ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๗ พระวินัยปิฎกเล่มที่ ๗ [ฉบับมหาจุฬาฯ] จุลวรรค ภาค ๒

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๗. สังฆเภทขันธกะ]

๓. ตติยภาณวาร

ชี้แจงอย่างไม่มีข้อสงสัย ถูกย้อนถามก็ไม่โกรธ ภิกษุผู้มีลักษณะเช่นนั้นแลควรทำหน้าที่ทูตได้
พระเทวทัตถูกอสัทธรรม ๘ อย่างครอบงำ๑-
[๓๔๘] ภิกษุทั้งหลาย เทวทัตถูกอสัทธรรม ๘ อย่างครอบงำย่ำยีจิต ต้องไป เกิดในอบาย ต้องไปเกิดในนรก ดำรงอยู่ชั่วกัป แก้ไขไม่ได้ อสัทธรรม ๘ อย่าง คือ ๑. เทวทัตถูกลาภครอบงำย่ำยีจิต ต้องไปเกิดในอบาย ต้องไปเกิดในนรก ดำรงชั่วกัป แก้ไขไม่ได้ ๒. เทวทัตถูกความเสื่อมลาภครอบงำย่ำยีจิต ต้องไปเกิดในอบาย ต้อง ไปเกิดในนรก ดำรงอยู่ชั่วกัป แก้ไขไม่ได้ ๓. เทวทัตถูกยศครอบงำย่ำยีจิต ต้องไปเกิดในอบาย ต้องไปเกิดในนรก ดำรงอยู่ชั่วกัป แก้ไขไม่ได้ ๔. เทวทัตถูกความเสื่อมยศครอบงำย่ำยีจิต ต้องไปเกิดในอบาย ต้อง ไปเกิดในนรก ดำรงอยู่ชั่วกัป แก้ไขไม่ได้ ๕. เทวทัตถูกสักการะครอบงำย่ำยีจิต ต้องไปเกิดในอบาย ต้องไปเกิด ในนรก ดำรงอยู่ชั่วกัป แก้ไขไม่ได้ ๖. เทวทัตถูกความเสื่อมสักการะครอบงำย่ำยีจิต จักไปเกิดในอบาย จัก ไปเกิดในนรก ดำรงอยู่ชั่วกัป แก้ไขไม่ได้ ๗. เทวทัตถูกความปรารถนาชั่วครอบงำย่ำยีจิต จักไปเกิดในอบาย จัก ไปเกิดในนรก ดำรงอยู่ชั่วกัป แก้ไขไม่ได้ ๘. เทวทัตถูกความที่มีมิตรชั่วครอบงำย่ำยีจิต ต้องไปเกิดในอบาย ต้อง ไปเกิดในนรก ดำรงอยู่ชั่วกัป แก้ไขไม่ได้ ภิกษุทั้งหลาย เทวทัตถูกอสัทธรรม ๘ อย่างเหล่านี้แลครอบงำย่ำยีจิต ต้องไป เกิดในอบาย ต้องไปเกิดในนรก ดำรงอยู่ชั่วกัป แก้ไขไม่ได้ @เชิงอรรถ : @ องฺ.อฏฺฐก. (แปล) ๒๓/๗/๒๐๗ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า : ๒๐๙}

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๗. สังฆเภทขันธกะ]

๓. ตติยภาณวาร

[๓๔๙] ภิกษุทั้งหลาย ทางที่ดี ภิกษุพึงครอบงำลาภที่เกิดขึ้นอยู่ พึงครอบงำ ความเลื่อมลาภที่เกิดขึ้นอยู่ ... ยศที่เกิดขึ้น ... ความเสื่อมยศที่เกิดขึ้น ... สักการะ ที่เกิดขึ้น ... ความเสื่อมสักการะที่เกิดขึ้น ... ความปรารถนาชั่วที่เกิดขึ้น ... ความ ที่มีมิตรชั่วที่เกิดขึ้นอยู่ ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุอาศัยอำนาจประโยชน์อะไร จึงพึงครอบงำลาภที่เกิดขึ้นอยู่ พึงครอบงำความเสื่อมลาภที่เกิดขึ้น ... ยศที่เกิดขึ้น ... ความเสื่อมยศที่เกิดขึ้น ... สักการะที่เกิดขึ้น ... ความเสื่อมสักการะที่เกิดขึ้น ... ความปรารถนาชั่วที่เกิดขึ้น ... ความมีมิตรชั่วที่เกิดขึ้นอยู่ ภิกษุทั้งหลาย เพราะเมื่อภิกษุไม่ครอบงำลาภที่เกิดขึ้นอยู่ อาสวะและความ เร่าร้อนที่ก่อความคับแค้นทั้งหลายพึงเกิดขึ้น แต่เมื่อภิกษุนั้นครอบงำลาภที่เกิดขึ้น อยู่ อาสวะและความเร่าร้อนที่ก่อความคับแค้นทั้งหลายย่อมไม่มีแก่ภิกษุนั้น ภิกษุทั้งหลาย เพราะเมื่อภิกษุไม่ครอบงำความเสื่อมลาภที่เกิดขึ้นอยู่ ... ยศที่ เกิดขึ้น ... ความเสื่อมยศที่เกิดขึ้น .... สักการะที่เกิดขึ้น ... ความเสื่อมสักการะ ที่เกิดขึ้น ... ความปรารถนาชั่วที่เกิดขึ้น ... ความมีมิตรชั่วที่เกิดขึ้นอยู่ อาสวะและ ความเร่าร้อนที่ก่อความคับแค้นทั้งหลายพึงเกิดขึ้น แต่เมื่อภิกษุนั้นครอบงำความที่ มีมิตรชั่วที่เกิดขึ้นอยู่ อาสวะและความเร่าร้อนที่ก่อความคับแค้นทั้งหลายย่อมไม่มี แก่ภิกษุนั้น ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุอาศัยอำนาจประโยชน์นี้แล จึงพึงครอบงำลาภที่เกิดขึ้นอยู่ ... ความเสื่อมลาภที่เกิดขึ้น ... ยศที่เกิดขึ้น ... ความเสื่อมยศที่เกิดขึ้น ... สักการะ ที่เกิดขึ้น ...ความเสื่อมสักการะที่เกิดขึ้น ... ความปรารถนาชั่วที่เกิดขึ้น ... ความที่ มีมิตรชั่วที่เกิดขึ้นอยู่ @เชิงอรรถ : @ อาสวะทั้งหลาย ในที่นี้หมายถึงอาสวะทั้ง ๔ คือ กามาสวะ ภวาสวะ ทิฎฐาสวะ อวิชชาสวะ @ความเร่าร้อนที่ก่อให้เกิดความคับแค้นทั้งหลาย หมายถึงความเร่าร้อนคือกิเลส ความเร่าร้อนคือวิบาก @ซึ่งก่อความทุกข์ทางกายและใจ เป็นผลที่เกิดจากอาสวะ (สํ.สฬา.อ. ๓/๕๓-๖๒/๑๔, @องฺ.ฉกฺก.อ. ๓/๕๘/๑๔๐, องฺ.ฉกฺก.ฏีกา. ๓/๕๘/๑๕๔-๑๖๒) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า : ๒๑๐}

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๗. สังฆเภทขันธกะ]

๓. ตติยภาณวาร

ภิกษุทั้งหลาย เพราะฉะนั้นพวกเธอพึงศึกษาอย่างนี้ว่า พวกเราจะครอบงำลาภ ที่เกิดขึ้นอยู่ ความเสื่อมลาภที่เกิดขึ้น ... ยศที่เกิดขึ้น ... ความเสื่อมยศที่เกิดขึ้น ... สักการะที่เกิดขึ้น ... ความเสื่อมสักการะที่เกิดขึ้น ... ความปรารถนาชั่วที่เกิดขึ้น ... ความที่มีมิตรชั่วที่เกิดขึ้นอยู่ ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอพึงศึกษาอย่างนี้แล พระเทวทัตถูกอสัทธรรม ๓ อย่างครอบงำ [๓๕๐] ๑- ภิกษุทั้งหลาย เทวทัตถูกอสัทธรรม ๓ อย่างครอบงำย่ำยีจิต ต้อง ไปเกิดในอบาย ต้องไปเกิดในนรก ดำรงอยู่ชั่วกัป แก้ไขไม่ได้ อสัทธรรม ๓ อย่าง คือ ๑. ความปรารถนาชั่ว ๒. ความมีมิตรชั่ว ๓. การได้บรรลุคุณวิเศษขั้นต่ำแล้วเลิกเสียกลางคัน
นิคมคาถา
ใครๆ อย่าได้เกิดเป็นคนปรารถนาชั่ว ไม่ว่าในกาลไหนๆ ในโลก เธอทั้งหลายจงรู้จักเทวทัตว่ามีคติเหมือนกับคนปรารถนาชั่ว เทวทัตเป็นที่ยกย่องกันว่าเป็นบัณฑิต เป็นที่รู้กันว่า ได้อบรมตนแล้ว เราได้ฟังมาว่า เทวทัตดุจรุ่งเรืองอยู่ด้วยยศ เทวทัตนั้นสั่งสมความประมาท เบียดเบียนตถาคตนั้น จึงต้องไปเกิดในนรกอเวจี มีประตู ๔ ด้าน น่ากลัว ผู้ใดประทุษร้ายต่อผู้ไม่ประทุษร้ายตอบ ผู้ไม่ทำกรรมชั่ว บาปย่อมถูกต้องเฉพาะผู้นั้นเท่านั้น @เชิงอรรถ : @ ขุ.อิติ. (แปล) ๒๕/๘๙/๔๕๘-๔๖๐ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า : ๒๑๑}

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๗. สังฆเภทขันธกะ]

๓. ตติยภาณวาร

ผู้มีจิตประทุษร้าย ไม่มีความเอื้อเฟื้อ รูปใดเบียดเบียนตถาคตผู้เสด็จไปดี มีพระทัยสงบ ด้วยการกล่าวตำหนิ การตำหนิพระองค์ย่อมฟังไม่ขึ้น เปรียบเหมือนผู้ที่ตั้งใจประทุษร้ายมหาสมุทร ด้วยยาพิษจำนวนเป็นหม้อ เขาไม่อาจประทุษร้ายได้ เพราะมหาสมุทรน่ากลัว ภิกษุผู้ดำเนินตามมรรคาของพระพุทธเจ้า หรือพระสาวกพึงถึงความสิ้นทุกข์ได้ บัณฑิตทำพระพุทธเจ้าหรือพระสาวก ให้เป็นกัลยาณมิตรและคบหาท่านเหล่านั้น”

             เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๗ หน้าที่ ๒๐๙-๒๑๒. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=7&A=5631&w= http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=7&siri=54              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2].              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=7&A=3897&Z=4077&pagebreak=0              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=7&i=401              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลี อักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=7&item=393&items=11              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลี อักษรโรมัน :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=7&item=393&items=11              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๗ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu7

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจาก พระไตรปิฎก ฉบับมหาจุฬาฯ. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]