ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๔ พระอภิธรรมปิฎกเล่มที่ ๑ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ธรรมสังคณีปกรณ์

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๓. นิกเขปกัณฑ์]

สุตตันติกทุกนิกเขปะ

[๑๓๕๕] ความเป็นผู้รู้จักประมาณในการบริโภค เป็นไฉน ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ พิจารณาโดยแยบคายว่า เราบริโภคอาหารไม่ใช่ เพื่อเล่น ไม่ใช่เพื่อความมัวเมา ไม่ใช่เพื่อประเทืองผิว ไม่ใช่เพื่อให้อ้วนพี แต่เพื่อ กายนี้ดำรงอยู่ได้ เพื่อให้ชีวิตินทรีย์เป็นไป เพื่อบำบัดความหิว เพื่ออนุเคราะห์ พรหมจรรย์ โดยอุบายนี้ เราจักกำจัดเวทนาเก่าเสียได้ และจักไม่ให้เวทนาใหม่เกิด ขึ้น ความดำรงอยู่แห่งชีวิต ความไม่มีโทษและการอยู่โดยผาสุกจักมีแก่เราดังนี้ แล้ว จึงบริโภคอาหาร ความสันโดษ ความรู้จักประมาณ การพิจารณาในโภชนาหารนั้น นี้เรียกว่าความเป็นผู้รู้จักประมาณในการบริโภค๑-
๒๙. มุฏฐสัจจทุกะ
[๑๓๕๖] ความเป็นผู้มีสติหลงลืม เป็นไฉน ความระลึกไม่ได้ ความไม่ตามระลึก ความไม่หวนระลึก ความระลึกไม่ได้ อาการที่ระลึกไม่ได้ ความทรงจำไม่ได้ ความเลื่อนลอย ความหลงลืม นี้เรียกว่า ความเป็นผู้มีสติหลงลืม๒- [๑๓๕๗] ความเป็นผู้ไม่มีสัมปชัญญะ เป็นไฉน ความไม่รู้ ความไม่เห็น ฯลฯ ลิ่มคืออวิชชา อกุศลมูลคือโมหะ นี้เรียกว่าความ เป็นผู้ไม่มีสัมปชัญญะ
๓๐. สติสัมปชัญญทุกะ
[๑๓๕๘] สติ เป็นไฉน สติ ความตามระลึก ความหวนระลึก สติ กิริยาที่ระลึก ความทรงจำ ความไม่ เลื่อนลอย ความไม่หลงลืม สติ สตินทรีย์ สติพละ สัมมาสติ นี้เรียกว่าสติ๓- [๑๓๕๙] สัมปชัญญะ เป็นไฉน ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลงงมงาย ความเลือกเฟ้นธรรม สัมมาทิฏฐิ นี้เรียกว่าสัมปชัญญะ๔- @เชิงอรรถ : @ อภิ.วิ. ๓๕/๕๑๘/๒๙๙, อภิ.สงฺ.อ. ๔๕๙-๔๖๐ @ อภิ.วิ. ๓๕/๙๐๖/๔๔๑ @ อภิ.วิ. ๓๕/๕๒๔/๓๐๑ @ อภิ.วิ. ๓๕/๕๒๕/๓๐๑ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า : ๓๓๙}

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๓. นิกเขปกัณฑ์]

สุตตันติกทุกนิกเขปะ

๓๑. ปฏิสังขานพลทุกะ
[๑๓๖๐] กำลังคือการพิจารณา เป็นไฉน ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลงงมงาย ความเลือกเฟ้นธรรม สัมมาทิฏฐิ นี้เรียกว่ากำลังคือการพิจารณา [๑๓๖๑] กำลังคือภาวนา เป็นไฉน การเสพ การเจริญ การทำให้มาก ซึ่งกุศลธรรม นี้เรียกว่ากำลังคือภาวนา แม้โพชฌงค์ ๗ ก็เรียกว่ากำลังคือภาวนา
๓๒. สมถวิปัสสนาทุกะ
[๑๓๖๒] สมถะ เป็นไฉน ความตั้งอยู่แห่งจิต ฯลฯ สัมมาสมาธิ นี้เรียกว่าสมถะ [๑๓๖๓] วิปัสสนา เป็นไฉน ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลงงมงาย ความเลือกเฟ้นธรรม สัมมาทิฏฐิ นี้เรียกว่าวิปัสสนา
๓๓. สมถนิมิตตทุกะ
[๑๓๖๔] นิมิตแห่งสมถะ เป็นไฉน ความตั้งอยู่แห่งจิต ฯลฯ สัมมาสมาธิ นี้เรียกว่านิมิตของสมถะ [๑๓๖๕] นิมิตแห่งความเพียร เป็นไฉน การปรารภความเพียรทางใจ ฯลฯ สัมมาวายามะ นี้เรียกว่านิมิตแห่ง ความเพียร
๓๔. ปัคคาหทุกะ
[๑๓๖๖] ความเพียร เป็นไฉน การปรารภความเพียรทางใจ ฯลฯ สัมมาวายามะ นี้เรียกว่าความเพียร [๑๓๖๗] ความไม่ฟุ้งซ่าน เป็นไฉน ความตั้งอยู่แห่งจิต ฯลฯ สัมมาสมาธิ นี้เรียกว่าความไม่ฟุ้งซ่าน {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า : ๓๔๐}

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๓. นิกเขปกัณฑ์]

สุตตันติกทุกนิกเขปะ

๓๕. สีลวิปัตติทุกะ
[๑๓๖๘] ความวิบัติแห่งศีล เป็นไฉน การล่วงละเมิดทางกาย การล่วงละเมิดทางวาจา การล่วงละเมิดทางกายและ ทางวาจา นี้เรียกว่าความวิบัติแห่งศีล ความเป็นผู้ทุศีลแม้ทั้งหมดก็ชื่อว่าความวิบัติ แห่งศีล๑- [๑๓๖๙] ความวิบัติแห่งทิฏฐิ เป็นไฉน ความเห็นว่า ทานที่ให้แล้วไม่มีผล ยัญที่บูชาแล้วไม่มีผล การเซ่นสรวงไม่มีผล ผลวิบากแห่งกรรมที่ทำดีทำชั่วก็ไม่มี ไม่มีโลกนี้ ไม่มีโลกหน้า มารดาไม่มีคุณ บิดา ไม่มีคุณ สัตว์ที่เกิดผุดขึ้นไม่มี สมณพราหมณ์ผู้ประพฤติปฏิบัติชอบทำให้แจ้งโลกนี้ และโลกหน้าด้วยปัญญาอันยิ่งเองแล้วสอนผู้อื่นให้รู้แจ้งก็ไม่มีในโลก ดังนี้ ทิฏฐิ ความเห็นผิด ฯลฯ ความยึดถือโดยวิปลาส มีลักษณะเช่นว่านี้ นี้เรียกว่าความวิบัติ แห่งทิฏฐิ มิจฉาทิฏฐิทั้งหมดก็ชื่อว่าความวิบัติแห่งทิฏฐิ๑-
๓๖. สีลสัมปทาทุกะ
[๑๓๗๐] ความสมบูรณ์แห่งศีล เป็นไฉน ความไม่ล่วงละเมิดทางกาย ความไม่ล่วงละเมิดทางวาจา ความไม่ล่วงละเมิด ทางกายและทางวาจา นี้เรียกว่าความสมบูรณ์แห่งศีล ศีลสังวรแม้ทั้งหมดก็เรียกว่า ความสมบูรณ์แห่งศีล [๑๓๗๑] ความสมบูรณ์แห่งทิฏฐิ เป็นไฉน ความเห็นว่า ทานที่ให้แล้วมีผล ยัญที่บูชาแล้วมีผล การเซ่นสรวงมีผล ผล วิบากแห่งกรรมที่ทำดีทำชั่วมี โลกนี้มี โลกหน้ามี มารดามีคุณ บิดามีคุณ สัตว์ที่ เกิดผุดขึ้นก็มี สมณพราหมณ์ผู้ประพฤติปฏิบัติชอบทำให้แจ้งโลกนี้และโลกหน้าด้วย ปัญญาอันยิ่งเองแล้วสอนผู้อื่นให้รู้แจ้งมีอยู่ในโลก ดังนี้ ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลงงมงาย ความเลือกเฟ้นธรรม สัมมาทิฏฐิ มีลักษณะเช่นว่านี้ นี้เรียกว่า ความสมบูรณ์แห่งทิฏฐิ สัมมาทิฏฐิแม้ทั้งหมดก็เรียกว่าความสมบูรณ์แห่งทิฏฐิ @เชิงอรรถ : @ อภิ.วิ. ๓๕/๙๐๗/๔๔๑ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า : ๓๔๑}

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๓. นิกเขปกัณฑ์]

สุตตันติกทุกนิกเขปะ

๓๗. สีลวิสุทธิทุกะ
[๑๓๗๒] ความหมดจดแห่งศีล เป็นไฉน ความไม่ล่วงละเมิดทางกาย ความไม่ล่วงละเมิดทางวาจา ความไม่ล่วงละเมิด ทางกายและทางวาจา นี้เรียกว่าความหมดจดแห่งศีล ศีลสังวรแม้ทั้งหมดก็เรียกว่า ความหมดจดแห่งศีล [๑๓๗๓] ความหมดจดแห่งทิฏฐิ เป็นไฉน ญาณเป็นเครื่องรู้ว่าสัตว์มีกรรมเป็นของตน ญาณที่สมควรแก่การหยั่งรู้อริยสัจ ญาณของท่านผู้พรั่งพร้อมด้วยมรรค ญาณของท่านผู้พรั่งพร้อมด้วยผล
๓๘. ทิฏฐิวิสุทธิโขปนทุกะ
[๑๓๗๔] ที่ชื่อว่า ความหมดจดแห่งทิฏฐิ ได้แก่ ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลง ความเลือกเฟ้นธรรม สัมมาทิฏฐิ [๑๓๗๕] ที่ชื่อว่า ความเพียรของบุคคลผู้มีความเห็นหมดจด ได้แก่ การปรารภความเพียรทางใจ ฯลฯ สัมมาวายามะ
๓๙. สังเวชนียัฏฐานทุกะ
[๑๓๗๖] ที่ชื่อว่า ความสลดใจ ได้แก่ ญาณที่เห็นชาติโดยความเป็นภัย ญาณ ที่เห็นชราโดยความเป็นภัย ญาณที่เห็นพยาธิโดยความเป็นภัย ญาณที่เห็นมรณะ โดยความเป็นภัย ชื่อว่าฐานะเป็นที่ตั้งแห่งความสลดใจ ได้แก่ ชาติ ชรา พยาธิ และ มรณะ [๑๓๗๗] ที่ชื่อว่า ความเพียรโดยแยบคายของบุคคลผู้สลดใจ ได้แก่ ภิกษุ ในธรรมวินัยนี้ ยังฉันทะให้เกิด พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต ตั้งจิตไว้ เพื่อทำบาปอกุศลธรรมอันยังไม่เกิดไม่ให้เกิด เพื่อละบาปอกุศลธรรมอันเกิดแล้ว เพื่อทำกุศลธรรมอันยังไม่เกิดให้เกิด เพื่อความตั้งมั่น ไม่เลอะเลือน ภิยโยภาพ ไพบูลย์ เจริญเต็มที่แห่งกุศลธรรมอันเกิดแล้ว๑- @เชิงอรรถ : @ อภิ.วิ. ๓๕/๓๙๐/๒๔๙ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า : ๓๔๒}

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๓. นิกเขปกัณฑ์]

สุตตันติกทุกนิกเขปะ

๔๐. อสันตุฏฐิตากุสลธัมมทุกะ
[๑๓๗๘] ที่ชื่อว่า ความไม่สันโดษในกุศลธรรม ได้แก่ ความพอใจยิ่งๆ ขึ้นไป ของบุคคลผู้ไม่สันโดษในการเจริญกุศลธรรม [๑๓๗๙] ที่ชื่อว่า ความเป็นผู้ไม่ท้อถอยในความเพียร ได้แก่ ความเป็นผู้ กระทำโดยเคารพ ความเป็นผู้กระทำติดต่อ ความเป็นผู้กระทำไม่หยุด ความเป็น ผู้ประพฤติไม่ย่อหย่อน ความเป็นผู้ไม่ทิ้งฉันทะ ความเป็นผู้ไม่ทอดธุระ ความเสพ ความเจริญ การกระทำให้มาก เพื่อความเจริญแห่งกุศลธรรม
๔๑. วิชชาทุกะ
[๑๓๘๐] ที่ชื่อว่า วิชชา ได้แก่ วิชชา ๓ คือ ๑. วิชชา คือ ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ ๒. วิชชา คือ จุตูปปาตญาณ ๓. วิชชา คือ อาสวักขยญาณ [๑๓๘๑] ที่ชื่อว่า วิมุตติ ได้แก่ วิมุตติ ๒ คือ อธิมุตติแห่งจิต๑- (สมาบัติ ๘) และนิพพาน
๔๒. ขเยญาณทุกะ
[๑๓๘๒] ที่ชื่อว่า ความรู้ในอริยมรรค ได้แก่ ความรู้ของท่านผู้พรั่งพร้อมด้วย มรรคจิต [๑๓๘๓] ที่ชื่อว่า ความรู้ในอริยผล ได้แก่ ความรู้ของท่านผู้พรั่งพร้อมด้วย ผลจิต
สุตตันติกทุกนิกเขปะ จบ
นิกเขปกัณฑ์ จบ
@เชิงอรรถ : @ อภิ.สงฺ.อ. ๔๖๔ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า : ๓๔๓}

             เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๓๔ หน้าที่ ๓๓๙-๓๔๓. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=34&A=9757&w= http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=34&siri=65              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2].              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=34&A=7290&Z=7582&pagebreak=0              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=34&i=836              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลี อักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=34&item=836&items=42              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลี อักษรโรมัน :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=34&item=836&items=42              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๔ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu34

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจาก พระไตรปิฎก ฉบับมหาจุฬาฯ. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]