บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ | |
|
|
๑๐. วิภังคสูตร ว่าด้วยการจำแนกอิทธิบาท [๘๓๒] ภิกษุทั้งหลาย อิทธิบาท ๔ ประการนี้ที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว มีผลมาก มีอานิสงส์มาก อิทธิบาท ๔ ประการที่บุคคลเจริญอย่างไร ทำให้มากแล้วอย่างไร จึงมีผลมาก มีอานิสงส์มาก คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ๑. เจริญอิทธิบาทประกอบด้วยฉันทสมาธิปธานสังขารดังนี้ว่า ฉันทะ ของเราจักไม่ย่อหย่อนนัก ไม่ต้องประคับประคองเกินไป ไม่ หดหู่ในภายใน ไม่ซ่านไปในภายนอก และมีความหมายรู้ว่า เบื้องหน้าและเบื้องหลังอยู่ คือ มีความหมายรู้ว่าเบื้องหลัง เหมือนเบื้องหน้า เบื้องหน้าเหมือนเบื้องหลัง เบื้องบนเหมือน เบื้องล่าง เบื้องล่างเหมือนเบื้องบน กลางคืนเหมือนกลางวัน กลางวันเหมือนกลางคืน มีใจสงัด ไม่มีเครื่องร้อยรัด อบรม จิตให้สว่างอยู่ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า : ๔๐๖}
พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๗. อิทธิปาทสังยุต]
๒. ปาสาทกัมปนวรรค ๑๐. วิภังคสูตร
๒. เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยวิริยสมาธิปธานสังขาร ฯลฯ ๓. เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยจิตตสมาธิปธานสังขาร ฯลฯ ๔. เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยวิมังสาสมาธิปธานสังขารดังนี้ว่า วิมังสาของเราจักไม่ย่อหย่อนนัก ไม่ต้องประคับประคองเกินไป ไม่หดหู่ในภายใน ไม่ซ่านไปในภายนอก และมีความหมายรู้ว่า เบื้องหน้าและเบื้องหลังอยู่ คือ มีความหมายรู้ว่าเบื้องหลัง เหมือนเบื้องหน้า เบื้องหน้าเหมือนเบื้องหลัง เบื้องบนเหมือน เบื้องล่าง เบื้องล่างเหมือนเบื้องบน กลางคืนเหมือนกลางวัน กลางวันเหมือนกลางคืน มีใจสงัด ไม่มีเครื่องร้อยรัด อบรม จิตให้สว่างอยู่ ฉันทะที่ย่อหย่อนนัก เป็นอย่างไร คือ ฉันทะที่สหรคตด้วยความเกียจคร้าน สัมปยุตด้วยความเกียจคร้าน นี้เรียกว่า ฉันทะที่ย่อหย่อนนัก ฉันทะที่ต้องประคับประคองเกินไป เป็นอย่างไร คือ ฉันทะที่สหรคตด้วยอุทธัจจะ สัมปยุตด้วยอุทธัจจะ นี้เรียกว่า ฉันทะที่ต้องประคับประคองเกินไป ฉันทะที่หดหู่ในภายใน เป็นอย่างไร คือ ฉันทะที่สหรคตด้วยถีนมิทธะ สัมปยุตด้วยถีนมิทธะ นี้เรียกว่า ฉันทะที่หดหู่ในภายใน ฉันทะที่ซ่านไปในภายนอก เป็นอย่างไร คือ ฉันทะที่ซ่านไป ฟุ้งไป ปรารภกามคุณ ๕ ประการในภายนอก นี้เรียกว่า ฉันทะที่ซ่านไปในภายนอก ภิกษุมีความหมายรู้ว่าเบื้องหน้าและเบื้องหลังอยู่ คือ มีความหมายรู้ว่า เบื้องหลังเหมือนเบื้องหน้า เบื้องหน้าเหมือนเบื้องหลัง เป็นอย่างไร คือ ความหมายรู้ว่าเบื้องหน้าและเบื้องหลังอันภิกษุในธรรมวินัยนี้เรียนดี ใส่ใจดี ทรงจำดี รู้แจ้งดีแล้วด้วยปัญญา {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า : ๔๐๗}
พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๗. อิทธิปาทสังยุต]
๒. ปาสาทกัมปนวรรค ๑๐. วิภังคสูตร
ภิกษุชื่อว่ามีความหมายรู้ว่าเบื้องหน้าและเบื้องหลังอยู่ คือ มีความหมายรู้ว่า เบื้องหลังเหมือนเบื้องหน้า เบื้องหน้าเหมือนเบื้องหลัง เป็นอย่างนี้แล ภิกษุมีความหมายรู้ว่าเบื้องบนเหมือนเบื้องล่าง เบื้องล่างเหมือนเบื้องบนอยู่ เป็นอย่างไร คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ย่อมพิจารณากายนี้ขึ้นเบื้องบนแต่พื้นเท้าขึ้นไป พิจารณาลงเบื้องล่างแต่ปลายผมลงมา มีหนังหุ้มอยู่โดยรอบ เต็มด้วยของไม่ สะอาดมีประการต่างๆ ว่า ในร่างกายนี้มี ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก เยื่อในกระดูก ไต๑- หัวใจ ตับ พังผืด ม้าม๒- ปอด ไส้ใหญ่ ไส้น้อย อาหารใหม่ อาหารเก่า ดี เสลด หนอง เลือด เหงื่อ มันข้น น้ำตา เปลวมัน น้ำลาย น้ำมูก ไขข้อ มูตร๓- ภิกษุชื่อว่ามีความหมายรู้ว่าเบื้องบนเหมือนเบื้องล่าง เบื้องล่างเหมือนเบื้องบนอยู่ เป็นอย่างนี้แล ภิกษุมีความหมายรู้ว่ากลางคืนเหมือนกลางวัน กลางวันเหมือนกลางคืนอยู่ เป็นอย่างไร @เชิงอรรถ : @๑ ไต แปลจากคำบาลีว่า วกฺก (โบราณแปลว่า ม้าม) ได้แก่ก้อนเนื้อ ๒ ก้อน มีขั้วเดียวกัน มีสีแดง @อ่อนเหมือนเมล็ดทองหลาง รูปร่างคล้ายลูกสะบ้าของเด็กๆ หรือคล้ายผลมะม่วง ๒ ผลที่ติดอยู่ที่ขั้ว @เดียวกัน มีเอ็นใหญ่รึงรัดจากลำคอลงไปถึงหัวใจ แล้วแยกออกมาห้อยอยู่ทั้ง ๒ ข้าง (ขุ.ขุ.อ. ๓/๔๓), @พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๒๕ หน้า ๓๖๒ ให้บทนิยามของคำว่า ไต ว่า @อวัยวะคู่หนึ่งของคนและสัตว์ อยู่ในช่องท้องใกล้กระดูกสันหลัง ทำหน้าที่ขับของเสียออกมากับน้ำ @ปัสสาวะ, Buddhadatta, A.P. A Concise Pali-English Dictionary, 1985, (P. 224); และ Rhys @David, T.W. Pali-English Dictionary, 1921-1925, (P. 591) ให้ความหมายของคำว่า วกฺก ตรงกัน @หมายถึง ไต (Kidney) @๒ ม้าม แปลจากคำบาลีว่า ปิหก (โบราณแปลว่า ไต) มีสีเขียวเหมือนดอกคนทิสอแห้ง รูปร่างคล้ายลิ้น @ลูกโคดำ ยาวประมาณ ๗ นิ้ว อยู่ด้านบนติดกับหัวใจข้างซ้าย ชิดพื้นท้องด้านบน (ขุ.ขุ.อ. ๓/๔๕), @พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๒๕ หน้า ๖๔๗ ให้บทนิยามของคำว่า ม้าม ไว้ว่า อวัยวะ @ภายในร่างกายริมกระเพาะอาหารข้างซ้าย มีหน้าที่ทำลายเม็ดเลือดแดง สร้างเม็ดน้ำเหลือง และ สร้าง @ภูมิคุ้มกันของร่างกาย Buddhadatta, A.P. A Concise Pali-English Dictionary, 1985, (P. 186) ; @และ Rhys David, T.W. Pali-English Dictionary, 1921-1925, (P. 461) ให้ความหมายของ @คำว่า ปิหก ตรงกัน หมายถึง ม้าม (spleen) @๓ มูตร หมายถึงน้ำปัสสาวะที่มีอยู่ในกระเพาะปัสสาวะ (ขุ.ขุ.อ. ๓/๕๗) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า : ๔๐๘}
พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๗. อิทธิปาทสังยุต]
๒. ปาสาทกัมปนวรรค ๑๐. วิภังคสูตร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยฉันทสมาธิปธานสังขาร ในกลางวันด้วยอาการเหล่าใด ด้วยเพศเหล่าใด ด้วยนิมิตเหล่าใด เธอก็เจริญ อิทธิบาทที่ประกอบด้วยฉันทสมาธิปธานสังขารในกลางคืนด้วยอาการเหล่านั้น ด้วยเพศเหล่านั้น ด้วยนิมิตเหล่านั้น อีกประการหนึ่ง ภิกษุเจริญอิทธิบาทที่ ประกอบด้วยฉันทสมาธิปธานสังขารในกลางคืนด้วยอาการเหล่าใด ด้วยเพศเหล่าใด ด้วยนิมิตเหล่าใด เธอก็เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยฉันทสมาธิปธานสังขารในกลางวัน ด้วยอาการเหล่านั้น ด้วยเพศเหล่านั้น ด้วยนิมิตเหล่านั้น ภิกษุชื่อว่ามีความหมายรู้ว่ากลางคืนเหมือนกลางวัน กลางวันเหมือนกลางคืนอยู่ เป็นอย่างนี้แล ภิกษุมีใจสงัด ไม่มีเครื่องร้อยรัด อบรมจิตให้สว่างอยู่ เป็นอย่างไร คือ อาโลกสัญญา (ความหมายรู้แสงสว่าง) อันภิกษุในธรรมวินัยนี้เรียนไว้ดี ความหมายรู้ว่ากลางวัน ตั้งมั่นดี ภิกษุชื่อว่ามีใจสงัด ไม่มีเครื่องร้อยรัด อบรมจิตให้สว่างอยู่ เป็นอย่างนี้แล วิริยะที่ย่อหย่อนนัก เป็นอย่างไร คือ วิริยะที่สหรคตด้วยความเกียจคร้าน สัมปยุตด้วยความเกียจคร้าน นี้เรียกว่า วิริยะที่ย่อหย่อนนัก วิริยะที่ต้องประคับประคองเกินไป เป็นอย่างไร คือ วิริยะที่สหรคตด้วยอุทธัจจะ สัมปยุตด้วยอุทธัจจะ นี้เรียกว่า วิริยะที่ต้องประคับประคองเกินไป วิริยะที่หดหู่ในภายใน เป็นอย่างไร คือ วิริยะที่สหรคตด้วยถีนมิทธะ สัมปยุตด้วยถีนมิทธะ นี้เรียกว่า วิริยะที่หดหู่ในภายใน วิริยะที่ซ่านไปในภายนอก เป็นอย่างไร คือ วิริยะที่ซ่านไป ฟุ้งไป ปรารภกามคุณ ๕ ประการในภายนอก นี้เรียกว่า วิริยะที่ซ่านไปในภายนอก ฯลฯ ภิกษุชื่อว่ามีใจสงัด ไม่มีเครื่องร้อยรัด อบรมจิตให้สว่างอยู่ เป็นอย่างนี้แล {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า : ๔๐๙}
พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๗. อิทธิปาทสังยุต]
๒. ปาสาทกัมปนวรรค ๑๐. วิภังคสูตร
จิตที่ย่อหย่อนนัก เป็นอย่างไร คือ จิตที่สหรคตด้วยความเกียจคร้าน สัมปยุตด้วยความเกียจคร้าน นี้เรียกว่า จิตที่ย่อหย่อนนัก จิตที่ต้องประคับประคองเกินไป เป็นอย่างไร คือ จิตที่สหรคตด้วยอุทธัจจะ สัมปยุตด้วยอุทธัจจะ นี้เรียกว่า จิตที่ต้องประคับประคองเกินไป จิตที่หดหู่ในภายใน เป็นอย่างไร คือ จิตที่สหรคตด้วยถีนมิทธะ สัมปยุตด้วยถีนมิทธะ นี้เรียกว่า จิตที่หดหู่ในภายใน จิตที่ซ่านไปในภายนอก เป็นอย่างไร คือ จิตที่ซ่านไป ฟุ้งไป ปรารภกามคุณ ๕ ประการในภายนอก นี้เรียกว่า จิตที่ซ่านไปในภายนอก ฯลฯ ภิกษุชื่อว่ามีใจสงัด ไม่มีเครื่องร้อยรัด อบรมจิตให้สว่างอยู่ เป็นอย่างนี้แล วิมังสาที่ย่อหย่อนนัก เป็นอย่างไร คือ วิมังสาที่สหรคตด้วยความเกียจคร้าน สัมปยุตด้วยความเกียจคร้าน นี้เรียกว่า วิมังสาที่ย่อหย่อนนัก วิมังสาที่ต้องประคับประคองเกินไป เป็นอย่างไร คือ วิมังสาที่สหรคตด้วยอุทธัจจะ สัมปยุตด้วยอุทธัจจะ นี้เรียกว่า วิมังสาที่ต้องประคับประคองเกินไป วิมังสาที่หดหู่ในภายใน เป็นอย่างไร คือ วิมังสาที่สหรคตด้วยถีนมิทธะ สัมปยุตด้วยถีนมิทธะ นี้เรียกว่า วิมังสาที่หดหู่ในภายใน วิมังสาที่ซ่านไปในภายนอก เป็นอย่างไร คือ วิมังสาที่ซ่านไป ฟุ้งไป ปรารภกามคุณ ๕ ประการ ในภายนอก นี้เรียกว่า วิมังสาที่ซ่านไปในภายนอก ฯลฯ ภิกษุชื่อว่ามีใจสงัด ไม่มีเครื่องร้อยรัด อบรมจิตให้สว่างอยู่ เป็นอย่างนี้แล {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า : ๔๑๐}
พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๗. อิทธิปาทสังยุต]
๒. ปาสาทกัมปนวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค
ภิกษุทั้งหลาย อิทธิบาท ๔ ประการที่บุคคลเจริญอย่างนี้แล ทำให้มาก แล้วอย่างนี้ จึงมีผลมาก มีอานิสงส์มาก ภิกษุทั้งหลาย เมื่ออิทธิบาท ๔ ประการนี้ที่ภิกษุเจริญอย่างนี้แล ทำให้มาก แล้วอย่างนี้ ภิกษุย่อมแสดงฤทธิ์ได้หลายอย่าง คือ คนเดียวแสดงเป็นหลายคนก็ได้ หลายคนแสดงเป็นคนเดียวก็ได้ ฯลฯ ใช้อำนาจทางกายไปจนถึงพรหมโลกก็ได้ เมื่ออิทธิบาท ๔ ประการนี้ที่ภิกษุเจริญอย่างนี้แล ทำให้มากแล้วอย่างนี้ ภิกษุทำ ให้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติอันไม่มีอาสวะเพราะอาสวะสิ้นไปด้วยปัญญาอันยิ่ง เองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบันวิภังคสูตรที่ ๑๐ จบ (แม้อภิญญาทั้ง ๖ ก็พึงให้พิสดาร) ปาสาทกัมปนวรรคที่ ๒ จบ รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ ๑. ปุพพสูตร ๒. มหัปผลสูตร ๓. ฉันทสมาธิสูตร ๔. โมคคัลลานสูตร ๕. อุณณาภพราหมณสูตร ๖. ปฐมพราหมณสูตร ๗. ทุติยพราหมณสูตร ๘. ภิกขุสูตร ๙. อิทธาทิเทสนาสูตร ๑๐. วิภังคสูตร {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า : ๔๑๑}
เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๑๙ หน้าที่ ๔๐๖-๔๑๑. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=19&siri=274 ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2]. อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=19&A=6907&Z=7002 ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=19&i=1179 พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=19&item=1179&items=26 อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=13&A=7334 The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=19&item=1179&items=26 The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=13&A=7334 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๙ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu19 อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://accesstoinsight.org/tipitaka/sn/sn51/sn51.020.than.html https://suttacentral.net/sn51.20/en/sujato
บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]