ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๗ พระวินัยปิฎกเล่มที่ ๗ [ฉบับมหาจุฬาฯ] จุลวรรค ภาค ๒

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๗. สังฆเภทขันธกะ]

๓. ตติยภาณวาร

๑๑. แสดงอนาบัติว่า เป็นอนาบัติ ๑๒. แสดงอาบัติว่า เป็นอาบัติ ๑๓. แสดงอาบัติเบาว่า เป็นอาบัติเบา ๑๔. แสดงอาบัติหนักว่า เป็นอาบัติหนัก ๑๕. แสดงอาบัติมีส่วนเหลือว่า เป็นอาบัติมีส่วนเหลือ ๑๖. แสดงอาบัติไม่มีส่วนเหลือว่า เป็นอาบัติไม่มีส่วนเหลือ ๑๗. แสดงอาบัติชั่วหยาบว่า เป็นอาบัติชั่วหยาบ ๑๘. แสดงอาบัติไม่ชั่วหยาบว่า เป็นอาบัติไม่ชั่วหยาบ ภิกษุเหล่านั้นย่อมไม่แยกพวกออกมาประกาศตัวด้วยเหตุ ๑๘ อย่างนี้ ไม่ แยกกัน ทำอุโบสถ ไม่แยกกันทำปวารณา ไม่แยกกันทำสังฆกรรม อุบาลี สงฆ์จะเป็นผู้สามัคคีกันด้วยเหตุเท่านี้แล” [๓๕๔] ๑- พระอุบาลีกราบทูลถามว่า “พระพุทธเจ้าข้า ภิกษุผู้ทำลายสงฆ์ผู้พร้อม เพรียงกัน จะประสบผลอย่างไร” พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อุบาลี ภิกษุผู้ทำลายสงฆ์ผู้พร้อมเพรียงกันนั้น ย่อม ประสบผลชั่วร้าย ชั่วกัป ถูกไฟไหม้ในนรกตลอดกัป”
นิคมคาถา
ภิกษุผู้ทำลายสงฆ์ให้แตกกัน ยินดีการแตกกัน ไม่ตั้งอยู่ในธรรม เป็นผู้เข้าถึงอบาย อยู่ในนรกตลอดกัป พลาดจากนิพพานอันเป็นแดนเกษมจากโยคะ เสวยผลกรรม อยู่ในนรกตลอดกัป เพราะทำลายสงฆ์ที่สามัคคีกันให้แตกแยกกัน พระอุบาลีทูลถามว่า “พระพุทธเจ้าข้า ภิกษุทำสงฆ์ที่แตกกันให้พร้อมเพรียงกัน จะประสบผลอย่างไร” @เชิงอรรถ : @ องฺ.ทสก. (แปล) ๒๔/๓๙/๙๐, อภิ.ก. ๓๗/๖๕๗/๓๙๕-๓๙๖, ๘๖๒/๔๙๒ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า : ๒๑๖}

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๗. สังฆเภทขันธกะ]

๓. ตติยภาณวาร

พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อุบาลี ภิกษุทำสงฆ์ที่แตกกันให้พร้อมเพรียงกัน ย่อม ประสบบุญอันประเสริฐ บันเทิงในสวรรค์ตลอดกัป
นิคมคาถา
ความพร้อมเพรียงของสงฆ์ เป็นเหตุให้เกิดสุข และบุคคลผู้อนุเคราะห์สงฆ์ผู้พร้อมเพรียงกันแล้ว ผู้ยินดีในความพร้อมเพรียงกัน ตั้งอยู่ในธรรม ย่อมไม่พลาดจากธรรมอันเป็นแดนเกษมจากโยคะ ย่อมบันเทิงในสวรรค์ตลอดกัป เพราะสมานสงฆ์ให้สามัคคีกัน”

             เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๗ หน้าที่ ๒๑๖-๒๑๗. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=7&A=5829&w= http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=7&siri=55              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=7&A=4078&Z=4189&pagebreak=0              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=7&i=404              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลี อักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=7&item=404&items=7              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลี อักษรโรมัน :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=7&item=404&items=7              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๗ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu7

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจาก พระไตรปิฎก ฉบับมหาจุฬาฯ. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]