ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๓ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๕ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต
๕. มหานามสูตร
ว่าด้วยเจ้าศากยะพระนามว่ามหานามะ
[๒๕] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ นิโครธาราม เขตกรุง กบิลพัสดุ์ แคว้นสักกะ ลำดับนั้น เจ้าศากยะพระนามว่ามหานามะเสด็จเข้าไปเฝ้า พระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาคแล้วประทับนั่ง ณ ที่ สมควร ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ บุคคลชื่อว่าอุบาสก ด้วยเหตุเพียงเท่าไรหนอแล” พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “มหานามะ เมื่อใดแล บุคคลเป็นผู้ถึง พระพุทธเจ้าเป็นสรณะ เป็นผู้ถึงพระธรรมเป็นสรณะ เป็นผู้ถึงพระสงฆ์เป็นสรณะ เมื่อนั้น บุคคลชื่อว่าอุบาสก ด้วยเหตุเพียงเท่านี้แล” {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า : ๒๖๘}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]

๓. คหปติวรรค ๕. มหานามสูตร

“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อุบาสกชื่อว่าผู้มีศีล ด้วยเหตุเพียงเท่าไร” “มหานามะ เมื่อใดแล อุบาสกเป็นผู้เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ เป็นผู้เว้นขาด จากการลักทรัพย์ เป็นผู้เว้นขาดจากการประพฤติผิดในกาม เป็นผู้เว้นขาดจากการ พูดเท็จ เป็นผู้เว้นขาดจากการเสพของมึนเมาคือสุราและเมรัยอันเป็นเหตุแห่งความ ประมาท เมื่อนั้นอุบาสกชื่อว่าผู้มีศีล ด้วยเหตุเพียงเท่านี้แล” “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อุบาสกชื่อว่าผู้ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลตนเอง แต่ไม่ปฏิบัติ เพื่อเกื้อกูลผู้อื่น ด้วยเหตุเพียงเท่าไร” “มหานามะ เมื่อใดแล อุบาสก ตนเองเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยศรัทธา แต่ไม่ชักชวน ผู้อื่นให้เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยศรัทธา ตนเองเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยศีล แต่ไม่ชักชวนผู้อื่น ให้เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยศีล ตนเองเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยจาคะ แต่ไม่ชักชวนผู้อื่นให้เป็น ผู้ถึงพร้อมด้วยจาคะ ตนเองเป็นผู้ประสงค์จะเห็นภิกษุ แต่ไม่ชักชวนผู้อื่นให้เห็นภิกษุ ตนเองเป็นผู้ประสงค์จะฟังสัทธรรม แต่ไม่ชักชวนผู้อื่นให้ฟังสัทธรรม ตนเองเป็นผู้ ทรงจำธรรมที่ฟังแล้วไว้ได้ แต่ไม่ชักชวนผู้อื่นให้ทรงจำธรรมที่ฟังแล้วไว้ได้ ตนเองเป็น ผู้พิจารณาเนื้อความแห่งธรรมที่ฟังแล้ว แต่ไม่ชักชวนผู้อื่นให้พิจารณาเนื้อความแห่งธรรม ตนเองเป็นผู้รู้อรรถรู้ธรรมแล้วปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม๑- แต่ไม่ชักชวนผู้อื่นให้ ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม เมื่อนั้น อุบาสกชื่อว่าผู้ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลตนเอง แต่ไม่ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลผู้อื่น ด้วยเหตุเพียงเท่านี้แล” “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อุบาสกชื่อว่าผู้ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลตนเองและเพื่อเกื้อกูล ผู้อื่น ด้วยเหตุเพียงเท่าไร” “มหานามะ เมื่อใดแล อุบาสก ตนเองเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยศรัทธา และชักชวน ผู้อื่นให้เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยศรัทธา ตนเองเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยศีล และชักชวนผู้อื่น ให้เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยศีล ตนเองเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยจาคะ และชักชวนผู้อื่นให้เป็น ผู้ถึงพร้อมด้วยจาคะ ตนเองเป็นผู้ประสงค์จะเห็นภิกษุ และชักชวนผู้อื่นให้เห็นภิกษุ @เชิงอรรถ : @ ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม หมายถึงปฏิบัติปฏิปทาอันเป็นส่วนเบื้องต้นที่เหมาะแก่โลกุตตรธรรม ๙ ประการ @(คือ มรรค ๔ ผล ๔ นิพพาน ๑ ) (องฺ.จตุกฺก.อ. ๒/๙๗/๓๖๘) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า : ๒๖๙}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]

๓. คหปติวรรค ๖. ชีวกสูตร

ตนเองเป็นผู้ประสงค์จะฟังสัทธรรม และชักชวนผู้อื่นให้ฟังสัทธรรม ตนเองเป็นผู้ทรง จำธรรมที่ฟังแล้วไว้ได้ และชักชวนผู้อื่นให้ทรงจำธรรมที่ฟังแล้วไว้ได้ ตนเองเป็นผู้ พิจารณาเนื้อความแห่งธรรมที่ฟังแล้ว และชักชวนผู้อื่นให้พิจารณาเนื้อความแห่งธรรม ตนเองเป็นผู้รู้อรรถรู้ธรรมแล้วปฏิบัติธรรมตามสมควรแก่ธรรม และชักชวนผู้อื่นให้ ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม เมื่อนั้น อุบาสกชื่อว่าผู้ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลตนเองและ เพื่อเกื้อกูลผู้อื่น ด้วยเหตุเพียงเท่านี้แล”
มหานามสูตรที่ ๕ จบ


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒๓ หน้าที่ ๒๖๘-๒๗๐. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=23&siri=98              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=23&A=4509&Z=4549                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=23&i=115              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=23&item=115&items=1              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=16&A=5547              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=23&item=115&items=1              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=16&A=5547                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๓ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu23              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/23i111-e.php#sutta5 https://accesstoinsight.org/tipitaka/an/an08/an08.025.kuma.html http://www.buddha-vacana.org/sutta/anguttara/08/an08-025.html https://suttacentral.net/an8.25/en/sujato https://suttacentral.net/an8.25/en/bodhi



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :