ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๗ พระวินัยปิฎกเล่มที่ ๗ [ฉบับมหาจุฬาฯ] จุลวรรค ภาค ๒

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๑๐. ภิกขุนีขันธกะ]

๑. ปฐมภาณวาร

ครั้งนั้น ท่านพระอานนท์เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค ณ ที่ประทับ ครั้นแล้ว ถวายอภิวาท นั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “พระพุทธเจ้าข้า พระนางมหาปชาบดีโคตมีได้กล่าวกับข้าพระองค์อย่างนี้ว่า ‘ท่านอานนท์ ดิฉันจะทูล ขอพรอย่างหนึ่งจากพระผู้มีพระภาคว่า ขอประทานวโรกาส พระผู้มีพระภาคพึง อนุญาตการกราบ การลุกรับ การไหว้ สามีจิกรรมแก่ภิกษุทั้งหลายและภิกษุณี ทั้งหลายตามลำดับพรรษาเถิด พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อานนท์ ไม่ใช่ฐานะ ไม่ใช่โอกาสที่ตถาคตจะอนุญาต การกราบ การลุกรับ การไหว้ สามีจิกรรมแก่มาตุคาม อานนท์ เพราะพวกเดียรถีย์ เหล่านี้ผู้กล่าวธรรมไว้ไม่ดีก็ยังไม่กราบ ไม่ลุกรับ ไม่ไหว้ ไม่ทำสามีจิกรรมแก่มาตุคาม ไฉนตถาคตจะอนุญาตการกราบ การลุกรับ การไหว้ สามีจิกรรมแก่มาตุคามเล่า” ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคทรงแสดงธรรมีกถาเพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ รับสั่งกับ ภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงกราบ ไม่พึงลุกรับ ไม่พึงไหว้ ไม่พึง ทำสามีจิกรรมแก่มาตุคาม รูปใดทำ ต้องอาบัติทุกกฏ”
พระนางมหาปชาบดีโคตมีกราบทูลถามถึงสิกขาบท
ครั้งนั้น พระนางมหาปชาบดีโคตมีเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ครั้น ถึงแล้วถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาคแล้วได้ยืนอยู่ ณ ที่สมควร พระนางมหาปชาบดี โคตมีผู้ยืนอยู่ ณ ที่สมควรได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “พระพุทธเจ้าข้า พวก หม่อมฉันจะปฏิบัติในสิกขาบทของภิกษุณีทั้งหลายที่เป็นสาธารณบัญญัติ๑- กับภิกษุ ทั้งหลายอย่างไร” พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “โคตมี พวกเธอจงศึกษาสิกขาบทของภิกษุณีทั้งหลาย ที่เป็นสาธารณบัญญัติกับภิกษุทั้งหลาย เหมือนที่ภิกษุทั้งหลายศึกษากันฉะนั้น” @เชิงอรรถ : @ สาธารณบัญญัติ ได้แก่ บทบัญญัติที่พระผู้มีพระภาคทรงปรารภภิกษุสงฆ์บัญญัติไว้ เป็นข้อปฎิบัติสำหรับ @ภิกษุสงฆ์และภิกษุณีสงฆ์พึงรักษาด้วย จำนวน ๑๗๔ สิกขาบท ดังที่แสดงไว้แล้วในพระวินัยปิฎก @มหาวิภังค์ ภาค ๑ และภาค ๒ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า : ๓๒๒}

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๑๐. ภิกขุนีขันธกะ]

๑. ปฐมภาณวาร

พระนางทูลถามว่า “พระพุทธเจ้าข้า พวกหม่อมฉันจะปฏิบัติในสิกขาบทของ ภิกษุณีทั้งหลายที่เป็นอสาธารณบัญญัติ๑- กับภิกษุทั้งหลายอย่างไร” พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “โคตมี พวกเธอจงศึกษาสิกขาบทของภิกษุณีทั้งหลาย ที่เป็นอสาธารณบัญญัติ กับภิกษุทั้งหลายตามที่เราบัญญัติไว้”
ลักษณะตัดสินพระธรรมวินัย ๘ ประการ๒-
[๔๐๖] ครั้งนั้น พระนางมหาปชาบดีโคตมี เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค ณ ที่ประทับ ครั้นแล้วถวายอภิวาท ได้ยืนอยู่ ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาค ดังนี้ว่า “พระพุทธเจ้าข้า ขอประทานวโรกาส ขอพระผู้มีพระภาคโปรดแสดงธรรม โดยย่อ ที่เมื่อหม่อมฉันฟังแล้ว จะพึงหลีกเร้นอยู่ผู้เดียว ไม่ประมาท มีความเพียร อุทิศกายใจอยู่เถิด” พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “โคตมี ท่านรู้ธรรมเหล่าใดว่า ๑. ธรรมเหล่านี้เป็นไปเพื่อความกำหนัด ไม่เป็นไปเพื่อคลายความกำหนัด ๒. ธรรมเหล่านี้เป็นไปเพื่อความประกอบไว้ ไม่เป็นไปเพื่อความพราก ๓. ธรรมเหล่านี้เป็นไปเพื่อการสะสม ไม่เป็นไปเพื่อการไม่สะสม ๔. ธรรมเหล่านี้เป็นไปเพื่อความมักมาก ไม่เป็นไปเพื่อความมักน้อย ๕. ธรรมเหล่านี้เป็นไปเพื่อความไม่สันโดษ ไม่เป็นไปเพื่อความสันโดษ ๖. ธรรมเหล่านี้เป็นไปเพื่อความคลุกคลีหมู่คณะ ไม่เป็นไปเพื่อความสงัด ๗. ธรรมเหล่านี้เป็นไปเพื่อความเกียจคร้าน ไม่เป็นไปเพื่อปรารภความเพียร ๘. ธรรมเหล่านี้เป็นไปเพื่อความเป็นคนเลี้ยงยาก ไม่เป็นไปเพื่อความ เป็นคนเลี้ยงง่าย @เชิงอรรถ : @ อสาธารณบัญญัติ ได้แก่ บทบัญญัติที่พระผู้มีพระภาคทรงปรารภภิกษุณีสงฆ์บัญญัติไว้ภิกษุณีสงฆ์ไม่ต้อง @รักษาจำนวน ๔๖ สิกขาบทและที่ทรงปรารภภิกษุณีสงฆ์บัญญัติไว้เฉพาะสำหรับภิกษุณีสงฆ์บัญญัติฝ่ายเดียว @จำนวน ๑๓๐ สิกขาบท ตามที่แสดงไว้แล้วในพระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ @ องฺ.อฏฺฐก. (แปล) ๒๓/๕๓/๓๓๙ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า : ๓๒๓}

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๑๐. ภิกขุนีขันธกะ]

๑. ปฐมภาณวาร

โคตมี ท่านพึงจำไว้โดยส่วนเดียวว่า ‘นั่นไม่ใช่ธรรม นั่นไม่ใช่วินัย นั่นไม่ใช่ สัตถุศาสน์’ โคตมี ท่านรู้ธรรมเหล่าใดว่า ๑. ธรรมเหล่านี้เป็นไปเพื่อความคลายกำหนัด ไม่เป็นไปเพื่อความกำหนัด ๒. ธรรมเหล่านี้เป็นไปเพื่อความพราก ไม่เป็นไปเพื่อความประกอบไว้ ๓. ธรรมเหล่านี้เป็นไปเพื่อการไม่สะสม ไม่เป็นไปเพื่อความสะสม ๔. ธรรมเหล่านี้เป็นไปเพื่อความมักน้อย ไม่เป็นไปเพื่อความมักมาก ๕. ธรรมเหล่านี้เป็นไปเพื่อความสันโดษ ไม่เป็นไปเพื่อความไม่สันโดษ ๖. ธรรมเหล่านี้เป็นไปเพื่อความสงัด ไม่เป็นไปเพื่อความคลุกคลีหมู่คณะ ๗. ธรรมเหล่านี้เป็นไปเพื่อปรารภความเพียร ไม่เป็นไปเพื่อความเกียจคร้าน ๘. ธรรมเหล่านี้เป็นไปเพื่อความเป็นคนเลี้ยงง่าย ไม่เป็นไปเพื่อความ เป็นคนเลี้ยงยาก โคตมี ท่านจงจำไว้โดยส่วนเดียวว่า “นั่นเป็นธรรม นั่นเป็นวินัย นั่นเป็น สัตถุศาสน์”

             เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๗ หน้าที่ ๓๒๒-๓๒๔. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=7&A=8744&w= http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=7&siri=81              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=7&A=6272&Z=6348&pagebreak=0              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=7&i=519              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลี อักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=7&item=519&items=5              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลี อักษรโรมัน :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=7&item=519&items=5              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๗ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu7

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจาก พระไตรปิฎก ฉบับมหาจุฬาฯ. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]