ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๕ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๗ [ฉบับมหาจุฬาฯ] สังยุตตนิกาย สคาถวรรค
๕. รามเณยยกสูตร
ว่าด้วยสถานที่น่ารื่นรมย์
[๒๖๑] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้ สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถ- บิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น ท้าวสักกะจอมเทพเสด็จเข้าไปเฝ้าพระผู้มี พระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้วประทับยืนอยู่ ณ ที่สมควรได้กราบทูลพระผู้มี พระภาคดังนี้ว่า “สถานที่เช่นไรหนอเป็นสถานที่น่ารื่นรมย์” @เชิงอรรถ : @ ศีลที่พระอริยะชอบใจ หมายถึงศีลที่ประกอบด้วยมรรคและผล (องฺ.จตุกฺก.อ. ๒/๕๒/๓๔๙) @ มีความเห็นตรง หมายถึงเห็นว่าพระขีณาสพไม่มีความคดทางกายเป็นต้น (องฺ.จตุกฺก.อ. ๒/๕๒/๓๔๙) @ ความเลื่อมใส หมายถึงเลื่อมใสในพระพุทธเจ้า พระธรรม และพระสงฆ์ (องฺ.จตุกฺก.อ. ๒/๕๒/๓๔๙) @ การเห็นธรรม หมายถึงเห็นสัจธรรม ๔ ประการ (คือ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค) (องฺ.จตุกฺก.อ. ๒/๕๒/๓๔๙) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๕ หน้า : ๓๘๑}

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๑๑. สักกสังยุต]

๒. ทุติยวรรค ๖. ยชมานสูตร

พระผู้มีพระภาคตรัสด้วยพระคาถาว่า อารามอันวิจิตร ป่าอันวิจิตร สระโบกขรณีที่สร้างอย่างดี ยังไม่ถึงเศษ ๑ ส่วน ๑๖ แห่งภูมิสถานอันรื่นรมย์ของมนุษย์ พระอรหันต์ทั้งหลายอยู่ในที่ใด เป็นบ้านหรือเป็นป่า เป็นที่ลุ่มหรือเป็นที่ดอนก็ตาม ที่นั้นเป็นภูมิสถานที่น่ารื่นรมย์๑-
รามเณยยกสูตรที่ ๕ จบ
๖. ยชมานสูตร
ว่าด้วยการบูชา
[๒๖๒] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้ สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ภูเขาคิชฌกูฏ เขตกรุงราชคฤห์ ครั้งนั้น ท้าวสักกะจอมเทพเสด็จเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้วประทับ ยืนอยู่ ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคด้วยคาถาว่า เมื่อมนุษย์ทั้งหลายผู้เป็นสัตว์ ปรารถนาบุญ บูชาอยู่ ทำบุญซึ่งให้เกิดผล ทานที่ให้แล้วในที่ไหนมีผลมาก พระพุทธเจ้าข้า๒- พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ท่านผู้ปฏิบัติดี ๔ จำพวก ท่านผู้ตั้งอยู่ในผล ๔ จำพวก @เชิงอรรถ : @ ดู ขุ.ธ. ๒๕/๙๘/๓๔ @ ดูเทียบ ขุ.วิ. (แปล) ๒๖/๖๓๙/๗๐-๗๑ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๕ หน้า : ๓๘๒}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๑๕ หน้าที่ ๓๘๑-๓๘๒. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=15&siri=261              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=15&A=7498&Z=7510                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=15&i=920              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=15&item=920&items=2              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=11&A=8600              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=15&item=920&items=2              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=11&A=8600                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๕ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu15              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/15i905-e.php#sutta5 https://suttacentral.net/sn11.15/en/sujato https://suttacentral.net/sn11.15/en/bodhi



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :