ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๙ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๑ [ฉบับมหาจุฬาฯ] สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค
๘. วิภังคสูตร
ว่าด้วยการจำแนกอริยมรรค
[๘] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดง จักจำแนกอริยมรรคมี องค์ ๘ แก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว” ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสเรื่องนี้ว่า @เชิงอรรถ : @ นิพพานธาตุ หมายถึงภาวะแห่งนิพพาน; นิพพาน หรือนิพพานธาตุมี ๒ คือ สอุปาทิเสสนิพพาน @ดับกิเลสมีเบญจขันธ์เหลือ ๑ อนุปาทิเสสนิพพาน ดับกิเลสไม่มีเบญจขันธ์เหลือ ๑ (พระธรรมปิฎก : @พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ ๒๕๓๘, หน้า ๑๒๕) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า : ๑๐}

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑. มัคคสังยุต]

๑. อวิชชาวรรค ๘. วิภังคสูตร

“ภิกษุทั้งหลาย อริยมรรคมีองค์ ๘ อะไรบ้าง คือ ๑. สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ ๘. สัมมาสมาธิ สัมมาทิฏฐิ เป็นอย่างไร คือ ความรู้ในทุกข์ ความรู้ในทุกขสมุทัย (เหตุเกิดทุกข์) ความรู้ในทุกขนิโรธ (ความดับทุกข์) ความรู้ในทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา (ข้อปฏิบัติที่ให้ถึงความดับทุกข์) นี้เรียกว่า สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ เป็นอย่างไร คือ ความดำริในเนกขัมมะ (การออกจากกาม) ความดำริในอพยาบาท (ความ ไม่พยาบาท) ความดำริในอวิหิงสา (การไม่เบียดเบียน) นี้เรียกว่า สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา เป็นอย่างไร คือ เจตนาเป็นเหตุเว้นจากมุสาวาท (พูดเท็จ) เจตนาเป็นเหตุเว้นจากปิสุณา- วาจา (พูดส่อเสียด) เจตนาเป็นเหตุเว้นจากผรุสวาจา (พูดคำหยาบ) เจตนาเป็น เหตุเว้นจากสัมผัปปลาปะ (พูดเพ้อเจ้อ) นี้เรียกว่า สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ เป็นอย่างไร คือ เจตนาเป็นเหตุเว้นจากปาณาติบาต (การฆ่าสัตว์) เจตนาเป็นเหตุเว้นจาก อทินนาทาน (การลักทรัพย์) เจตนาเป็นเหตุเว้นจากอพรหมจรรย์ (พฤติกรรมอัน เป็นข้าศึกต่อพรหมจรรย์) นี้เรียกว่า สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ เป็นอย่างไร คือ อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ละมิจฉาอาชีวะ สำเร็จการเลี้ยงชีพด้วยสัมมาอาชีวะ นี้เรียกว่า สัมมาอาชีวะ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า : ๑๑}

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑. มัคคสังยุต]

๑. อวิชชาวรรค ๘. วิภังคสูตร

สัมมาวายามะ เป็นอย่างไร คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ๑. สร้างฉันทะ พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต มุ่งมั่น๑- เพื่อป้องกันบาปอกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดมิให้เกิดขึ้น ๒. สร้างฉันทะ พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต มุ่งมั่น เพื่อละบาปอกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว ๓. สร้างฉันทะ พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต มุ่งมั่น เพื่อทำกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น ๔. สร้างฉันทะ พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต มุ่งมั่น เพื่อความดำรงอยู่ ไม่เลือนหาย ภิญโญภาพ ไพบูลย์ เจริญ เต็มที่แห่งกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว นี้เรียกว่า สัมมาวายามะ สัมมาสติ เป็นอย่างไร คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ๑. พิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้ ๒. พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้ ๓. พิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัด อภิชฌาและโทมนัสในโลกได้ @เชิงอรรถ : @ สร้างฉันทะ หมายถึงสร้างความพอใจใคร่จะทำกุศล พยายาม หมายถึงทำความเพียรบากบั่น ปรารภ @ความเพียร หมายถึงบำเพ็ญเพียรทั้งทางกายและทางใจ ประคองจิต หมายถึงยกจิตขึ้นพร้อมกับความ @เพียรทางกายและจิต มุ่งมั่น หมายถึงทำความเพียรเป็นหลักใหญ่ (องฺ.เอกก.อ. ๑/๓๙๔/๔๔๐) ได้แก่ @สัมมัปปธาน ๔ ประการ ดู องฺ.จตุกฺก. (แปล) ๒๑/๖๙/๑๑๓-๑๑๔ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า : ๑๒}

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑. มัคคสังยุต]

๑. อวิชชาวรรค ๙. สูกสูตร

๔. พิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลาย๑- อยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้ นี้เรียกว่า สัมมาสติ สัมมาสมาธิ เป็นอย่างไร คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ๑. สงัดจากกามและอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌานที่มีวิตก วิจาร ปีติ และสุขอันเกิดจากวิเวกอยู่ ๒. เพราะวิตกวิจารสงบระงับไป บรรลุทุติยฌาน มีความผ่องใสในภายใน มีภาวะที่จิตเป็นหนึ่งผุดขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีแต่ ปีติและสุขอันเกิดจากสมาธิอยู่ ๓. เพราะปีติจางคลายไป ภิกษุมีอุเบกขา มีสติ มีสัมปชัญญะ เสวย สุขด้วยนามกาย บรรลุตติยฌานที่พระอริยะทั้งหลายสรรเสริญว่า ‘ผู้มีอุเบกขา มีสติ อยู่เป็นสุข’ ๔. เพราะละสุขและทุกข์ได้ เพราะโสมนัสและโทมนัสดับไปก่อน บรรลุ จตุตถฌานที่ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข มีสติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขาอยู่ นี้เรียกว่า สัมมาสมาธิ”
วิภังคสูตรที่ ๘ จบ
๙. สูกสูตร
ว่าด้วยอุปมาด้วยเดือย
[๙] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย เป็นไปไม่ได้เลยที่เดือยข้าวสาลีหรือ เดือยข้าวเหนียวที่บุคคลตั้งไว้ไม่ตรงจักตำมือหรือเท้าที่ไปกระทบเข้าหรือทำให้เลือดออก @เชิงอรรถ : @ ธรรมทั้งหลาย ในที่นี้หมายถึงนิวรณ์ ๕ อุปาทานขันธ์ ๕ อายตนะภายใน ๖ อายตนะภายนอก ๖ @โพชฌงค์ ๗ และอริยสัจ ๔ (องฺ.เอกก.อ. ๑/๓๙๐/๔๔๐) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า : ๑๓}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๑๙ หน้าที่ ๑๐-๑๓. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=19&siri=8              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=19&A=174&Z=210                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=19&i=33              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=19&item=33&items=9              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=13&A=4057              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=19&item=33&items=9              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=13&A=4057                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๙ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu19              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/19i001-e.php#sutta8 https://accesstoinsight.org/tipitaka/sn/sn45/sn45.008.than.html http://www.buddha-vacana.org/sutta/samyutta/maha/sn45-008.html https://suttacentral.net/sn45.8/en/sujato https://suttacentral.net/sn45.8/en/bodhi



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :