ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๔ พระอภิธรรมปิฎกเล่มที่ ๑ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ธรรมสังคณีปกรณ์

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๒. รูปกัณฑ์]

รูปวิภัตติ ทุกนิทเทส สุขุมรูปทุกะ

สุขุมรูปทุกะ
[๗๒๐] รูปที่เป็นกายวิญญัติ นั้นเป็นไฉน ความเข้มแข็ง กิริยาที่เข้มแข็งด้วยดี ภาวะที่เข้มแข็งด้วยดี การแสดงให้รู้ความ หมาย กิริยาที่แสดงให้รู้ความหมาย ภาวะที่แสดงให้รู้ความหมายแห่งกายของ บุคคลผู้มีจิตเป็นกุศล มีจิตเป็นอกุศล มีจิตเป็นอัพยากฤต ก้าวไปอยู่ ถอยกลับอยู่ แลดูอยู่ เหลียวดูอยู่ คู้เข้าอยู่ หรือเหยียดออกอยู่ รูปนี้ชื่อว่าเป็นกายวิญญัติ [๗๒๑] รูปที่ไม่เป็นกายวิญญัติ นั้นเป็นไฉน จักขายตนะ ฯลฯ กวฬิงการาหาร รูปนี้ชื่อว่าไม่เป็นกายวิญญัติ [๗๒๒] รูปที่เป็นวจีวิญญัติ นั้นเป็นไฉน การพูด การเปล่งวาจา การเจรจา การกล่าว การป่าวร้อง การโฆษณา วาจา วจีเภท แห่งบุคคลผู้มีจิตเป็นกุศล มีจิตเป็นอกุศล หรือมีจิตเป็นอัพยากฤต นี้เรียกว่า วาจา การแสดงให้รู้ความหมาย กิริยาที่แสดงให้รู้ความหมาย ภาวะที่ แสดงให้รู้ความหมายด้วยวาจานั้น รูปนี้ชื่อว่าเป็นวจีวิญญัติ [๗๒๓] รูปที่ไม่เป็นวจีวิญญัติ นั้นเป็นไฉน จักขายตนะ ฯลฯ กวฬิงการาหาร รูปนี้ชื่อว่าไม่เป็นวจีวิญญัติ [๗๒๔] รูปที่เป็นอากาสธาตุ นั้นเป็นไฉน อากาศ ธรรมชาติที่นับว่าอากาศ ความว่างเปล่า ธรรมชาติที่นับว่าความว่าง เปล่า ช่องว่าง ธรรมชาติที่นับว่าช่องว่างซึ่งมหาภูตรูป ๔ ถูกต้องไม่ได้ รูปนี้ชื่อว่า เป็นอากาสธาตุ๑- [๗๒๕] รูปที่ไม่เป็นอากาสธาตุ นั้นเป็นไฉน จักขายตนะ ฯลฯ กวฬิงการาหาร รูปนี้ชื่อว่าไม่เป็นอากาสธาตุ [๗๒๖] รูปที่เป็นอาโปธาตุ นั้นเป็นไฉน ความเอิบอาบ ธรรมชาติที่เอิบอาบ ความเหนียว ธรรมชาติที่เหนียว ธรรมชาติเป็นเครื่องเกาะกุมรูป รูปนี้ชื่อว่าเป็นอาโปธาตุ @เชิงอรรถ : @ อภิ.วิ. ๓๕/๑๗๗/๙๙ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า : ๒๑๗}

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๒. รูปกัณฑ์]

รูปวิภัตติ ทุกนิทเทส สุขุมรูปทุกะ

[๗๒๗] รูปที่ไม่เป็นอาโปธาตุ นั้นเป็นไฉน จักขายตนะ ฯลฯ กวฬิงการาหาร รูปนี้ชื่อว่าไม่เป็นอาโปธาตุ [๗๒๘] รูปที่เป็นลหุตารูป นั้นเป็นไฉน ความเบา ความรวดเร็ว ความไม่เชื่องช้า ความไม่หนักแห่งรูป รูปนี้ชื่อว่า เป็นลหุตารูป [๗๒๙] รูปที่ไม่เป็นลหุตารูป นั้นเป็นไฉน จักขายตนะ ฯลฯ กวฬิงการาหาร รูปนี้ชื่อว่าไม่เป็นลหุตารูป [๗๓๐] รูปที่เป็นมุทุตารูป นั้นเป็นไฉน ความอ่อน ภาวะที่อ่อน ความไม่แข็ง ความไม่กระด้างแห่งรูป รูปนี้ชื่อว่า เป็นมุทุตารูป [๗๓๑] รูปที่ไม่เป็นมุทุตารูป นั้นเป็นไฉน จักขายตนะ ฯลฯ กวฬิงการาหาร รูปนี้ชื่อว่าไม่เป็นมุทุตารูป [๗๓๒] รูปที่เป็นกัมมัญญตารูป นั้นเป็นไฉน ความควรแก่การงาน กิริยาที่ควรแก่การงาน ภาวะที่ควรแก่การงานแห่ง รูป รูปนี้ชื่อว่าเป็นกัมมัญญตารูป [๗๓๓] รูปที่ไม่เป็นกัมมัญญตารูป นั้นเป็นไฉน จักขายตนะ ฯลฯ กวฬิงการาหาร รูปนี้ชื่อว่าไม่เป็นกัมมัญญตารูป [๗๓๔] รูปที่เป็นอุปจยรูป นั้นเป็นไฉน ความแรกเกิดแห่งอายตนะ นั้นเป็นความเกิดขึ้นแห่งรูป รูปนี้ชื่อว่า เป็นอุปจยรูป [๗๓๕] รูปที่ไม่เป็นอุปจยรูป นั้นเป็นไฉน จักขายตนะ ฯลฯ กวฬิงการาหาร รูปนี้ชื่อว่าไม่เป็นอุปจยรูป [๗๓๖] รูปที่เป็นสันตติรูป นั้นเป็นไฉน ความเจริญแห่งรูป นั้นเป็นความสืบต่อแห่งรูป รูปนี้ชื่อว่าเป็นสันตติรูป {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า : ๒๑๘}

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๒. รูปกัณฑ์]

รูปวิภัตติ ทุกนิทเทส สุขุมรูปทุกะ

[๗๓๗] รูปที่ไม่เป็นสันตติรูป นั้นเป็นไฉน จักขายตนะ ฯลฯ กวฬิงการาหาร รูปนี้ชื่อว่าไม่เป็นสันตติรูป [๗๓๘] รูปที่เป็นชรตารูป นั้นเป็นไฉน ความชรา ความคร่ำคร่า ความมีฟันหลุด ความมีผมหงอก ความมีหนังเหี่ยว ความเสื่อมอายุ ความหง่อมแห่งอินทรีย์แห่งรูป รูปนี้ชื่อว่าเป็นชรตารูป [๗๓๙] รูปที่ไม่เป็นชรตารูป นั้นเป็นไฉน จักขายตนะ ฯลฯ กวฬิงการาหาร รูปนี้ชื่อว่าไม่เป็นชรตารูป [๗๔๐] รูปที่เป็นอนิจจตารูป นั้นเป็นไฉน ความสิ้นไป ความเสื่อมไป ความแตก ความทำลาย ความไม่เที่ยง ความ อันตรธานแห่งรูป รูปนี้ชื่อว่าเป็นอนิจจตารูป [๗๔๑] รูปที่ไม่เป็นอนิจจตารูป นั้นเป็นไฉน จักขายตนะ ฯลฯ กวฬิงการาหาร รูปนี้ชื่อว่าไม่เป็นอนิจจตารูป [๗๔๒] รูปที่เป็นกวฬิงการาหาร นั้นเป็นไฉน ข้าวสุก ขนมสด ขนมแห้ง ปลา เนื้อ นมสด เนยใส เนยข้น น้ำมัน น้ำผึ้ง น้ำอ้อย หรือรูปแม้อื่น มีอยู่ ที่พึงกินทางปากขบเคี้ยว กลืนกิน อิ่มท้อง ซึ่งมี โอชาเป็นเหตุให้สัตว์ในสถานที่นั้นๆ ดำรงชีพอยู่ได้ รูปนี้ชื่อว่าเป็นกวฬิงการาหาร [๗๔๓] รูปที่ไม่เป็นกวฬิงการาหาร นั้นเป็นไฉน จักขายตนะ ฯลฯ อนิจจตารูป รูปนี้ชื่อว่าไม่เป็นกวฬิงการาหาร
สุขุมรูปทุกะ จบ
รวมรูปหมวดละ ๒ อย่างนี้
ทุกนิทเทส จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า : ๒๑๙}

             เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๓๔ หน้าที่ ๒๑๗-๒๑๙. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=34&A=6230&w= http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=34&siri=51              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=34&A=4763&Z=5041&pagebreak=0              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=34&i=539              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลี อักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=34&item=539&items=49              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลี อักษรโรมัน :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=34&item=539&items=49              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๔ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu34

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจาก พระไตรปิฎก ฉบับมหาจุฬาฯ. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]