ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๓ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๕ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]

๔. อิทธิปาทวรรค ๑. สิกขาสูตร

๔. อิทธิปาทวรรค
หมวดว่าอิทธิบาท
๑. สิกขาสูตร
ว่าด้วยเหตุท้อแท้ในสิกขา
[๘๓] ภิกษุทั้งหลาย เหตุท้อแท้ในสิกขา ๕ ประการนี้ เหตุท้อแท้ในสิกขา ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. การฆ่าสัตว์ ฯลฯ๑- ๕. การเสพของมึนเมาคือสุราและเมรัยอันเป็นเหตุแห่งความประมาท ภิกษุทั้งหลาย เหตุท้อแท้ในสิกขา ๕ ประการนี้แล ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงเจริญอิทธิบาท ๔ ประการนี้ เพื่อละเหตุท้อแท้ใน สิกขา ๕ ประการนี้แล อิทธิบาท ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. สร้างฉันทะ พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต มุ่งมั่น เพื่อ ป้องกันบาปอกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดมิให้เกิดขึ้น ๒. สร้างฉันทะ พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต มุ่งมั่น เพื่อ ละบาปอกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว ๓. สร้างฉันทะ พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต มุ่งมั่น เพื่อ ทำกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น ๔. สร้างฉันทะ พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต มุ่งมั่น เพื่อ ความดำรงอยู่ ไม่เลือนหาย ภิญโญภาพ ไพบูลย์ เจริญเต็มที่แห่ง กุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงเจริญอิทธิบาท ๔ ประการนี้ เพื่อละเหตุท้อแท้ในสิกขา ๕ ประการนี้แล
สิกขาสูตรที่ ๑ จบ
[๘๔-๙๑] (พึงขยายหมวดธรรมว่าด้วยอิทธิบาทเหมือนในสติปัฏฐานวรรค) @เชิงอรรถ : @ ดูความเต็มในนวกนิบาต ข้อ ๖๓ (สิกขาทุพพัลยสูตร) หน้า ๕๔๘ ในเล่มนี้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า : ๕๖๑}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]

๔. อิทธิปาทวรรค ๑๐. เจตโสวินิพันธสูตร

๑๐. เจตโสวินิพันธสูตร
ว่าด้วยกิเลสเครื่องผูกใจ
[๙๒] ภิกษุทั้งหลาย กิเลสเครื่องผูกใจ ๕ ประการนี้ กิเลสเครื่องผูกใจ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ๑. เป็นผู้ยังไม่ปราศจากความกำหนัด ฯลฯ๑- ภิกษุทั้งหลาย กิเลสเครื่องผูกใจ ๕ ประการนี้ ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงเจริญอิทธิบาท ๔ ประการนี้ เพื่อละกิเลสเครื่อง ผูกใจ ๕ ประการนี้แล อิทธิบาท ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ๑. เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยฉันทสมาธิปธานสังขาร๒- (สมาธิที่เกิด จากฉันทะและความเพียรสร้างสรรค์) ๒. เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยวิริยสมาธิปธานสังขาร(สมาธิที่เกิดจาก วิริยะและความเพียรสร้างสรรค์) ๓. เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยจิตตสมาธิปธานสังขาร(สมาธิที่เกิดจาก จิตตะและความเพียรสร้างสรรค์) ๔. เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยวีมังสาสมาธิปธานสังขาร(สมาธิที่เกิด จากวีมังสาและความเพียรสร้างสรรค์) ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงเจริญอิทธิบาท ๔ ประการนี้ เพื่อละกิเลสเครื่องผูกใจ ๕ ประการนี้แล
เจตโสวินิพันธสูตรที่ ๑๐ จบ
อิทธิปาทวรรคที่ ๔ จบ
(ผู้ศึกษาพึงประกอบสัมมัปปธาน ๔ และอิทธิบาท ๔ เหมือนสติปัฏฐาน ๔) @เชิงอรรถ : @ ดูความเต็มในข้อ ๗๒ (เจตโสวินิพันธสูตร) หน้า ๕๕๖ ในเล่มนี้ @ ฉันทสมาธิ หมายถึงสมาธิที่เกิดจากฉันทะ ปธานสังขาร หมายถึงความเพียรที่มุ่งมั่น (ปธาน) คำว่า ฉันท- @สมาธิปธานสังขาร หมายถึงสมาธิที่เกิดจากฉันทะ และความเพียรที่มุ่งมั่น วิริยสมาธิ จิตตสมาธิ และ @วีมังสาสมาธิ ก็มีอรรถาธิบายเช่นเดียวกัน (องฺ.เอกก.อ. ๑/๓๙๘/๔๔๕) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า : ๕๖๒}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒๓ หน้าที่ ๕๖๑-๕๖๒. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=23&siri=237              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=23&A=9935&Z=9955                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=23&i=279              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=23&item=279&items=2              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=23&item=279&items=2                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๓ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu23              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/23i279-e.php# https://suttacentral.net/an9.83/en/sujato https://suttacentral.net/an9.84-91/en/sujato https://suttacentral.net/an9.92/en/sujato



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :