ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ] สังยุตตนิกาย นิทานวรรค

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๑. นิทานสังยุต]

๕. คหปติวรรค ๘. โลกายติกสูตร

๘. โลกายติกสูตร
ว่าด้วยพราหมณ์ผู้รอบรู้คัมภีร์โลกายตะ๑-
[๔๘] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ... เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้นแล พราหมณ์ผู้รอบรู้คัมภีร์โลกายตะเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ ประทับ ฯลฯ นั่ง ณ ที่สมควร ครั้นแล้ว พราหมณ์ผู้รอบรู้คัมภีร์โลกายตะ ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ท่านพระโคดม สิ่งทั้งปวงมีหรือ” “พราหมณ์ ข้อที่ว่า ‘สิ่งทั้งปวงมี’ นี้ เป็นโลกายตะข้อที่ ๑” “ท่านพระโคดม ก็สิ่งทั้งปวงไม่มีหรือ” “พราหมณ์ ข้อที่ว่า ‘สิ่งทั้งปวงไม่มี’ นี้ เป็นโลกายตะข้อที่ ๒” “ท่านพระโคดม สิ่งทั้งปวงมีสภาพเป็นอย่างเดียวกันหรือ” “พราหมณ์ ข้อที่ว่า ‘สิ่งทั้งปวงมีสภาพเป็นอย่างเดียวกัน’ นี้ เป็นโลกายตะ ข้อที่ ๓” “ท่านพระโคดม ก็สิ่งทั้งปวงมีสภาพต่างกันหรือ” “พราหมณ์ ข้อที่ว่า ‘สิ่งทั้งปวงมีสภาพต่างกัน’ นี้ เป็นโลกายตะข้อที่ ๔ ตถาคตไม่เข้าไปใกล้ที่สุด ๒ อย่างนั้น ย่อมแสดงธรรมโดยสายกลางว่า ‘เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย สังขารทั้งหลายจึงมี เพราะสังขารเป็นปัจจัย วิญญาณจึงมี ฯลฯ ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ มีได้ด้วยประการฉะนี้ อนึ่ง เพราะอวิชชาดับไปไม่เหลือด้วยวิราคะ สังขารจึงดับ เพราะสังขารดับ วิญญาณจึงดับ ฯลฯ ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ มีได้ด้วยประการฉะนี้” เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว พราหมณ์ผู้รอบรู้คัมภีร์โลกายตะได้ กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า ‘ท่านพระโคดม พระภาษิตของพระองค์ชัดเจนไพเราะ ยิ่งนัก ท่านพระโคดม พระภาษิตของพระองค์ชัดเจนไพเราะยิ่งนัก ฯลฯ ผู้ถึงสรณะ ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไปจนตลอดชีวิต’
โลกายติกสูตรที่ ๘ จบ
@เชิงอรรถ : @ คัมภีร์โลกายตะ หมายถึงคัมภีร์ที่ว่าด้วยศิลปะแห่งการเอาชนะผู้อื่นโดยการอ้างทฤษฎีและประเพณีทาง @สังคมมาหักล้างสัจธรรม มุ่งแสดงให้เห็นว่าตนฉลาดกว่า มิได้มุ่งสัจธรรมแต่อย่างใด (ที.สี.อ. ๒๕๖/๒๒๓, @สํ.นิ.อ. ๒/๔๘/๘๖) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๖ หน้า : ๙๕}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๑๖ หน้าที่ ๙๕. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=16&siri=44              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=16&A=2058&Z=2089                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=16&i=175              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=16&item=175&items=3              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=12&A=1918              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=16&item=175&items=3              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=12&A=1918                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๖ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu16              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/16i151-e.php#sutta8 https://accesstoinsight.org/tipitaka/sn/sn12/sn12.048.than.html https://suttacentral.net/sn12.48/en/sujato https://suttacentral.net/sn12.48/en/bodhi



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :