ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๐ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๒ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย เอก-ทุก-ติกนิบาต
๑๕. อัฏฐานบาลี
๓. ตติยวรรค
หมวดที่ ๓
[๒๘๗] เป็นไปไม่ได้เลยที่กายสุจริตจะพึงเกิดผลที่ไม่น่าปรารถนา ไม่น่าใคร่ ไม่น่าพอใจ แต่เป็นไปได้ที่กายสุจริตจะพึงเกิดผลที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ (๑) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๓๕}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกกนิบาต ๑๕. อัฏฐานบาลี ๓. ตติยวรรค

[๒๘๘-๒๘๙] เป็นไปไม่ได้เลยที่วจีสุจริต ฯลฯ เป็นไปไม่ได้เลยที่มโนสุจริตจะ พึงเกิดผลที่ไม่น่าปรารถนา ไม่น่าใคร่ ไม่น่าพอใจ แต่เป็นไปได้ที่มโนสุจริตจะพึงเกิด ผลที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ (๒-๓) [๒๙๐] เป็นไปไม่ได้เลยที่บุคคลผู้ประกอบกายทุจริต หลังจากตายแล้วจะไป เกิดในสุคติโลกสวรรค์ เพราะความประกอบกายทุจริตเป็นเหตุเป็นปัจจัย แต่เป็นไป ได้ที่บุคคลผู้ประกอบกายทุจริต หลังจากตายแล้วจะไปเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต๑- นรก เพราะความประกอบกายทุจริตเป็นเหตุเป็นปัจจัย (๔) [๒๙๑-๒๙๒] เป็นไปไม่ได้เลยที่บุคคลผู้ประกอบวจีทุจริต ฯลฯ เป็นไปไม่ได้ เลยที่บุคคลผู้ประกอบมโนทุจริตหลังจากตายแล้วจะไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์ เพราะ ความประกอบมโนทุจริตเป็นเหตุเป็นปัจจัย แต่เป็นไปได้ที่บุคคลผู้ประกอบมโนทุจริต หลังจากตายแล้วจะไปเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก เพราะประกอบมโนทุจริต เป็นเหตุเป็นปัจจัย (๕-๖) [๒๙๓] เป็นไปไม่ได้เลยที่บุคคลผู้ประกอบกายสุจริต หลังจากตายแล้วจะไป เกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก เพราะความประกอบกายสุจริตเป็นเหตุเป็นปัจจัย แต่เป็นไปได้ที่บุคคลผู้ประกอบกายสุจริต หลังจากตายแล้วจะไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์ เพราะประกอบกายสุจริตเป็นเหตุเป็นปัจจัย (๗) [๒๙๔-๒๙๕] เป็นไปไม่ได้เลยที่บุคคลผู้ประกอบวจีสุจริต ฯลฯ เป็นไปไม่ได้ เลยที่บุคคลผู้ประกอบมโนสุจริต หลังจากตายแล้วจะไปเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก เพราะประกอบมโนสุจริตเป็นเหตุเป็นปัจจัย แต่เป็นไปได้ที่บุคคลผู้ประกอบ มโนสุจริต หลังจากตายแล้วจะไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์ เพราะประกอบมโนสุจริต เป็นเหตุเป็นปัจจัย (๘-๙)
ตติยวรรค จบ
อัฏฐานบาลีที่ ๑๕ จบ
@เชิงอรรถ : @ ในที่นี้ อบาย ทุคติ วินิบาต ทั้ง ๓ คำนี้เป็นไวพจน์ของนรก (องฺ.เอกก.อ. ๑/๔๓/๕๐) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๓๖}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒๐ หน้าที่ ๓๕-๓๖. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=20&siri=23              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=20&A=813&Z=866                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=20&i=169              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=20&item=169&items=10              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=20&item=169&items=10                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๐ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu20              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/20i153-e.php#sutta3 https://suttacentral.net/an1.287-295/en/sujato



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :