![]() |
|
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ | |
|
|
![]() |
![]() |
พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๒. รูปกัณฑ์]
รูปวิภัตติ ติกนิทเทส ปกิณณกติกะ
ติกนิทเทส ปกิณณกติกะ อัชฌัตติกอุปาทาติกะ [๗๔๔] รูปที่เป็นภายในเป็นอุปาทายรูป นั้นเป็นไฉน จักขายตนะ ฯลฯ กายายตนะ รูปที่เป็นภายในนี้ชื่อว่าเป็นอุปาทายรูป [๗๔๕] รูปที่เป็นภายนอกเป็นอุปาทายรูป นั้นเป็นไฉน รูปายตนะ ฯลฯ กวฬิงการาหาร รูปที่เป็นภายนอกนี้ชื่อว่าเป็นอุปาทายรูป [๗๔๖] รูปที่เป็นภายนอกไม่เป็นอุปาทายรูป นั้นเป็นไฉน โผฏฐัพพายตนะ และอาโปธาตุ รูปที่เป็นภายนอกนี้ชื่อว่าไม่เป็นอุปาทายรูปอัชฌัตติกอุปาทินนติกะ [๗๔๗] รูปที่เป็นภายในเป็นรูปที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิยึดถือ นั้นเป็นไฉน จักขายตนะ ฯลฯ กายายตนะ รูปที่เป็นภายในนี้ชื่อว่ากรรมอันประกอบด้วย ตัณหาและทิฏฐิยึดถือ [๗๔๘] รูปที่เป็นภายนอกเป็นรูปที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิ ยึดถือ นั้นเป็นไฉน อิตถินทรีย์ ปุริสินทรีย์ และชีวิตินทรีย์ หรือรูปแม้อื่น มีอยู่ ได้แก่ รูปายตนะ คันธายตนะ รสายตนะ โผฏฐัพพายตนะ อากาสธาตุ อาโปธาตุ อุปจยรูป สันตติรูป และกวฬิงการาหาร ที่กรรมปรุงแต่งขึ้น รูปที่เป็นภายนอกนี้ชื่อว่ากรรมอันประกอบ ด้วยตัณหาและทิฏฐิยึดถือ [๗๔๙] รูปที่เป็นภายนอกเป็นรูปที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิ ไม่ยึดถือ นั้นเป็นไฉน สัททายตนะ กายวิญญัติ วจีวิญญัติ ลหุตารูป มุทุตารูป กัมมัญญตารูป ชรตารูป และอนิจจตารูป หรือรูปแม้อื่น มีอยู่ ได้แก่ รูปายตนะ คันธายตนะ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า : ๒๒๐}
พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๒. รูปกัณฑ์]
รูปวิภัตติ ติกนิทเทส ปกิณณกติกะ
รสายตนะ โผฏฐัพพายตนะ อากาสธาตุ อาโปธาตุ อุปจยรูป สันตติรูป และ กวฬิงการาหาร ที่กรรมไม่ได้ปรุงแต่งขึ้น รูปที่เป็นภายนอกนี้ชื่อว่ากรรมอันประกอบ ด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถืออัชฌัตติกอุปาทินนุปาทานิยติกะ [๗๕๐] รูปที่เป็นภายในเป็นรูปที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาทิฏฐิยึดถือ และเป็นอารมณ์ของอุปาทาน นั้นเป็นไฉน จักขายตนะ ฯลฯ กายายตนะ รูปที่เป็นภายในนี้ชื่อว่ากรรมอันประกอบด้วย ตัณหาทิฏฐิยึดถือและเป็นอารมณ์ของอุปาทาน [๗๕๑] รูปที่เป็นภายนอกเป็นรูปที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาทิฏฐิยึดถือ และเป็นอารมณ์ของอุปาทาน นั้นเป็นไฉน อิตถินทรีย์ ปุริสินทรีย์ และชีวิตินทรีย์ หรือรูปแม้อื่น มีอยู่ ได้แก่ รูปายตนะ คันธายตนะ รสายตนะ โผฏฐัพพายตนะ อากาสธาตุ อาโปธาตุ อุปจยรูป สันตติรูป และกวฬิงการาหาร ที่กรรมปรุงแต่งขึ้น รูปที่เป็นภายนอกนี้ชื่อว่ากรรมอันประกอบ ด้วยตัณหาทิฏฐิยึดถือและเป็นอารมณ์ของอุปาทาน [๗๕๒] รูปที่เป็นภายนอกเป็นรูปที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิ ไม่ยึดถือแต่เป็นอารมณ์ของอุปาทาน นั้นเป็นไฉน สัททายตนะ กายวิญญัติ วจีวิญญัติ ลหุตารูป มุทุตารูป กัมมัญญตารูป ชรตารูป และอนิจจตารูป หรือรูปแม้อื่น มีอยู่ ได้แก่ รูปายตนะ คันธายตนะ รสายตนะ โผฏฐัพพายตนะ อากาสธาตุ อาโปธาตุ อุปจยรูป สันตติรูป และ กวฬิงการาหาร ที่กรรมไม่ได้ปรุงแต่งขึ้น รูปที่เป็นภายนอกนี้ชื่อว่ากรรมอันประกอบ ด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือแต่เป็นอารมณ์ของอุปาทานอัชฌัตติกอนิทัสสนติกะ [๗๕๓] รูปที่เป็นภายในเป็นรูปที่เห็นไม่ได้ นั้นเป็นไฉน จักขายตนะ ฯลฯ กายายตนะ รูปที่เป็นภายในนี้ชื่อว่าเห็นไม่ได้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า : ๒๒๑}
พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๒. รูปกัณฑ์]
รูปวิภัตติ ติกนิทเทส ปกิณณกติกะ
[๗๕๔] รูปที่เป็นภายนอกเป็นรูปที่เห็นได้ นั้นเป็นไฉน รูปายตนะ ฯลฯ รูปที่เป็นภายนอกนี้ชื่อว่าเห็นได้ [๗๕๕] รูปที่เป็นภายนอกเป็นรูปที่เห็นไม่ได้ นั้นเป็นไฉน สัททายตนะ ฯลฯ กวฬิงการาหาร รูปที่เป็นภายนอกนี้ชื่อว่าเห็นไม่ได้อัชฌัตติกสัปปฏิฆติกะ [๗๕๖] รูปที่เป็นภายในเป็นรูปที่กระทบได้ นั้นเป็นไฉน จักขายตนะ ฯลฯ กายายตนะ รูปที่เป็นภายในนี้ชื่อว่ากระทบได้ [๗๕๗] รูปที่เป็นภายนอกเป็นรูปที่กระทบได้ นั้นเป็นไฉน รูปายตนะ ฯลฯ โผฏฐัพพายตนะ รูปที่เป็นภายนอกนี้ชื่อว่ากระทบได้ [๗๕๘] รูปที่เป็นภายนอกเป็นรูปที่กระทบไม่ได้ นั้นเป็นไฉน อิตถินทรีย์ ฯลฯ กวฬิงการาหาร รูปที่เป็นภายนอกนี้ชื่อว่ากระทบไม่ได้อัชฌัตติกอินทริยติกะ [๗๕๙] รูปที่เป็นภายในเป็นอินทริยรูป นั้นเป็นไฉน จักขุนทรีย์ ฯลฯ กายินทรีย์ รูปที่เป็นภายในนี้ชื่อว่าเป็นอินทริยรูป [๗๖๐] รูปที่เป็นภายนอกเป็นอินทริยรูป นั้นเป็นไฉน อิตถินทรีย์ ปุริสินทรีย์ และชีวิตินทรีย์ รูปที่เป็นภายนอกนี้ชื่อว่าเป็นอินทริยรูป [๗๖๑] รูปที่เป็นภายนอกไม่เป็นอินทริยรูป นั้นเป็นไฉน รูปายตนะ ฯลฯ กวฬิงการาหาร รูปที่เป็นภายนอกนี้ชื่อว่าไม่เป็นอินทริยรูปอัชฌัตติกนมหาภูตติกะ [๗๖๒] รูปที่เป็นภายในไม่เป็นมหาภูตรูป นั้นเป็นไฉน จักขายตนะ ฯลฯ กายายตนะ รูปที่เป็นภายในนี้ชื่อว่าไม่เป็นมหาภูตรูป [๗๖๓] รูปที่เป็นภายนอกเป็นมหาภูตรูป นั้นเป็นไฉน โผฏฐัพพายตนะ ฯลฯ อาโปธาตุ รูปที่เป็นภายนอกนี้ชื่อว่าเป็นมหาภูตรูป {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า : ๒๒๒}
พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๒. รูปกัณฑ์]
รูปวิภัตติ ติกนิทเทส ปกิณณกติกะ
[๗๖๔] รูปที่เป็นภายนอกไม่เป็นมหาภูตรูป นั้นเป็นไฉน รูปายตนะ ฯลฯ กวฬิงการาหาร รูปที่เป็นภายนอกนี้ชื่อว่าไม่เป็นมหาภูตรูปอัชฌัตติกนวิญญัตติติกะ [๗๖๕] รูปที่เป็นภายในไม่เป็นวิญญัตติรูป นั้นเป็นไฉน จักขายตนะ ฯลฯ กายายตนะ รูปที่เป็นภายในนี้ชื่อว่าไม่เป็นวิญญัตติรูป [๗๖๖] รูปที่เป็นภายนอกเป็นวิญญัตติรูป นั้นเป็นไฉน กายวิญญัติ และวจีวิญญัติ รูปที่เป็นภายนอกนี้ชื่อว่าเป็นวิญญัตติรูป [๗๖๗] รูปที่เป็นภายนอกไม่เป็นวิญญัตติรูป นั้นเป็นไฉน รูปายตนะ ฯลฯ กวฬิงการาหาร รูปที่เป็นภายนอกนี้ชื่อว่าไม่เป็นวิญญัตติรูปอัชฌัตติกนจิตตสมุฏฐานติกะ [๗๖๘] รูปที่เป็นภายในไม่มีจิตเป็นสมุฏฐาน นั้นเป็นไฉน จักขายตนะ ฯลฯ กายายตนะ รูปที่เป็นภายในนี้ชื่อว่าไม่มีจิตเป็นสมุฏฐาน [๗๖๙] รูปที่เป็นภายนอกมีจิตเป็นสมุฏฐาน นั้นเป็นไฉน กายวิญญัติ และวจีวิญญัติ หรือแม้รูปอื่น มีอยู่ ได้แก่ รูปายตนะ สัททายตนะ คันธายตนะ รสายตนะ โผฏฐัพพายตนะ อากาสธาตุ อาโปธาตุ ลหุตารูป มุทุตารูป กัมมัญญตารูป อุปจยรูป สันตติรูป และกวฬิงการาหาร ที่เกิดจากจิตมีจิตเป็นเหตุ มีจิตเป็นสมุฏฐาน รูปที่เป็นภายนอกนี้ชื่อว่ามีจิตเป็นสมุฏฐาน [๗๗๐] รูปที่เป็นภายนอกไม่มีจิตเป็นสมุฏฐาน นั้นเป็นไฉน อิตถินทรีย์ ปุริสินทรีย์ ชีวิตินทรีย์ ชรตารูป และอนิจจตารูป หรือรูปแม้อื่น มีอยู่ ได้แก่ รูปายตนะ สัททายตนะ คันธายตนะ รสายตนะ โผฏฐัพพายตนะ อากาสธาตุ อาโปธาตุ ลหุตารูป มุทุตารูป กัมมัญญตารูป อุปจยรูป สันตติรูป และกวฬิงการาหาร ที่ไม่เกิดจากจิต ไม่มีจิตเป็นเหตุ ไม่มีจิตเป็นสมุฏฐาน รูปที่เป็น ภายนอกนี้ชื่อว่าไม่มีจิตเป็นสมุฏฐาน {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า : ๒๒๓}
พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๒. รูปกัณฑ์]
รูปวิภัตติ ติกนิทเทส ปกิณณกติกะ
อัชฌัตติกนจิตตสหภูติกะ [๗๗๑] รูปที่เป็นภายในไม่เกิดพร้อมกับจิต นั้นเป็นไฉน จักขายตนะ ฯลฯ กายายตนะ รูปที่เป็นภายในนี้ชื่อว่าไม่เกิดพร้อมกับจิต [๗๗๒] รูปที่เป็นภายนอกเกิดพร้อมกับจิต นั้นเป็นไฉน กายวิญญัติ และวจีวิญญัติ รูปที่เป็นภายนอกนี้ชื่อว่าเกิดพร้อมกับจิต [๗๗๓] รูปที่เป็นภายนอกไม่เกิดพร้อมกับจิต นั้นเป็นไฉน รูปายตนะ ฯลฯ กวฬิงการาหาร รูปที่เป็นภายนอกนี้ชื่อว่าไม่เกิดพร้อมกับจิตอัชฌัตติกนจิตตานุปริวัตติติกะ [๗๗๔] รูปที่เป็นภายในไม่เป็นไปตามจิต นั้นเป็นไฉน จักขายตนะ ฯลฯ กายายตนะ รูปที่เป็นภายในนี้ชื่อว่าไม่เป็นไปตามจิต [๗๗๕] รูปที่เป็นภายนอกเป็นไปตามจิต นั้นเป็นไฉน กายวิญญัติ และวจีวิญญัติ รูปที่เป็นภายนอกนี้ชื่อว่าเป็นไปตามจิต [๗๗๖] รูปที่เป็นภายนอกไม่เป็นไปตามจิต นั้นเป็นไฉน รูปายตนะ ฯลฯ กวฬิงการาหาร รูปที่เป็นภายนอกนี้ชื่อว่าไม่เป็นไปตามจิตอัชฌัตติกโอฬาริกติกะ [๗๗๗] รูปที่เป็นภายในเป็นรูปหยาบ นั้นเป็นไฉน จักขายตนะ ฯลฯ กายายตนะ รูปที่เป็นภายในนี้ชื่อว่าเป็นรูปหยาบ [๗๗๘] รูปที่เป็นภายนอกเป็นรูปหยาบ นั้นเป็นไฉน รูปายตนะ ฯลฯ โผฏฐัพพายตนะ รูปที่เป็นภายนอกนี้ชื่อว่าเป็นรูปหยาบ [๗๗๙] รูปที่เป็นภายนอกเป็นรูปละเอียด นั้นเป็นไฉน อิตถินทรีย์ ฯลฯ กวฬิงการาหาร รูปที่เป็นภายนอกนี้ชื่อว่าเป็นรูปละเอียดอัชฌัตติกสันติเกติกะ [๗๘๐] รูปที่เป็นภายในเป็นรูปใกล้ นั้นเป็นไฉน จักขายตนะ ฯลฯ กายายตนะ รูปที่เป็นภายในนี้ชื่อว่าเป็นรูปใกล้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า : ๒๒๔}
พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๒. รูปกัณฑ์]
รูปวิภัตติ ติกนิทเทส วัตถุติกะ
[๗๘๑] รูปที่เป็นภายนอกเป็นรูปไกล นั้นเป็นไฉน อิตถินทรีย์ ฯลฯ กวฬิงการาหาร รูปที่เป็นภายนอกนี้ชื่อว่าเป็นรูปไกล [๗๘๒] รูปที่เป็นภายนอกเป็นรูปใกล้ นั้นเป็นไฉน รูปายตนะ ฯลฯ โผฏฐัพพายตนะ รูปที่เป็นภายนอกนี้ชื่อว่าเป็นรูปใกล้ปกิณณกติกะ จบ วัตถุติกะ พาหิรจักขุสัมผัสสัสสนวัตถุติกะ [๗๘๓] รูปที่เป็นภายนอกไม่เป็นที่อาศัยเกิดของจักขุสัมผัส นั้นเป็นไฉน รูปายตนะ ฯลฯ กวฬิงการาหาร รูปที่เป็นภายนอกนี้ชื่อว่าไม่เป็นที่อาศัยเกิด ของจักขุสัมผัส [๗๘๔] รูปที่เป็นภายในเป็นที่อาศัยเกิดของจักขุสัมผัส นั้นเป็นไฉน จักขายตนะ รูปที่เป็นภายในนี้ชื่อว่าเป็นที่อาศัยเกิดของจักขุสัมผัส [๗๘๕] รูปที่เป็นภายในไม่เป็นที่อาศัยเกิดของจักขุสัมผัส นั้นเป็นไฉน โสตายตนะ ฯลฯ กายายตนะ รูปที่เป็นภายในนี้ชื่อว่าไม่เป็นที่อาศัยเกิดของ จักขุสัมผัสพาหิรจักขุสัมผัสสชาเวทนายนวัตถุติกะ [๗๘๖] รูปที่เป็นภายนอกไม่เป็นที่อาศัยเกิดของเวทนาที่เกิดแต่จักขุสัมผัส ฯลฯ ของสัญญา ฯลฯ ของเจตนา ฯลฯ ของจักขุวิญญาณ นั้นเป็นไฉน รูปายตนะ ฯลฯ กวฬิงการาหาร รูปที่เป็นภายนอกนี้ชื่อว่าไม่เป็นที่อาศัยเกิด ของจักขุวิญญาณ [๗๘๗] รูปที่เป็นภายในเป็นที่อาศัยเกิดของจักขุวิญญาณ นั้นเป็นไฉน จักขายตนะ รูปที่เป็นภายในนี้ชื่อว่าเป็นที่อาศัยเกิดของจักขุวิญญาณ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า : ๒๒๕}
พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๒. รูปกัณฑ์]
รูปวิภัตติ ติกนิทเทส วัตถุติกะ
[๗๘๘] รูปที่เป็นภายในไม่เป็นที่อาศัยเกิดของจักขุวิญญาณ นั้นเป็นไฉน โสตายตนะ ฯลฯ กายายตนะ รูปที่เป็นภายในนี้ชื่อว่าไม่เป็นที่อาศัยเกิดของ จักขุวิญญาณพาหิรโสตสัมผัสสัสสนวัตถุติกาทิติกะ [๗๘๙] รูปที่เป็นภายนอกไม่เป็นที่อาศัยเกิดของโสตสัมผัส ฯลฯ ของ ฆานสัมผัส ฯลฯ ของชิวหาสัมผัส ฯลฯ ของกายสัมผัส นั้นเป็นไฉน รูปายตนะ ฯลฯ กวฬิงการาหาร รูปที่เป็นภายนอกนี้ชื่อว่าไม่เป็นที่อาศัยเกิด ของกายสัมผัส [๗๙๐] รูปที่เป็นภายในเป็นที่อาศัยเกิดของกายสัมผัส นั้นเป็นไฉน กายายตนะ รูปที่เป็นภายในนี้ชื่อว่าเป็นที่อาศัยเกิดของกายสัมผัส [๗๙๑] รูปที่เป็นภายในไม่เป็นที่อาศัยเกิดของกายสัมผัส นั้นเป็นไฉน จักขายตนะ ฯลฯ ชิวหายตนะ รูปที่เป็นภายในนี้ชื่อว่าไม่เป็นที่อาศัยเกิดของ กายสัมผัสพาหิรกายสัมผัสสชาเวทนายนวัตถุติกาทิติกะ [๗๙๒] รูปที่เป็นภายนอกไม่เป็นที่อาศัยเกิดของเวทนาที่เกิดแต่กายสัมผัส ฯลฯ ของสัญญา ฯลฯ ของเจตนา ฯลฯ ของกายวิญญาณ นั้นเป็นไฉน รูปายตนะ ฯลฯ กวฬิงการาหาร รูปที่เป็นภายนอกนี้ชื่อว่าไม่เป็นที่อาศัยเกิด ของกายวิญญาณ [๗๙๓] รูปที่เป็นภายในเป็นที่อาศัยเกิดของกายวิญญาณ นั้นเป็นไฉน กายายตนะ รูปที่เป็นภายในนี้ชื่อว่าเป็นที่อาศัยเกิดของกายวิญญาณ [๗๙๔] รูปที่เป็นภายในไม่เป็นที่อาศัยเกิดของกายวิญญาณ นั้นเป็นไฉน จักขายตนะ ฯลฯ ชิวหายตนะ รูปที่เป็นภายในนี้ชื่อว่าไม่เป็นที่อาศัยเกิดของ กายวิญญาณวัตถุติกะ จบ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า : ๒๒๖}
พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๒. รูปกัณฑ์]
รูปวิภัตติ ติกนิทเทส อารัมมณติกะ
อารัมมณติกะ อัชฌัตติกจักขุสัมผัสสัสสนารัมมณติกะ [๗๙๕] รูปที่เป็นภายในไม่เป็นอารมณ์ของจักขุสัมผัส นั้นเป็นไฉน จักขายตนะ ฯลฯ กายายตนะ รูปที่เป็นภายในนี้ชื่อว่าไม่เป็นอารมณ์ของ จักขุสัมผัส [๗๙๖] รูปที่เป็นภายนอกเป็นอารมณ์ของจักขุสัมผัส นั้นเป็นไฉน รูปายตนะ รูปที่เป็นภายนอกนี้ชื่อว่าเป็นอารมณ์ของจักขุสัมผัส [๗๙๗] รูปที่เป็นภายนอกไม่เป็นอารมณ์ของจักขุสัมผัส นั้นเป็นไฉน สัททายตนะ ฯลฯ กวฬิงการาหาร รูปที่เป็นภายนอกนี้ชื่อว่าไม่เป็นอารมณ์ ของจักขุสัมผัสจักขุสัมผัสสชาเวทนายนารัมมณติกาทิติกะ [๗๙๘] รูปที่เป็นภายในไม่เป็นอารมณ์ของเวทนาที่เกิดแต่จักขุสัมผัส ฯลฯ ของสัญญา ฯลฯ ของเจตนา ฯลฯ ของจักขุวิญญาณ นั้นเป็นไฉน จักขายตนะ ฯลฯ กายายตนะ รูปที่เป็นภายในนี้ชื่อว่าไม่เป็นอารมณ์ของ จักขุวิญญาณ [๗๙๙] รูปที่เป็นภายนอกเป็นอารมณ์ของจักขุวิญญาณ นั้นเป็นไฉน รูปายตนะ รูปที่เป็นภายนอกนี้ชื่อว่าเป็นอารมณ์ของจักขุวิญญาณ [๘๐๐] รูปที่เป็นภายนอกไม่เป็นอารมณ์ของจักขุวิญญาณ นั้นเป็นไฉน สัททายตนะ ฯลฯ กวฬิงการาหาร รูปที่เป็นภายนอกนี้ชื่อว่าไม่เป็นอารมณ์ ของจักขุวิญญาณอัชฌัตติกโสตสัมผัสสัสสนารัมมณติกาทิติกะ [๘๐๑] รูปที่เป็นภายในไม่เป็นอารมณ์ของโสตสัมผัส ฯลฯ ของฆานสัมผัส ฯลฯ ของชิวหาสัมผัส ฯลฯ ของกายสัมผัส นั้นเป็นไฉน จักขายตนะ ฯลฯ กายายตนะ รูปที่เป็นภายในนี้ชื่อว่าไม่เป็นอารมณ์ของ กายสัมผัส {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า : ๒๒๗}
พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๒. รูปกัณฑ์]
รูปวิภัตติ ติกนิทเทส อายตนติกะ
[๘๐๒] รูปที่เป็นภายนอกเป็นอารมณ์ของกายสัมผัส นั้นเป็นไฉน โผฏฐัพพายตนะ รูปที่เป็นภายนอกนี้ชื่อว่าเป็นอารมณ์ของกายสัมผัส [๘๐๓] รูปที่เป็นภายนอกไม่เป็นอารมณ์ของกายสัมผัส นั้นเป็นไฉน รูปายตนะ ฯลฯ กวฬิงการาหาร รูปที่เป็นภายนอกนี้ชื่อว่าไม่เป็นอารมณ์ของ กายสัมผัสอัชฌัตติกกายสัมผัสสชาเวทนายนารัมมณติกาทิติกะ [๘๐๔] รูปที่เป็นภายในไม่เป็นอารมณ์ของเวทนาที่เกิดแต่กายสัมผัส ฯลฯ ของสัญญา ฯลฯ ของเจตนา ฯลฯ ของกายวิญญาณ นั้นเป็นไฉน จักขายตนะ ฯลฯ กายายตนะ รูปที่เป็นภายในนี้ชื่อว่าไม่เป็นอารมณ์ของ กายวิญญาณ [๘๐๕] รูปที่เป็นภายนอกเป็นอารมณ์ของกายวิญญาณ นั้นเป็นไฉน โผฏฐัพพายตนะ รูปที่เป็นภายนอกนี้ชื่อว่าเป็นอารมณ์ของกายวิญญาณ [๘๐๖] รูปที่เป็นภายนอกไม่เป็นอารมณ์ของกายวิญญาณ นั้นเป็นไฉน รูปายตนะ ฯลฯ กวฬิงการาหาร รูปที่เป็นภายนอกนี้ชื่อว่าไม่เป็นอารมณ์ของ กายวิญญาณอารัมมณติกะ จบ อายตนติกะ พาหิรนจักขายตนติกะ [๘๐๗] รูปที่เป็นภายนอกไม่เป็นจักขายตนะ นั้นเป็นไฉน รูปายตนะ ฯลฯ กวฬิงการาหาร รูปที่เป็นภายนอกนี้ชื่อว่าไม่เป็นจักขายตนะ [๘๐๘] รูปที่เป็นภายในเป็นจักขายตนะ นั้นเป็นไฉน จักษุใด เป็นปสาทรูป อาศัยมหาภูตรูป ๔ ฯลฯ นี้ชื่อว่าบ้านว่างบ้าง รูปที่เป็น ภายในนี้ชื่อว่าเป็นจักขายตนะ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า : ๒๒๘}
พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๒. รูปกัณฑ์]
รูปวิภัตติ ติกนิทเทส อายตนติกะ
[๘๐๙] รูปที่เป็นภายในไม่เป็นจักขายตนะ นั้นเป็นไฉน โสตายตนะ ฯลฯ กายายตนะ รูปที่เป็นภายในนี้ชื่อว่าไม่เป็นจักขายตนะพาหิรนโสตายตนติกาทิติกะ [๘๑๐] รูปที่เป็นภายนอกไม่เป็นโสตายตนะ ฯลฯ ไม่เป็นฆานายตนะ ฯลฯ ไม่เป็นชิวหายตนะ ฯลฯ ไม่เป็นกายายตนะ นั้นเป็นไฉน รูปายตนะ ฯลฯ กวฬิงการาหาร รูปที่เป็นภายนอกนี้ชื่อว่าไม่เป็นกายายตนะ [๘๑๑] รูปที่เป็นภายในเป็นกายายตนะ นั้นเป็นไฉน กายใด เป็นปสาทรูป อาศัยมหาภูตรูป ๔ ฯลฯ นี้ชื่อว่าบ้านว่างบ้าง รูปที่ เป็นภายในนี้ชื่อว่าเป็นกายายตนะ [๘๑๒] รูปที่เป็นภายในไม่เป็นกายายตนะ นั้นเป็นไฉน จักขายตนะ ฯลฯ ชิวหายตนะ รูปที่เป็นภายในนี้ชื่อว่าไม่เป็นกายายตนะอัชฌัตติกนรูปายตนติกะ [๘๑๓] รูปที่เป็นภายในไม่เป็นรูปายตนะ นั้นเป็นไฉน จักขายตนะ ฯลฯ กายายตนะ รูปที่เป็นภายในนี้ชื่อว่าไม่เป็นรูปายตนะ [๘๑๔] รูปที่เป็นภายนอกเป็นรูปายตนะ นั้นเป็นไฉน รูปใด เป็นสีต่างๆ อาศัยมหาภูตรูป ๔ ฯลฯ นี้ชื่อว่ารูปธาตุบ้าง รูปที่เป็น ภายนอกนี้ชื่อว่าเป็นรูปายตนะ [๘๑๕] รูปที่เป็นภายนอกไม่เป็นรูปายตนะ นั้นเป็นไฉน สัททายตนะ ฯลฯ กวฬิงการาหาร รูปที่เป็นภายนอกนี้ชื่อว่าไม่เป็นรูปายตนะอัชฌัตติกนสัททายตนติกาทิติกะ [๘๑๖] รูปที่เป็นภายในไม่เป็นสัททายตนะ ฯลฯ ไม่เป็นคันธายตนะ ฯลฯ ไม่เป็นรสายตนะ ฯลฯ ไม่เป็นโผฏฐัพพายตนะ นั้นเป็นไฉน จักขายตนะ ฯลฯ กายายตนะ รูปที่เป็นภายในนี้ชื่อว่าไม่เป็นโผฏฐัพพายตนะ [๘๑๗] รูปที่เป็นภายนอกเป็นโผฏฐัพพายตนะ นั้นเป็นไฉน {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า : ๒๒๙}
พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๒. รูปกัณฑ์]
รูปวิภัตติ ติกนิทเทส ธาตุติกะ
ปฐวีธาตุ ฯลฯ นี้ชื่อว่าโผฏฐัพพธาตุบ้าง รูปที่เป็นภายนอกนี้ ชื่อว่าเป็น โผฏฐัพพายตนะ [๘๑๘] รูปที่เป็นภายนอกไม่เป็นโผฏฐัพพายตนะ นั้นเป็นไฉน รูปายตนะ ฯลฯ กวฬิงการาหาร รูปที่เป็นภายนอกนี้ ชื่อว่าไม่เป็น โผฏฐัพพายตนะอายตนติกะ จบ ธาตุติกะ พาหิรนจักขุธาตุติกะ [๘๑๙] รูปที่เป็นภายนอกไม่เป็นจักขุธาตุ นั้นเป็นไฉน รูปายตนะ ฯลฯ กวฬิงการาหาร รูปที่เป็นภายนอกนี้ชื่อว่าไม่เป็นจักขุธาตุ [๘๒๐] รูปที่เป็นภายในเป็นจักขุธาตุ นั้นเป็นไฉน จักขายตนะ รูปที่เป็นภายในนี้ชื่อว่าเป็นจักขุธาตุ [๘๒๑] รูปที่เป็นภายในไม่เป็นจักขุธาตุ นั้นเป็นไฉน โสตายตนะ ฯลฯ กายายตนะ รูปที่เป็นภายในนี้ชื่อว่าไม่เป็นจักขุธาตุพาหิรนโสตธาตุติกาทิติกะ [๘๒๒] รูปที่เป็นภายนอกไม่เป็นโสตธาตุ ฯลฯ ไม่เป็นฆานธาตุ ฯลฯ ไม่เป็นชิวหาธาตุ ฯลฯ ไม่เป็นกายธาตุ นั้นเป็นไฉน รูปายตนะ ฯลฯ กวฬิงการาหาร รูปที่เป็นภายนอกนี้ชื่อว่าไม่เป็นกายธาตุ [๘๒๓] รูปที่เป็นภายในเป็นกายธาตุ นั้นเป็นไฉน กายายตนะ รูปที่เป็นภายในนี้ชื่อว่าเป็นกายธาตุ [๘๒๔] รูปที่เป็นภายในไม่เป็นกายธาตุ นั้นเป็นไฉน จักขายตนะ ฯลฯ ชิวหายตนะ รูปที่เป็นภายในนี้ชื่อว่าไม่เป็นกายธาตุ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า : ๒๓๐}
พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๒. รูปกัณฑ์]
รูปวิภัตติ ติกนิทเทส อินทริยติกะ
อัชฌัตติกนรูปธาตุติกะ [๘๒๕] รูปที่เป็นภายในไม่เป็นรูปธาตุ นั้นเป็นไฉน จักขายตนะ ฯลฯ กายายตนะ รูปที่เป็นภายในนี้ชื่อว่าไม่เป็นรูปธาตุ [๘๒๖] รูปที่เป็นภายนอกเป็นรูปธาตุ นั้นเป็นไฉน รูปายตนะ รูปที่เป็นภายนอกนี้ชื่อว่าเป็นรูปธาตุ [๘๒๗] รูปที่เป็นภายนอกไม่เป็นรูปธาตุ นั้นเป็นไฉน สัททายตนะ ฯลฯ กวฬิงการาหาร รูปที่เป็นภายนอกนี้ชื่อว่าไม่เป็นรูปธาตุอัชฌัตติกนสัททธาตุติกาทิติกะ [๘๒๘] รูปที่เป็นภายในไม่เป็นสัททธาตุ ฯลฯ ไม่เป็นคันธธาตุ ฯลฯ ไม่ เป็นรสธาตุ ฯลฯ ไม่เป็นโผฏฐัพพธาตุ นั้นเป็นไฉน จักขายตนะ ฯลฯ กายายตนะ รูปที่เป็นภายในนี้ชื่อว่าไม่เป็นโผฏฐัพพธาตุ [๘๒๙] รูปที่เป็นภายนอกเป็นโผฏฐัพพธาตุ นั้นเป็นไฉน โผฏฐัพพายตนะ รูปที่เป็นภายนอกนี้ชื่อว่าเป็นโผฏฐัพพธาตุ [๘๓๐] รูปที่เป็นภายนอกไม่เป็นโผฏฐัพพธาตุ นั้นเป็นไฉน รูปายตนะ ฯลฯ กวฬิงการาหาร รูปที่เป็นภายนอกนี้ชื่อว่าไม่เป็นโผฏฐัพพธาตุธาตุติกะ จบ อินทริยติกะ พาหิรนจักขุนทริยติกะ [๘๓๑] รูปที่เป็นภายนอกไม่เป็นจักขุนทรีย์ นั้นเป็นไฉน รูปายตนะ ฯลฯ กวฬิงการาหาร รูปที่เป็นภายนอกนี้ชื่อว่าไม่เป็นจักขุนทรีย์ [๘๓๒] รูปที่เป็นภายในเป็นจักขุนทรีย์ นั้นเป็นไฉน จักษุใด เป็นปสาทรูป อาศัยมหาภูตรูป ๔ ฯลฯ นี้ชื่อว่าบ้านว่างบ้าง รูปที่ เป็นภายในนี้ชื่อว่าเป็นจักขุนทรีย์ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า : ๒๓๑}
พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๒. รูปกัณฑ์]
รูปวิภัตติ ติกนิทเทส อินทริยติกะ
[๘๓๓] รูปที่เป็นภายในไม่เป็นจักขุนทรีย์ นั้นเป็นไฉน โสตายตนะ ฯลฯ กายายตนะ รูปที่เป็นภายในนี้ชื่อว่าไม่เป็นจักขุนทรีย์พาหิรนโสตินทริยติกาทิติกะ [๘๓๔] รูปที่เป็นภายนอกไม่เป็นโสตินทรีย์ ฯลฯ ไม่เป็นฆานินทรีย์ ฯลฯ ไม่เป็นชิวหินทรีย์ ฯลฯ ไม่เป็นกายินทรีย์ นั้นเป็นไฉน รูปายตนะ ฯลฯ กวฬิงการาหาร รูปที่เป็นภายนอกนี้ชื่อว่าไม่เป็นกายินทรีย์ [๘๓๕] รูปที่เป็นภายในเป็นกายินทรีย์ นั้นเป็นไฉน กายใด เป็นปสาทรูป อาศัยมหาภูตรูป ๔ ฯลฯ นี้ชื่อว่าบ้านว่างบ้าง รูปที่เป็น ภายในนี้ชื่อว่าเป็นกายินทรีย์ [๘๓๖] รูปที่เป็นภายในไม่เป็นกายินทรีย์ นั้นเป็นไฉน จักขายตนะ ฯลฯ ชิวหายตนะ รูปที่เป็นภายในนี้ชื่อว่าไม่เป็นกายินทรีย์อัชฌัตติกนอิตถินทริยติกะ [๘๓๗] รูปที่เป็นภายในไม่เป็นอิตถินทรีย์ นั้นเป็นไฉน จักขายตนะ ฯลฯ กายายตนะ รูปที่เป็นภายในนี้ชื่อว่าไม่เป็นอิตถินทรีย์ [๘๓๘] รูปที่เป็นภายนอกเป็นอิตถินทรีย์ นั้นเป็นไฉน ทรวดทรงหญิง เครื่องหมายประจำเพศหญิง กิริยาหญิง อาการหญิง สภาพ หญิง ภาวะหญิงของสตรี รูปที่เป็นภายนอกนี้ชื่อว่าเป็นอิตถินทรีย์ [๘๓๙] รูปที่เป็นภายนอกไม่เป็นอิตถินทรีย์ นั้นเป็นไฉน รูปายตนะ ฯลฯ กวฬิงการาหาร รูปที่เป็นภายนอกนี้ชื่อว่าไม่เป็นอิตถินทรีย์อัชฌัตติกนปุริสินทริยติกะ [๘๔๐] รูปที่เป็นภายในไม่เป็นปุริสินทรีย์ นั้นเป็นไฉน จักขายตนะ ฯลฯ กายายตนะ รูปที่เป็นภายในนี้ชื่อว่าไม่เป็นปุริสินทรีย์ [๘๔๑] รูปที่เป็นภายนอกเป็นปุริสินทรีย์ นั้นเป็นไฉน ทรวดทรงชาย เครื่องหมายประจำเพศชาย กิริยาชาย อาการชาย สภาพชาย ภาวะชาย ของบุรุษ รูปที่เป็นภายนอกนี้ชื่อว่าเป็นปุริสินทรีย์ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า : ๒๓๒}
พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๒. รูปกัณฑ์]
รูปวิภัตติ ติกนิทเทส สุขุมรูปติกะ
[๘๔๒] รูปที่เป็นภายนอกไม่เป็นปุริสินทรีย์ นั้นเป็นไฉน รูปายตนะ ฯลฯ กวฬิงการาหาร รูปที่เป็นภายนอกนี้ชื่อว่าไม่เป็นปุริสินทรีย์อัชฌัตติกนชีวิตินทริยติกะ [๘๔๓] รูปที่เป็นภายในไม่เป็นชีวิตินทรีย์ นั้นเป็นไฉน จักขายตนะ ฯลฯ กายายตนะ รูปที่เป็นภายในนี้ชื่อว่าไม่เป็นชีวิตินทรีย์ [๘๔๔] รูปที่เป็นภายนอกเป็นชีวิตินทรีย์ นั้นเป็นไฉน อายุ ความดำรงอยู่ ความเป็นไป กิริยาที่ให้เป็นไป อาการที่สืบเนื่องกัน ความ ดำเนินไป ความหล่อเลี้ยง ชีวิต ชีวิตินทรีย์แห่งสภาวธรรมที่เป็นรูปเหล่านั้น รูปที่ เป็นภายนอกนี้ชื่อว่าเป็นชีวิตินทรีย์ [๘๔๕] รูปที่เป็นภายนอกไม่เป็นชีวิตินทรีย์ นั้นเป็นไฉน รูปายตนะ ฯลฯ กวฬิงการาหาร รูปที่เป็นภายนอกนี้ชื่อว่าไม่เป็นชีวิตินทรีย์อินทริยติกะ จบ สุขุมรูปติกะ อัชฌัตติกนกายวิญญัตติติกะ [๘๔๖] รูปที่เป็นภายในไม่เป็นกายวิญญัติ นั้นเป็นไฉน จักขายตนะ ฯลฯ กายายตนะ รูปที่เป็นภายในนี้ชื่อว่าไม่เป็นกายวิญญัติ [๘๔๗] รูปที่เป็นภายนอกเป็นกายวิญญัติ นั้นเป็นไฉน ความเข้มแข็ง กิริยาที่เข้มแข็งด้วยดี ภาวะที่เข้มแข็งด้วยดี การแสดงให้รู้ความ หมาย กิริยาที่แสดงให้รู้ความหมาย ภาวะที่แสดงให้รู้ความหมายแห่งกายของ บุคคลผู้มีจิตเป็นกุศล มีจิตเป็นอกุศล มีจิตเป็นอัพยากฤต ก้าวไปอยู่ ถอยกลับอยู่ แลดูอยู่ เหลียวดูอยู่ คู้เข้าอยู่ หรือเหยียดออกอยู่ รูปที่เป็นภายนอกนี้ชื่อว่าเป็นกายวิญญัติ [๘๔๘] รูปที่เป็นภายนอกไม่เป็นกายวิญญัติ นั้นเป็นไฉน รูปายตนะ ฯลฯ กวฬิงการาหาร รูปที่เป็นภายนอกนี้ชื่อว่าไม่เป็นกายวิญญัติ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า : ๒๓๓}
พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๒. รูปกัณฑ์]
รูปวิภัตติ ติกนิทเทส สุขุมรูปติกะ
อัชฌัตติกนวจีวิญญัตติติกะ [๘๔๙] รูปที่เป็นภายในไม่เป็นวจีวิญญัติ นั้นเป็นไฉน จักขายตนะ ฯลฯ กายายตนะ รูปที่เป็นภายในนี้ชื่อว่าไม่เป็นวจีวิญญัติ [๘๕๐] รูปที่เป็นภายนอกเป็นวจีวิญญัติ นั้นเป็นไฉน การพูด การเปล่งวาจา การเจรจา การกล่าว การป่าวร้อง การโฆษณา วาจา วจีเภท ของบุคคลผู้มีจิตเป็นกุศล มีจิตเป็นอกุศล หรือมีจิตเป็นอัพยากฤต นี้เรียกว่า วาจา การแสดงให้รู้ความหมาย กิริยาที่แสดงให้รู้ความหมาย ภาวะที่แสดงให้รู้ ความหมายด้วยวาจานั้น รูปที่เป็นภายนอกนี้ชื่อว่าเป็นวจีวิญญัติ [๘๕๑] รูปที่เป็นภายนอกไม่เป็นวจีวิญญัติ นั้นเป็นไฉน รูปายตนะ ฯลฯ กวฬิงการาหาร รูปที่เป็นภายนอกนี้ชื่อว่าไม่เป็นวจีวิญญัติอัชฌัตติกนอากาสธาตุติกะ [๘๕๒] รูปที่เป็นภายในไม่เป็นอากาสธาตุ นั้นเป็นไฉน จักขายตนะ ฯลฯ กายายตนะ รูปที่เป็นภายในนี้ชื่อว่าไม่เป็นอากาสธาตุ [๘๕๓] รูปที่เป็นภายนอกเป็นอากาสธาตุ นั้นเป็นไฉน อากาศ ธรรมชาติที่นับว่าอากาศ ความว่างเปล่า ธรรมชาติที่นับว่าความ ว่างเปล่า ช่องว่าง ธรรมชาติที่นับว่าช่องว่างซึ่งมหาภูตรูป ๔ ถูกต้องไม่ได้ รูปที่เป็น ภายนอกนี้ชื่อว่าเป็นอากาสธาตุ [๘๕๔] รูปที่เป็นภายนอกไม่เป็นอากาสธาตุ นั้นเป็นไฉน รูปายตนะ ฯลฯ กวฬิงการาหาร รูปที่เป็นภายนอกนี้ชื่อว่าไม่เป็นอากาสธาตุอัชฌัตติกนอาโปธาตุติกะ [๘๕๕] รูปที่เป็นภายในไม่เป็นอาโปธาตุ นั้นเป็นไฉน จักขายตนะ ฯลฯ กายายตนะ รูปที่เป็นภายในนี้ชื่อว่าไม่เป็นอาโปธาตุ [๘๕๖] รูปที่เป็นภายนอกเป็นอาโปธาตุ นั้นเป็นไฉน ความเอิบอาบ ธรรมชาติที่เอิบอาบ ความเหนียว ธรรมชาติที่เหนียว ธรรมชาติเป็นเครื่องเกาะกุมรูป รูปที่เป็นภายนอกนี้ชื่อว่าเป็นอาโปธาตุ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า : ๒๓๔}
พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๒. รูปกัณฑ์]
รูปวิภัตติ ติกนิทเทส สุขุมรูปติกะ
[๘๕๗] รูปที่เป็นภายนอกไม่เป็นอาโปธาตุ นั้นเป็นไฉน รูปายตนะ ฯลฯ กวฬิงการาหาร รูปที่เป็นภายนอกนี้ชื่อว่าไม่เป็นอาโปธาตุอัชฌัตติกนรูปัสสลหุตาติกะ [๘๕๘] รูปที่เป็นภายในไม่เป็นลหุตารูป นั้นเป็นไฉน จักขายตนะ ฯลฯ กายายตนะ รูปที่เป็นภายในนี้ชื่อว่าไม่เป็นลหุตารูป [๘๕๙] รูปที่เป็นภายนอกเป็นลหุตารูป นั้นเป็นไฉน ความเบา ความรวดเร็ว ความไม่เชื่องช้า ความไม่หนักแห่งรูป รูปที่เป็น ภายนอกนี้ชื่อว่าเป็นลหุตารูป [๘๖๐] รูปที่เป็นภายนอกไม่เป็นลหุตารูป นั้นเป็นไฉน รูปายตนะ ฯลฯ กวฬิงการาหาร รูปที่เป็นภายนอกนี้ชื่อว่าไม่เป็นลหุตารูปอัชฌัตติกนรูปัสสมุทุตาติกะ [๘๖๑] รูปที่เป็นภายในไม่เป็นมุทุตารูป นั้นเป็นไฉน จักขายตนะ ฯลฯ กายายตนะ รูปที่เป็นภายในนี้ชื่อว่าไม่เป็นมุทุตารูป [๘๖๒] รูปที่เป็นภายนอกเป็นมุทุตารูป นั้นเป็นไฉน ความอ่อน ภาวะที่อ่อน ความไม่แข็ง ความไม่กระด้างแห่งรูป รูปที่เป็น ภายนอกนี้ชื่อว่าเป็นมุทุตารูป [๘๖๓] รูปที่เป็นภายนอกไม่เป็นมุทุตารูป นั้นเป็นไฉน รูปายตนะ ฯลฯ กวฬิงการาหาร รูปที่เป็นภายนอกนี้ชื่อว่าไม่เป็นมุทุตารูปอัชฌัตติกนรูปัสสกัมมัญญตาติกะ [๘๖๔] รูปที่เป็นภายในไม่เป็นกัมมัญญตารูป นั้นเป็นไฉน จักขายตนะ ฯลฯ กายายตนะ รูปที่เป็นภายในนี้ชื่อว่าไม่เป็นกัมมัญญตารูป [๘๖๕] รูปที่เป็นภายนอกเป็นกัมมัญญตารูป นั้นเป็นไฉน ความควรแก่การงาน กิริยาที่ควรแก่การงาน ภาวะที่ควรแก่การงานแห่งรูป รูปที่เป็นภายนอกนี้ชื่อว่าเป็นกัมมัญญตารูป {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า : ๒๓๕}
พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๒. รูปกัณฑ์]
รูปวิภัตติ ติกนิทเทส สุขุมรูปติกะ
[๘๖๖] รูปที่เป็นภายนอกไม่เป็นกัมมัญญตารูป นั้นเป็นไฉน รูปายตนะ ฯลฯ กวฬิงการาหาร รูปที่เป็นภายนอกนี้ชื่อว่าไม่เป็นกัมมัญญตารูปอัชฌัตติกนรูปัสสอุปจยติกะ [๘๖๗] รูปที่เป็นภายในไม่เป็นอุปจยรูป นั้นเป็นไฉน จักขายตนะ ฯลฯ กายายตนะ รูปที่เป็นภายในนี้ชื่อว่าไม่เป็นอุปจยรูป [๘๖๘] รูปที่เป็นภายนอกเป็นอุปจยรูป นั้นเป็นไฉน ความแรกเกิดแห่งอายตนะ เป็นความเจริญแห่งรูป รูปที่เป็นภายนอกนี้ชื่อว่า เป็นอุปจยรูป [๘๖๙] รูปที่เป็นภายนอกไม่เป็นอุปจยรูป นั้นเป็นไฉน รูปายตนะ ฯลฯ กวฬิงการาหาร รูปที่เป็นภายนอกนี้ชื่อว่าไม่เป็นอุปจยรูปอัชฌัตติกนรูปัสสสันตติติกะ [๘๗๐] รูปที่เป็นภายในไม่เป็นสันตติรูป นั้นเป็นไฉน จักขายตนะ ฯลฯ กายายตนะ รูปที่เป็นภายในนี้ชื่อว่าไม่เป็นสันตติรูป [๘๗๑] รูปที่เป็นภายนอกเป็นสันตติรูป นั้นเป็นไฉน ความเจริญแห่งรูป เป็นความสืบต่อแห่งรูป รูปที่เป็นภายนอกนี้ชื่อว่า เป็นสันตติรูป [๘๗๒] รูปที่เป็นภายนอกไม่เป็นสันตติรูป นั้นเป็นไฉน รูปายตนะ ฯลฯ กวฬิงการาหาร รูปที่เป็นภายนอกนี้ชื่อว่าไม่เป็นสันตติรูปอัชฌัตติกนรูปัสสชรตาติกะ [๘๗๓] รูปที่เป็นภายในไม่เป็นชรตารูป นั้นเป็นไฉน จักขายตนะ ฯลฯ กายายตนะ รูปที่เป็นภายในนี้ชื่อว่าไม่เป็นชรตารูป [๘๗๔] รูปที่เป็นภายนอกเป็นชรตารูป นั้นเป็นไฉน {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า : ๒๓๖}
พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๒. รูปกัณฑ์]
รูปวิภัตติ ติกนิทเทส สุขุมรูปติกะ
ความชรา ความคร่ำคร่า ความมีฟันหลุด ความมีผมหงอก ความมีหนังเหี่ยว ความเสื่อมอายุ ความหง่อมแห่งอินทรีย์ของรูป รูปที่เป็นภายนอกนี้ชื่อว่าเป็น ชรตารูป [๘๗๕] รูปที่เป็นภายนอกไม่เป็นชรตารูป นั้นเป็นไฉน รูปายตนะ ฯลฯ กวฬิงการาหาร รูปที่เป็นภายนอกนี้ชื่อว่าไม่เป็นชรตารูปอัชฌัตติกนรูปัสสอนิจจตาติกะ [๘๗๖] รูปที่เป็นภายในไม่เป็นอนิจจตารูป นั้นเป็นไฉน จักขายตนะ ฯลฯ กายายตนะ รูปที่เป็นภายในนี้ชื่อว่าไม่เป็นอนิจจตารูป [๘๗๗] รูปที่เป็นภายนอกเป็นอนิจจตารูป นั้นเป็นไฉน ความสิ้นไป ความเสื่อมไป ความแตก ความทำลาย ความไม่เที่ยง ความ หายไปแห่งรูป รูปที่เป็นภายนอกนี้ชื่อว่าเป็นอนิจจตารูป [๘๗๘] รูปที่เป็นภายนอกไม่เป็นอนิจจตารูป นั้นเป็นไฉน รูปายตนะ ฯลฯ กวฬิงการาหาร รูปที่เป็นภายนอกนี้ชื่อว่าไม่เป็นอนิจจตารูปอัชฌัตติกนกวฬิงการาหารติกะ [๘๗๙] รูปที่เป็นภายในไม่เป็นกวฬิงการาหาร นั้นเป็นไฉน จักขายตนะ ฯลฯ กายายตนะ รูปที่เป็นภายในนี้ชื่อว่าไม่เป็นกวฬิงการาหาร [๘๘๐] รูปที่เป็นภายนอกเป็นกวฬิงการาหาร นั้นเป็นไฉน ข้าวสุก ขนมสด ขนมแห้ง ปลา เนื้อ นมสด นมส้ม เนยใส เนยข้น น้ำมัน น้ำผึ้ง น้ำอ้อย หรือรูปแม้อื่น มีอยู่ ที่พึงกินทางปาก ขบเคี้ยว กลืนกิน อิ่มท้อง ซึ่ง มีโอชาเป็นเหตุให้สัตว์ในสถานที่นั้นๆ ดำรงชีพอยู่ได้ รูปที่เป็นภายนอกนี้ชื่อว่าเป็น กวฬิงการาหาร [๘๘๑] รูปที่เป็นภายนอกไม่เป็นกวฬิงการาหาร นั้นเป็นไฉน รูปายตนะ ฯลฯ อนิจจตารูป รูปที่เป็นภายนอกนี้ชื่อว่าไม่เป็นกวฬิงการาหารสุขุมรูปติกะ จบ รวมรูปหมวดละ ๓ อย่างนี้ ติกนิทเทส จบ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า : ๒๓๗}
เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๓๔ หน้าที่ ๒๒๐-๒๓๗. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=34&siri=52 ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2], [3], [4], [5], [6]. อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=34&A=5042&Z=5388 ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=34&i=588 พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=34&item=588&items=46 อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=53&A=9875 The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=34&item=588&items=46 The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=53&A=9875 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๔ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu34 อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/ds2.2.3/en/caf_rhysdavids#pts-cs741
![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() |
![]() |
บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]