ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๙ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค [๓. อัมพัฏฐสูตร]

พราหมณ์โปกขรสาติประกาศตนเป็นอุบาสก

[๒๙๖] พราหมณ์โปกขรสาติคิดว่า ‘พระสมณโคดมทรงประกอบด้วยลักษณะ มหาบุรุษ ๓๒ ประการครบถ้วน ไม่ใช่ไม่ครบถ้วน’ จึงได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า “ขอท่านพระโคดมพร้อมกับภิกษุสงฆ์โปรดรับภัตตาหารของข้าพเจ้าในวันนี้เถิด” พระผู้มีพระภาคทรงรับนิมนต์ด้วยพระอาการดุษณี [๒๙๗] ทีนั้น พราหมณ์โปกขรสาติทราบอาการที่พระผู้มีพระภาคทรงรับ นิมนต์แล้วจึงกราบทูลภัตกาลว่า “ท่านพระโคดม ได้เวลาแล้ว ภัตตาหารเสร็จแล้ว” ตอนเช้า พระผู้มีพระภาคทรงครองอันตรวาสก ถือบาตรและจีวรเสด็จเข้าไป ยังนิเวศน์ของพราหมณ์โปกขรสาติพร้อมด้วยภิกษุสงฆ์ ประทับนั่งบนอาสนะที่ปูไว้ พราหมณ์โปกขรสาติได้นำของขบฉันอันประณีตประเคนพระผู้มีพระภาคให้ทรง อิ่มหนำด้วยตนเอง และพวกมาณพก็ได้ประเคนภิกษุสงฆ์เช่นกัน เมื่อพระผู้มีพระ ภาคเสวยเสร็จทรงวางพระหัตถ์ พราหมณ์โปกขรสาติจึงเลือกนั่ง ณ ที่สมควรที่ใด ที่หนึ่ง ซึ่งต่ำกว่า [๒๙๘] พระผู้มีพระภาคตรัสอนุปุพพีกถา คือ ทรงประกาศเรื่องทาน เรื่องศีล เรื่องสวรรค์ เรื่องโทษ ความต่ำทราม ความเศร้าหมองแห่งกาม และอานิสงส์ใน การออกบวช แก่พราหมณ์โปกขรสาติซึ่งนั่งอยู่ ณ ที่สมควร เมื่อทรงทราบว่า พราหมณ์โปกขรสาติมีจิตควรบรรลุธรรม สงบ อ่อน ปราศจากนิวรณ์ เบิกบาน ผ่องใส จึงทรงประกาศสามุกกังสิกเทศนา๑- คือ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค ธรรมจักษุ อันไร้ธุลีคือกิเลส ปราศจากมลทิน เกิดขึ้นแก่พราหมณ์โปกขรสาติบนที่นั่งนั่นเองว่า ‘สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งหมดล้วนดับไปเป็นธรรมดา’ เปรียบเหมือนผ้าขาวสะอาดปราศจากมลทินควรรับน้ำย้อมได้เป็นอย่างดี
พราหมณ์โปกขรสาติประกาศตนเป็นอุบาสก
[๒๙๙] ลำดับนั้น พราหมณ์โปกขรสาติเห็นธรรม บรรลุธรรม รู้ธรรม หยั่งลง สู่ธรรม หมดความสงสัย ไม่มีคำถามใดๆ มีความแกล้วกล้า ไม่ต้องเชื่อใครอีกใน @เชิงอรรถ : @ พระธรรมเทศนาที่พระพุทธองค์ทรงยกขึ้นแสดงเอง โดยไม่มีผู้ทูลอาราธนา หรือทูลถาม @(ที.สี.อ. ๒๙๘/๒๕๐) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๙ หน้า : ๑๐๙}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค [๓. อัมพัฏฐสูตร]

พราหมณ์โปกขรสาติประกาศตนเป็นอุบาสก

หลัก คำสอนของพระศาสดา ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า “ข้าแต่ท่านพระโคดม ภาษิตของท่านพระโคดมชัดเจนไพเราะยิ่งนัก ข้าแต่ท่านพระโคดม ภาษิตของท่านพระ โคดมชัดเจนไพเราะยิ่งนัก ท่านพระโคดมทรงประกาศธรรมแจ่มแจ้งโดยประการ ต่างๆ เปรียบเหมือนบุคคลหงายของที่คว่ำ เปิดของที่ปิด บอกทางแก่ผู้หลงทาง หรือตามประทีปในที่มืดโดยตั้งใจว่า คนมีตาดีจักเห็นรูปได้ ข้าพระองค์นี้พร้อมด้วย บุตรภรรยา บริวาร และมิตรสหาย ขอถึงท่านพระโคดมพร้อมทั้งพระธรรมและ พระสงฆ์เป็นสรณะ ขอท่านพระโคดมจงทรงจำข้าพระองค์ว่าเป็นอุบาสกผู้ถึง สรณะตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไปจนตลอดชีวิต ขอท่านพระโคดมจงเสด็จเข้าไปสู่โปกขร- สาติตระกูล เหมือนดังที่เสด็จเข้าไปสู่ตระกูลอุบาสกอื่นๆ ในเมืองอุกกัฏฐะ เหล่า มาณพหรือมาณวิกาในโปกขรสาติตระกูลจักไหว้ ลุกรับ ถวายอาสนะและน้ำ จักทำ จิตให้เลื่อมใส ข้อนั้นจักเป็นไปเพื่อประโยชน์สุขแก่พวกเขาตลอดกาลนาน” พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “พราหมณ์ ท่านกล่าวดีแล้ว”
อัมพัฏฐสูตรที่ ๓ จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๙ หน้า : ๑๑๐}

             เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๙ หน้าที่ ๑๐๙-๑๑๐. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=9&A=3211&w= http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=9&siri=3              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=9&A=1920&Z=2832&pagebreak=0              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=9&i=141              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลี อักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=9&item=141&items=37              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลี อักษรโรมัน :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=9&item=141&items=37              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๙ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu9

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจาก พระไตรปิฎก ฉบับมหาจุฬาฯ. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]