ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๔ พระอภิธรรมปิฎกเล่มที่ ๑ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ธรรมสังคณีปกรณ์

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๔. อัฏฐกถากัณฑ์]

ทุกอัตถุทธาระ ปิฏฐิทุกะ

๑๓. ปิฏฐิทุกะ
๑. ทัสสเนนปหาตัพพทุกะ
[๑๕๘๑] สภาวธรรมที่ต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรค เป็นไฉน จิตตุปบาทที่สัมปยุตด้วยทิฏฐิ ๔ จิตตุปบาทที่สหรคตด้วยวิจิกิจฉา สภาว- ธรรมเหล่านี้ชื่อว่าต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรค จิตตุปบาทที่สหรคตด้วยโลภะ วิปปยุตจากทิฏฐิ ๔ จิตตุปบาทที่สหรคตด้วยโทมนัส ๒ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคก็มี ไม่ต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคก็มี [๑๕๘๒] สภาวธรรมที่ไม่ต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรค เป็นไฉน จิตตุปบาทที่สหรคตด้วยอุทธัจจะ กุศลในภูมิ ๔ วิบากในภูมิ ๔ อัพยากต- กิริยาในภูมิ ๓ รูป และนิพพาน สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าไม่ต้องประหาณด้วย โสดาปัตติมรรค
๒. ภาวนายปหาตัพพทุกะ
[๑๕๘๓] สภาวธรรมที่ต้องประหาณด้วยมรรคเบื้องบน ๓ เป็นไฉน จิตตุปบาทที่สหรคตด้วยอุทธัจจะ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าต้องประหาณด้วย มรรคเบื้องบน ๓ จิตตุปบาทที่สหรคตด้วยโลภะ วิปปยุตจากทิฏฐิ ๔ จิตตุปบาท ที่สหรคตด้วยโทมนัส ๒ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าต้องประหาณด้วยมรรคเบื้องบน ๓ ก็มี ไม่ต้องประหาณด้วยมรรคเบื้องบน ๓ ก็มี [๑๕๘๔] สภาวธรรมที่ไม่ต้องประหาณด้วยมรรคเบื้องบน ๓ เป็นไฉน จิตตุปบาทที่สัมปยุตด้วยทิฏฐิ ๔ จิตตุปบาทที่สหรคตด้วยวิจิกิจฉา กุศลใน ภูมิ ๔ วิบากในภูมิ ๔ อัพยากตกิริยาในภูมิ ๓ รูป และนิพพาน สภาวธรรมเหล่านี้ ชื่อว่าไม่ต้องประหาณด้วยมรรคเบื้องบน ๓
๓. ทัสสเนนปหาตัพพเหตุกทุกะ
[๑๕๘๕] สภาวธรรมที่มีเหตุต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรค เป็นไฉน {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า : ๓๘๒}

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๔. อัฏฐกถากัณฑ์]

ทุกอัตถุทธาระ ปิฏฐิทุกะ

จิตตุปบาทที่สัมปยุตด้วยทิฏฐิ ๔ จิตตุปบาทที่สหรคตด้วยวิจิกิจฉา เว้นโมหะ ที่เกิดขึ้นในจิตตุปบาทนี้ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่ามีเหตุต้องประหาณด้วยโสดา- ปัตติมรรค จิตตุปบาทที่สหรคตด้วยโลภะ วิปปยุตจากทิฏฐิ ๔ จิตตุปบาทที่สหรคต ด้วยโทมนัส ๒ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่ามีเหตุต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคก็มี ไม่มีเหตุต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคก็มี [๑๕๘๖] สภาวธรรมที่ไม่มีเหตุต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรค เป็นไฉน โมหะที่สหรคตด้วยวิจิกิจฉา จิตตุปบาทที่สหรคตด้วยอุทธัจจะ กุศลในภูมิ ๔ วิบากในภูมิ ๔ อัพยากตกิริยาในภูมิ ๓ รูป และนิพพาน สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ไม่มีเหตุต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรค
๔. ภาวนายปหาตัพพเหตุกทุกะ
[๑๕๘๗] สภาวธรรมที่มีเหตุต้องประหาณด้วยมรรคเบื้องบน ๓ เป็นไฉน จิตตุปบาทที่สหรคตด้วยอุทธัจจะ เว้นโมหะที่เกิดขึ้นในจิตตุปบาทนี้ สภาว- ธรรมเหล่านี้ชื่อว่ามีเหตุต้องประหาณด้วยมรรคเบื้องบน ๓ จิตตุปบาทที่สหรคตด้วย โลภะ วิปปยุตจากทิฏฐิ ๔ จิตตุปบาทที่สหรคตด้วยโทมนัส ๒ สภาวธรรมเหล่านี้ ชื่อว่ามีเหตุต้องประหาณด้วยมรรคเบื้องบน ๓ ก็มี ไม่มีเหตุต้องประหาณด้วยมรรค เบื้องบน ๓ ก็มี [๑๕๘๘] สภาวธรรมที่ไม่มีเหตุต้องประหาณด้วยมรรคเบื้องบน ๓ เป็นไฉน จิตตุปบาทที่สัมปยุตด้วยทิฏฐิ ๔ จิตตุปบาทที่สหรคตด้วยวิจิกิจฉา โมหะที่ สหรคตด้วยอุทธัจจะ กุศลในภูมิ ๔ วิบากในภูมิ ๔ อัพยากตกิริยาในภูมิ ๓ รูป และ นิพพาน สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าไม่มีเหตุต้องประหาณด้วยมรรคเบื้องบน ๓
๕. สวิตักกทุกะ
[๑๕๘๙] สภาวธรรมที่มีวิตก เป็นไฉน กามาวจรกุศล อกุศล จิตตุปบาทฝ่ายวิบากแห่งกามาวจรกุศล ๑๑ ฝ่าย วิบากแห่งอกุศล ๒ ฝ่ายกิริยา ๑๑ รูปาวจรปฐมฌานฝ่ายกุศล วิบาก และกิริยา โลกุตตรปฐมฌานฝ่ายกุศล และวิบาก เว้นวิตกที่เกิดขึ้นในจิตตุปบาทนี้แล้ว สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่ามีวิตก {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า : ๓๘๓}

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๔. อัฏฐกถากัณฑ์]

ทุกอัตถุทธาระ ปิฏฐิทุกะ

[๑๕๙๐] สภาวธรรมที่ไม่มีวิตก เป็นไฉน ทวิปัญจวิญญาณ ฌาน ๓ และฌาน ๔ ที่เป็นรูปาวจรฝ่ายกุศล วิบาก และ กิริยา อรูป ๔ ฝ่ายกุศล วิบาก และกิริยา ฌาน ๓ และฌาน ๔ ที่เป็นโลกุตตระ ฝ่ายกุศล และวิบาก วิตก รูป และนิพพาน สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าไม่มีวิตก
๖. สวิจารทุกะ
[๑๕๙๑] สภาวธรรมที่มีวิจาร เป็นไฉน กามาวจรกุศล อกุศล จิตตุปบาทฝ่ายวิบากแห่งกามาวจรกุศล ๑๑ ฝ่าย วิบากแห่งอกุศล ๒ ฝ่ายกิริยา ๑๑ ฌาน ๑ และฌาน ๒ ที่เป็นรูปาวจรฝ่ายกุศล วิบาก และกิริยา ฌาน ๑ และฌาน ๒ ที่เป็นโลกุตตระฝ่ายกุศลและวิบาก เว้นวิจาร ที่เกิดขึ้นในจิตตุปบาทนี้ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่ามีวิจาร [๑๕๙๒] สภาวธรรมที่ไม่มีวิจาร เป็นไฉน ทวิปัญจวิญญาณ ฌาน ๓ และฌาน ๓ ที่เป็นรูปาวจรฝ่ายกุศล วิบาก และ กิริยา อรูป ๔ ฝ่ายกุศล วิบาก และกิริยา ฌาน ๓ และฌาน ๓ ที่เป็นโลกุตตระ ฝ่ายกุศลและวิบาก วิจาร รูป และนิพพาน สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าไม่มีวิจาร
๗. สัปปีติกทุกะ
[๑๕๙๓] สภาวธรรมที่มีปีติ เป็นไฉน จิตตุปบาทที่สหรคตด้วยโสมนัสฝ่ายกามาวจรกุศล ๔ ฝ่ายอกุศล ๔ ฝ่ายวิบาก แห่งกามาวจรกุศล ๕ ฝ่ายกิริยา ๕ ฌาน ๒ และฌาน ๓ ที่เป็นรูปาวจรฝ่ายกุศล วิบาก และกิริยา ฌาน ๒ และฌาน ๓ ที่เป็นโลกุตตระฝ่ายกุศล และวิบาก เว้นปีติ ที่เกิดขึ้นในจิตตุปบาทนี้ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่ามีปีติ [๑๕๙๔] สภาวธรรมที่ไม่มีปีติ เป็นไฉน จิตตุปบาทที่สหรคตด้วยอุเบกขาฝ่ายกามาวจรกุศล ๔ ฝ่ายอกุศล ๘ ฝ่าย วิบากแห่งกามาวจรกุศล ๑๑ ฝ่ายวิบากแห่งอกุศล ๗ ฝ่ายกิริยา ๖ ฌาน ๒ และ ฌาน ๒ ที่เป็นรูปาวจรฝ่ายกุศล วิบาก และกิริยา อรูป ๔ ฝ่ายกุศล วิบาก และ กิริยา ฌาน ๒ และฌาน ๒ ที่เป็นโลกุตตระฝ่ายกุศลและวิบาก ปีติ รูป และ นิพพาน สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าไม่มีปีติ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า : ๓๘๔}

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๔. อัฏฐกถากัณฑ์]

ทุกอัตถุทธาระ ปิฏฐิทุกะ

๘. ปีติสหคตทุกะ
[๑๕๙๕] สภาวธรรมที่สหรคตด้วยปีติ เป็นไฉน จิตตุปบาทที่สหรคตด้วยโสมนัสฝ่ายกามาวจรกุศล ๔ ฝ่ายอกุศล ๔ ฝ่าย วิบากแห่งกามาวจรกุศล ๕ ฝ่ายกิริยา ๕ ฌาน ๒ และฌาน ๓ ที่เป็นรูปาวจร ฝ่ายกุศล วิบาก และกิริยา ฌาน ๒ และฌาน ๓ ที่เป็นโลกุตตระฝ่ายกุศล และ วิบาก เว้นปีติที่เกิดขึ้นในจิตตุปบาทนี้แล้ว สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าสหรคตด้วยปีติ [๑๕๙๖] สภาวธรรมที่ไม่สหรคตด้วยปีติ เป็นไฉน จิตตุปบาทที่สหรคตด้วยอุเบกขา ฝ่ายกามาวจรกุศล ๔ ฝ่ายอกุศล ๘ ฝ่าย วิบากแห่งกามาวจรกุศล ๑๑ ฝ่ายวิบากแห่งอกุศล ๗ ฝ่ายกิริยา ๖ ฌาน ๒ และ ฌาน ๒ ที่เป็นรูปาวจรฝ่ายกุศล วิบาก และกิริยา อรูป ๔ ฝ่ายกุศล วิบาก และ กิริยา ฌาน ๒ และฌาน ๒ ที่เป็นโลกุตตระฝ่ายกุศลและวิบาก ปีติ รูป และ นิพพาน สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าไม่สหรคตด้วยปีติ
๙. สุขสหคตทุกะ
[๑๕๙๗] สภาวธรรมที่สหรคตด้วยสุข เป็นไฉน จิตตุปบาทที่สหรคตด้วยโสมนัสฝ่ายกามาวจรกุศล ๔ ฝ่ายอกุศล ๔ ฝ่ายวิบาก แห่งกามาวจรกุศล ๖ ฝ่ายกิริยา ๕ ฌาน ๓ และฌาน ๔ ที่เป็นรูปาวจรฝ่ายกุศล วิบาก และกิริยา ฌาน ๓ และฌาน ๔ ที่เป็นโลกุตตระฝ่ายกุศลและวิบาก เว้นสุขที่ เกิดขึ้นในจิตตุปบาทนี้ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าสหรคตด้วยสุข [๑๕๙๘] สภาวธรรมที่ไม่สหรคตด้วยสุข เป็นไฉน จิตตุปบาทที่สหรคตด้วยอุเบกขาฝ่ายกามาวจรกุศล ๔ ฝ่ายอกุศล ๘ ฝ่าย วิบากแห่งกามาวจรกุศล ๑๐ ฝ่ายวิบากแห่งอกุศล ๗ ฝ่ายกิริยา ๖ รูปาวจรจตุตถ- ฌานฝ่ายกุศล วิบาก และกิริยา อรูป ๔ ฝ่ายกุศล วิบาก และกิริยา โลกุตตร- จตุตถฌานฝ่ายกุศลและวิบาก สุข รูป และนิพพาน สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ไม่สหรคตด้วยสุข {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า : ๓๘๕}

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๔. อัฏฐกถากัณฑ์]

ทุกอัตถุทธาระ ปิฏฐิทุกะ

๑๐. อุเปกขาสหคตทุกะ
[๑๕๙๙] สภาวธรรมที่สหรคตด้วยอุเบกขา เป็นไฉน จิตตุปบาทที่สหรคตด้วยอุเบกขาฝ่ายกามาวจรกุศล ๔ ฝ่ายอกุศล ๖ ฝ่าย วิบากแห่งกามาวจรกุศล ๑๐ ฝ่ายวิบากแห่งอกุศล ๖ ฝ่ายกิริยา ๖ รูปาวจร- จตุตถฌาน ฝ่ายกุศล วิบาก และกิริยา อรูป ๔ ฝ่ายกุศล วิบาก และกิริยา โลกุตตรจตุตถฌานฝ่ายกุศลและวิบาก เว้นอุเบกขาที่เกิดขึ้นในจิตตุปบาทนี้ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าสหรคตด้วยอุเบกขา [๑๖๐๐] สภาวธรรมที่ไม่สหรคตด้วยอุเบกขา เป็นไฉน จิตตุปบาทที่สหรคตด้วยโสมนัสฝ่ายกามาวจรกุศล ๔ ฝ่ายอกุศล ๖ ฝ่ายวิบาก แห่งกามาวจรกุศล ๖ ฝ่ายวิบากแห่งอกุศล ๑ ฝ่ายกิริยา ๕ ฌาน ๓ และฌาน ๔ ที่เป็นรูปาวจรฝ่ายกุศล วิบาก และกิริยา ฌาน ๓ และฌาน ๔ ที่เป็นโลกุตตระ ฝ่ายกุศลและวิบาก อุเบกขา รูป และนิพพาน สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าไม่สหรคต ด้วยอุเบกขา
๑๑. กามาวจรทุกะ
[๑๖๐๑] สภาวธรรมที่เป็นกามาวจร เป็นไฉน กามาวจรกุศล อกุศล วิบากแห่งกามาวจรทั้งหมด อัพยากตกิริยาที่เป็น กามาวจรและรูปทั้งหมด สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นกามาวจร [๑๖๐๒] สภาวธรรมที่ไม่เป็นกามาวจร เป็นไฉน สภาวธรรมที่เป็นรูปาวจร อรูปาวจร และที่ไม่นับเนื่องในวัฏฏทุกข์ สภาวธรรม เหล่านี้ชื่อว่าไม่เป็นกามาวจร
๑๒. รูปาวจรทุกะ
[๑๖๐๓] สภาวธรรมที่เป็นรูปาวจร เป็นไฉน ฌาน ๔ และฌาน ๕ ที่เป็นรูปาวจรฝ่ายกุศล วิบาก และกิริยา สภาวธรรม เหล่านี้ชื่อว่าเป็นรูปาวจร [๑๖๐๔] สภาวธรรมที่ไม่เป็นรูปาวจร เป็นไฉน สภาวธรรมที่เป็นกามาวจร อรูปาวจร และที่ไม่นับเนื่องในวัฏฏทุกข์ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าไม่เป็นรูปาวจร {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า : ๓๘๖}

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๔. อัฏฐกถากัณฑ์]

ทุกอัตถุทธาระ ปิฏฐิทุกะ

๑๓. อรูปาวจรทุกะ
[๑๖๐๕] สภาวธรรมที่เป็นอรูปาวจร เป็นไฉน อรูป ๔ ฝ่ายกุศล วิบาก และกิริยา สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นอรูปาวจร [๑๖๐๖] สภาวธรรมที่ไม่เป็นอรูปาวจร เป็นไฉน สภาวธรรมที่เป็นกามาวจร รูปาวจร และที่ไม่นับเนื่องในวัฏฏทุกข์ สภาวธรรม เหล่านี้ชื่อว่าไม่เป็นอรูปาวจร
๑๔. ปริยาปันนทุกะ
[๑๖๐๗] สภาวธรรมที่นับเนื่องในวัฏฏทุกข์ เป็นไฉน กุศลในภูมิ ๓ อกุศล วิบากในภูมิ ๓ อัพยากตกิริยาในภูมิ ๓ และรูปทั้งหมด สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่านับเนื่องในวัฏฏทุกข์ [๑๖๐๘] สภาวธรรมที่ไม่นับเนื่องในวัฏฏทุกข์ เป็นไฉน มรรค ๔ ที่ไม่นับเนื่องในวัฏฏทุกข์ สามัญญผล ๔ และนิพพาน สภาวธรรม เหล่านี้ชื่อว่าไม่นับเนื่องในวัฏฏทุกข์
๑๕. นิยยานิกทุกะ
[๑๖๐๙] สภาวธรรมที่เป็นเหตุนำออกจากวัฏฏทุกข์ เป็นไฉน มรรค ๔ ที่ไม่นับเนื่องในวัฏฏทุกข์ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นเหตุนำออก จากวัฏฏทุกข์ [๑๖๑๐] สภาวธรรมที่ไม่เป็นเหตุนำออกจากวัฏฏทุกข์ เป็นไฉน กุศลในภูมิ ๓ อกุศล วิบากในภูมิ ๔ อัพยากตกิริยาในภูมิ ๓ รูป และนิพพาน สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าไม่เป็นเหตุนำออกจากวัฏฏทุกข์
๑๖. นิยตทุกะ
[๑๖๑๑] สภาวธรรมที่ให้ผลแน่นอน เป็นไฉน จิตตุปบาทที่สัมปยุตด้วยทิฏฐิ ๔ จิตตุปบาทที่สหรคตด้วยโทมนัส ๒ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าที่ให้ผลแน่นอนก็มี ที่ให้ผลไม่แน่นอนก็มี มรรค ๔ ที่ไม่นับ เนื่องในวัฏฏทุกข์ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าให้ผลแน่นอน {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า : ๓๘๗}

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๔. อัฏฐกถากัณฑ์]

ทุกอัตถุทธาระ ปิฏฐิทุกะ

[๑๖๑๒] สภาวธรรมที่ให้ผลไม่แน่นอน เป็นไฉน จิตตุปบาทที่สหรคตด้วยโลภะ วิปปยุตจากทิฏฐิ ๔ จิตตุปบาทที่สหรคตด้วย วิจิกิจฉา จิตตุปบาทที่สหรคตด้วยอุทธัจจะ กุศลในภูมิ ๓ วิบากในภูมิ ๔ อัพยากต- กิริยาในภูมิ ๓ รูป และนิพพาน สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าให้ผลไม่แน่นอน
๑๗. สอุตตรทุกะ
[๑๖๑๓] สภาวธรรมที่มีธรรมอื่นยิ่งกว่า เป็นไฉน กุศลในภูมิ ๓ อกุศล วิบากในภูมิ ๓ อัพยากตกิริยาในภูมิ ๓ และรูปทั้งหมด สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่ามีธรรมอื่นยิ่งกว่า [๑๖๑๔] สภาวธรรมที่ไม่มีธรรมอื่นยิ่งกว่า เป็นไฉน มรรค ๔ ที่ไม่นับเนื่องในวัฏฏทุกข์ สามัญญผล ๔ และนิพพาน สภาวธรรม เหล่านี้ชื่อว่าไม่มีธรรมอื่นยิ่งกว่า
๑๘. สรณทุกะ
[๑๖๑๕] สภาวธรรมที่เป็นเหตุให้สัตว์ร้องไห้ เป็นไฉน จิตตุปบาทที่เป็นอกุศล ๑๒ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นเหตุให้สัตว์ร้องไห้ [๑๖๑๖] สภาวธรรมที่ไม่เป็นเหตุให้สัตว์ร้องไห้ เป็นไฉน กุศลในภูมิ ๔ วิบากในภูมิ ๔ อัพยากตกิริยาในภูมิ ๓ รูป และนิพพาน สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าไม่เป็นเหตุให้สัตว์ร้องไห้
ปิฏฐิทุกะ จบ
ทุกอัตถุทธาระ จบ
อัฏฐกถากัณฑ์ จบ
ธัมมสังคณีปกรณ์ จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า : ๓๘๘}
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๔ อภิธรรมปิฎกที่ ๑ ธัมมสังคณี จบ


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๓๔ หน้าที่ ๓๘๒-๓๘๘. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=34&siri=77              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2], [3].                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=34&A=8388&Z=11161                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=34&i=970              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=34&item=970&items=18              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=34&item=970&items=18                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๔ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu34



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :