ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๐ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๒ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย เอก-ทุก-ติกนิบาต
๕. ปริสวรรค
หมวดว่าด้วยบริษัท
[๔๓] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย บริษัท ๒ จำพวกนี้ บริษัท ๒ จำพวกไหนบ้าง คือ ๑. บริษัทตื้น ๒. บริษัทลึก บริษัทตื้น เป็นอย่างไร คือ บริษัทใดในธรรมวินัยนี้มีพวกภิกษุเป็นผู้ฟุ้งซ่าน ถือตัว โลเล ปากกล้า พูดพร่ำเพรื่อ หลงลืมสติ ไม่มีสัมปชัญญะ มีจิตไม่ตั้งมั่น มีจิตกวัดแกว่ง ไม่สำรวม อินทรีย์ บริษัทเช่นนี้เรียกว่า บริษัทตื้น @เชิงอรรถ : @ พยัญชนปฏิรูป หมายถึงพยัญชนะที่ได้สืบทอดมาโดยทำอักษรให้วิจิตร (องฺ.ทุก.อ. ๒/๔๒/๕๑) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๘๗}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทุกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์] ๕. ปริสวรรค

บริษัทลึก เป็นอย่างไร คือ บริษัทใดในธรรมวินัยนี้มีพวกภิกษุเป็นผู้ไม่ฟุ้งซ่าน ไม่ถือตัว ไม่โลเล ไม่ปากกล้า ไม่พูดพร่ำเพรื่อ มีสติตั้งมั่น มีสัมปชัญญะ มีจิตตั้งมั่น มีจิตแน่วแน่ สำรวมอินทรีย์ บริษัทนี้เรียกว่า บริษัทลึก ภิกษุทั้งหลาย บริษัท ๒ จำพวกนี้แล บรรดาบริษัท ๒ จำพวกนี้ บริษัทลึกเป็นเลิศ (๑) [๔๔] ภิกษุทั้งหลาย บริษัท ๒ จำพวกนี้ บริษัท ๒ จำพวกไหนบ้าง คือ ๑. บริษัทที่แตกแยกกัน ๒. บริษัทที่สามัคคีกัน บริษัทที่แตกแยกกัน เป็นอย่างไร คือ บริษัทใดในธรรมวินัยนี้มีพวกภิกษุต่างบาดหมางกัน ทะเลาะวิวาทกัน ใช้หอกคือปากทิ่มแทงกันอยู่ บริษัทนี้เรียกว่า บริษัทที่แตกแยกกัน บริษัทที่สามัคคีกัน เป็นอย่างไร คือ บริษัทใดในธรรมวินัยนี้มีพวกภิกษุพร้อมเพรียงกัน ชื่นชมกัน ไม่วิวาทกัน เป็นเหมือนน้ำนมกับน้ำ มองกันด้วยนัยน์ตาที่เปี่ยมด้วยความรักอยู่ บริษัทนี้เรียกว่า บริษัทที่สามัคคีกัน ภิกษุทั้งหลาย บริษัท ๒ จำพวกนี้แล บรรดาบริษัท ๒ จำพวกนี้ บริษัทที่สามัคคีกันเป็นเลิศ (๒) [๔๕] ภิกษุทั้งหลาย บริษัท ๒ จำพวกนี้ บริษัท ๒ จำพวกไหนบ้าง คือ ๑. บริษัทที่ไม่มีหัวหน้ายอดเยี่ยม ๒. บริษัทที่มีหัวหน้ายอดเยี่ยม บริษัทที่ไม่มีหัวหน้ายอดเยี่ยม เป็นอย่างไร {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๘๘}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทุกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์] ๕. ปริสวรรค

คือ บริษัทใดในธรรมวินัยนี้มีพวกภิกษุเถระเป็นผู้มักมาก เป็นผู้ย่อหย่อน๑- เป็น ผู้นำในโวกกมนธรรม๒- ทอดธุระ๓- ในปวิเวก๔- ไม่ปรารภความเพียร๕- เพื่อถึงธรรม ที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งธรรมที่ยังไม่ได้ทำให้แจ้ง หมู่คน รุ่นหลังพากันตามอย่างพวกภิกษุเถระเหล่านั้น แม้หมู่คนรุ่นหลังนั้นก็เป็นผู้มักมาก เป็นผู้ย่อหย่อน เป็นผู้นำในโวกกมนธรรม ทอดธุระในปวิเวก ไม่ปรารภความเพียร เพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งธรรมที่ยังไม่ได้ทำ ให้แจ้ง บริษัทนี้เรียกว่า บริษัทที่ไม่มีหัวหน้ายอดเยี่ยม บริษัทที่มีหัวหน้ายอดเยี่ยม เป็นอย่างไร คือ บริษัทใดในธรรมวินัยนี้มีพวกภิกษุเถระ ไม่มักมาก ไม่ย่อหย่อน หมดธุระใน โวกกมนธรรม เป็นผู้นำในปวิเวก ปรารภความเพียรเพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อ บรรลุธรรมที่ยังไม่บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งธรรมที่ยังไม่ได้ทำให้แจ้ง หมู่คนรุ่นหลังพากัน ตามอย่างพวกภิกษุเถระเหล่านั้น แม้หมู่คนรุ่นหลังนั้นก็ไม่มักมาก ไม่ย่อหย่อน หมดธุระในโวกกมนธรรม เป็นผู้นำในปวิเวก ปรารภความเพียรเพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งธรรมที่ยังไม่ได้ทำให้แจ้ง บริษัทนี้เรียกว่า บริษัทที่มีหัวหน้ายอดเยี่ยม ภิกษุทั้งหลาย บริษัท ๒ จำพวกนี้แล บรรดาบริษัท ๒ จำพวกนี้ บริษัทที่มีหัวหน้ายอดเยี่ยมเป็นเลิศ (๓) @เชิงอรรถ : @ ย่อหย่อน หมายถึงยึดถือปฏิบัติตามคำสั่งสอนหย่อนยาน (องฺ.ทุก.อ. ๒/๔๕/๕๓) @ โวกกมนธรรม ในที่นี้หมายถึงนิวรณ์ ๕ คือ (๑) กามฉันทะ(ความพอใจในกาม) (๒) พยาบาท (ความคิดร้าย) @(๓) ถีนมิทธะ (ความหดหู่และเซื่องซึม) (๔) อุทธัจจกุกกุจจะ (ความฟุ้งซ่านและร้อนใจ) (๕) วิจิกิจฉา @(ความลังเลสงสัย) (องฺ.ทุก.อ. ๒/๔๕/๕๓) @ ทอดธุระ ในที่นี้หมายถึงทอดทิ้งหน้าที่ในวิเวก ๓ ประการ คือ กายวิเวก จิตตวิเวก และอุปธิวิเวก @(องฺ.ทุก.อ. ๒/๔๕/๕๓) @ ปวิเวก หมายถึงอุปธิวิเวก คือสภาวะอันเป็นที่ตั้งที่ทรงไว้แห่งทุกข์ ได้แก่ กาม กิเลส เบญจขันธ์ และ @อภิสังขาร กล่าวคือนิพพาน (องฺ.ทุก.อ. ๒/๔๕/๕๓) @ ไม่ปรารภความเพียร หมายถึงไม่กระทำความเพียร ๒ อย่าง คือ ความเพียรทางกาย และความเพียร @ทางจิต (องฺ.ทุก.อ. ๒/๔๕/๕๓, องฺ.ทุก.ฏีกา ๒/๔๕/๕๑) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๘๙}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทุกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์] ๕. ปริสวรรค

[๔๖] ภิกษุทั้งหลาย บริษัท ๒ จำพวกนี้ บริษัท ๒ จำพวกไหนบ้าง คือ ๑. บริษัทที่ไม่เป็นอริยะ ๒. บริษัทที่เป็นอริยะ บริษัทที่ไม่เป็นอริยะ เป็นอย่างไร คือ บริษัทใดในธรรมวินัยนี้มีพวกภิกษุไม่รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า “นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย(เหตุเกิดทุกข์) นี้ทุกขนิโรธ(ความดับทุกข์) นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา (ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์)” บริษัทนี้เรียกว่า บริษัทที่ไม่เป็นอริยะ บริษัทที่เป็นอริยะ เป็นอย่างไร คือ บริษัทใดในธรรมวินัยนี้มีพวกภิกษุรู้ชัดตามความเป็นจริงว่า “นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา” บริษัทนี้เรียกว่า บริษัทที่เป็น อริยะ ภิกษุทั้งหลาย บริษัท ๒ จำพวกนี้แล บรรดาบริษัท ๒ จำพวกนี้ บริษัทที่เป็นอริยะเป็นเลิศ (๔) [๔๗] ภิกษุทั้งหลาย บริษัท ๒ จำพวกนี้ บริษัท ๒ จำพวกไหนบ้าง คือ ๑. บริษัทหยากเยื่อ ๒. บริษัทใสสะอาด บริษัทหยากเยื่อ เป็นอย่างไร คือ บริษัทใดในธรรมวินัยนี้มีพวกภิกษุถึงฉันทาคติ(ลำเอียงเพราะชอบ) โทสาคติ(ลำเอียงเพราะชัง) โมหาคติ(ลำเอียงเพราะหลง) ภยาคติ(ลำเอียงเพราะ กลัว) บริษัทนี้เรียกว่า บริษัทหยากเยื่อ บริษัทใสสะอาด เป็นอย่างไร คือ บริษัทใดในธรรมวินัยนี้มีพวกภิกษุไม่ถึงฉันทาคติ โทสาคติ โมหาคติ ภยาคติ บริษัทนี้เรียกว่า บริษัทใสสะอาด ภิกษุทั้งหลาย บริษัท ๒ จำพวกนี้แล บรรดาบริษัท ๒ จำพวกนี้ บริษัทใสสะอาดเป็นเลิศ (๕) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๙๐}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทุกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์] ๕. ปริสวรรค

[๔๘] ภิกษุทั้งหลาย บริษัท ๒ จำพวกนี้ บริษัท ๒ จำพวกไหนบ้าง คือ ๑. บริษัทที่ดื้อด้าน ไม่ไต่ถาม และไม่ได้รับการแนะนำ ๒. บริษัทที่ไต่ถาม ได้รับการแนะนำ และไม่ดื้อด้าน บริษัทที่ดื้อด้าน ไม่ไต่ถาม และไม่ได้รับการแนะนำ เป็นอย่างไร คือ บริษัทใดในธรรมวินัยนี้เมื่อผู้อื่นกล่าวสูตรที่ตถาคตกล่าวไว้ ล้ำลึก มีเนื้อ ความลึกซึ้ง เป็นโลกุตตรธรรม ประกอบด้วยความว่าง พวกภิกษุไม่ตั้งใจฟังให้ดี ไม่เงี่ยหูฟัง ไม่เข้าไปตั้งจิตไว้เพื่อรู้ทั่วถึง และไม่ให้ความสำคัญธรรมว่าควรเรียน ควรท่องจำให้ขึ้นใจ แต่เมื่อผู้อื่นกล่าวสูตรที่ท่านผู้เชี่ยวชาญได้รจนาไว้เป็นบทกวี มีอักษรวิจิตร มีพยัญชนะวิจิตร อยู่ภายนอก๑- เป็นสาวกภาษิต๒- ภิกษุเหล่านั้นกลับ ตั้งใจฟังอย่างดี เงี่ยหูฟัง เข้าไปตั้งจิตไว้เพื่อรู้ทั่วถึง และให้ความสำคัญธรรมว่าควร เรียน ควรท่องจำให้ขึ้นใจ ครั้นท่องจำธรรมนั้นแล้ว ไม่สอบสวน ไม่ไต่ถามกันว่า “พุทธพจน์นี้เป็นอย่างไร เนื้อความแห่งพุทธพจน์นี้เป็นอย่างไร” ภิกษุเหล่านั้นไม่ เปิดเผยธรรมที่ยังไม่ได้เปิดเผย ไม่ทำให้ง่ายซึ่งธรรมที่ยังไม่ได้ทำให้ง่าย และไม่ บรรเทาความสงสัยในธรรมที่น่าสงสัยหลายอย่าง บริษัทนี้เรียกว่า บริษัทที่ดื้อด้าน ไม่ไต่ถาม และไม่ได้รับการแนะนำ บริษัทที่ไต่ถาม ได้รับการแนะนำ และไม่ดื้อด้าน เป็นอย่างไร คือ บริษัทใดในธรรมวินัยนี้เมื่อผู้อื่นกล่าวสูตรที่ท่านผู้เชี่ยวชาญรจนาไว้ เป็นบทกวี มีอักษรวิจิตร มีพยัญชนะวิจิตร อยู่ภายนอก เป็นสาวกภาษิต พวกภิกษุไม่ ตั้งใจฟังด้วยดี ไม่เงี่ยหูฟัง ไม่เข้าไปตั้งจิตไว้เพื่อรู้ทั่วถึง และไม่ให้ความสำคัญธรรม ว่าควรเรียน ควรท่องจำให้ขึ้นใจ แต่เมื่อผู้อื่นกล่าวสูตรที่ตถาคตกล่าวไว้ ล้ำลึก มีเนื้อความลึกซึ้ง เป็นโลกุตตรธรรม ประกอบด้วยความว่าง ภิกษุเหล่านั้นกลับ ตั้งใจฟังด้วยดี เงี่ยหูฟัง เข้าไปตั้งจิตไว้เพื่อรู้ทั่วถึง และให้ความสำคัญธรรมว่าควร @เชิงอรรถ : @ อยู่ภายนอก หมายถึงอยู่ภายนอกพระพุทธศาสนา (องฺ.ทุก.อ. ๒/๔๘/๕๕) @ เป็นสาวกภาษิต หมายถึงเป็นภาษิตอันเหล่าสาวกของเจ้าลัทธิคนใดคนหนึ่งที่ไม่ได้ชื่อว่าเป็นพระพุทธ- @สาวกได้ภาษิตไว้ (องฺ.ทุก.อ. ๒/๔๘/๕๕, องฺ.ทุก.ฏีกา ๒/๔๘/๕๓) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๙๑}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทุกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์] ๕. ปริสวรรค

เรียน ควรท่องจำให้ขึ้นใจ ครั้นท่องจำธรรมนั้นแล้วย่อมสอบสวนไต่ถามกันว่า “พุทธพจน์นี้เป็นอย่างไร เนื้อความแห่งพุทธพจน์นี้เป็นอย่างไร” ภิกษุเหล่านั้นเปิด เผยธรรมที่ยังไม่ได้เปิดเผย ทำให้ง่ายซึ่งธรรมที่ยังไม่ได้ทำให้ง่าย และบรรเทาความ สงสัยในธรรมที่น่าสงสัยหลายอย่าง บริษัทนี้เรียกว่า บริษัทที่ไต่ถาม ได้รับการ แนะนำ และไม่ดื้อด้าน ภิกษุทั้งหลาย บริษัท ๒ จำพวกนี้แล บรรดาบริษัท ๒ จำพวกนี้ บริษัทที่ไต่ถาม ได้รับการแนะนำ และไม่ดื้อด้านเป็นเลิศ (๖) [๔๙] ภิกษุทั้งหลาย บริษัท ๒ จำพวกนี้ บริษัท ๒ จำพวกไหนบ้าง คือ ๑. บริษัทที่หนักในอามิส ไม่หนักในสัทธรรม ๒. บริษัทที่หนักในสัทธรรม ไม่หนักในอามิส บริษัทที่หนักในอามิส ไม่หนักในสัทธรรม เป็นอย่างไร คือ บริษัทใดในธรรมวินัยนี้มีพวกภิกษุต่างสรรเสริญคุณของกันและกันต่อหน้า คฤหัสถ์ผู้นุ่งผ้าขาวว่า “ภิกษุรูปโน้นเป็นอุภโตภาควิมุต๑- ภิกษุรูปโน้นเป็นปัญญาวิมุต๒- ภิกษุรูปโน้นเป็นกายสักขี๓- ภิกษุรูปโน้นเป็นทิฏฐิปัตตะ๔- ภิกษุรูปโน้นเป็นสัทธาวิมุต๕- @เชิงอรรถ : @ อุภโตภาควิมุต หมายถึงผู้บำเพ็ญสมถกัมมัฏฐานจนได้อรูปสมาบัติ และใช้สมถะเป็นพื้นฐานในการ @บำเพ็ญวิปัสสนาจนได้บรรลุอรหัตตผล (องฺ.สตฺตก.อ. ๓/๑๔/๑๖๐, องฺ.นวก.อ. ๓/๔๕/๓๑๖) @ ปัญญาวิมุต หมายถึงผู้บำเพ็ญวิปัสสนาล้วนๆ จนบรรลุอรหัตตผล (องฺ.สตฺตก.อ. ๓/๑๔/๑๖๑) @ กายสักขี หมายถึงผู้มีศรัทธาแก่กล้า ได้สัมผัสวิโมกข์ ๘ ด้วยนามกาย และอาสวะบางอย่างก็สิ้นไป @เพราะเห็นด้วยปัญญา หมายถึงพระอริยบุคคลผู้บรรลุโสดาปัตติผลขึ้นไปจนถึงท่านผู้ปฏิบัติเพื่ออรหัตตผล @(องฺ.ทุก.อ. ๒/๔๙/๕๕, องฺ.สตฺตก.อ. ๓/๑๔/๑๖๑) @ ทิฏฐิปัตตะ หมายถึงผู้บรรลุสัมมาทิฏฐิ เข้าใจอริยสัจถูกต้อง กิเลสบางส่วนสิ้นไปเพราะเห็นด้วยปัญญา @มีปัญญาแก่กล้า หมายถึงผู้บรรลุโสดาปัตติผลจนถึงผู้ปฏิบัติเพื่ออรหัตตผล (องฺ.สตฺตก.อ. ๓/๑๔/๑๖๑) @ สัทธาวิมุต หมายถึงผู้หลุดพ้นด้วยศรัทธา เข้าใจอริยสัจถูกต้อง กิเลสบางส่วนสิ้นไปเพราะเห็นด้วยปัญญา @มีศรัทธาแก่กล้า หมายถึงผู้บรรลุโสดาปัตติผลจนถึงผู้ปฏิบัติเพื่ออรหัตตผล @(องฺ.ทุก.อ. ๒/๔๙/๕๕, องฺ.สตฺตก.อ. ๓/๑๔/๑๖๑-๑๖๒) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๙๒}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทุกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์] ๕. ปริสวรรค

ภิกษุรูปโน้นเป็นธัมมานุสารี๑- ภิกษุรูปโน้นเป็นสัทธานุสารี๒- ภิกษุรูปโน้นมีศีลมี กัลยาณธรรม ภิกษุรูปโน้นทุศีลมีธรรมเลวทราม” ภิกษุเหล่านั้นได้ลาภเพราะเหตุนั้น เธอทั้งหลายครั้นได้ลาภนั้นแล้ว ต่างติดใจ ลุ่มหลง หมกมุ่น ไม่เห็นโทษ ขาดปัญญา เป็นเครื่องสลัดออก บริโภคอยู่ บริษัทนี้เรียกว่า บริษัทที่หนักในอามิส ไม่หนักใน สัทธรรม บริษัทที่หนักในสัทธรรม ไม่หนักในอามิส เป็นอย่างไร คือ บริษัทใดในธรรมวินัยนี้มีพวกภิกษุไม่กล่าวสรรเสริญคุณของกันและกัน ต่อหน้าคฤหัสถ์ผู้นุ่งผ้าขาวว่า “ภิกษุรูปโน้นเป็นอุภโตภาควิมุต ภิกษุรูปโน้นเป็น ปัญญาวิมุต ภิกษุรูปโน้นเป็นกายสักขี ภิกษุรูปโน้นเป็นทิฏฐิปัตตะ ภิกษุรูปโน้นเป็น สัทธาวิมุต ภิกษุรูปโน้นเป็นธัมมานุสารี ภิกษุรูปโน้นเป็นสัทธานุสารี ภิกษุรูปโน้นมี ศีลมีกัลยาณธรรม ภิกษุรูปโน้นทุศีลมีธรรมเลวทราม “ภิกษุเหล่านั้นได้ลาภเพราะ เหตุนั้น เธอทั้งหลายครั้นได้ลาภนั้นแล้ว ไม่ติดใจ ไม่ลุ่มหลง ไม่หมกมุ่น มองเห็น โทษ มีปัญญาเป็นเครื่องสลัดออก บริโภคอยู่ บริษัทนี้เรียกว่า บริษัทที่หนักใน สัทธรรม ไม่หนักในอามิส ภิกษุทั้งหลาย บริษัท ๒ จำพวกนี้แล บรรดาบริษัท ๒ จำพวกนี้ บริษัทที่หนักในสัทธรรม ไม่หนักในอามิสเป็นเลิศ (๗) [๕๐] ภิกษุทั้งหลาย บริษัท ๒ จำพวกนี้ บริษัท ๒ จำพวกไหนบ้าง คือ ๑. บริษัทที่ไม่เรียบร้อย ๒. บริษัทที่เรียบร้อย บริษัทที่ไม่เรียบร้อย เป็นอย่างไร @เชิงอรรถ : @ ธัมมานุสารี หมายถึงผู้แล่นไปตามธรรม ท่านผู้ปฏิบัติเพื่อบรรลุโสดาปัตติผล มีปัญญาแก่กล้า บรรลุ @ผลแล้วกลายเป็นทิฏฐิปัตตะ (องฺ.ทุก.อ. ๒/๔๙/๕๕, องฺ.สตฺตก.อ. ๓/๑๔/๑๖๒) @ สัทธานุสารี คือผู้แล่นไปตามศรัทธา ท่านผู้ปฏิบัติเพื่อบรรลุโสดาปัตติผล มีศรัทธาแก่กล้า บรรลุผล @แล้วกลายเป็นสัทธาวิมุต (องฺ.ทุก.อ. ๒/๔๙/๕๕, องฺ.สตฺตก.อ. ๓/๑๔/๑๖๒) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๙๓}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทุกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์] ๕. ปริสวรรค

คือ บริษัทใดในธรรมวินัยนี้ กรรมที่ไม่เป็นธรรมเป็นไป กรรมที่เป็นธรรมไม่ เป็นไป กรรมที่ไม่เป็นวินัยเป็นไป กรรมที่เป็นวินัยไม่เป็นไป กรรมที่ไม่เป็นธรรม รุ่งเรือง กรรมที่เป็นธรรมไม่รุ่งเรือง กรรมที่ไม่เป็นวินัยรุ่งเรือง กรรมที่เป็นวินัยไม่ รุ่งเรือง บริษัทนี้เรียกว่า บริษัทที่ไม่เรียบร้อย เพราะบริษัทที่ไม่เรียบร้อย กรรมที่ไม่เป็นธรรมจึงเป็นไป กรรมที่เป็นธรรมไม่ เป็นไป กรรมที่ไม่เป็นวินัยเป็นไป กรรมที่เป็นวินัยไม่เป็นไป กรรมที่ไม่เป็นธรรมรุ่งเรือง กรรมที่เป็นธรรมไม่รุ่งเรือง กรรมที่ไม่เป็นวินัยรุ่งเรือง กรรมที่เป็นวินัยไม่รุ่งเรือง บริษัทที่เรียบร้อย เป็นอย่างไร คือ บริษัทใดในธรรมวินัยนี้ กรรมที่เป็นธรรมเป็นไป กรรมที่ไม่เป็นธรรมไม่ เป็นไป กรรมที่เป็นวินัยเป็นไป กรรมที่ไม่เป็นวินัยไม่เป็นไป กรรมที่เป็นธรรมรุ่งเรือง กรรมที่ไม่เป็นธรรมไม่รุ่งเรือง กรรมที่เป็นวินัยรุ่งเรือง กรรมที่ไม่เป็นวินัยไม่รุ่งเรือง บริษัทนี้เรียกว่า บริษัทที่เรียบร้อย เพราะบริษัทที่เรียบร้อย กรรมที่เป็นธรรมจึงเป็นไป กรรมที่ไม่เป็นธรรมไม่เป็นไป กรรมที่เป็นวินัยเป็นไป กรรมที่ไม่เป็นวินัยไม่เป็นไป กรรมที่เป็นธรรมรุ่งเรือง กรรม ที่ไม่เป็นธรรมไม่รุ่งเรือง กรรมที่เป็นวินัยรุ่งเรือง กรรมที่ไม่เป็นวินัยไม่รุ่งเรือง ภิกษุทั้งหลาย บริษัท ๒ จำพวกนี้แล บรรดาบริษัท ๒ จำพวกนี้ บริษัทที่เรียบร้อยเป็นเลิศ (๘) [๕๑] ภิกษุทั้งหลาย บริษัท ๒ จำพวกนี้ บริษัท ๒ จำพวกไหนบ้าง คือ ๑. บริษัทที่ไม่เป็นธรรม ๒. บริษัทที่เป็นธรรม ฯลฯ ภิกษุทั้งหลาย บริษัท ๒ จำพวกนี้แล บรรดาบริษัท ๒ จำพวกนี้ บริษัทที่เป็นธรรมเป็นเลิศ (๙) [๕๒] ภิกษุทั้งหลาย บริษัท ๒ จำพวกนี้ บริษัท ๒ จำพวกไหนบ้าง คือ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๙๔}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทุกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์] ๕. ปริสวรรค

๑. บริษัทที่เป็นอธัมมวาที (กล่าวแต่สิ่งที่ไม่เป็นธรรม) ๒. บริษัทที่เป็นธัมมวาที (กล่าวแต่สิ่งที่เป็นธรรม) บริษัทที่เป็นอธัมมวาที เป็นอย่างไร คือ บริษัทใดในธรรมวินัยนี้มีพวกภิกษุได้รับอธิกรณ์๑- ที่เป็นธรรมหรือไม่เป็น ธรรมก็ตาม ครั้นได้รับอธิกรณ์นั้นแล้ว ไม่ประกาศให้ยอมรับกัน และไม่เข้าร่วมการ ยอมรับ ไม่ยอมให้พิจารณาอธิกรณ์ และไม่เข้าร่วมการพิจารณาอธิกรณ์ ภิกษุ เหล่านั้นมีความตกลงกันไม่ได้เป็นแรงหนุน มีการไม่เพ่งโทษตนเป็นแรงหนุน คิดแต่จะดื้อดึงไม่ยอมรับ กล่าวด้วยความยึดมั่นถือมั่นอธิกรณ์นั้นว่า “นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่จริง” บริษัทนี้เรียกว่า บริษัทที่เป็นอธัมมวาที บริษัทที่เป็นธัมมวาที เป็นอย่างไร คือ บริษัทใดในธรรมวินัยนี้มีพวกภิกษุได้รับอธิกรณ์ที่เป็นธรรมหรือไม่เป็น ธรรมก็ตาม ครั้นได้รับอธิกรณ์นั้นแล้ว ประกาศให้ยอมรับกัน และเข้าร่วมการยอมรับ ยอมให้พิจารณาอธิกรณ์ และเข้าร่วมการพิจารณาอธิกรณ์ ภิกษุเหล่านั้นมีการตกลง กันได้เป็นแรงหนุน มีการเพ่งโทษตนเป็นแรงหนุน คิดแต่จะยอมรับ ไม่กล่าวด้วย ความยึดมั่นถือมั่นอธิกรณ์นั้นว่า “นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่จริง” บริษัทนี้เรียกว่า บริษัทที่เป็นธัมมวาที ภิกษุทั้งหลาย บริษัท ๒ จำพวกนี้แล บรรดาบริษัท ๒ จำพวกนี้ บริษัทที่เป็นธัมมวาทีเป็นเลิศ (๑๐)
ปริสวรรคที่ ๕ จบ
@เชิงอรรถ : @ อธิกรณ์ ในที่นี้หมายถึงเรื่องที่สงฆ์ต้องดำเนินการมี ๔ อย่าง คือ (๑) วิวาทาธิกรณ์ การเถียงกันเกี่ยวกับ @พระธรรมวินัย (๒) อนุวาทาธิกรณ์ การโจทย์หรือกล่าวหากันด้วยอาบัติ (๓) อาปัตตาธิกรณ์ การต้อง @อาบัติ การปรับอาบัติ และการแก้ไขตัวให้พ้นจากอาบัติ (๔) กิจจาธิกรณ์ กิจธุระต่างๆ ที่สงฆ์จะต้องทำ @เช่น ให้อุปสมบท ให้ผ้ากฐิน เป็นต้น (องฺ.ทุก.อ. ๒/๑๕/๑๒) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๙๕}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทุกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์] รวมพระสูตรที่มีในวรรค

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. อุตตานสูตร ๒. วัคคสูตร ๓. อัคควตีสูตร ๔. อริยสูตร ๕. กสฏสูตร ๖. อุกกาจิตสูตร ๗. อามิสสูตร ๘. วิสมสูตร ๙. อธัมมสูตร ๑๐. ธัมมิยสูตร
ปฐมปัณณาสก์ จบบริบูรณ์
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๙๖}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒๐ หน้าที่ ๘๗-๙๖. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=20&siri=33              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2], [3].                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=20&A=1841&Z=1990                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=20&i=287              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=20&item=287&items=10              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=15&A=1186              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=20&item=287&items=10              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=15&A=1186                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๐ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu20              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/20i287-e.php# https://accesstoinsight.org/tipitaka/an/an02/an02.046.than.html https://suttacentral.net/an2.42-51/en/sujato https://suttacentral.net/an2.42-51/en/thanissaro



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :