บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ | |
|
|
พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๒. รูปกัณฑ์]
รูปวิภัตติ ทุกนิทเทส ปกิณณกทุกะ
อนุปาทารูป [๖๔๖] รูปที่ไม่เป็นอุปาทายรูป นั้นเป็นไฉน โผฏฐัพพายตนะ และอาโปธาตุโผฏฐัพพายตนะ [๖๔๗] รูปที่เป็นโผฏฐัพพายตนะ นั้นเป็นไฉน ปฐวีธาตุ เตโชธาตุ วาโยธาตุ ที่แข็ง อ่อน ละเอียด หยาบ มีสัมผัสเป็นสุข มีสัมผัสเป็นทุกข์ หนัก เบา สัตว์นี้เคยถูกต้อง กำลังถูกต้อง จักถูกต้อง หรือพึง ถูกต้องโผฏฐัพพะใด ที่เห็นไม่ได้แต่กระทบได้ด้วยกายปสาทที่เห็นไม่ได้แต่กระทบได้ นี้ชื่อว่าโผฏฐัพพะบ้าง โผฏฐัพพายตนะบ้าง โผฏฐัพพธาตุบ้าง รูปนี้ชื่อว่าเป็น โผฏฐัพพายตนะ๑- [๖๔๘] รูปที่เป็นโผฏฐัพพายตนะ นั้นเป็นไฉน ปฐวีธาตุ เตโชธาตุ วาโยธาตุ ที่แข็ง อ่อน ละเอียด หยาบ มีสัมผัสเป็นสุข มี สัมผัสเป็นทุกข์ หนัก เบา กายที่เห็นไม่ได้แต่กระทบได้ เคยกระทบ กำลังกระทบ จักกระทบ หรือพึงกระทบ ที่โผฏฐัพพะใดที่เห็นไม่ได้แต่กระทบได้ นี้ชื่อว่าโผฏฐัพพะ บ้าง โผฏฐัพพายตนะบ้าง โผฏฐัพพธาตุบ้าง รูปนี้ชื่อว่าเป็นโผฏฐัพพายตนะ [๖๔๙] รูปที่เป็นโผฏฐัพพายตนะ นั้นเป็นไฉน ปฐวีธาตุ เตโชธาตุ วาโยธาตุ ที่แข็ง อ่อน ละเอียด หยาบ มีสัมผัสเป็นสุข มี สัมผัสเป็นทุกข์ หนัก เบา โผฏฐัพพะใดที่เห็นไม่ได้แต่กระทบได้ เคยกระทบ กำลังกระทบ จักกระทบ หรือพึงกระทบที่กายปสาทที่เห็นไม่ได้แต่กระทบได้ นี้ ชื่อว่าโผฏฐัพพะบ้าง โผฏฐัพพายตนะบ้าง โผฏฐัพพธาตุบ้าง รูปนี้ชื่อว่าเป็น โผฏฐัพพายตนะ [๖๕๐] รูปที่เป็นโผฏฐัพพายตนะ นั้นเป็นไฉน ปฐวีธาตุ เตโชธาตุ วาโยธาตุ ที่แข็ง อ่อน ละเอียด หยาบ มีสัมผัสเป็นสุข มี สัมผัสเป็นทุกข์ หนัก เบา เพราะปรารภโผฏฐัพพะใด กายสัมผัสอาศัยกายปสาทรูป @เชิงอรรถ : @๑ อภิ.วิ. ๓๕/๑๖๖/๘๔ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า : ๒๐๖}
พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๒. รูปกัณฑ์]
รูปวิภัตติ ทุกนิทเทส ปกิณณกทุกะ
เคยเกิด กำลังเกิด จักเกิด หรือพึงเกิด ฯลฯ เพราะปรารภโผฏฐัพพะใด เวทนาที่ เกิดแต่กายสัมผัส ฯลฯ สัญญา ฯลฯ เจตนา ฯลฯ กายวิญญาณ อาศัยกายปสาท เคยเกิด กำลังเกิด จักเกิด หรือพึงเกิด ฯลฯ กายสัมผัสมีโผฏฐัพพะใดเป็นอารมณ์ อาศัยกายปสาท เคยเกิด กำลังเกิด จักเกิด หรือพึงเกิด ฯลฯ เวทนาที่เกิดแต่กาย สัมผัส ฯลฯ สัญญา ฯลฯ เจตนา ฯลฯ กายวิญญาณมีโผฏฐัพพะใดเป็นอารมณ์ อาศัยกายปสาท เคยเกิด กำลังเกิด จักเกิด หรือพึงเกิด นี้ชื่อว่าโผฏฐัพพะบ้าง โผฏฐัพพายตนะบ้าง โผฏฐัพพธาตุบ้าง รูปนี้ชื่อว่าเป็นโผฏฐัพพายตนะอาโปธาตุ [๖๕๑] รูปที่เป็นอาโปธาตุ นั้นเป็นไฉน ความเอิบอาบ ธรรมชาติที่เอิบอาบ ความเหนียว ธรรมชาติที่เหนียว ธรรมชาติเป็นเครื่องเกาะกุมรูป รูปนี้ชื่อว่าเป็นอาโปธาตุ รูปนี้ชื่อว่าไม่เป็นอุปาทายรูปอุปาทินนรูป [๖๕๒] รูปที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิยึดถือ นั้นเป็นไฉน จักขายตนะ โสตายตนะ ฆานายตนะ ชิวหายตนะ กายายตนะ อิตถินทรีย์ ปุริสินทรีย์ และชีวิตินทรีย์ หรือรูปแม้อื่น มีอยู่ ได้แก่ รูปายตนะ คันธายตนะ รสายตนะ โผฏฐัพพายตนะ อากาสธาตุ อาโปธาตุ อุปจยรูป สันตติรูป และ กวฬิงการาหาร อันกรรมแต่งขึ้น รูปนี้ชื่อว่ากรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิ ยึดถืออนุปาทินนรูป [๖๕๓] รูปที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือ นั้นเป็นไฉน สัททายตนะ กายวิญญัติ วจีวิญญัติ ลหุตารูป มุทุตารูป กัมมัญญตารูป ชรตารูป และอนิจจตารูป หรือรูปแม้อื่น มีอยู่ ได้แก่ รูปายตนะ คันธายตนะ รสายตนะ โผฏฐัพพายตนะ อากาสธาตุ อาโปธาตุ อุปจยรูป สันตติรูป และ กวฬิงการาหาร อันกรรมไม่ได้แต่งขึ้น รูปนี้ชื่อว่ากรรมอันประกอบด้วยตัณหา และทิฏฐิไม่ยึดถือ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า : ๒๐๗}
พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๒. รูปกัณฑ์]
รูปวิภัตติ ทุกนิทเทส ปกิณณกทุกะ
อุปาทินนุปาทานิยรูป [๖๕๔] รูปที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาทิฏฐิยึดถือและเป็นอารมณ์ของ อุปาทาน นั้นเป็นไฉน จักขายตนะ ฯลฯ กายายตนะ อิตถินทรีย์ ปุริสินทรีย์ และชีวิตินทรีย์ หรือรูปแม้อื่น มีอยู่ ได้แก่ รูปายตนะ คันธายตนะ รสายตนะ โผฏฐัพพายตนะ อากาสธาตุ อาโปธาตุ อุปจยรูป สันตติรูป และกวฬิงการาหาร อันกรรมแต่งขึ้น รูปนี้ชื่อว่ากรรมอันประกอบด้วยตัณหาทิฏฐิยึดถือและเป็นอารมณ์ของอุปาทานอนุปาทินนุปาทานิยรูป [๖๕๕] รูปที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือแต่เป็นอารมณ์ ของอุปาทาน นั้นเป็นไฉน สัททายตนะ กายวิญญัติ วจีวิญญัติ ลหุตารูป มุทุตารูป กัมมัญญตารูป ชรตารูป และอนิจจตารูป หรือรูปแม้อื่น มีอยู่ ได้แก่ รูปายตนะ คันธายตนะ รสายตนะ โผฏฐัพพายตนะ อากาสธาตุ อาโปธาตุ อุปจยรูป สันตติรูป และ กวฬิงการาหาร (อาหารคือคำข้าว) อันกรรมไม่ได้แต่งขึ้น รูปนี้ชื่อว่ากรรมอัน ประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือแต่เป็นอารมณ์ของอุปาทานสนิทัสสนรูป [๖๕๖] รูปที่เห็นได้ นั้นเป็นไฉน รูปายตนะ รูปนี้ชื่อว่าเห็นได้อนิทัสสนรูป [๖๕๗] รูปที่เห็นไม่ได้ นั้นเป็นไฉน จักขายตนะ ฯลฯ กวฬิงการาหาร รูปนี้ชื่อว่าเห็นไม่ได้สัปปฏิฆรูป [๖๕๘] รูปที่กระทบได้ นั้นเป็นไฉน {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า : ๒๐๘}
พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๒. รูปกัณฑ์]
รูปวิภัตติ ทุกนิทเทส ปกิณณกทุกะ
จักขายตนะ โสตายตนะ ฆานายตนะ ชิวหายตนะ กายายตนะ รูปายตนะ สัททายตนะ คันธายตนะ รสายตนะ และโผฏฐัพพายตนะ รูปนี้ชื่อว่ากระทบได้อัปปฏิฆรูป [๖๕๙] รูปที่กระทบไม่ได้ นั้นเป็นไฉน อิตถินทรีย์ ฯลฯ กวฬิงการาหาร รูปนี้ชื่อว่ากระทบไม่ได้อินทริยรูป [๖๖๐] รูปที่เป็นอินทรีย์ นั้นเป็นไฉน จักขุนทรีย์ โสตินทรีย์ ฆานินทรีย์ ชิวหินทรีย์ กายินทรีย์ อิตถินทรีย์ ปุริสินทรีย์ และชีวิตินทรีย์ รูปนี้ชื่อว่าเป็นอินทรีย์อนินทริยรูป [๖๖๑] รูปที่ไม่เป็นอินทรีย์ นั้นเป็นไฉน รูปายตนะ ฯลฯ กวฬิงการาหาร รูปนี้ชื่อว่าไม่เป็นอินทรีย์มหาภูตรูป [๖๖๒] รูปที่เป็นมหาภูตรูป นั้นเป็นไฉน โผฏฐัพพายตนะ และอาโปธาตุ รูปนี้ชื่อว่าเป็นมหาภูตรูปนมหาภูตรูป [๖๖๓] รูปที่ไม่เป็นมหาภูตรูป นั้นเป็นไฉน จักขายตนะ ฯลฯ กวฬิงการาหาร รูปนี้ชื่อว่าไม่เป็นมหาภูตรูปวิญญัตติรูป [๖๖๔] รูปที่เป็นวิญญัตติรูป นั้นเป็นไฉน กายวิญญัติ และวจีวิญญัติ รูปนี้ชื่อว่าเป็นวิญญัตติรูป {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า : ๒๐๙}
พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๒. รูปกัณฑ์]
รูปวิภัตติ ทุกนิทเทส ปกิณณกทุกะ
นวิญญัตติรูป [๖๖๕] รูปที่ไม่เป็นวิญญัตติรูป นั้นเป็นไฉน จักขายตนะ ฯลฯ กวฬิงการาหาร รูปนี้ชื่อว่าไม่เป็นวิญญัตติรูปจิตตสมุฏฐานรูป [๖๖๖] รูปที่มีจิตเป็นสมุฏฐาน นั้นเป็นไฉน กายวิญญัติ และวจีวิญญัติ หรือรูปแม้อื่น มีอยู่ ที่เกิดแต่จิต มีจิตเป็นเหตุ มีจิตเป็นสมุฏฐาน ได้แก่ รูปายตนะ สัททายตนะ คันธายตนะ รสายตนะ โผฏฐัพพายตนะ อากาสธาตุ อาโปธาตุ ลหุตารูป มุทุตารูป กัมมัญญตารูป อุปจยรูป สันตติรูป และกวฬิงการาหาร รูปนี้ชื่อว่ามีจิตเป็นสมุฏฐานนจิตตสมุฏฐานรูป [๖๖๗] รูปที่ไม่มีจิตเป็นสมุฏฐาน นั้นเป็นไฉน จักขายตนะ ฯลฯ กายายตนะ อิตถินทรีย์ ปุริสินทรีย์ ชีวิตินทรีย์ ชรตารูป และอนิจจตารูป หรือรูปแม้อื่น มีอยู่ ที่ไม่เกิดจากจิต ไม่มีจิตเป็นเหตุ ไม่มีจิตเป็น สมุฏฐาน ได้แก่ รูปายตนะ สัททายตนะ คันธายตนะ รสายตนะ โผฏฐัพพายตนะ อากาสธาตุ อาโปธาตุ ลหุตารูป มุทุตารูป กัมมัญญตารูป อุปจยรูป สันตติรูป และกวฬิงการาหาร รูปนี้ชื่อว่าไม่มีจิตเป็นสมุฏฐานจิตตสหภูรูป [๖๖๘] รูปที่เกิดพร้อมกับจิต นั้นเป็นไฉน กายวิญญัติ และวจีวิญญัติ รูปนี้ชื่อว่าเกิดพร้อมกับจิตนจิตตสหภูรูป [๖๖๙] รูปที่ไม่เกิดพร้อมกับจิต นั้นเป็นไฉน จักขายตนะ ฯลฯ กวฬิงการาหาร รูปนี้ชื่อว่าไม่เกิดพร้อมกับจิต {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า : ๒๑๐}
พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๒. รูปกัณฑ์]
รูปวิภัตติ ทุกนิทเทส ปกิณณกทุกะ
จิตตานุปริวัตติรูป [๖๗๐] รูปที่เป็นไปตามจิต นั้นเป็นไฉน กายวิญญัติ และวจีวิญญัติ รูปนี้ชื่อว่าเป็นไปตามจิตนจิตตานุปริวัตติรูป [๖๗๑] รูปที่ไม่เป็นไปตามจิต นั้นเป็นไฉน จักขายตนะ ฯลฯ กวฬิงการาหาร รูปนี้ชื่อว่าไม่เป็นไปตามจิตอัชฌัตติกรูป [๖๗๒] รูปที่เป็นภายใน นั้นเป็นไฉน จักขายตนะ ฯลฯ กายายตนะ รูปนี้ชื่อว่าเป็นภายในพาหิรรูป [๖๗๓] รูปที่เป็นภายนอก นั้นเป็นไฉน รูปายตนะ ฯลฯ กวฬิงการาหารรูป รูปนี้ชื่อว่าเป็นภายนอกโอฬาริกรูป [๖๗๔] รูปหยาบ นั้นเป็นไฉน จักขายตนะ ฯลฯ โผฏฐัพพายตนะ รูปนี้ชื่อว่ารูปหยาบสุขุมรูป [๖๗๕] รูปละเอียด นั้นเป็นไฉน อิตถินทรีย์ ฯลฯ กวฬิงการาหาร รูปนี้ชื่อว่ารูปละเอียดทูเรรูป [๖๗๖] รูปไกล นั้นเป็นไฉน อิตถินทรีย์ ฯลฯ กวฬิงการาหาร รูปนี้ชื่อว่ารูปไกล {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า : ๒๑๑}
พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๒. รูปกัณฑ์]
รูปวิภัตติ ทุกนิทเทส วัตถุทุกะ
สัตติเกรูป [๖๗๗] รูปใกล้ นั้นเป็นไฉน จักขายตนะ ฯลฯ โผฏฐัพพายตนะ รูปนี้ชื่อว่ารูปใกล้ปกิณณกทุกะ จบ วัตถุทุกะ [๖๗๘] รูปเป็นที่อาศัยเกิดของจักขุสัมผัส นั้นเป็นไฉน จักขายตนะ รูปนี้ชื่อว่าเป็นที่อาศัยเกิดของจักขุสัมผัส [๖๗๙] รูปไม่เป็นที่อาศัยเกิดของจักขุสัมผัส นั้นเป็นไฉน โสตายตนะ ฯลฯ กวฬิงการาหาร รูปนี้ชื่อว่าไม่เป็นที่อาศัยเกิดของจักขุสัมผัส [๖๘๐] รูปเป็นที่อาศัยเกิดของเวทนาที่เกิดแต่จักขุสัมผัส ฯลฯ ของ สัญญา ฯลฯ ของเจตนา ฯลฯ ของจักขุวิญญาณ นั้นเป็นไฉน จักขายตนะ รูปนี้ชื่อว่าเป็นที่อาศัยเกิดของจักขุวิญญาณ [๖๘๑] รูปไม่เป็นที่อาศัยเกิดของจักขุวิญญาณ นั้นเป็นไฉน โสตายตนะ ฯลฯ กวฬิงการาหาร รูปนี้ชื่อว่าไม่เป็นที่อาศัยเกิดของจักขุวิญญาณ [๖๘๒] รูปเป็นที่อาศัยเกิดของโสตสัมผัส ฯลฯ ของฆานสัมผัส ฯลฯ ของชิวหาสัมผัส ฯลฯ ของกายสัมผัส นั้นเป็นไฉน กายายตนะ รูปนี้ชื่อว่าเป็นที่อาศัยเกิดของกายสัมผัส [๖๘๓] รูปไม่เป็นที่อาศัยเกิดของกายสัมผัส นั้นเป็นไฉน จักขายตนะ ฯลฯ กวฬิงการาหาร รูปนี้ชื่อว่าไม่เป็นที่อาศัยเกิดของกายสัมผัส [๖๘๔] รูปเป็นที่อาศัยเกิดของเวทนาที่เกิดแต่กายสัมผัส ฯลฯ ของ สัญญา ฯลฯ ของเจตนา ฯลฯ ของกายวิญญาณ นั้นเป็นไฉน กายายตนะ รูปนี้ชื่อว่าเป็นที่อาศัยเกิดของกายวิญญาณ [๖๘๕] รูปไม่เป็นที่อาศัยเกิดของกายวิญญาณ นั้นเป็นไฉน {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า : ๒๑๒}
พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๒. รูปกัณฑ์]
รูปวิภัตติ ทุกนิทเทส อารัมมณกทุกะ
จักขายตนะ ฯลฯ กวฬิงการาหาร รูปนี้ชื่อว่าไม่เป็นที่อาศัยเกิดของกาย- วิญญาณวัตถุทุกะ จบ อารัมมณทุกะ [๖๘๖] รูปที่เป็นอารมณ์ของจักขุสัมผัส นั้นเป็นไฉน รูปายตนะ รูปนี้ชื่อว่าเป็นอารมณ์ของจักขุสัมผัส [๖๘๗] รูปที่ไม่เป็นอารมณ์ของจักขุสัมผัส นั้นเป็นไฉน จักขายตนะ ฯลฯ กวฬิงการาหาร รูปนี้ชื่อว่าไม่เป็นอารมณ์ของจักขุสัมผัส [๖๘๘] รูปที่เป็นอารมณ์ของเวทนาที่เกิดแต่จักขุสัมผัส ฯลฯ ของสัญญา ฯลฯ ของเจตนา ฯลฯ ของจักขุวิญญาณ นั้นเป็นไฉน รูปายตนะ รูปนี้ชื่อว่าเป็นอารมณ์ของจักขุวิญญาณ [๖๘๙] รูปที่ไม่เป็นอารมณ์ของจักขุวิญญาณ นั้นเป็นไฉน จักขายตนะ ฯลฯ กวฬิงการาหาร รูปนี้ชื่อว่าไม่เป็นอารมณ์ของจักขุวิญญาณ [๖๙๐] รูปที่เป็นอารมณ์ของโสตสัมผัส ฯลฯ ของฆานสัมผัส ฯลฯ ของ ชิวหาสัมผัส ฯลฯ ของกายสัมผัส นั้นเป็นไฉน โผฏฐัพพายตนะ รูปนี้ชื่อว่าเป็นอารมณ์ของกายสัมผัส [๖๙๑] รูปที่ไม่เป็นอารมณ์ของกายสัมผัส นั้นเป็นไฉน จักขายตนะ ฯลฯ กวฬิงการาหาร รูปนี้ชื่อว่าไม่เป็นอารมณ์ของกายสัมผัส [๖๙๒] รูปที่เป็นอารมณ์ของเวทนาที่เกิดแต่กายสัมผัส ฯลฯ ของสัญญา ฯลฯ ของเจตนา ฯลฯ ของกายวิญญาณ นั้นเป็นไฉน โผฏฐัพพายตนะ รูปนี้ชื่อว่าเป็นอารมณ์ของกายวิญญาณ [๖๙๓] รูปที่ไม่เป็นอารมณ์ของกายวิญญาณ นั้นเป็นไฉน จักขายตนะ ฯลฯ กวฬิงการาหาร รูปนี้ชื่อว่าไม่เป็นอารมณ์ของกายวิญญาณอารัมมณทุกะ จบ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า : ๒๑๓}
พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๒. รูปกัณฑ์]
รูปวิภัตติ ทุกนิทเทส อายตนทุกะ
อายตนทุกะ [๖๙๔] รูปที่เป็นจักขายตนะ นั้นเป็นไฉน จักษุใด เป็นปสาทรูป อาศัยมหาภูตรูป ๔ ฯลฯ นี้ชื่อว่าบ้านว่างบ้าง รูปนี้ ชื่อว่าเป็นจักขายตนะ [๖๙๕] รูปที่ไม่เป็นจักขายตนะ นั้นเป็นไฉน โสตายตนะ ฯลฯ กวฬิงการาหาร รูปนี้ชื่อว่าไม่เป็นจักขายตนะ [๖๙๖] รูปที่เป็นโสตายตนะ ฯลฯ เป็นฆานายตนะ ฯลฯ เป็นชิวหายตนะ ฯลฯ เป็นกายายตนะ นั้นเป็นไฉน กายใด เป็นปสาทรูป อาศัยมหาภูตรูป ๔ ฯลฯ นี้ชื่อว่าบ้านว่างบ้าง รูปนี้ ชื่อว่าเป็นกายายตนะ [๖๙๗] รูปที่ไม่เป็นกายายตนะ นั้นเป็นไฉน จักขายตนะ ฯลฯ กวฬิงการาหาร รูปนี้ชื่อว่าไม่เป็นกายายตนะ [๖๙๘] รูปที่เป็นรูปายตนะ นั้นเป็นไฉน รูปใด เป็นสีต่างๆ อาศัยมหาภูตรูป ๔ ฯลฯ นี้ชื่อว่ารูปธาตุบ้าง รูปนี้ชื่อว่า เป็นรูปายตนะ [๖๙๙] รูปที่ไม่เป็นรูปายตนะ นั้นเป็นไฉน จักขายตนะ ฯลฯ กวฬิงการาหาร รูปนี้ชื่อว่าไม่เป็นรูปายตนะ [๗๐๐] รูปที่เป็นสัททายตนะ ฯลฯ เป็นคันธายตนะ ฯลฯ เป็นรสายตนะ ฯลฯ เป็นโผฏฐัพพายตนะ นั้นเป็นไฉน ปฐวีธาตุ ฯลฯ นี้ชื่อว่าโผฏฐัพพธาตุบ้าง รูปนี้ชื่อว่าเป็นโผฏฐัพพายตนะ [๗๐๑] รูปที่ไม่เป็นโผฏฐัพพายตนะ นั้นเป็นไฉน จักขายตนะ ฯลฯ กวฬิงการาหาร รูปนี้ชื่อว่าไม่เป็นโผฏฐัพพายตนะอายตนทุกะ จบ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า : ๒๑๔}
พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๒. รูปกัณฑ์]
รูปวิภัตติ ทุกนิทเทส อินทริยทุกะ
ธาตุทุกะ [๗๐๒] รูปที่เป็นจักขุธาตุ นั้นเป็นไฉน จักขายตนะ รูปนี้ชื่อว่าเป็นจักขุธาตุ [๗๐๓] รูปที่ไม่เป็นจักขุธาตุ นั้นเป็นไฉน โสตายตนะ ฯลฯ กวฬิงการาหาร รูปนี้ชื่อว่าไม่เป็นจักขุธาตุ [๗๐๔] รูปที่เป็นโสตธาตุ ฯลฯ เป็นฆานธาตุ ฯลฯ เป็นชิวหาธาตุ ฯลฯ เป็นกายธาตุ นั้นเป็นไฉน กายายตนะ รูปนี้ชื่อว่าเป็นกายธาตุ [๗๐๕] รูปที่ไม่เป็นกายธาตุ นั้นเป็นไฉน จักขายตนะ ฯลฯ กวฬิงการาหาร รูปนี้ชื่อว่าไม่เป็นกายธาตุ [๗๐๖] รูปที่เป็นรูปธาตุ นั้นเป็นไฉน รูปายตนะ รูปนี้ชื่อว่าเป็นรูปธาตุ [๗๐๗] รูปที่ไม่เป็นรูปธาตุ นั้นเป็นไฉน จักขายตนะ ฯลฯ กวฬิงการาหาร รูปนี้ชื่อว่าไม่เป็นรูปธาตุ [๗๐๘] รูปที่เป็นสัททธาตุ ฯลฯ เป็นคันธธาตุ ฯลฯ เป็นรสธาตุ ฯลฯ เป็นโผฏฐัพพธาตุ นั้นเป็นไฉน โผฏฐัพพายตนะ รูปนี้ชื่อว่าเป็นโผฏฐัพพธาตุ [๗๐๙] รูปที่ไม่เป็นโผฏฐัพพธาตุ นั้นเป็นไฉน จักขายตนะ ฯลฯ กวฬิงการาหาร รูปนี้ชื่อว่าไม่เป็นโผฏฐัพพธาตุธาตุทุกะ จบ อินทริยทุกะ [๗๑๐] รูปที่เป็นจักขุนทรีย์ นั้นเป็นไฉน จักษุใด เป็นปสาทรูป อาศัยมหาภูตรูป ๔ ฯลฯ นี้ชื่อว่าบ้านว่างบ้าง รูปนี้ ชื่อว่าเป็นจักขุนทรีย์ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า : ๒๑๕}
พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๒. รูปกัณฑ์]
รูปวิภัตติ ทุกนิทเทส อินทริยะทุกะ
[๗๑๑] รูปที่ไม่เป็นจักขุนทรีย์ นั้นเป็นไฉน โสตายตนะ ฯลฯ กวฬิงการาหาร รูปนี้ชื่อว่าไม่เป็นจักขุนทรีย์ [๗๑๒] รูปที่เป็นโสตินทรีย์ ฯลฯ เป็นฆานินทรีย์ ฯลฯ เป็นชิวหินทรีย์ ฯลฯ เป็นกายินทรีย์ ฯลฯ นั้นเป็นไฉน กายใด เป็นปสาทรูป อาศัยมหาภูตรูป ๔ ฯลฯ นี้ชื่อว่าบ้านว่างบ้าง รูปนี้ ชื่อว่าเป็นกายินทรีย์ [๗๑๓] รูปที่ไม่เป็นกายินทรีย์ นั้นเป็นไฉน จักขายตนะ ฯลฯ กวฬิงการาหาร รูปนี้ชื่อว่าไม่เป็นกายินทรีย์ [๗๑๔] รูปที่เป็นอิตถินทรีย์ นั้นเป็นไฉน ทรวดทรงหญิง เครื่องหมายประจำเพศหญิง กิริยาหญิง อาการหญิง สภาพ หญิง ภาวะหญิง ของสตรี รูปนี้ชื่อว่าเป็นอิตถินทรีย์ [๗๑๕] รูปที่ไม่เป็นอิตถินทรีย์ นั้นเป็นไฉน จักขายตนะ ฯลฯ กวฬิงการาหาร รูปนี้ชื่อว่าไม่เป็นอิตถินทรีย์ [๗๑๖] รูปที่เป็นปุริสินทรีย์ นั้นเป็นไฉน ทรวดทรงชาย เครื่องหมายประจำเพศชาย กิริยาชาย อาการชาย สภาพ ชาย ภาวะชาย ของบุรุษ รูปนี้ชื่อว่าเป็นปุริสินทรีย์ [๗๑๗] รูปที่ไม่เป็นปุริสินทรีย์ นั้นเป็นไฉน จักขายตนะ ฯลฯ กวฬิงการาหาร รูปนี้ชื่อว่าไม่เป็นปุริสินทรีย์ [๗๑๘] รูปที่เป็นชีวิตินทรีย์ นั้นเป็นไฉน อายุ ความดำรงอยู่ ความเป็นไป กิริยาที่ให้เป็นไป อาการที่สืบเนื่องกัน ความดำเนินไป ความหล่อเลี้ยง ชีวิต ชีวิตินทรีย์แห่งสภาวธรรมที่เป็นรูปเหล่านั้น รูปนี้ชื่อว่าเป็นชีวิตินทรีย์ [๗๑๙] รูปที่ไม่เป็นชีวิตินทรีย์ นั้นเป็นไฉน จักขายตนะ ฯลฯ กวฬิงการาหาร รูปนี้ชื่อว่าไม่เป็นชีวิตินทรีย์อินทริยทุกะ จบ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า : ๒๑๖}
พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๒. รูปกัณฑ์]
รูปวิภัตติ ทุกนิทเทส สุขุมรูปทุกะ
สุขุมรูปทุกะ [๗๒๐] รูปที่เป็นกายวิญญัติ นั้นเป็นไฉน ความเข้มแข็ง กิริยาที่เข้มแข็งด้วยดี ภาวะที่เข้มแข็งด้วยดี การแสดงให้รู้ความ หมาย กิริยาที่แสดงให้รู้ความหมาย ภาวะที่แสดงให้รู้ความหมายแห่งกายของ บุคคลผู้มีจิตเป็นกุศล มีจิตเป็นอกุศล มีจิตเป็นอัพยากฤต ก้าวไปอยู่ ถอยกลับอยู่ แลดูอยู่ เหลียวดูอยู่ คู้เข้าอยู่ หรือเหยียดออกอยู่ รูปนี้ชื่อว่าเป็นกายวิญญัติ [๗๒๑] รูปที่ไม่เป็นกายวิญญัติ นั้นเป็นไฉน จักขายตนะ ฯลฯ กวฬิงการาหาร รูปนี้ชื่อว่าไม่เป็นกายวิญญัติ [๗๒๒] รูปที่เป็นวจีวิญญัติ นั้นเป็นไฉน การพูด การเปล่งวาจา การเจรจา การกล่าว การป่าวร้อง การโฆษณา วาจา วจีเภท แห่งบุคคลผู้มีจิตเป็นกุศล มีจิตเป็นอกุศล หรือมีจิตเป็นอัพยากฤต นี้เรียกว่า วาจา การแสดงให้รู้ความหมาย กิริยาที่แสดงให้รู้ความหมาย ภาวะที่ แสดงให้รู้ความหมายด้วยวาจานั้น รูปนี้ชื่อว่าเป็นวจีวิญญัติ [๗๒๓] รูปที่ไม่เป็นวจีวิญญัติ นั้นเป็นไฉน จักขายตนะ ฯลฯ กวฬิงการาหาร รูปนี้ชื่อว่าไม่เป็นวจีวิญญัติ [๗๒๔] รูปที่เป็นอากาสธาตุ นั้นเป็นไฉน อากาศ ธรรมชาติที่นับว่าอากาศ ความว่างเปล่า ธรรมชาติที่นับว่าความว่าง เปล่า ช่องว่าง ธรรมชาติที่นับว่าช่องว่างซึ่งมหาภูตรูป ๔ ถูกต้องไม่ได้ รูปนี้ชื่อว่า เป็นอากาสธาตุ๑- [๗๒๕] รูปที่ไม่เป็นอากาสธาตุ นั้นเป็นไฉน จักขายตนะ ฯลฯ กวฬิงการาหาร รูปนี้ชื่อว่าไม่เป็นอากาสธาตุ [๗๒๖] รูปที่เป็นอาโปธาตุ นั้นเป็นไฉน ความเอิบอาบ ธรรมชาติที่เอิบอาบ ความเหนียว ธรรมชาติที่เหนียว ธรรมชาติเป็นเครื่องเกาะกุมรูป รูปนี้ชื่อว่าเป็นอาโปธาตุ @เชิงอรรถ : @๑ อภิ.วิ. ๓๕/๑๗๗/๙๙ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า : ๒๑๗}
พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๒. รูปกัณฑ์]
รูปวิภัตติ ทุกนิทเทส สุขุมรูปทุกะ
[๗๒๗] รูปที่ไม่เป็นอาโปธาตุ นั้นเป็นไฉน จักขายตนะ ฯลฯ กวฬิงการาหาร รูปนี้ชื่อว่าไม่เป็นอาโปธาตุ [๗๒๘] รูปที่เป็นลหุตารูป นั้นเป็นไฉน ความเบา ความรวดเร็ว ความไม่เชื่องช้า ความไม่หนักแห่งรูป รูปนี้ชื่อว่า เป็นลหุตารูป [๗๒๙] รูปที่ไม่เป็นลหุตารูป นั้นเป็นไฉน จักขายตนะ ฯลฯ กวฬิงการาหาร รูปนี้ชื่อว่าไม่เป็นลหุตารูป [๗๓๐] รูปที่เป็นมุทุตารูป นั้นเป็นไฉน ความอ่อน ภาวะที่อ่อน ความไม่แข็ง ความไม่กระด้างแห่งรูป รูปนี้ชื่อว่า เป็นมุทุตารูป [๗๓๑] รูปที่ไม่เป็นมุทุตารูป นั้นเป็นไฉน จักขายตนะ ฯลฯ กวฬิงการาหาร รูปนี้ชื่อว่าไม่เป็นมุทุตารูป [๗๓๒] รูปที่เป็นกัมมัญญตารูป นั้นเป็นไฉน ความควรแก่การงาน กิริยาที่ควรแก่การงาน ภาวะที่ควรแก่การงานแห่ง รูป รูปนี้ชื่อว่าเป็นกัมมัญญตารูป [๗๓๓] รูปที่ไม่เป็นกัมมัญญตารูป นั้นเป็นไฉน จักขายตนะ ฯลฯ กวฬิงการาหาร รูปนี้ชื่อว่าไม่เป็นกัมมัญญตารูป [๗๓๔] รูปที่เป็นอุปจยรูป นั้นเป็นไฉน ความแรกเกิดแห่งอายตนะ นั้นเป็นความเกิดขึ้นแห่งรูป รูปนี้ชื่อว่า เป็นอุปจยรูป [๗๓๕] รูปที่ไม่เป็นอุปจยรูป นั้นเป็นไฉน จักขายตนะ ฯลฯ กวฬิงการาหาร รูปนี้ชื่อว่าไม่เป็นอุปจยรูป [๗๓๖] รูปที่เป็นสันตติรูป นั้นเป็นไฉน ความเจริญแห่งรูป นั้นเป็นความสืบต่อแห่งรูป รูปนี้ชื่อว่าเป็นสันตติรูป {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า : ๒๑๘}
พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๒. รูปกัณฑ์]
รูปวิภัตติ ทุกนิทเทส สุขุมรูปทุกะ
[๗๓๗] รูปที่ไม่เป็นสันตติรูป นั้นเป็นไฉน จักขายตนะ ฯลฯ กวฬิงการาหาร รูปนี้ชื่อว่าไม่เป็นสันตติรูป [๗๓๘] รูปที่เป็นชรตารูป นั้นเป็นไฉน ความชรา ความคร่ำคร่า ความมีฟันหลุด ความมีผมหงอก ความมีหนังเหี่ยว ความเสื่อมอายุ ความหง่อมแห่งอินทรีย์แห่งรูป รูปนี้ชื่อว่าเป็นชรตารูป [๗๓๙] รูปที่ไม่เป็นชรตารูป นั้นเป็นไฉน จักขายตนะ ฯลฯ กวฬิงการาหาร รูปนี้ชื่อว่าไม่เป็นชรตารูป [๗๔๐] รูปที่เป็นอนิจจตารูป นั้นเป็นไฉน ความสิ้นไป ความเสื่อมไป ความแตก ความทำลาย ความไม่เที่ยง ความ อันตรธานแห่งรูป รูปนี้ชื่อว่าเป็นอนิจจตารูป [๗๔๑] รูปที่ไม่เป็นอนิจจตารูป นั้นเป็นไฉน จักขายตนะ ฯลฯ กวฬิงการาหาร รูปนี้ชื่อว่าไม่เป็นอนิจจตารูป [๗๔๒] รูปที่เป็นกวฬิงการาหาร นั้นเป็นไฉน ข้าวสุก ขนมสด ขนมแห้ง ปลา เนื้อ นมสด เนยใส เนยข้น น้ำมัน น้ำผึ้ง น้ำอ้อย หรือรูปแม้อื่น มีอยู่ ที่พึงกินทางปากขบเคี้ยว กลืนกิน อิ่มท้อง ซึ่งมี โอชาเป็นเหตุให้สัตว์ในสถานที่นั้นๆ ดำรงชีพอยู่ได้ รูปนี้ชื่อว่าเป็นกวฬิงการาหาร [๗๔๓] รูปที่ไม่เป็นกวฬิงการาหาร นั้นเป็นไฉน จักขายตนะ ฯลฯ อนิจจตารูป รูปนี้ชื่อว่าไม่เป็นกวฬิงการาหารสุขุมรูปทุกะ จบ รวมรูปหมวดละ ๒ อย่างนี้ ทุกนิทเทส จบ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า : ๒๑๙}
เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๓๔ หน้าที่ ๒๐๖-๒๑๙. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=34&siri=51 ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2], [3], [4]. อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=34&A=4763&Z=5041 ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=34&i=539 พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=34&item=539&items=49 อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=53&A=9733 The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=34&item=539&items=49 The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=53&A=9733 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๔ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu34 อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/ds2.2.3/en/caf_rhysdavids#pts-vp-en197
บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]