บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ | |
|
|
๓. ทุฏฐัฏฐกสูตร๑- ว่าด้วยเรื่องเดียรถีย์กับมุนี (พระผู้มีพระภาคตรัสแก่พระอานนท์ดังนี้) [๗๘๗] เดียรถีย์บางพวกมีใจชั่วกล่าวร้าย บุคคลเหล่าอื่นเข้าใจว่าจริงก็กล่าวร้ายด้วย แต่มุนีย่อมไม่ใส่ใจคำกล่าวร้ายที่เกิดขึ้น เพราะฉะนั้น มุนีจึงไม่มีกิเลสเครื่องตรึงจิตในที่ไหนๆ [๗๘๘] ผู้ไปตามความพอใจ ตั้งอยู่ในความชอบใจ พึงก้าวล่วงทิฏฐิของตนได้อย่างไรเล่า แต่เมื่อทำตนให้เพียบพร้อม รู้อย่างไรก็พึงพูดอย่างนั้น [๗๘๙] สัตว์เกิดใดไม่มีใครถาม ก็บอกศีลและวัตรของตนแก่บุคคลเหล่าอื่น สัตว์เกิดใดกล่าวถึงตัวเองเท่านั้น ผู้ฉลาดทั้งหลายเรียกสัตว์เกิดนั้นว่า ผู้ไม่มีอริยธรรม [๗๙๐] ส่วนภิกษุผู้สงบ ดับกิเลสแล้ว ไม่โอ้อวดในศีลทั้งหลายว่า เราเป็นดังนี้ @เชิงอรรถ : @๑ ดูเทียบคำแปลพร้อมทั้งอธิบายใน ขุ.ม. (แปล) ๒๙/๑๕-๒๒/๗๔-๑๐๐ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๕ หน้า : ๖๙๐}
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต [๔. อัฏฐกวรรค]
๓. ทุฏฐัฏฐกสูตร
อนึ่ง ภิกษุใดไม่มีกิเลสเครื่องฟูในที่ไหนๆ ในโลก ผู้ฉลาดทั้งหลายเรียกภิกษุนั้นว่า ผู้มีอริยธรรม [๗๙๑] เจ้าลัทธิใด มีธรรมที่กำหนดไว้ อันปัจจัยปรุงแต่งเชิดชูไว้ (แต่)ไม่ขาวสะอาด เจ้าลัทธินั้นเห็นอานิสงส์ใดในตน อาศัยอานิสงส์นั้น และสันติ๑- ที่กำเริบซึ่งอาศัยกันเกิดขึ้น [๗๙๒] ความถือมั่นด้วยอำนาจทิฏฐิ มิใช่ก้าวล่วงได้ง่ายๆ การปลงใจในธรรมทั้งหลายแล้วถือมั่น ก็มิใช่ก้าวล่วงได้ง่าย เพราะฉะนั้น ในความถือมั่นเหล่านั้น นรชนย่อมสลัดทิ้งธรรมบ้าง ยึดถือธรรมไว้บ้าง [๗๙๓] ทิฏฐิที่กำหนด(เพื่อเกิด)ในภพน้อยภพใหญ่ ของผู้มีปัญญาเครื่องกำจัดไม่มีในที่ไหนๆ ในโลก เพราะผู้มีปัญญาเครื่องกำจัดนั้น ละความหลอกลวงและความถือตัวได้แล้ว ไม่มีความถือมั่น จะพึงไปด้วยเหตุอะไรเล่า [๗๙๔] เพราะว่า ผู้มีความถือมั่นย่อมเข้าถึงวาทะในธรรมทั้งหลาย จะพึงกล่าวคำติเตียนผู้ไม่มีความถือมั่นด้วยเหตุอะไรเล่า เพราะทิฏฐิว่ามีอัตตา ทิฏฐิว่าไม่มีอัตตา๒- ไม่มีแก่ผู้ไม่มีความถือมั่นนั้น ผู้ไม่มีความถือมั่นนั้น สลัดแล้วซึ่งทิฏฐิทั้งปวงในอัตภาพนี้แหละทุฏฐัฏฐกสูตรที่ ๓ จบ @เชิงอรรถ : @๑ สันติ หมายถึงความสงบ มี ๓ อย่าง คือ (๑) อัจจันตสันติ (ความสงบอย่างสิ้นเชิง) หมายถึงอมตนิพพาน @(๒) ตทังคสันติ (ความสงบด้วยองค์นั้นๆ) หมายถึงผู้บรรลุรูปฌาน ๔ และอรูปฌาน ๔ (๓) สมมุติสันติ @(ความสงบโดยสมมติ) หมายถึงทิฏฐิ ๖๒ ในที่นี้หมายถึงสันติโดยสมมติ (ขุ.ม. (แปล) ๒๙/๑๙/๘๘-๘๙) @๒ ทิฏฐิว่ามีอัตตา หมายถึงสัสสตทิฏฐิ ทิฏฐิว่าไม่มีอัตตา หมายถึงอุจเฉททิฏฐิ ดู ขุ.ม. (แปล) ๒๙/๒๒/ @๙๘-๑๐๐, ๙๓/๒๘๘-๒๘๙ และดู สุตตนิบาต ข้อ ๘๖๕ หน้า ๗๐๗ ในเล่มนี้ประกอบ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๕ หน้า : ๖๙๑}
เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒๕ หน้าที่ ๖๙๐-๖๙๑. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=25&siri=268 ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง] อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=25&A=10003&Z=10037 ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=25&i=410 พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=25&item=410&items=1 อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=29&A=7958 The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=25&item=410&items=1 The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=29&A=7958 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๕ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu25 อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/25i408-e.php#sutta3 https://accesstoinsight.org/tipitaka/kn/snp/snp.4.03.than.html https://suttacentral.net/snp4.3/en/mills https://suttacentral.net/snp4.3/en/sujato
บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]