ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ] สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค
๕. อังคสูตร
ว่าด้วยองค์ประกอบของมาตุคาม
[๓๐๘] “ภิกษุทั้งหลาย กำลังของมาตุคาม ๕ ประการนี้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า : ๓๒๘}

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๓. มาตุคามสังยุต]

๓. พลวรรค ๕. อังคสูตร

กำลัง ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. กำลังรูป ๒. กำลังทรัพย์ ๓. กำลังญาติ ๔. กำลังบุตร ๕. กำลังศีล มาตุคามประกอบด้วยกำลังรูป แต่ไม่ประกอบด้วยกำลังทรัพย์ มาตุคามนั้น ชื่อว่ายังไม่บริบูรณ์ด้วยองค์ประกอบนั้นอย่างนี้ แต่เมื่อมาตุคามประกอบด้วยกำลังรูปและกำลังทรัพย์ มาตุคามนั้นชื่อว่าบริบูรณ์ ด้วยองค์ประกอบนั้นอย่างนี้ มาตุคามประกอบด้วยกำลังรูปและกำลังทรัพย์ แต่ไม่ประกอบด้วยกำลังญาติ มาตุคามนั้นชื่อว่ายังไม่บริบูรณ์ด้วยองค์ประกอบนั้นอย่างนี้ แต่เมื่อมาตุคามประกอบด้วยกำลังรูป กำลังทรัพย์และกำลังญาติ มาตุคามนั้น ชื่อว่าบริบูรณ์ด้วยองค์ประกอบนั้นอย่างนี้ มาตุคามประกอบด้วยกำลังรูป กำลัง ทรัพย์ และกำลังญาติ แต่ไม่ประกอบด้วยกำลังบุตร มาตุคามนั้นชื่อว่ายังไม่ บริบูรณ์ด้วยองค์ประกอบนั้นอย่างนี้ แต่เมื่อมาตุคามประกอบด้วยกำลังรูป กำลังทรัพย์ กำลังญาติ และกำลังบุตร มาตุคามนั้นชื่อว่าบริบูรณ์ด้วยองค์ประกอบนั้นอย่างนี้ มาตุคามประกอบด้วยกำลังรูป กำลังทรัพย์ กำลังญาติ และกำลังบุตร แต่ ไม่ประกอบด้วยกำลังศีล มาตุคามนั้นชื่อว่ายังไม่บริบูรณ์ด้วยองค์ประกอบนั้น อย่างนี้ แต่เมื่อมาตุคามประกอบด้วยกำลังรูป กำลังทรัพย์ กำลังญาติ กำลังบุตร และกำลังศีล มาตุคามนั้นชื่อว่าเป็นผู้บริบูรณ์ด้วยองค์ประกอบนั้นอย่างนี้ ภิกษุทั้งหลาย กำลังของมาตุคาม ๕ ประการนี้แล”
อังคสูตรที่ ๕ จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า : ๓๒๙}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๑๘ หน้าที่ ๓๒๘-๓๒๙. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=18&siri=248              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=18&A=6489&Z=6506                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=18&i=487              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=18&item=487&items=2              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=18&item=487&items=2                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๘ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu18              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/18i484-e.php#sutta5 https://suttacentral.net/sn37.29/en/sujato



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :