ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๓ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๕ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต ๔. เทวตาวรรค ๖. ทุติยมิตตสูตร

๖. ทุติยมิตตสูตร
ว่าด้วยองค์แห่งมิตร สูตรที่ ๒
[๓๗] ภิกษุทั้งหลาย มิตรประกอบด้วยองค์ ๗ ประการ เป็นผู้ควรเสพ ควรคบ ควรเข้าไปนั่งใกล้ แม้จะถูกขับไล่ก็ตาม องค์ ๗ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. เป็นที่รักเป็นที่พอใจ๑- ๒. เป็นที่เคารพ ๓. เป็นที่ยกย่อง ๔. เป็นนักพูด๒- ๕. เป็นผู้อดทนต่อถ้อยคำ๓- ๖. เป็นผู้พูดถ้อยคำลึกซึ้งได้๔- ๗. ไม่ชักนำในอฐานะ๕- ภิกษุทั้งหลาย มิตรประกอบด้วยองค์ ๗ ประการนี้แล เป็นผู้ควรเสพ ควรคบ ควรเข้าไปนั่งใกล้ แม้จะถูกขับไล่ก็ตาม @เชิงอรรถ : @ เป็นที่รักเป็นที่พอใจ ในที่นี้หมายถึงมีลักษณะแห่งกัลยาณมิตร ๘ ประการ คือ (๑) มีศรัทธา คือ เชื่อการ @ตรัสรู้ของพระตถาคต เชื่อกรรมและผลของกรรม (๒) มีศีล คือ เป็นที่รัก เป็นที่เคารพ เป็นที่นับถือของ @สัตว์ทั้งหลาย (๓) มีสุตะ คือ กล่าวถ้อยคำที่ลึกซึ้งที่สัมปยุตด้วยสัจจะและปฏิจจสมุปบาท (๔) มีจาคะ คือ @ปรารถนาน้อย สันโดษ ชอบสงัด ไม่คลุกคลีด้วยหมู่ (๕) มีความเพียร คือ ปรารภความเพียรในการปฏิบัติ @เพื่อเกื้อกูลแก่ตนและเกื้อกูลแก่ผู้อื่น (๖) มีสติ คือ มีสติตั้งมั่น (๗) มีสมาธิ คือ มีจิตตั้งมั่นไม่ฟุ้งซ่าน @(๘) มีปัญญา คือ รู้อย่างไม่วิปริต ใช้สติพิจารณาคติแห่งกุศลธรรมและอกุศลธรรม รู้สิ่งที่เกื้อกูลและสิ่งไม่ @เกื้อกูลแห่งสัตว์ทั้งหลายด้วยปัญญาตามความเป็นจริง มีจิตเป็นหนึ่งในอารมณ์นั้นด้วยสมาธิ เว้นสิ่งที่ไม่ @เกื้อกูล ประกอบสิ่งที่เกื้อกูลด้วยความเพียร (องฺ.สตฺตก.ฏีกา ๓/๓๗-๔๓/๒๐๓) @ เป็นนักพูด ในที่นี้หมายถึงเป็นผู้ฉลาดในการใช้คำพูด (องฺ.สตฺตก.อ. ๓/๓๗/๑๗๙) @ อดทนต่อถ้อยคำ ในที่นี้หมายถึงปฏิบัติตามโอวาทที่ท่านให้แล้ว (องฺ.สตฺตก.อ. ๓/๓๗/๑๗๙) @ ถ้อยคำลึกซึ้ง หมายถึงเรื่องเกี่ยวกับฌาน วิปัสสนา มรรค ผล และนิพพาน (องฺ.สตฺตก.อ. ๓/๓๗/๑๗๙) @ ไม่ชักนำในอฐานะ หมายถึงป้องกันไม่ให้ทำในสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์เกื้อกูล มีคติเป็นทุกข์ แต่ชักชวนให้ @ทำสิ่งที่เป็นประโยชน์เกื้อกูลมีคติเป็นสุข (เทียบ องฺ.สตฺตก.ฏีกา ๓/๓๗/๒๐๓) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า : ๕๗}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต ๔. เทวตาวรรค ๗. ปฐมปฏิสัมภิทาสูตร

มิตรเป็นที่รัก เป็นที่เคารพ เป็นที่ยกย่อง เป็นนักพูด เป็นผู้อดทนต่อถ้อยคำ พูดถ้อยคำลึกซึ้งได้ ไม่ชักนำในอฐานะ ในโลกนี้ ฐานะเหล่านี้มีอยู่ในบุคคลใด บุคคลนั้นจัดว่าเป็นมิตรผู้มุ่งประโยชน์และอนุเคราะห์ ผู้ต้องการจะคบมิตร ควรคบมิตรเช่นนั้น แม้จะถูกขับไล่ก็ตาม
ทุติยมิตตสูตรที่ ๖ จบ


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒๓ หน้าที่ ๕๗-๕๘. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=23&siri=34              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=23&A=791&Z=803                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=23&i=34              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=23&item=34&items=1              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=16&A=3992              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=23&item=34&items=1              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=16&A=3992                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๓ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu23              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/23i029-e.php#sutta6 https://suttacentral.net/an7.37/en/sujato



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :