ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ] สังยุตตนิกาย นิทานวรรค
๕. ญาติกสูตร๑-
ว่าด้วยการแสดงธรรม ณ หมู่บ้านญาติกะ
[๔๕] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้ สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ตำหนักอิฐ ใกล้หมู่บ้านญาติกะ ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคทรงหลีกเร้นอยู่ในที่สงัดได้ตรัสธรรมบรรยายนี้ว่า “เพราะอาศัยจักขุและรูป จักขุวิญญาณจึงเกิด ความประจวบแห่งธรรม ๓ ประการเป็นผัสสะ เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาจึงเกิด เพราะเวทนาเป็น ปัจจัย ตัณหาจึงเกิด เพราะตัณหาเป็นปัจจัย อุปาทานจึงเกิด ฯลฯ ความเกิดขึ้น แห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ มีได้ด้วยประการฉะนี้ เพราะอาศัยโสตะและเสียง ... เพราะอาศัยฆานะและกลิ่น ... เพราะอาศัย ชิวหาและรส ... เพราะอาศัยกายและโผฏฐัพพะ ... เพราะอาศัยมโนและธรรมารมณ์ @เชิงอรรถ : @ ญาติกสูตร ปรากฏชื่อว่าอุปัสสุติสูตร ใน สํ.สฬา. (แปล) ๑๘/๑๑๓/๑๒๖-๑๒๗ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๖ หน้า : ๙๑}

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๑. นิทานสังยุต]

๕. คหปติวรรค ๕. ญาติกสูตร

มโนวิญญาณจึงเกิด ความประจวบแห่งธรรม ๓ ประการเป็นผัสสะ เพราะผัสสะเป็น ปัจจัย เวทนาจึงเกิด เพราะเวทนาเป็นปัจจัย ตัณหาจึงเกิด เพราะตัณหาเป็น ปัจจัย อุปาทานจึงเกิด ฯลฯ ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ มีได้ด้วยประการ ฉะนี้ เพราะอาศัยจักขุและรูป จักขุวิญญาณจึงเกิด ความประจวบแห่งธรรม ๓ ประการเป็นผัสสะ เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาจึงเกิด เพราะเวทนาเป็น ปัจจัย ตัณหาจึงเกิด เพราะตัณหานั้นดับไปไม่เหลือด้วยวิราคะ อุปาทานจึงดับ เพราะ อุปาทานดับ ภพจึงดับ ฯลฯ ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ มีได้ด้วยประการฉะนี้ เพราะอาศัยโสตะและเสียง ฯลฯ เพราะอาศัยมโนและธรรมารมณ์ มโนวิญญาณ จึงเกิด ความประจวบแห่งธรรม ๓ ประการเป็นผัสสะ เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนา จึงเกิด เพราะเวทนาเป็นปัจจัย ตัณหาจึงเกิด เพราะตัณหานั้นดับไปไม่เหลือด้วย วิราคะ อุปาทานจึงดับ เพราะอุปาทานดับ ภพจึงดับ ฯลฯ ความดับแห่งกองทุกข์ ทั้งมวลนี้ มีได้ด้วยประการฉะนี้ สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งยืนแอบฟังพระผู้มีพระภาคอยู่ พระผู้มีพระภาคได้ทอด พระเนตรเห็นภิกษุนั้นผู้ยืนแอบฟังอยู่ ได้ตรัสถามภิกษุนั้นดังนี้ว่า “ภิกษุ เธอได้ฟัง ธรรมบรรยายนี้หรือไม่” “ข้าพระองค์ได้ฟังอย่างนี้ พระพุทธเจ้าข้า” “ภิกษุ เธอจงศึกษาธรรมบรรยายนี้ จงเล่าเรียนธรรมบรรยายนี้ จงทรงจำ ธรรมบรรยายนี้ เพราะธรรมบรรยายนี้ประกอบด้วยประโยชน์ เป็นเบื้องต้นแห่ง พรหมจรรย์”
ญาติกสูตรที่ ๕ จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๖ หน้า : ๙๒}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๑๖ หน้าที่ ๙๑-๙๒. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=16&siri=41              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=16&A=1979&Z=2006                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=16&i=166              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=16&item=166&items=3              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=12&A=1895              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=16&item=166&items=3              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=12&A=1895                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๖ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu16              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/16i151-e.php#sutta5 https://suttacentral.net/sn12.45/en/sujato https://suttacentral.net/sn12.45/en/bodhi



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :