนั้นแล เรียกว่า ผู้สงบ
ว่าด้วยผู้ไม่มีความถือว่าเป็นของตน
คำว่า บุคคลใด ในคำว่า บุคคลใด ไม่มีความถือว่าเป็นของตน ได้แก่ พระอรหันตขีณาสพ คำว่า ไม่มีความถือว่าเป็นของตนในโลก อธิบายว่า บุคคลใดไม่มีความถือ ความยึดมั่น ความถือมั่น ความติดใจ ความน้อมใจถึงรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณไรๆ ว่า นี้ของเรา หรือ สิ่งนี้ของผู้อื่น ความถือว่าเป็นของตน บุคคลนั้นละ ได้แล้ว ... เผาด้วยไฟคือญาณแล้ว รวมความว่า บุคคลใด ไม่มีความถือว่าเป็นของ ตนในโลก {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า : ๒๙๔}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค]

๑๐. ปุราเภทสุตตนิทเทส

ว่าด้วยผู้ไม่เศร้าโศก
คำว่า เมื่อไม่มีความถือว่าเป็นของตน ย่อมไม่เศร้าโศก อธิบายว่า ไม่เศร้า โศกถึงวัตถุที่แปรผันไป หรือเมื่อวัตถุแปรผันไปแล้วก็ไม่เศร้าโศก ย่อมไม่เศร้าโศก คือ ไม่ลำบาก ไม่คร่ำครวญ ไม่ตีอกพร่ำเพ้อ ไม่ถึงความหลงใหลว่า “ตาของเราแปรผันไป ... หูของเรา ... จมูกของเรา .... ลิ้นของเรา ... กายของเรา ... ใจของเรา ... รูปของเรา ... เสียงของเรา ... กลิ่นของเรา ... รสของเรา ... โผฏฐัพพะ ของเรา ... ตระกูลของเรา ... หมู่คณะของเรา ... อาวาสของเรา ... ลาภของเรา ... ยศของเรา ... สรรเสริญของเรา ... สุขของเรา ... จีวรของเรา ... บิณฑบาตของเรา ... เสนาสนะของเรา ...คิลานปัจจัยเภสัชบริขารของเรา ... มารดาของเรา ... บิดาของเรา ... พี่ชายน้องชายของเรา ... พี่สาวน้องสาวของเรา ... บุตรของเรา ... ธิดาของเรา ... มิตรและอำมาตย์ของเรา ... ญาติของเรา ... ย่อมไม่เศร้าโศก คือ ไม่ลำบากใจ ไม่คร่ำครวญ ไม่ตีอกพร่ำเพ้อ ไม่ถึงความหลงใหลว่า “ผู้ร่วมสายโลหิตของเรา แปรผันไป” รวมความว่า เมื่อไม่มีความถือว่าเป็นของตน ย่อมไม่เศร้าโศก อย่างนี้บ้าง อีกนัยหนึ่ง บุคคลใดถูกความไม่ยินดี คือ ทุกขเวทนากระทบ ครอบงำ กลุ้มรุม ประกอบ ย่อมไม่เศร้าโศก คือ ไม่ลำบาก ไม่คร่ำครวญ ไม่ตีอกพร่ำเพ้อ ไม่ถึงความหลงใหล ได้แก่ ถูกโรคทางตากระทบ ครอบงำ กลุ้มรุม ประกอบ ย่อม ไม่เศร้าโศก คือ ไม่ลำบาก ไม่คร่ำครวญ ไม่ตีอกพร่ำเพ้อ ไม่ถึงความหลงใหล ถูกโรคทางหู .... โรคทางจมูก ... โรคทางลิ้น ... โรคทางกาย ... โรคศีรษะ ... โรคหู ... โรคปาก ... โรคฟัน ... โรคไอ ... โรคหืด ... ไข้หวัด ... ไข้พิษ ... ไข้เชื่อมซึม ... โรคท้อง ... เป็นลมสลบ ... ลงแดง ... จุกเสียด ... อหิวาตกโรค ... โรคเรื้อน ... ฝี ... กลาก ... มองคร่อ ... ลมบ้าหมู ... หิดเปื่อย ... หิดด้าน ... หิด ... หูด ... โรคละลอก ... โรค ดีซ่าน ... โรคเบาหวาน ... โรคเริม ... โรคพุพอง ... โรคริดสีดวงทวาร ... ความเจ็บป่วย ที่เกิดจากดี ... ความเจ็บป่วยที่เกิดจากเสมหะ ... ความเจ็บป่วยที่เกิดจากลม ... ไข้ สันนิบาต ... ความเจ็บป่วยที่เกิดจากการเปลี่ยนฤดูกาล ... ความเจ็บป่วยที่เกิดจาก การผลัดเปลี่ยนอริยาบถไม่ได้ส่วนกัน ... ความเจ็บป่วยที่เกิดจากความพากเพียร เกินกำลัง ... ความเจ็บป่วยที่เกิดจากผลกรรม ... ความหนาว ... ความร้อน ... ความหิว ... ความกระหาย ... ปวดอุจจาระ ... ปวดปัสสาวะ ... ทุกข์ที่เกิดจาก สัมผัสแห่งเหลือบ ยุง ลม แดด และสัตว์เลื้อยคลานกระทบ ครอบงำ กลุ้มรุม ประกอบ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า : ๒๙๕}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค]

๑๐. ปุราเภทสุตตนิทเทส

ย่อมไม่เศร้าโศก คือ ไม่ลำบากใจ ไม่คร่ำครวญ ไม่ตีอกพร่ำเพ้อ ไม่ถึงความหลงใหล รวมความว่า เมื่อไม่มีความถือว่าเป็นของตน ย่อมไม่เศร้าโศก อย่างนี้บ้าง อีกนัยหนึ่ง เมื่อความถือว่าเป็นของตนไม่มีอยู่ ไม่ปรากฏ หาไม่ได้ ย่อมไม่ เศร้าโศก คือ ไม่ลำบากใจ ไม่ตีอกพร่ำเพ้อ ไม่ถึงความหลงใหลว่า “โอ เราไม่มีสิ่ง นั้นหนอ เราพึงมีสิ่งนั้นหนอ และเราไม่ได้สิ่งนั้นหนอ” รวมความว่า เมื่อไม่มีความ ถือว่าเป็นของตน ก็ย่อมไม่เศร้าโศก อย่างนี้บ้าง
ว่าด้วยผู้ไม่ลำเอียง
คำว่า ไม่ถึงความลำเอียงในธรรมทั้งหลาย อธิบายว่า ไม่ถึงฉันทาคติ ไม่ถึงโทสาคติ ไม่ถึงโมหาคติ ไม่ถึงภยาคติ คือ ไม่ดำเนินไปตามอำนาจราคะ ไม่ดำเนินไปตามอำนาจโทสะ ไม่ดำเนินไปตามอำนาจโมหะ ไม่ดำเนินไปตามอำนาจ มานะ ไม่ดำเนินไปตามอำนาจทิฏฐิ ไม่ดำเนินไปตามอำนาจอุทธัจจะ ไม่ดำเนินไป ตามอำนาจวิจิกิจฉา ไม่ดำเนินไปตามอำนาจอนุสัย ได้แก่ ไม่ไป ไม่ออกไป ไม่ถูก พาไป ไม่ถูกนำไป ด้วยธรรมที่ก่อความเป็นฝักเป็นฝ่าย รวมความว่า ไม่ถึงความ ลำเอียงในธรรมทั้งหลาย
ว่าด้วยผู้สงบ
คำว่า บุคคลนั้นแล เรียกว่า ผู้สงบ อธิบายว่า บุคคลนั้น เรียก คือ กล่าว พูด บอก แสดง ชี้แจงว่าผู้สงบ คือ เข้าไปสงบ สงบเย็น ดับ สงัด รวมความว่า ผู้นั้นแล เรียกว่า ผู้สงบ ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า บุคคลใดไม่มีความถือว่าเป็นของตนในโลก เมื่อไม่มีความถือว่าเป็นของตน ย่อมไม่เศร้าโศก ไม่ถึงความลำเอียงในธรรมทั้งหลาย บุคคลนั้นแล เรียกว่า ผู้สงบ
ปุราเภทสุตตนิทเทสที่ ๑๐ จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า : ๒๙๖}

             เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒๙ หน้าที่ ๒๗๕-๒๙๖. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=29&A=8205&w= http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=29&siri=10              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2], [3], [4], [5], [6], [7], [8].              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=29&A=4612&Z=5616&pagebreak=0              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=29&i=374              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลี อักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=29&item=374&items=68              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลี อักษรโรมัน :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=29&item=374&items=68              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๙ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu29

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจาก พระไตรปิฎก ฉบับมหาจุฬาฯ. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]