ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๑ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๓ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]

๔. มจลวรรค ๙. สัมมาทิฏฐิสูตร

๙. สัมมาทิฏฐิสูตร
ว่าด้วยผู้เป็นสัมมาทิฏฐิ
[๘๙] ภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๔ จำพวกนี้แลมีปรากฏอยู่ในโลก บุคคล ๔ จำพวกไหนบ้าง คือ ๑. บุคคลเป็นสมณะผู้ไม่หวั่นไหว ๒. บุคคลเป็นสมณะเหมือนดอกปุณฑริก ๓. บุคคลเป็นสมณะเหมือนดอกปทุม ๔. บุคคลเป็นสมณะผู้ละเอียดอ่อนในหมู่สมณะ บุคคลเป็นสมณะผู้ไม่หวั่นไหว เป็นอย่างไร คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้เป็นผู้มีสัมมาทิฏฐิ (เห็นชอบ) มีสัมมาสังกัปปะ (ดำริ ชอบ) มีสัมมาวาจา (เจรจาชอบ) มีสัมมากัมมันตะ (กระทำชอบ) มีสัมมาอาชีวะ (เลี้ยงชีพชอบ) มีสัมมาวายามะ (พยายามชอบ) มีสัมมาสติ (ระลึกชอบ) มี สัมมาสมาธิ (ตั้งจิตมั่นชอบ) บุคคลเป็นสมณะผู้ไม่หวั่นไหว เป็นอย่างนี้แล บุคคลเป็นสมณะเหมือนดอกปุณฑริก เป็นอย่างไร คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้เป็นผู้มีสัมมาทิฏฐิ มีสัมมาสังกัปปะ มีสัมมาวาจา มีสัมมากัมมันตะ มีสัมมาอาชีวะ มีสัมมาวายามะ มีสัมมาสติ มีสัมมาสมาธิ มีสัมมาญาณะ (รู้ชอบ) มีสัมมาวิมุตติ (หลุดพ้นชอบ) แต่เธอไม่ได้สัมผัสวิโมกข์ ๘ ด้วยนามกายอยู่ บุคคลเป็นสมณะเหมือนดอกปุณฑริก เป็นอย่างนี้แล บุคคลเป็นสมณะเหมือนดอกปทุม เป็นอย่างไร คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้เป็นผู้มีสัมมาทิฏฐิ ฯลฯ มีสัมมาญาณะ มีสัมมาวิมุตติ และเธอสัมผัสวิโมกข์ ๘ ด้วยนามกายอยู่ บุคคลเป็นสมณะเหมือนดอกปทุม เป็น อย่างนี้แล บุคคลเป็นสมณะผู้ละเอียดอ่อนในหมู่สมณะ เป็นอย่างไร คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้มีคนขอร้องเท่านั้นจึงใช้สอยจีวรมาก ไม่มีใครขอร้อง ย่อมใช้สอยจีวรแต่น้อย ฯลฯ๑- @เชิงอรรถ : @ ดูข้อความเต็มในข้อ ๘๗ (ปุตตสูตร) หน้า ๑๓๓-๑๓๔ ในเล่มนี้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๑ หน้า : ๑๓๖}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]

๔. มจลวรรค ๑๐.ขันธสูตร

บุคคลเมื่อจะกล่าวให้ถูกต้องพึงกล่าวถึงผู้ใดว่า ‘เป็นสมณะผู้ละเอียดอ่อนใน หมู่สมณะ’ บุคคลนั้นเมื่อจะกล่าวให้ถูกต้องพึงกล่าวถึงเรานั้นแลว่า ‘เป็นสมณะผู้ ละเอียดอ่อนในหมู่สมณะ’ (เพราะเรามีคนขอร้องเท่านั้นจึงใช้สอยจีวรมาก ไม่มีใคร ขอร้องย่อมใช้สอยจีวรแต่น้อย ฯลฯ) ภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๔ จำพวกนี้แลมีปรากฏอยู่ในโลก
สัมมาทิฏฐิสูตรที่ ๙ จบ


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒๑ หน้าที่ ๑๓๖-๑๓๗. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=21&siri=89              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=21&A=2442&Z=2464                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=21&i=89              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=21&item=89&items=1              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=15&A=8448              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=21&item=89&items=1              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=15&A=8448                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๑ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu21              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/21i081-e.php#sutta9 https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/21i081-e2.php#sutta9 https://suttacentral.net/an4.89/en/sujato



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :