บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ | |
|
|
๑๓. โลกสูตร๒- ว่าด้วยโลก [๑๑๒] แท้จริง พระสูตรนี้ พระผู้มีพระภาคตรัสไว้แล้ว พระสูตรนี้ พระอรหันต์กล่าวไว้แล้ว ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้ว่า ภิกษุทั้งหลาย ตถาคตตรัสรู้โลก๓- แล้ว ตถาคตพรากจากโลก ตถาคตตรัสรู้ เหตุเกิดแห่งโลก ตถาคตละเหตุเกิดแห่งโลกแล้ว ตถาคตตรัสรู้ความดับแห่งโลก ตถาคตทำให้แจ้งความดับแห่งโลก ตถาคตตรัสรู้ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับแห่งโลก ตถาคตบำเพ็ญข้อปฏิบัติให้ถึงความดับแห่งโลกแล้ว @เชิงอรรถ : @๑ ผู้ศึกษาข้อปฏิบัติที่สมควรแก่ความสงบใจ หมายถึงผู้ปฏิบัติบำเพ็ญให้เกิดญาณทัสสนวิสุทธิอันเป็นข้อ @ปฏิบัติสมควรแก่อริยมรรค กล่าวคือ เจโตสมถะ เพราะสงบระงับกิเลสได้สิ้นเชิง (ขุ.อิติ.อ. ๑๑๑/๔๑๐) @๒ ดูเทียบ ที.ปา. ๑๑/๑๘๘/๑๑๗, องฺ.จตุกฺก. (แปล) ๒๑/๒๓/๓๗-๓๙ @๓ โลก มีความหมายหลายนัย แต่ในที่นี้หมายถึงทุกขอริยสัจ (องฺ.จตุกฺก.อ. ๒/๒๓/๓๐๑, ขุ.อิติ.อ. ๑๑๒/๔๑๐) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๕ หน้า : ๔๙๕}
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตกะ [๔. จตุกกนิบาต]
๑๓. โลกสูตร
เพราะตถาคตตรัสรู้รูปที่ได้เห็น เสียงที่ได้ฟัง อารมณ์ที่ได้ทราบ๑- ธรรมารมณ์ ที่ได้รู้แจ้ง ที่ชาวโลกพร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก และหมู่สัตว์พร้อมทั้ง สมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ถึง แสวงหา ตรองตามด้วยใจทั้งหมด ฉะนั้น ชาวโลกจึงเรียกว่า ตถาคต เพราะตถาคตตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณในราตรีใด และปรินิพพานด้วย อนุปาทิเสสนิพพานธาตุในราตรีใด ในระหว่างนี้ ย่อมภาษิต กล่าว แสดงออก ซึ่งคำใด คำนั้นทั้งหมดเป็นจริงอย่างนั้นแล ไม่เป็นอย่างอื่น ฉะนั้น ชาวโลกจึง เรียกว่า ตถาคต เพราะตถาคตกล่าวอย่างใด (ยถาวาที) ก็ทำอย่างนั้น (ตถาการี) ทำอย่างใด (ยถาการี) ก็กล่าวอย่างนั้น (ตถาวาที) ฉะนั้น ชาวโลกจึงเรียกว่า ตถาคต ภิกษุทั้งหลาย เพราะตถาคตเป็นผู้ยิ่งใหญ่ เห็นถ่องแท้ แผ่อำนาจไปในโลก พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก และหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดา และมนุษย์ ฉะนั้น ชาวโลกจึงเรียกว่า ตถาคต พระผู้มีพระภาคได้ตรัสเนื้อความดังกล่าวมานี้แล้ว ในพระสูตรนั้น จึงตรัส คาถาประพันธ์ดังนี้ว่า บุคคลใดรู้แจ้งโลกทั้งปวงตามความเป็นจริงทั้งหมด พรากจากโลกทั้งปวง ไม่มีกิเลสสั่งสมอยู่ในโลกทั้งปวง บุคคลนั้นแลครอบงำอารมณ์ได้ทั้งหมด @เชิงอรรถ : @๑ รูปที่ได้เห็น หมายถึงรูปายตนะ (อายตนะคือรูป) เสียงที่ได้ฟัง หมายถึงสัททายตนะ (อายตนะคือเสียง) @อารมณ์ที่ได้ทราบ หมายถึงคันธายตนะ (อายตนะคือกลิ่น) รสายตนะ (อายตนะคือรส) โผฏฐัพพายตนะ @(อายตนะคือโผฏฐัพพะ) @อารมณ์ทั้ง ๓ นี้ ชื่อว่าอารมณ์ที่ได้ทราบ เพราะเป็นสภาวะที่เข้ามากระทบจมูก ลิ้นหรือกายแล้วเท่านั้น @จึงกำหนดได้ (องฺ.จตุกฺก.อ. ๒/๒๓/๓๐๑, ขุ.อิติ.อ. ๑๑๒/๔๑๓) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๕ หน้า : ๔๙๖}
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตกะ [๔. จตุกกนิบาต]
๑๓. โลกสูตร
เป็นนักปราชญ์ ปลดเปลื้องกิเลสที่ร้อยรัดได้ทั้งหมด บรรลุนิพพานที่มีความสงบอย่างยิ่ง ไม่มีภัยแต่ที่ไหน บุคคลนี้สิ้นอาสวะ เป็นพุทธะ ไม่มีทุกข์ ตัดความสงสัยได้ บรรลุความสิ้นกรรมทั้งปวง หลุดพ้นเพราะสิ้นอุปธิ บุคคลนั้นเป็นผู้มีโชค ตรัสรู้ เปรียบเหมือนราชสีห์ที่ยอดเยี่ยม ประกาศพรหมจักรแก่โลกพร้อมทั้งเทวโลก เพราะเหตุนั้น เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ที่ถึงพระพุทธเจ้าว่าเป็นสรณะ จึงมาประชุมกันนมัสการพระองค์ผู้ยิ่งใหญ่ ทรงแกล้วกล้า เทวดาและมนุษย์ทั้งหลายนมัสการพระพุทธเจ้านั้น ผู้ยิ่งใหญ่ ทรงแกล้วกล้า ด้วยการสรรเสริญว่า เป็นผู้ฝึกฝนที่ประเสริฐสุดในหมู่ผู้ฝึกตนทั้งหลาย เป็นฤๅษีผู้สงบกว่าผู้สงบทั้งหลาย เป็นผู้หลุดพ้นที่ยอดเยี่ยมกว่าผู้หลุดพ้นทั้งหลาย เป็นผู้ข้ามพ้นที่ประเสริฐกว่าผู้ข้ามพ้นทั้งหลาย ในโลกพร้อมทั้งเทวโลก ไม่มีบุคคลที่เปรียบเทียบกับพระองค์ได้ แม้เนื้อความนี้ พระผู้มีพระภาคก็ตรัสไว้แล้ว ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้แลโลกสูตรที่ ๑๓ จบ จตุกกนิบาต จบ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๕ หน้า : ๔๙๗}
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตกะ [๔. จตุกกนิบาต]
รวมพระสูตรที่มีในนิบาต
รวมพระสูตรที่มีในนิบาตนี้ คือ ๑. พราหมณธัมมยาคสูตร ๒. สุลภสูตร ๓. อาสวักขยสูตร ๔. สมณพราหมณสูตร ๕. สีลสัมปันนสูตร ๖. ตัณหุปปาทสูตร ๗. สพรหมกสูตร ๘. พหุการสูตร ๙. กุหสูตร ๑๐. นทีโสตสูตร ๑๑. จรสูตร ๑๒. สัมปันนสีลสูตร ๑๓. โลกสูตร ในคัมภีร์อิติวุตตกะ มีจำนวนพระสูตรทั้งหมด ๑๑๒ สูตรอิติวุตตกะ จบ รวมพระสูตรที่มีในอิติวุตตกะ เอกกนิบาต มี ๒๗ สูตร ทุกนิบาต มี ๒๒ สูตร ติกนิบาต มี ๕๐ สูตร จตุกกนิบาต มี ๑๓ สูตร รวมพระสูตรที่พระอรหันต์ทั้งหลายรวบรวมร้อยกรองไว้ ตั้งชื่อว่าอิติวุตตกะ เพื่อให้พระพุทธศาสนาดำรงอยู่ชั่วกาลนาน จำนวน ๑๑๒ สูตรอิติวุตตกะ จบ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๕ หน้า : ๔๙๘}
เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒๕ หน้าที่ ๔๙๕-๔๙๘. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=25&siri=227 ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง] อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=25&A=6780&Z=6834 ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=25&i=293 พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=25&item=293&items=1 อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=27&A=9118 The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=25&item=293&items=1 The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=27&A=9118 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๕ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu25 อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://accesstoinsight.org/tipitaka/kn/iti/iti.4.100-112.than.html#iti-112 https://accesstoinsight.org/tipitaka/kn/iti/iti.4.106-112x.irel.html#iti-112 https://suttacentral.net/iti112/en/ireland https://suttacentral.net/iti112/en/sujato
บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]