ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ] สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]

๒. ทุติยปัณณาสก์ ๔. ฉันนวรรค ๗. ปฐมเอชาสูตร

๗. ปฐมเอชาสูตร
ว่าด้วยความหวั่นไหว สูตรที่ ๑
[๙๐] “ภิกษุทั้งหลาย ความหวั่นไหว๑- เป็นโรค ความหวั่นไหวเป็นหัวฝี ความ หวั่นไหวเป็นลูกศร เพราะเหตุนั้นแล ตถาคตจึงเป็นผู้ไม่หวั่นไหว ปราศจากลูกศรอยู่ เพราะเหตุนั้นแล ถ้าภิกษุหวังว่า ‘เราพึงเป็นผู้ไม่หวั่นไหว ปราศจากลูกศรอยู่’ เธอไม่พึงกำหนดหมายจักขุ ไม่พึงกำหนดหมายในจักขุ ไม่พึงกำหนดหมาย เพราะจักขุ ไม่พึงกำหนดหมายว่า ‘จักขุของเรา’ ไม่พึงกำหนดหมายรูป ไม่พึงกำหนดหมายในรูป ไม่พึงกำหนดหมายเพราะรูป ไม่พึงกำหนดหมายว่า ‘รูปของเรา’ ไม่พึงกำหนดหมายจักขุวิญญาณ ไม่พึงกำหนดหมายในจักขุวิญญาณ ไม่พึง กำหนดหมายเพราะจักขุวิญญาณ ไม่พึงกำหนดหมายว่า ‘จักขุวิญญาณของเรา’ ไม่พึงกำหนดหมายจักขุสัมผัส ไม่พึงกำหนดหมายในจักขุสัมผัส ไม่พึง กำหนดหมายเพราะจักขุสัมผัส ไม่พึงกำหนดหมายว่า ‘จักขุสัมผัสของเรา’ ไม่พึงกำหนดหมายแม้ความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ ที่เกิดขึ้นเพราะจักขุสัมผัสเป็นปัจจัย ไม่พึงกำหนดหมายแม้ในความเสวยอารมณ์ที่ เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะจักขุสัมผัสเป็นปัจจัย ไม่พึง กำหนดหมายแม้เพราะความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่ เกิดขึ้นเพราะจักขุสัมผัสเป็นปัจจัย ไม่พึงกำหนดหมายว่า ‘ความเสวยอารมณ์ที่ เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะจักขุสัมผัสเป็นปัจจัยนั้นของเรา’ ไม่พึงกำหนดหมายโสตะ ฯลฯ ไม่พึงกำหนดหมายฆานะ ฯลฯ ไม่พึงกำหนดหมายชิวหา ไม่พึงกำหนดหมายในชิวหา ไม่พึงกำหนดหมาย เพราะชิวหา ไม่พึงกำหนดหมายว่า ‘ชิวหาของเรา’ ไม่พึงกำหนดหมายรส ฯลฯ @เชิงอรรถ : @ ความหวั่นไหว ในที่นี้หมายถึงตัณหา (สํ.สฬา.อ. ๓/๙๐-๙๑/๓๐) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า : ๙๐}

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]

๒. ทุติยปัณณาสก์ ๔. ฉันนวรรค ๗. ปฐมเอชาสูตร

ไม่พึงกำหนดหมายชิวหาวิญญาณ ฯลฯ ไม่พึงกำหนดหมายชิวหาสัมผัส ฯลฯ ไม่พึงกำหนดหมายแม้ความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ ที่เกิดขึ้นเพราะชิวหาสัมผัสเป็นปัจจัย ไม่พึงกำหนดหมายแม้ในความเสวยอารมณ์ ที่เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะชิวหาสัมผัสเป็นปัจจัย ไม่พึง กำหนดหมายแม้เพราะความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่ เกิดขึ้นเพราะชิวหาสัมผัสเป็นปัจจัย ไม่พึงกำหนดหมายว่า ‘ความเสวยอารมณ์ที่ เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะชิวหาสัมผัสเป็นปัจจัยนั้นของเรา’ ไม่พึงกำหนดหมายกาย ฯลฯ ไม่พึงกำหนดหมายมโน ไม่พึงกำหนดหมายในมโน ไม่พึงกำหนดหมายเพราะมโน ไม่พึงกำหนดหมายว่า ‘มโนของเรา’ ไม่พึงกำหนดหมายธรรมารมณ์ ฯลฯ มโนวิญญาณ ฯลฯ มโนสัมผัส ฯลฯ ไม่พึงกำหนดหมายแม้ความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย ไม่พึงกำหนดหมายแม้ในความเสวยอารมณ์ที่ เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย ไม่พึง กำหนดหมายแม้เพราะความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่ เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย ไม่พึงกำหนดหมายว่า ‘ความเสวยอารมณ์ที่ เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัยนั้นของเรา’ ไม่พึงกำหนดหมายสิ่งทั้งปวง ไม่พึงกำหนดหมายในสิ่งทั้งปวง ไม่พึงกำหนด หมายเพราะสิ่งทั้งปวง ไม่พึงกำหนดหมายว่า ‘สิ่งทั้งปวงของเรา’ ภิกษุผู้ไม่กำหนดหมายอยู่อย่างนี้ย่อมไม่ถือมั่นอะไรๆ ในโลก เมื่อไม่ถือมั่นย่อม ไม่สะดุ้งกลัว เมื่อไม่สะดุ้งกลัวย่อมดับเฉพาะตนเอง รู้ชัดว่า “ชาติสิ้นแล้ว อยู่จบ พรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป”
ปฐมเอชาสูตรที่ ๗ จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า : ๙๑}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๑๘ หน้าที่ ๙๐-๙๑. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=18&siri=70              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=18&A=1607&Z=1642                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=18&i=120              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=18&item=120&items=2              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=13&A=636              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=18&item=120&items=2              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=13&A=636                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๘ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu18              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/18i101-e.php#sutta7 https://suttacentral.net/sn35.90/en/sujato https://suttacentral.net/sn35.90/en/bodhi



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :