ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๔ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๖ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต
๔. พยากรณสูตร
ว่าด้วยการพยากรณ์อรหัตตผล
[๘๔] ณ ที่นั้นแล ท่านพระมหาโมคคัลลานะได้เรียกภิกษุทั้งหลายมากล่าวว่า ภิกษุผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นรับคำแล้ว ท่านพระมหาโมคคัลลานะจึงได้กล่าว เรื่องนี้ว่า ผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ ย่อมพยากรณ์อรหัตตผลว่า ‘เรารู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำ๑- เสร็จแล้ว ไม่มีกิจอื่นเพื่อความ เป็นอย่างนี้อีกต่อไป๒-’ พระตถาคตหรือสาวกของพระตถาคตผู้ได้ฌาน ฉลาด ในสมาบัติ ฉลาดในจิตของผู้อื่น ฉลาดในการกำหนดรู้จิตของผู้อื่น ย่อมซักถาม สอบถาม ไล่เลียงภิกษุนั้น ภิกษุนั้นผู้ถูกพระตถาคตหรือสาวกของพระตถาคตผู้ได้ @เชิงอรรถ : @ กิจที่ควรทำ ในที่นี้หมายถึงกิจในอริยสัจ ๔ คือ การกำหนดรู้ทุกข์ การละเหตุเกิดทุกข์ การทำให้แจ้งซึ่ง @ความดับทุกข์และการอบรมมรรคมีองค์ ๘ ให้เจริญ (ที.สี.อ. ๒๔๘/๒๐๓) @ ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป หมายถึงไม่มีหน้าที่ในการบำเพ็ญมรรคญาณเพื่อความสิ้น @กิเลสอีกต่อไป เพราะพุทธศาสนาถือว่าการบรรลุอรหัตตผลเป็นจุดหมายสูงสุด (ที.สี.อ. ๒๔๘/๒๐๓) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า : ๑๘๔}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]

๔. เถรวรรค ๔. พยากรณสูตร

ฌาน ฉลาดในสมาบัติ ฉลาดในจิตของผู้อื่น ฉลาดในการกำหนดรู้จิตของผู้อื่น ซักถาม สอบถาม ไล่เลียงอยู่ ย่อมถึงความเป็นคนเปล่า ความไม่มีคุณ ความ ไม่เจริญ ความพินาศ ทั้งความไม่เจริญและความพินาศ พระตถาคตหรือสาวกของพระตถาคตผู้ได้ฌาน ฉลาดในสมาบัติ ฉลาดใน จิตของผู้อื่น ฉลาดในการกำหนดรู้จิตของผู้อื่น กำหนดรู้ใจด้วยใจแล้ว ใส่ใจถึงภิกษุ นั้นอย่างนี้ว่า ‘เพราะเหตุไรหนอ ท่านผู้นี้จึงพยากรณ์อรหัตตผลว่า เรารู้ชัดว่า ชาติ สิ้นแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็น อย่างนี้อีกต่อไป’ พระตถาคตหรือสาวกของพระตถาคตผู้ได้ฌาน ฉลาดในสมาบัติ ฉลาดในจิต ของผู้อื่น ฉลาดในการกำหนดรู้จิตของผู้อื่น กำหนดรู้ใจด้วยใจแล้ว ย่อมรู้ชัดซึ่ง ภิกษุนั้นอย่างนี้ว่า ๑. ‘ท่านผู้นี้เป็นผู้มักโกรธ มีใจถูกความโกรธกลุ้มรุมอยู่โดยมาก’ ก็การถูก ความโกรธกลุ้มรุมนี้แล เป็นความเสื่อมในพระธรรมวินัยที่พระตถาคต ทรงประกาศแล้ว ๒. ‘ท่านผู้นี้เป็นผู้มักผูกโกรธ มีใจถูกความผูกโกรธกลุ้มรุมอยู่โดยมาก’ ก็การถูกความผูกโกรธกลุ้มรุมนี้แล เป็นความเสื่อมในพระธรรมวินัยที่ พระตถาคตทรงประกาศแล้ว ๓. ‘ท่านผู้นี้เป็นผู้มักลบหลู่ มีใจถูกความลบหลู่กลุ้มรุมอยู่โดยมาก’ ก็การถูกความลบหลู่กลุ้มรุมนี้แล เป็นความเสื่อมในพระธรรมวินัยที่พระ ตถาคตทรงประกาศแล้ว ๔. ‘ท่านผู้นี้เป็นผู้มักตีเสมอ มีใจถูกความตีเสมอกลุ้มรุมอยู่โดยมาก’ ก็การถูกความตีเสมอกลุ้มรุมนี้แล เป็นความเสื่อมในพระธรรมวินัยที่พระ ตถาคตทรงประกาศแล้ว ๕. ‘ท่านผู้นี้เป็นผู้มีความริษยา มีใจถูกความริษยากลุ้มรุมอยู่โดยมาก’ ก็การถูกความริษยากลุ้มรุมนี้แล เป็นความเสื่อมในพระธรรมวินัยที่พระ ตถาคตทรงประกาศแล้ว {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า : ๑๘๕}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]

๔. เถรวรรค ๔. พยากรณสูตร

๖. ‘ท่านผู้นี้เป็นผู้มักตระหนี่ มีใจถูกความตระหนี่กลุ้มรุมอยู่โดยมาก’ ก็การ ถูกความตระหนี่กลุ้มรุมนี้แล เป็นความเสื่อมในพระธรรมวินัยที่พระ ตถาคตทรงประกาศแล้ว ๗. ‘ท่านผู้นี้เป็นผู้มักโอ้อวด มีใจถูกความโอ้อวดกลุ้มรุมอยู่โดยมาก’ ก็การ ถูกความโอ้อวดกลุ้มรุมนี้แล เป็นความเสื่อมในพระธรรมวินัยที่พระ ตถาคตทรงประกาศแล้ว ๘. ‘ท่านผู้นี้เป็นผู้มีมายา มีใจถูกมายากลุ้มรุมอยู่โดยมาก’ ก็การถูกมายา กลุ้มรุมนี้แล เป็นความเสื่อมในพระธรรมวินัยที่พระตถาคตทรงประกาศแล้ว ๙. ‘ท่านผู้นี้เป็นผู้มีความปรารถนาชั่ว มีใจถูกความปรารถนาชั่วกลุ้มรุมอยู่ โดยมาก‘ก็การถูกความปรารถนาชั่วกลุ้มรุมนี้แล เป็นความเสื่อมใน พระธรรมวินัยที่พระตถาคตทรงประกาศแล้ว ๑๐. ‘ท่านผู้นี้เป็นผู้หลงลืมสติ ถึงความหยุดชงักเสียในระหว่างที่จะบรรลุคุณ วิเศษชั้นสูง เพราะได้บรรลุคุณวิเศษชั้นต่ำ’ ก็การถึงความหยุดชงักเสีย ในระหว่างนี้แล เป็นความเสื่อมในพระธรรมวินัยที่พระตถาคตทรง ประกาศแล้ว ผู้มีอายุทั้งหลาย เป็นไปไม่ได้เลยที่ภิกษุนั้นแล ละธรรม ๑๐ ประการนี้ไม่ได้แล้ว จักถึงความเจริญงอกงามไพบูลย์ในพระธรรมวินัยนี้ แต่เป็นไปได้ที่ภิกษุนั้นแล ละธรรม ๑๐ ประการนี้ได้แล้ว จักถึงความเจริญงอก งามไพบูลย์ในพระธรรมวินัยนี้
พยากรณสูตรที่ ๔ จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า : ๑๘๖}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒๔ หน้าที่ ๑๘๔-๑๘๖. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=24&siri=82              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=24&A=3615&Z=3653                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=24&i=84              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=24&item=84&items=1              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=16&A=8132              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=24&item=84&items=1              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=16&A=8132                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๔ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu24              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/24i081-e.php#sutta4 https://suttacentral.net/an10.84/en/sujato



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :